เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 8 9 [10] 11 12 ... 30
  พิมพ์  
อ่าน: 127122 เรื่องเล่าชาวกรุงเทพรุ่นทวด
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 135  เมื่อ 09 ก.ย. 13, 10:07

ซอยนานาใต้ ปี ๒๕๑๗ ครับ
ของคุณหนุ่มมีรูปเดียวกันนี่หรือเปล่า
อ้างถึง
ก่อนที่จะมีคำว่าถนนสุขุมวิท ถนนนี้เคยชื่อ "ถนนปากน้ำ"
เพิ่งรู้เดี๋ยวนี้แหละ นับเป็นความรู้ใหม่เอี่ยมทีเดียว ขอบคุณมาก

ถนนสายปากน้ำ (ถนนสุขุมวิท) นั้นหากดูตามประกาศในราชกิจจาฯ แล้วพบว่าประกาศเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๖ ให้เริ่มก่อสร้างต่อจากถนนเพลินจิตไปยังจังหวัดสมุทรปราการ จึงเป็นที่มาของถนนปากน้ำ ในช่วงระยะเวลาหนึ่งครับ
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2476/A/237.PDF


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 136  เมื่อ 09 ก.ย. 13, 10:14

รูปของคุณหนุ่มนี่ ในภาพถ่ายนี้คุ้นๆว่าจะเป็นถนนสุขุมวิทช่วงที่เลยปากน้ำ ไปทางคลองด่าน ออกสะพานข้ามแม่น้ำบางปะกงไปสู่ชลบุรี

ส่วนในแผนที่ ตกทางรถไฟสายปากน้ำ(^)ที่ขนานถนนพระราม๔ทางด้านทิศใต้  ซึ่งวิ่งถี่กว่ารถไฟสายตะวันออกไปอรัญประเทศ ผมคุ้นกับรถไฟของนายพลริชลิวสายนี้มาก บ้านน้าผมอยู่บางกะปิ เด็กๆไปค้างกับน้าบ่อยเพราะติดพี่ชายสองคนลูกของน้า นอนดูรถไฟวิ่งผ่านหลังบ้านทั้งวัน


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 137  เมื่อ 09 ก.ย. 13, 10:42


เยื้องซอย 12 เป็นซอย 11 ซอยไชยยศ ได้ชื่อนี้เพราะมีบ้านของพระยาไชยยศสมบัติ(เสริม กฤษณามระ) อดีตคณบดีคณะบัญชีของจุฬาฯ และยังเป็นซอยที่หนุ่ม ๆ เข้าออกมากผิดปกติ เพราะมีบ้านของ ม.ล. พร้อมจิตร สนิทวงศ์ และ ม.ล. พร้อมศรี พิบูลสงคราม สองดาราดวงเด่นของกลุ่มจักรยานกลุ่มใหญ่ที่โฉบฉายไปมาเป็นแสงสีจุดเด่นของถนนสุขุมวิ
ม.ล.พร้อมจิตร สนิทวงศ์ ต่อมาคือม.ล.พร้อมจิตร ยมะสมิต สาวๆ  สวยมาก  จำได้ว่าท่านเป็นนักเรียนเก่าร.ร.มาแตร์เดอีด้วย

