เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 6 7 [8] 9 10 ... 30
  พิมพ์  
อ่าน: 127568 เรื่องเล่าชาวกรุงเทพรุ่นทวด
Jalito
องคต
*****
ตอบ: 478


ความคิดเห็นที่ 105  เมื่อ 09 ก.ย. 13, 00:34

เสาตะเกียบ หน้าตาแบบนี้หรือเปล่าคะ

นึกถึงคำถามที่อาจารย์ ฯ ฝากไว้ .. วันนี้นั่งเรือข้ามฟากจากฝั่งพระสมุทรเจดีย์มาทางฟากปากน้ำ
ได้เห็นเสาตะเกียบพอดีที่ท่าเรือพระสมุทรเจดีย์ จึงนำมาฝากอาจารย์ฯ ครับ

คุณลุงไก่ลงทุนไกลเลยนะครับ   แม่น้ำตรงหน้าเมืองสมุทรปราการกว้างน่าดู ประมาณ 1 กม.แต่พอพ้นหน้าน้ำหลากไปแล้ว วันที่น้ำแห้งสุดนี่ถ้ามองจากทางฝั่งเจดีย์ จะเห็นหาดเลนยื่นออกไปไกลจนเหมือนว่าจดฝั่งตรงข้าม ใจหายเลย
            เห็นว่ามีโครงการจะทำสะพานแขวน(เฉพาะคนเดิน)ข้ามจากฝั่งเจดีย์ไปเกาะป้อมผีเสื้อสมุทรมาสัก 2 ปีแล้ว จนต้องย้ายท่าเรือข้ามฟากเขยิบไปจากที่เดิม ตามรูปของคุณลุงไก่ก็ยังไม่มีอะไรเป็นชิ้นเป็นอันเชื่อมสองฝั่งนั้นเลย
บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 106  เมื่อ 09 ก.ย. 13, 06:52

แม่น้ำตรงหน้าเมืองสมุทรปราการกว้างน่าดู ประมาณ 1 กม.แต่พอพ้นหน้าน้ำหลากไปแล้ว วันที่น้ำแห้งสุดนี่ถ้ามองจากทางฝั่งเจดีย์ จะเห็นหาดเลนยื่นออกไปไกลจนเหมือนว่าจดฝั่งตรงข้าม ใจหายเลย

ภาพแรก - บริเวณนี้หละครับที่คุณ Jalito เอ่ยถึง ยามน้ำลดจะเห็นชายเลนกินไปถึงครึ่งแม่น้ำ บรรดานกน้ำจะพากันมาเดินย่ำเลนหาอาหารกัน ร่องน้ำลึกสำหรับการเดินเรือจะอยู่ทางด้านฝั่งซ้ายของแม่น้ำหรือทางด้านทิศตะวันออก

ภาพที่สอง - ที่ผมวงกลมไว้ในภาพ อาคารที่เห็นลิบ ๆ ฝั่งตรงข้าม คืออาคารโรงเรียนนายเรือครับ ได้ข่าวมาว่าทางกองทัพเรือมีแผนจะย้ายไปอยู่ที่สัตหีบ ชลบุรี ในพื่นที่ของ สอ รฝ ด้านหนึ่งติดทะเล อีกด้านหนึ่งติดสุขุมวิท

ภาพที่สาม - ดังนั้นจึงต้องมีกระโจมไฟสัญญานไว้กลางแม่น้ำ เพื่อให้เรือรู้ว่าร่องน้ำลึกอยู่ตรงไหน ชายเลนน้ำตื้นอยู่ตรงไหน




บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 107  เมื่อ 09 ก.ย. 13, 07:02

ตรงที่รุ่นผมมายืนให้รุ่นพี่ทำน้ำตกมาล้างตัวให้นั้น เค้าเปลี่ยนมาให้น้องใหม่ยืนรับใบจามจุรีที่รุ่นพี่ขึ้นไปยืนโปรยปรายมาให้ ก็คงซาบซึ้งดีครับ ตอนนี้

หวังว่ารุ่นพี่สถาปัตย์คงไม่ได้แอบรูดใบจามจุรีจากต้นในรั้วจุฬาฯ มาโปรยรับน้องนะครับ

รุ่นพี่วิศวะฯ สมัยก่อน แอบไปตัดเอาจากริมถนนพหลโยธินแถวหน้ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์โน่น
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 108  เมื่อ 09 ก.ย. 13, 07:14

เอ ไม่ทราบเหมือนกันครับ แต่สมัยผมคงหาเอาในจุฬานี่แหละยังมีที่ๆเป็นป่าเยอะไป แต่อนาคตไม่แน่ อาจใช้ใบจามจุรีพลาสติก

เลยอดแถมไม่ได้ ว่าจะพอแล้วเชียว

เอารูปสมัยผมที่รุ่นพี่ให้แต่งเป็นอินเดียนแดงเข้าพิธีศีลจุ่มมาให้ชมเพิ่ม และรูปแห่เชือกลงสระหน้าคณะก่อนไปอาบน้ำตกในคอร์ทภายในคณะ
ที่เอามาเพื่อให้เด็กๆไม่ต้องกลัวพิธีรับน้องของพวกเราชาวจุฬา สมัยไหนๆก็ไม่มีป่าเถื่อนโหดร้าย แต่เต็มไปด้วยพิธีกรรมที่จะประทับอยู่ในใจน้องใหม่ตราบนานเท่านาน กว่าที่อัลไซเมอร์จะพรากความจำนั้นไป


