เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 7 8 [9] 10 11 ... 30
  พิมพ์  
อ่าน: 127120 เรื่องเล่าชาวกรุงเทพรุ่นทวด
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 120  เมื่อ 09 ก.ย. 13, 08:25

“ถนนสุขุมวิท” จึงได้เริ่มขึ้นตั้งแต่สุดถนนเพลินจิตร และสร้างต่อไปทางทิศตะวันออกไปสุดที่ซอยวัฒนา(สุขุมวิท 19 เดี๋ยวนี้)เท่านั้น เป็นถนนลาดยางกว้างๆ  2 เลน รถสวนกันได้สบายๆ สองข้างถนนเป็นคลอง“บางกะปิ” ทั้งสองข้างถนนส่วนมากเป็นนา

เอาคุณหนุ่ม เปิดเกมมา
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 121  เมื่อ 09 ก.ย. 13, 08:34

หัวมุมถนนวิทยุที่มาชนกับถนนเพลินจิต  มุมหนึ่งน่าจะเป็นบริเวณวังของหม่อมเจ้าชัชชวลิต เกษมสันต์   อีกมุมหนึ่งเป็นบ้านไม้สองชั้นหลังใหญ่ หน้าตาเหมือนฉากละครย้อนยุคประเภทบ้านเจ้าคุณ  ต่อมาทำเป็นร้านอาหารแล้วรื้อหายไปกลายเป็นธนาคาร ค่ะ
นึกไม่ออกว่าอพาร์ตเม้นท์กลมๆอยู่ไหน
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 122  เมื่อ 09 ก.ย. 13, 08:55

ตรงข้ามฝั่งกับธนาคารครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 123  เมื่อ 09 ก.ย. 13, 08:56

ตอนเด็กๆ ดิฉันอยู่สุขุมวิทช่วงสั้นๆ ประมาณหนึ่งหรือสองปี  สมัยนั้นชื่อสุขุมวิทยังไม่เกิด หรือเกิดแล้วก็ไม่มีใครเรียก   เขาเรียกแถวนั้นว่า "บางกะปิ"      ถนนสุขุมวิทเส้นใหญ่ถ้าวิ่งจากเพลินจิตไปมีคลองเล็กๆ (ซึ่งควรเรียกว่าคูน้ำขนาดกว้าง) ขนาบถนน ไปตลอดตั้งแต่ทางรถไฟช่องนนทรี จนถึงสะพานพระโขนงซึ่งเป็นจุดสิ้นสุดของความเจริญชานเมือง   ลงสะพานไปก็เหมือนออกต่างจังหวัด มีแต่ท้องนา
สุขุมวิทซอยต้นๆ มีบ้านเรือนคึกคักเฉพาะต้นซอย  ตึกใหญ่ๆของเศรษฐีก็อยู่ริมถนนนี่แหละค่ะ   ตึกที่ยังเหลือให้เห็นปัจจุบันคืออดีตบ้านของท่านม.ล.ปิ่น มาลากุล ที่ท่านทำพินัยกรรมถวายเจ้านาย    ตึกนอกนั้นหายเรียบกลายเป็นตึกแถวหรือศูนย์การค้าหรือโรงแรมไปหมดแล้ว
ลึกเข้าไปในซอย  ก็มีบ้านอยู่ห่างๆกัน   อย่างซอยไชยยศ(สุขุมวิท 11)  มีบรรยากาศคล้ายๆอย่างในรูปข้างล่าง   ดิฉันหารูปจริงไม่ได้  ได้แต่รูปคล้ายๆ  
ถ้าจะใช้จินตนาการคิดตาม   ก็ตัดรูปรถยนต์ออกไป  เปลี่ยนถนนในภาพเป็นถนนลาดยางตรงต้นซอยแล้วเลยเข้ามาไม่กี่ร้อยเมตร  ก็เป็นถนนขรุขระมีกรวดหินแหลมๆฝังอยู่บนพื้นถนน ยังไม่ได้ลาดยาง    มีบ้านเรือนอยู่ห่างๆกัน มองเห็นทุ่งนาโล่งโปร่งลึกเข้าไป  
สุขุมวิทเป็นนามาก่อน ไม่ใช่สวนอย่างฝั่งธน  ความเจริญกระจุกอยู่ริมถนน    ลึกเข้าไปซอยไหนซอยนั้น ยิ่งซอยไกลๆอย่างซอยไปดีมาดีและทองหล่อ  เป็นนาเหมือนอยู่นอก อ.เมืองสุพรรณบุรี