ก่อนมาอยู่ซอยไชยยศ   ดิฉันเคยไปอยู่ที่ซอยไปดีมาดีใกล้ซอยทองหล่อ เป็นระยะเวลาสั้นๆ    ซอยไปดีมาดีเป็นทางตัดเข้าไปในทุ่งนา   มีบ้านอยู่ห่างกันมาก ยิ่งกว่าซอยไชยยศหลายเท่า    บางส่วนยังเป็นบ่อเลี้ยงปลารูปสี่เหลี่ยมเหมือนบึงใหญ่ มีคันดินพูนขึ้นมาตรงขอบบ่อ  ชาวบ้านอยู่ในกระต๊อบหลังคามุงจาก  ถ้าไม่ทำนาก็ขายอะไรเล็กๆน้อยๆ   
ส่วนชาวกรุงที่ไปปลูกบ้านอยู่ ลึกเข้าไปจากปากซอย     ร้อยและร้อยเป็นบ้านไม้  สมัยนั้นไม่มีใครมีเงินพอจะปลูกตึกได้   ตรงกันข้ามกับสมัยนี้ที่ใครปลูกบ้านไม้ได้ ถือว่าเงินเหลือกินเหลือใช้   บ้านไม้ส่วนใหญ่เป็นบ้านสองชั้นหรือไม่ก็บ้านชั้นเดียวใต้ถุนสูง   ไม่ทาสี เห็นสีเนื้อไม้เป็นสีน้ำตาลเก่าแก่ไปตามเวลา     ถ้าเป็นบ้านคนฐานะค่อนข้างดีถึงจะทาสีเหลือง สีฟ้า สีเขียว  ไม่ทาสีขาวหรือครีม   
ต่อมาบ้านใต้ถุนสูงก็ค่อยๆหายไป    เพราะเจ้าของดัดแปลงใต้ถุนเป็นห้องชั้นล่างกลายเป็นบ้านสองชั้น  ส่วนใหญ่ก็เริ่มก่ออิฐฉาบปูน ในชั้นล่าง   


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 138  เมื่อ 09 ก.ย. 13, 10:52

ช่วงที่อเมริกาทำสงครามเวียตนามนั้น ปากซอยไชยยศมีโรงแรมแบบสร้างด่วนขึ้นมารองรับพวกนายทหารอเมริกันที่มาพักรบในเมืองไทย ชื่อโรงแรมชวลิตตามเจ้าของ
เมื่อสงครามเลิกโรงแรมนี้ก็ตั้งตัวได้แล้ว จึงทุบตึกเก่าอันแสนน่าเกลียด(ในภาพ)ออก สร้างอาคารใหม่ให้ชื่อว่าแอมบาสเดอร์  ทางเข้าออกของโรงแรมในซอยไชยยศอยู่หน้าบ้านม.ล.ปิ่น มาลากุล พอดี บ้านหลังนี้มีผู้เช่าจากสำนักงานทรัพย์สินฯ ไปทำร้านอาหารขายฝรั่ง


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 139  เมื่อ 09 ก.ย. 13, 10:58

ต่อมาเป็นซอย19(ซอยวัฒนา) เป็นจุดจบของถนนสุขุมวิทในเวลานั้น สุดซอยวัฒนามีโรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย ซึ่งเป็นโรงเรียนสตรีกินนอน เพราะในเวลานั้นโรงเรียนอยู่ห่างไกลจากเมืองมาก ทำให้นักเรียนไปมาไม่สะดวก และในซอยนั้นมีบ้านของอาจารย์พิเศษคณะสถาปัตย์ฯ จุฬาฯ เป็นชาวอิตาเลียนชื่อ อี.มันเฟรดี.ซึ่งมาเปลี่ยนเป็นชื่อไทยว่า เอกฤทธิ์ หมั่นเพ้นดี (เข้ากันดีมากนะ)