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 109  เมื่อ 09 ก.ย. 13, 07:16

^
ลืมใส่โมเสกตามแฟชั่น เอ้า where ๆ is a where ๆ ไหนๆก็ไหนๆ เลยตามเลยก็แล้วกัน

แห่เชือกข้ามคลอง(ซึ่งเหลือแค่เป็นสระ) แล้วมาอาบน้ำตกในคณะ


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 110  เมื่อ 09 ก.ย. 13, 07:23

อีกหนึ่งในพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ที่อัลไซเมอร์นำมาคืนให้ผมหลังการพักผ่อนที่เพียงพอ ก็คือพิธีแห่โคม โคมนี้เสมือนหนึ่งวิญญาณของสถาปนิกที่สืบทอดต่อๆกันชั่วลูกชั่วหลาน ก่อนวันรับน้องใหม่ อาจารย์สอนวิชาพื้นฐานการออกแบบ (Design Fundamental)จะสั่งให้นิสิตปีหนึ่งทำโคมของตนขึ้นเพื่อเก็บเป็นคะแนนสอบ ทุกคนจะตั้งใจประดิษฐ์คิดค้นแบบแปลกๆมาทำโคม ซึ่งจะประกวดชิงรางวัลกันในคืนรับน้องใหม่ด้วย

พออาบน้ำแต่งเครื่องแบบพระราชทานแล้วก็มืดค่ำพอดี น้องใหม่จะถือโคมตั้งขบวนหน้าคณะ แล้วเดินร้องเพลงแห่โคมไปรอบหอประชุมจุฬา ก่อนจะกลับเข้าคณะ ตอนเข้ามาในห้องโถงหน้าตึกใหญ่จะประทับใจสุดๆ เพราะรุ่นพี่เก่าๆที่จบไปแล้วมารอรับแน่นขนัด โปรยใบจามจุรีให้พร้อมร่วมเปล่งเสียงเพลงแห่โคมสะท้อนห้องกึกก้องสะเทือนเข้าไปถึงใจอันเป็นที่ตั้งของจิตวิญญาณ

ดังนั้น ไม่ว่าเป็นงานใดของเหล่าสถาปนิกที่เป็นพิธีรีตอง จะต้องมีการแห่โคมทุกครั้ง

ในคลิปนี้ แห่โคมในวันฉลองสถาปัตย์๘๐ปี อยู่นาทีที่ ๓.๔๔ แต่อย่าลืมย้อนไปฟังเพลงเต็มๆในช่วงต้นด้วยนะครับ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 111  เมื่อ 09 ก.ย. 13, 07:33

สำหรับชาวจุฬาทุกคนที่เข้ามาอ่านครับ


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 112  เมื่อ 09 ก.ย. 13, 07:35

พอละครับเรื่องถาปัด เดี๋ยวนัดเจอกันที่หัวถนนสุขุมวิทนะครับ

แนบแผนที่ประกอบให้ดูว่า เดิมถนนเพลินจิตร ไปหยุดเพียงทางรถไฟที่วิ่งไปยังสถานีแม่น้ำ (ท่าเรือคลองเตย) หากเทียบในปัจจุบันก็บริเวณใต้ทางด่วนเพลินจิตร หรือสถานีรถไฟฟ้า BTS เพลินจิตร


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 113  เมื่อ 09 ก.ย. 13, 07:46

อดีต “ถนนสุขุมวิท” ที่ผมเห็น

เวลานี้ (พ.ศ. 2547) ผมอายุ 82 ปีแล้ว อยากจะเล่าถึงถนนสุขุมวิทที่ผมได้เห็นมา ถ้าเล่าผิดพลาดอะไรบ้างก็อภัยให้คนแก่บ้างนะครับ

เมื่อผมอายุราว 5-6 ขวบ (ราว พ.ศ. 2470) ถนนสุขุมวิทยังไม่มี มีแต่ถนนเพลินจิตร มาสิ้นสุดแค่ทางรถไฟสาย “มักกะสัน-ช่องนนทรี” เท่านั้น มีทางรถไฟกั้นอยู่ที่สุดทางถนนเพลินจิตรนั้น ทางขวามือมีบ้าน 2 ชั้นสร้างด้วยไม้สักทั้งหลัง ของพระยาผดุงฯ ซึ่งเป็นบิดาของคุณจำกัด พลางกูร รูปร่างเล็กแบบบาง เมื่อสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ท่านเป็นเสรีไทยที่เดินทางด้วยเท้าหลบกองทหารญี่ปุ่นจากประเทศไทยไปถึง “จุงกิง” ประเทศจีน เพื่อติดต่อกิจการของเสรีไทย และได้สิ้นชีวิต ณ ที่นั่น เป็นเหตุการณ์ที่น่าสดุดียิ่งนัก
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 114  เมื่อ 09 ก.ย. 13, 07:56