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 124  เมื่อ 09 ก.ย. 13, 08:58

ตรงข้ามฝั่งกับธนาคารครับ
ตรงข้ามฝั่งธนาคาร มุมหนึ่งเป็นสถานทูตอังกฤษ  อีกมุมหนึ่งเป็นตึกใหญ่ ทรงเหลี่ยม  แบบเป็นบ้านเศรษฐีค่ะ
เหมือนบ้านเดิมของอาจารย์ดมศรีของคุณนวรัตน   น่าจะสร้างสมัยเดียวกัน  
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 125  เมื่อ 09 ก.ย. 13, 09:04

“ถนนสุขุมวิท” จึงได้เริ่มขึ้นตั้งแต่สุดถนนเพลินจิตร และสร้างต่อไปทางทิศตะวันออกไปสุดที่ซอยวัฒนา(สุขุมวิท 19 เดี๋ยวนี้)เท่านั้น เป็นถนนลาดยางกว้างๆ  2 เลน รถสวนกันได้สบายๆ สองข้างถนนเป็นคลอง“บางกะปิ” ทั้งสองข้างถนนส่วนมากเป็นนา

เอาคุณหนุ่ม เปิดเกมมา

จะเปิดเกม ก็เมื่อประโยคนี้แล " สองข้างถนนเป็นคลองบางกะปิ” เป็นไปได้หรือ  ฮืม

ก่อนที่จะมีคำว่าถนนสุขุมวิท ถนนนี้เคยชื่อ "ถนนปากน้ำ"
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 126  เมื่อ 09 ก.ย. 13, 09:20

ก็เห็นอยู่
แผนที่ของคุณก็พออ่านออกว่าคลองบางกะปิในสมัย(?)หนึ่งอยู่ที่ไหน ก่อนที่จะโดนมั่วไปเป็นคลองแสนแสบไป

ผมคิดว่าผมยังพอจะเกิดทันนะ ที่ถนนปากน้ำถูกมั่วว่าเป็นถนนบางกะปิ คลองหรือคูข้างถนนที่เกิดขึ้นเพราะถูกขุดเอาดินมาพูนเป็นถนนก็เลยพลอยถูกมั่วว่าเป็นคลองบางกะปิด้วย คลองบางกะปิเดิมจึงต้องหลบไปเป็นคลองแสนแสบ


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 127  เมื่อ 09 ก.ย. 13, 09:24

อ้างถึง
อีกมุมหนึ่งเป็นตึกใหญ่ ทรงเหลี่ยม  แบบเป็นบ้านเศรษฐีค่ะ
เหมือนบ้านเดิมของอาจารย์ดมศรีของคุณนวรัตน   น่าจะสร้างสมัยเดียวกัน 

นั่นแหละครับ บ้านใคร ต่อมาได้สร้างเป็นอพาร์ตเม้นท์ราคาแพงที่ว่าให้ฝรั่งเช่า
 

 
 
 
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 128  เมื่อ 09 ก.ย. 13, 09:27

ในฐานะชาวบางกะปิเก่า  ขอยืนยันว่า คำว่า บางกะปิใช้กันแพร่หลาย(เป็นศัพท์ทางการของคำว่า "มั่ว  ยิ้มเท่ห์ ) หมายถึงทำเลแถบสุขุมวิทซอย 1 ไปจนถึงสะพานพระโขนง    ถนนที่พาดผ่านก็เรียกว่าถนนบางกะปิ  ไม่มีใครเรียกถนนปากน้ำ    คูน้ำกว้างๆข้างถนนก็เข้าใจกันว่าเป็นคลองบางกะปิ    
คูริมถนนกว้างขนาดบ้านริมถนนต้องทำสะพานกว้างๆให้รถยนต์แล่นข้ามไปเพื่อเข้าประตูบ้าน      ความกว้างของคูเกือบเท่ากับถนนสองเลน  เรียกว่าคลองขนาดย่อมก็คงได้  จำได้แม้แต่มีคนมาหาปลาในคูนั้นด้วยค่ะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 129  เมื่อ 09 ก.ย. 13, 09:30