ก่อนที่จะสร้างถนนสุขุมวิทนั้น คุณแม่ลงเรือจ้างในคลองบางกะปิ มาซื้อที่ข้างคลองนั้น ตารางวาละ 5 บาท ลึกเข้าไปที่ผมอยู่นั้น ตารางวาระ 6 สลึง (หนึ่งบาทห้าสิบสตางค์) ไร่ละ 600 บาทเท่านั้น เมื่อก่อนซอย 12 มีชื่อว่า”จิตร-ลมุล” เพราะว่าจิตรนั้นเป็นชื่อของคุณแม่ และลมุล นั้นป็นชื่อของคุณหญิงลมุล ปฏิภาณพิเศษ ซึ่งร่วมลงทุนสร้างสะพานข้ามคลองบางกะปิ และสร้างซอย 12 จากถนนสุขุมวิทจนถึงคลอง”ไผ่สิงโต” คลองนี้ไปออกแม่น้ำเจ้าพระยาที่คลองเตย ผ่านสวนลุมพินี ผ่าโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ตัดกับคลอง”อรชร” เดี๋ยวนี้คลอง ”อรชร” หายไปแล้วเพราะการขยายถนน”อังรีดูนัง” และผ่านหน้าตึกคณะสถาปัตย์ฯ จุฬาฯ (ซึ่งในอดีตนิสิตรับน้องใหม่ด้วยการจูง(ลาก)น้องใหม่ข้ามคลองไผ่สิงโต เข้ามาในตึกคณะฯ ตอนนั้นพวกเด็กๆ สนุกกันมาก) ไปออกคลองมหานาค เวลานี้คลองไผ่สิงโตที่ผ่าน รพ.จุฬาฯ และ ม.จุฬาฯ หายไปเรียบร้อยแล้ว

บันทึกการเข้า
ศานติ
ชมพูพาน
***
ตอบ: 190

อดีตศัลยแพทย์ช่องอกเส้นเลือด (เกษียณ) ปัจจุบันเป็นช่างไม้


ความคิดเห็นที่ 140  เมื่อ 09 ก.ย. 13, 11:03

อ่านแล้วคิดถึงความหลัง  หลังสงครามโลกที่ ๒ คุณพ่อผมซึ่งเป็นนายทหารอากาศลาออกจากราชการเพื่อไปทำงานกับบริษัท Standard Vacuum Oil ซึ่งเริ่มมาดำเนินกิจการในเมืองไทย พาลูกน้องสักเกือบสิบคนได้ไปเปิดบริการน้ำมันอากาศยานที่ดอนเมือง นายทหารที่ลาออกจากราชการตามไปด้วยมี ร.ท.ศุลี มหาสันทนะ ไปเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงที่ดอนเมือง ที่เหลือเป็นพวกช่างในกรมช่างอากาศ ตอนนั้นสงครามเพ่ิงเลิกเรามีแต่เครื่องบินญึ่ปุนที่ได้มาระหว่างสงคราม จะบินก็ขายหน้า ส่วนเครื่องบินอเมริกันที่มีก็ตั้งแต่ก่อนสงคราม เก่าแก่เต็มทน เช่น Hawk พับฐาน ปีกสองขั้น พ่อเลยไปหา ผบ.ทอ. ดูเหมือนจะเป็นจอมพลฟื้น เพื่อขออนุญาตลาออกจากราชการ ท่านบอกว่าอนุญาตให้ลาออกได้ ถ้าอีกสองคนที่ไปเรียนอเมริกามาด้วยกันรับรองว่าจะไม่ลาออก สมัยนั้นบริษัท Standard Vacuum Oil เป็นบริษัทที่ตั้งจากการร่วมลงทุนโดย Standard Oil of New York (Socony Mobil) ใช้ตราม้าบิน กับ Standard Oil of New Jersey (Esso ต่อมาเป็น Exxon) แบ่งกันขายผลิตภัณฑ์  รถยนตร์ใช้ตราม้าบิน  อากาศยานใช้ Esso  

เมื่อลาออกจากราชการก็เลยต้องย้ายบ้านออกจากกรมช่างอากาศที่บางซื่อ ไปเช่าบ้านที่ปากซอยต้นสน ถนนเพลินจิต ทะแยงมุมจากสถานทูตอังกฤษ อีกฟากของซอยต้นสนเป็นสถานทูตเดนมาร์ค บ้านที่เช่าอยู่เป็นตึกสองชั้นสีขาว เช่าจากชายา มจ.สกล วรวรรณ  บ้านถัดไปเป็นบ้านของคุณ บุญมา วงสวรรค์ ลูกเขย มจ.สกล เลยเข้าไปหน่อยเป็นบ้านของคุณ เนิ่น ศิลปี ลูกสองคนเป็นเพื่อนกับผม สุดซอยมีบ้าน มจ.โวฒยากร วรวรรณ  ต่อจากนั้นเป็นทุ่งนามีซากรถถังญี่ปุ่นกับปืนใหญ่สนามจอดทิ้งไว้หลายคัน หลายกระบอก ตอนนั้นอายุ ๑๒ หรือ ๑๓ ขวบ ไปปีนเล่นบ่อยๆ