ถนนเพลินจิต เดิมเขียนว่า "ถนนเพลินจิตร์" ถูกตัดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๖ โดยได้รับนามจากพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรวรรณากร กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์

เดิมในสมัยปลายรัชกาลที่ ๕ มีเส้นทางดินอยู่ก่อนแล้ว และเรียกว่า "ถนนหายห่วง" เนื่องจากการเดินทางมาตรงนี้มีความยากลำบากในการเดินทาง ลำบากจนหายจากความสบายไปเลย
 
เป็นถนนที่ตัดใหม่เชื่อมต่อระหว่างถนนพระราม ๑ ไปสิ้นสุดที่ทางรถไฟสายตะวันออก เมื่อการตัดถนนเรียบร้อยแล้วบริเวณนี้ในสมัยรัชกาลที่ ๖ เป็นยุคที่บ้านเมืองมีความเจริญกว่ารัชกาลที่ผ่านมา ท้องทุ่ง สายลมเย็นสบายทำให้เกิดการกว้านซื้อที่ดินและจัดสรรปลูกบ้านไว้ชานเมือง บรรดาเศรษฐีและเจ้านายต่างก็มาซื้อที่ดินแถวนี้เพื่อพักอาศัย ในช่วงรัชกาลเดียวกันก็เกิด "ซอยร่วมฤดี" ขึ้นมา


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 115  เมื่อ 09 ก.ย. 13, 08:05

ที่ลูกศรชี้คือวังของสมเด็จกรมพระยาชัยนาทนเรนทร ที่เรียกตำหนักไม้ วังวิทยุ ใช่ไหมครับ


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 116  เมื่อ 09 ก.ย. 13, 08:15

ต่อจากนั้น “ถนนสุขุมวิท” จึงได้เริ่มขึ้นตั้งแต่สุดถนนเพลินจิตร และสร้างต่อไปทางทิศตะวันออกไปสุดที่ซอยวัฒนา(สุขุมวิท 19 เดี๋ยวนี้)เท่านั้น เป็นถนนลาดยางกว้างๆ  2 เลน รถสวนกันได้สบายๆ สองข้างถนนเป็นคลอง“บางกะปิ” ทั้งสองข้างถนนส่วนมากเป็นนา และ”กระต๊อบ”ชาวนา บางแห่งก็มีป่า”สะแก” (ชื่อต้นไม้ชนิดหนึ่งขึ้นเป็นกลุ่มๆ ในที่รกร้าง)ริมทางรถไฟตอนสุดซอยนานา(สุขุมวิทซอย 4 เดี๋ยวนี้)  ซึ่งผมแอบขี่ม้าจากบ้านศาลาแพงออกถนน ”สาธร” เข้าสวนลุมพินีข้ามถนนวิทยุซอย”โปโลคลับ” ข้ามทางรถไฟเข้าป่าสะแกเลย ได้อารมณ์ดีมากในป่าสะแก ไปออกถนนสุขุมวิทที่ปลายซอยนานา และขี่ม้าเที่ยวข้างถนนโล่ง ๆ สบายมาก


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 117  เมื่อ 09 ก.ย. 13, 08:17

ที่ลูกศรชี้คือวังของสมเด็จกรมพระยาชัยนาทนเรนทร ที่เรียกตำหนักไม้ วังวิทยุ ใช่ไหมครับ

บ่ ใช่ ก๋า วังกรมพระชัยนาทอยู่หลังทิวสน ลึกจากถนนเข้าไป ๗ แปลง
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 118  เมื่อ 09 ก.ย. 13, 08:19

ที่ลูกศรชี้คือวังของสมเด็จกรมพระยาชัยนาทนเรนทร ที่เรียกตำหนักไม้ วังวิทยุ ใช่ไหมครับ
ไม่ใช่ค่ะ   วังของท่านอยู่ลึกจากถนนเพลินจิตไปมากกว่านี้   ไปทางสถานทูตอเมริกา      ที่ดินตรงลูกศรชี้น่าจะเป็นบริเวณโรงแรมพลาซ่าแอทธินีค่ะ
รูปนี้ถ่ายก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 อาจจะถอยหลังไปถึงรัชกาลที่ 7     ต้นไม้ครึ้มเต็มไปหมด   สวยมาก
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 119  เมื่อ 09 ก.ย. 13, 08:22

หัวมุมถนนวิทยุ เมื่อสมัยจบจุฬาใหม่ๆ มีตึกอพาร์ตเมนต์เป็นแท่งกลมๆ ไม่ใช่ที่ดินของราชสกุลรังสิตหรือครับ

นี่ ดูครับนี่ ไฮโซจริงของกรุงเทพยุคนั้นต้องขี่ม้า เดี๋ยวนี้ขี่รถสปอร์ตก็ได้แค่เต๊ะจุัยอยู่กลางถนน รถติดๆคนเดินถนนก็ไปได้เร็วกว่า


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 6 7 [8] 9 10 ... 30
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.069 วินาที กับ 20 คำสั่ง