อ้างถึง
อีกมุมหนึ่งเป็นตึกใหญ่ ทรงเหลี่ยม  แบบเป็นบ้านเศรษฐีค่ะ
เหมือนบ้านเดิมของอาจารย์ดมศรีของคุณนวรัตน   น่าจะสร้างสมัยเดียวกัน  

นั่นแหละครับ บ้านใคร ต่อมาได้สร้างเป็นอพาร์ตเม้นท์ราคาแพงที่ว่าให้ฝรั่งเช่า  

ขอตัวไปรื้อฟื้นความจำสักพัก   เคยมีเพื่อนอยู่แถวนั้นเหมือนกัน อาจจะสอบถามได้
คิดว่าไม่ใช่ที่ดินของท่านผู้หญิงเลอศักดิ์บุตรีพระยาภักดีนรเศรษฐ์(นายเลิด)   ที่ดินท่านคือฝั่งซ้าย  บ้านที่ว่าอยู่ฝั่งขวา
อาจจะเป็นที่ดินของเจ้านาย ไม่แน่ใจว่าพวกสวัสดิวัตน์หรือไม่

คนที่ปลูกตึกอยู่ริมถนนเพลินจิตมาตั้งแต่ก่อน/หลังสงครามโลก   ถ้าไม่ใช่เจ้านายก็เศรษฐีใหญ่ จึงสามารถซื้อที่ดินผืนใหญ่ๆได้   ส่วนสามัญชนเต็มร้อยต้องไปหาที่ดินลึกๆเข้าไปในซอย  เป็นที่ดินแบ่งขายเป็นแปลงๆ  ตอนสงครามโลกที่ดินด้านใกล้ทางรถไฟช่องนนทรีขายราคาถูกมาก   เพราะไม่มีใครเอา   ตกตารางวาละหกสลึง
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 130  เมื่อ 09 ก.ย. 13, 09:36

พอถนนตอนนี้เสร็จ(สุดที่ซอยวัฒนา) ผู้ที่มีเงินก็พากันมาปลูกบ้านสวยๆ กันมากขึ้น จนได้ชื่อว่า “บางกะปิ” แหล่งของคนรวย เพราะมีรถยนต์สวยๆ มาวิ่งกันสบายๆมากขึ้น(ควายค่อยๆหายไป) เพราะในสมัยนั้นรู้สึกว่าบริเวณนี้อยู่นอกเมืองมากจริงๆ

พอมีคนมาอยู่มากขึ้น ที่ดินริมถนนก็ขาดแคลน จึงทำให้มีถนนซอยมากขึ้น ซอยซ้ายมือเป็นเลขคี่ทั้งหมด ซอยขวามือเป็นเลขคู่ แต่ในเวลานั้นยังไม่มีเลขซอย มีแต่ชื่อ
ซอยแรกซ้ายมือชื่อว่า “รื่นฤดี” (ซอย 1 เดี๋ยวนี้) สุดซอยนี้ลงคลอง "แสนแสบ" เป็นบ้านของคุณพระเจริญวิศวกรรม อดีตคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ท่านมีลูกสาวสวย อยู่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ ทำให้มีคนเข้าออกในซอยคึกคักขึ้น เดี๋ยวนี้มีโรงพยาบาล “บำรุงราษฎร์” ที่กลางซอย 1 ซึ่งทะลุออกซอยนานาเหนือ(แยกซอย 4)ได้ ที่ดินในบริเวณซอยนานาเหนือ(ซอย 3) และซอยนานาใต้(ซอย4) ส่วนมาเป็นของนาย A.E. NANA ชาวอินเดียผู้ร่ำรวย
   
ในซอยนานาใต้(ซอย 4)นี้ เกือบสุดซอย(เป็นซอยแยกชื่อซอยสมาหาร) มีบ้านของ พล.ร.ต. สมภพ ภิรมย์ ปริญญาตรีสถาปัตย์รุ่นแรก ส่วนกลางซอยนั้นเป็นบ้านของ ศ.รอ. กฤษฎา อรุณวงษ์ อดีตคณบดีคณะสถาปัตย์ฯ จุฬาฯ(มาปลูกที่หลัง)
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 131  เมื่อ 09 ก.ย. 13, 09:54

ซอยนานาใต้ ปี ๒๕๑๗ ครับ
ของคุณหนุ่มมีรูปเดียวกันนี่หรือเปล่า
อ้างถึง
ก่อนที่จะมีคำว่าถนนสุขุมวิท ถนนนี้เคยชื่อ "ถนนปากน้ำ"
เพิ่งรู้เดี๋ยวนี้แหละ นับเป็นความรู้ใหม่เอี่ยมทีเดียว ขอบคุณมาก