บ้านที่เช่าจากชายาท่านสกล เสียอย่างเดียว ขะโมยปีนขึ้นนอกชานชั้นบนได้ง่ายโดยเข้าทางหลังบ้าน ทุกห้องมีสวิชกดกริ่งเรียกดังในครัว วันหนึี่งแม่อยู่ในครัวได้ยินเสียงกริ่งก็งง เพราะไม่มีใครอยู่ในบ้าน ลองขึ้นไปชั้นบนพอดีเห็นหลังนักย่องเบากำลังปีนลงจากนอกชาน ไม่ทราบว่าทำไมเขาถึงกดกริ่ง คงไม่รู้ว่าเป็นปุ่มอะไร  อีกคราวโดนขะโมยอีก พอดีพ่อกำลังจะไปประชุมเมืองนอกเลยมีเงินเหรียญอเมริกันแลกไว้อยู่ในลิ้นชักตู้ โชคดีที่นักย่องเบาไม่รู้ค่าเงินดอลล่าเลยหยิบไปแค่เงินบาท ทิ้งดอลล่าไว้

เช้าๆผมเดินไปสี่แยกราชประสงค์เพื่อขึ้นรถเมล์ขาวไปถนนประมวล ถนนดูเหมือนจะแค่สอง lane ข้างๆเป็นคู ทางเดินนอกจากจะแคบแล้วยังต้องใช้ร่วมกับม้าแข่งที่คนเลี้ยงเขาจูงไปออกกำลังที่สปอร์ตคลับ กลัวม้าถีบโดยเฉพาะถ้าเดินไล่หลัง

อยู่แถวนั้นก็ดีอย่าง เดินเข้าไปในซอยต้นสนก็มีเพื่อน จรูญศักดิ์ กับ วราห์ ศิลปี ถ้าข้ามถนนเพลินจิต เดินเข้าปาร์คนายเลิศ ไปบ้านนายเลิศก็มีเพื่อนสนิท สมพงษ์ จุ้ยศิริ อาศัยอยู่บ้านนายเลิศ มีบ่อยครั้งที่เห็นเขารีดเสื้อรีดกางเกงนักเรียนของเขา ผมก็ไปยืนดู จนเก่งพอใช้ได้  สมพงษ์ (ศาสตราจารย์แล้ว) เล่าให้ฟังว่าต้นไม้ใหญ่ในซอยปาร์คนายเลิศมีคนชอบปัสสาวะที่โคนต้น เขาเอาป้าย 'กรุณาอย่าปัสสาวะ' ไปปิดก็ไม่ได้ผล 'ห้ามเยี่ยว' ก็ไม่ได้ผล ลอง 'ที่หมาเยี่ยว' ก็ไม่สำเร็จ ไปสำเร็จเอาเมื่อเอาผ้าแดงไปพันรอบโคนต้น หลังจากนั้นมีคนมาไหว้กันเรื่อยๆ

หลังสงครามใหม่ๆ ถนนวิทยุไม่มีสายไฟสายโทรศัพท์เลย คนขะโมยตัดไปขายหมด  คำว่า วิทยุ ดั้งเดิมก่อนเรียก radio เขาเรียก wireless set ดูเหมือนอังกฤษยังใช้อยู่  ไทยเราเลยแปลชื่อถนนวิทยุ ว่า Wireless Road  ฝรั่งแถวนั้นเอามาพูดกันว่า ถนนสมชื่อจัง wireless จริงๆ ไม่มีสายไฟสายโทร.เลย โดนตัดขายเกลี้ยง  ถนนวิทยุข้างสถานทูตอังกฤษสมัยนั้นเปลี่ยวมาก มีจี้กันบ่อยๆ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 141  เมื่อ 09 ก.ย. 13, 11:12


เช้าๆผมเดินไปสี่แยกราชประสงค์เพื่อขึ้นรถเมล์ขาวไปถนนประมวล ถนนดูเหมือนจะแค่สอง lane ข้างๆเป็นคู ทางเดินนอกจากจะแคบแล้วยังต้องใช้ร่วมกับม้าแข่งที่คนเลี้ยงเขาจูงไปออกกำลังที่สปอร์ตคลับ กลัวม้าถีบโดยเฉพาะถ้าเดินไล่หลัง

สุดซอยร่วมฤดีซอยแยกที่เคยอยู่ มีคอกม้าอยู่สุดซอย ติดกับบ้านคุณบุญถิ่นหรือคุณบุญชนะ อัตถากร(จำไม่ได้ว่าท่านไหน)   ก่อนสว่างคนเลี้ยงม้าต้องพาม้าเดินเป็นแถวมาตามทางในซอย เพื่อพาไปออกกำลัง      บ้านสมัยนั้นไม่ติดแอร์ ติดแต่มุ้งลวด จึงได้ยินเสียงฝีเท้าม้ากุบกับเข้ามาถึงห้องนอน   เป็นสัญญาณให้รู้ว่าใกล้เวลาจะตื่นนอนไปโรงเรียนได้แล้วค่ะ
บันทึกการเข้า
ศานติ
ชมพูพาน
***
ตอบ: 190

อดีตศัลยแพทย์ช่องอกเส้นเลือด (เกษียณ) ปัจจุบันเป็นช่างไม้


ความคิดเห็นที่ 142  เมื่อ 09 ก.ย. 13, 11:24

ผมมีรถเมล์ขาวเป็นนาฬิกาปลุก เพราะอู่อยู่ในซอยปาร์คนายเลิศ ตีห้าก็เริ่มออกวิ่ง ตอนหลังเคยชินเลยไม่ตื่น พอย้ายไปซอยร่วมฤดีสองสามวันแรกตื่นตีห้า แรกๆนึกไม่ออกว่ามีอะไรผิดปกติ ขาดเสียงรถเมล์ขาวนั่นเอง
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 143  เมื่อ 09 ก.ย. 13, 11:53

   ด้านหลังบ้านเป็นทางรถไฟช่องนนทรี  (ตอนนี้เป็นทางด่วน) เป็นที่โล่งกว้างทำให้ชั้นบนของบ้านได้รับลมแรงจากทางรถไฟเต็มที่   ห้องนั้นไม่ต้องเปิดพัดลมเลย     แต่มีรถไฟวิ่งผ่านบ้านวันละหลายๆหน  ตอนไปอยู่ใหม่ๆก็ตื่นเต้นวิ่งไปเกาะหน้าต่างดูรถไฟซึ่งวิ่งฉิวมีควันดำอยู่ตรงหัวรถจักร      ไม่กี่วันต่อมาก็เบื่อเลิกดูไปเอง
  ก่อนรถไฟมา มีสัญญาณให้รู้จากใต้ดินคือคลื่นความสั่นสะเทือนจะมาตามพื้นดิน  ถึงชั้นล่างของบ้าน   เป็นอันรู้ว่าอีกไม่กี่นาทีรถไฟมาแล้ว   ริมทางรถไฟสองข้างเป็นคูน้ำกว้าง เมื่อก่อนคงเป็นคลอง   ตอนที่เห็นมีแต่ผักตบชวาเต็มไปหมด   ใช้สัญจรไปมาไม่ได้  ชาวบ้านถมดินให้คูน้ำขาดเป็นช่วงๆเพื่อจะได้เดินจากซอยออกไปที่ทางรถไฟ แล้วข้ามไปสุขุมวิทได้   
   ตอนเย็นๆ  ก็ออกทางหลังบ้านไปเดินเล่นที่ทางรถไฟบ่อยๆ    มีชาวบ้านออกมานั่งเล่นเดินเล่นกัน  แม่จูงลูกมาป้อนข้าว    บางคนมานั่งอ่านหนังสือ  เด็กออกมาเล่นว่าว    คล้ายสวนสาธารณะเล็กๆ      บางครั้งก่อนรถไฟมา จะมีช่างตรวจทางยืนมาในรถโยกซึ่งโยกเร็วมาก โยกรถล่วงหน้ามาก่อน  พอรถไฟมาเห็นลิบๆชาวบ้านก็ลงจากรางรถไฟ หลบไปข้างทาง   ทำได้สบายเพราะข้างทางกว้างมากค่ะ    พอรถไฟไปก็กลับมารวมกันเหมือนเดิม
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 144  เมื่อ 09 ก.ย. 13, 12:01