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 132  เมื่อ 09 ก.ย. 13, 10:00

ถนนสายปากน้ำ ถูกระบุในแผนที่ท่องเที่ยวกรุงเทพ เดิมไม่ได้ใช้สุขุมวิท ๑ สุขุมวิท ๒ แต่เรียกตามชื่อซอยนั้น ๆ เช่น ซอยนานา ซอยอโศก ซอยวัฒนา เป็นต้น

จะเห็นจากแผนที่ว่าหากหันหลังให้ทางรถไฟ มองไปทางทิศตะวันออก ซ้ายมือจะเป็นถนน ขวามือเป็นคลอง ที่เกิดจากการขุดดินเอามาทำถนน จึงเกิดร่องคุน้ำขึ้น

ตามตัวอย่างในภาพขวามือ

จำได้ว่ายายข้าพเจ้ามาซื้อที่ดินแถวซอยกลาง ในราคาวาละ ๒๐๐ บาท  ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 133  เมื่อ 09 ก.ย. 13, 10:02

ปากซอย 6 สุขุมวิท เป็นบ้านของ ม.ร.ว. มิตรอรุณ เกษมศรี และ ศ.ม.ร.ว. แน่งน้อย ศักดิ์ศรี ต่อมาท่านได้ขายไป 100 ล้าน(เนื้อที่ 1000 ต.ร.ว.) ส่วนอีกฝั่งของซอย 6 เป็นบ้านของคุณฉลอง เคียงศริ ซึ่งขายต่อมาอีก 1 ปี ขายได้ 160 ล้าน ส่วนที่ของคุณแม่ปากซอย 12 (ซอยจิตรลมุล) ขายให้ มจ.หญิงองค์หนึ่งไป ได้เพียง(10,000)หมื่นเดียวเท่านั้น (1000 ตร.วา ๆ ละ 10 บาท ก็เป็นหมื่นบาท) คนซื้อไปขายต่อ 300,000 ราคาที่ดินคนละเวลา แตกต่างกันมากนะ!!
ในซอย 6 นี้มีซอยแยกติดต่อกับซอย 4 ได้ ผมได้ออกแบบและสร้างแฟลต เป็นตึก 3 ชั้นของ ม.ร.ว. เกษมโภค เกษมศรี ซึ่งยังอยู่จนบัดนี้
   
ที่ในซอย 12 ตรงกันข้ามกับบ้านผมนั้นว่างอยู่ 11 ไร่ มีแขกใช้เป็นที่เลี้ยงควาย 4-5 ตัว รีดนมขาย ผมเคยซื้อมาลองชิมนมควายดู ก็ใช้ได้ ที่นี้เป็นของ มจ.หญิงบุญจิราฯ ต่อมาได้ขายให้บริษัทแขกไป เวลานั้นคนต่างชาติซื้อที่ไม่ได้ แต่ถ้าเป็นบริษัทซื้อได้ ฉะนั้นพวกแขกจึงรวมตัวเป็นบริษัทซื้อไปทั้งหมด ทำเป็น แฟลตสูงๆ 10 กว่าชั้น ทั้งนี้ไม่เหลือที่ให้ควายอยู่เลยสักตัว อนิจจา....
   
เยื้องซอย 12 เป็นซอย 11 ซอยไชยยศ ได้ชื่อนี้เพราะมีบ้านของพระยาไชยยศสมบัติ(เสริม กฤษณามระ) อดีตคณบดีคณะบัญชีของจุฬาฯ และยังเป็นซอยที่หนุ่ม ๆ เข้าออกมากผิดปกติ เพราะมีบ้านของ ม.ล. พร้อมจิตร สนิทวงศ์ และ ม.ล. พร้อมศรี พิบูลสงคราม สองดาราดวงเด่นของกลุ่มจักรยานกลุ่มใหญ่ที่โฉบฉายไปมาเป็นแสงสีจุดเด่นของถนนสุขุมวิท

บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 134  เมื่อ 09 ก.ย. 13, 10:06

ภาพดาวประจำซอย


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 7 8 [9] 10 11 ... 30
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.108 วินาที กับ 20 คำสั่ง