อ้างถึง
ต้นไม้ใหญ่ในซอยปาร์คนายเลิศมีคนชอบปัสสาวะที่โคนต้น เขาเอาป้าย 'กรุณาอย่าปัสสาวะ' ไปปิดก็ไม่ได้ผล 'ห้ามเยี่ยว' ก็ไม่ได้ผล ลอง 'ที่หมาเยี่ยว' ก็ไม่สำเร็จ ไปสำเร็จเอาเมื่อเอาผ้าแดงไปพันรอบโคนต้น หลังจากนั้นมีคนมาไหว้กันเรื่อยๆ

อย่างฮาเลยครับ
คิดถึงตัวเองสมัยเป็นเด็กน้อย ชอบปัสสาวะใส่ 'ที่หมาเยี่ยว'มาก เพราะเกรงใจคนแถวนั้นจะไปฉี่สุ่มสี่สุ่มห้าก็กลัวเขาจะเหม็น เอา'ที่หมาเยี่ยว'นั่นแหละ ไหนๆเขาก็จัดไว้ให้หมาแล้ว เป็นคนแท้ๆทำไมจะขอใช้บ้างไม่ได้
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 145  เมื่อ 09 ก.ย. 13, 12:10

อ้างถึง
ต้นไม้ใหญ่ในซอยปาร์คนายเลิศมีคนชอบปัสสาวะที่โคนต้น เขาเอาป้าย 'กรุณาอย่าปัสสาวะ' ไปปิดก็ไม่ได้ผล 'ห้ามเยี่ยว' ก็ไม่ได้ผล ลอง 'ที่หมาเยี่ยว' ก็ไม่สำเร็จ ไปสำเร็จเอาเมื่อเอาผ้าแดงไปพันรอบโคนต้น หลังจากนั้นมีคนมาไหว้กันเรื่อยๆ

อย่างฮาเลยครับ
คิดถึงตัวเองสมัยเป็นเด็กน้อย ชอบปัสสาวะใส่ 'ที่หมาเยี่ยว'มาก เพราะเกรงใจคนแถวนั้นจะไปฉี่สุ่มสี่สุ่มห้าก็กลัวเขาจะเหม็น เอา'ที่หมาเยี่ยว'นั่นแหละ ไหนๆเขาก็จัดไว้ให้หมาแล้ว เป็นคนแท้ๆทำไมจะขอใช้บ้างไม่ได้

ภาพเก่า พ.ศ. ๒๔๙๓ กำแพงวัดพระเชตุพนฯ ย่านท่าเตียน ที่ริมกำแพงวัดก็มีเขียนไว้  ยิ้มเท่ห์
เครดิทภาพ ดิมิทรี


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 146  เมื่อ 09 ก.ย. 13, 12:26

ภาพนี้คือปากน้ำ เจอเข้าโดยบังเอิญในกูเกิ้ลค่ะ
เห็นแล้วก็อดนึกถึงชานเมืองกรุงเทพแถวสุขุมวิทไม่ได้


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 147  เมื่อ 09 ก.ย. 13, 12:33

ท่านอาจารย์เทาชมพูไปเร็วจัง ผมยังงุ่มง่ามอยู่กับคุณหมอศานติกับคุณหนุ่มรัตนสยามเลย



บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 148  เมื่อ 09 ก.ย. 13, 12:35

ซอยนานาใต้ ปี ๒๕๑๗ ครับ
ของคุณหนุ่มมีรูปเดียวกันนี่หรือเปล่า
อ้างถึง
ก่อนที่จะมีคำว่าถนนสุขุมวิท ถนนนี้เคยชื่อ "ถนนปากน้ำ"
เพิ่งรู้เดี๋ยวนี้แหละ นับเป็นความรู้ใหม่เอี่ยมทีเดียว ขอบคุณมาก

ถนนสายปากน้ำ (ถนนสุขุมวิท) นั้นหากดูตามประกาศในราชกิจจาฯ แล้วพบว่าประกาศเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๖ ให้เริ่มก่อสร้างต่อจากถนนเพลินจิตไปยังจังหวัดสมุทรปราการ จึงเป็นที่มาของถนนปากน้ำ ในช่วงระยะเวลาหนึ่งครับ
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2476/A/237.PDF

ถนนช่วงนี้ก่อนที่จะได้ชื่อว่า ถนนสุขุมวิท มีชื่อว่า ถนนกรุงเทพ-สมุทรปราการ ไม่ใช่ ถนนปากน้ำ
ลองเอาสถานที่สิ่งก่อสร้างในปัจจุบันไปวางไว้ในแผนที่เดิม ก็จะเป็นดังนี้
๑. ถนนบางนาตราด
๒. ถนนปู่เจ้าสมิงพราย
๓. ถนนเทพารักษ์
๔. ถนนสุขุมวิทช่วงสมุทรปราการ-บางปู-คลองด่าน-ฉะเชิงเทรา
๕. สะพานภูมิพล (สะพานวงแหวนอุตสาหกรรม)
๖. พิพิธภัณฑ์ช้างสามเศียร ตรงโค้งถนนตรงนี้ ยังเรียกกันติดปากว่า "โค้งเกริก" เพราะเดิมวิทยาลัยเกริกอยู่ที่ตรงนี้



บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 149  เมื่อ 09 ก.ย. 13, 12:39

รูปของคุณหนุ่มนี่ ในภาพถ่ายนี้คุ้นๆว่าจะเป็นถนนสุขุมวิทช่วงที่เลยปากน้ำ ไปทางคลองด่าน ออกสะพานข้ามแม่น้ำบางปะกงไปสู่ชลบุรี

ส่วนในแผนที่ ตกทางรถไฟสายปากน้ำ(^)ที่ขนานถนนพระราม๔ทางด้านทิศใต้  ซึ่งวิ่งถี่กว่ารถไฟสายตะวันออกไปอรัญประเทศ ผมคุ้นกับรถไฟของนายพลริชลิวสายนี้มาก บ้านน้าผมอยู่บางกะปิ เด็กๆไปค้างกับน้าบ่อยเพราะติดพี่ชายสองคนลูกของน้า นอนดูรถไฟวิ่งผ่านหลังบ้านทั้งวัน

ภาพในอดีตกับภาพในอนาคต - อาจจะไม่ใช่บริเวณเดียวกัน แต่คลองในภาพคือคลองเดียวกัน ชื่อว่า "คลองชลประทาน" เลียบขนานไปกับถนนสุขุมวิทจากปากน้ำไปถึงคลองด่าน



บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 8 9 [10] 11 12 ... 30
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.092 วินาที กับ 20 คำสั่ง