เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 4 5 [6] 7 8 ... 30
  พิมพ์  
อ่าน: 127126 เรื่องเล่าชาวกรุงเทพรุ่นทวด
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 75  เมื่อ 08 ก.ย. 13, 09:30

อ้อ ไม่ได้บินนะครับ แค่กระพือปีกเฉยๆ อื้อฮือแฮะ

"ไม่เชื่ออย่าลบหลู่" เร็วๆ ท่องไว้ ๆ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 76  เมื่อ 08 ก.ย. 13, 09:33

เมื่อไม่มีที่จะเรียนแล้ว ผมไม่อยากให้เวลาที่ผ่านไปโดยเปล่าประโยชน์ ผมจึงสมัครเข้าเป็นนายทหารเรือ เพื่อรับใช้ชาติยามที่ชาติต้องการ และตามที่อยากจะเป็นตั้งแต่เมื่อจบ ม.8 แล้ว ผมก็ได้เป็นว่าที่นายเรือตรีประจำการที่กรมอู่ทหารเรือ โดยผลจากจบการเรียนวิชาทหารและได้อนุปริญญาแล้วก็ได้เป็นนายทหารเลย(ประโยชน์จากการเรียนวิชายุวชนนายทหาร) ได้รับเงินเดือน 600 กว่าบาท อู้ฟู่มาก ในขณะนั้นค่าครองชีพก็สูงขึ้นเหมือนกัน เพราะสงครามทำให้ของใช้ขาดแคลน ราคาสูงขึ้นเรื่อยๆไม่มีลง สูงมาจนถึงทุกวันนี้ นี่แหละผลของสงคราม

ขณะที่ผมเป็นนายทหารเรืออยู่นั้น ต้องไปคุมงานก่อสร้าง ร.ร. นายเรือที่ “เกล็ดแก้ว” สถานที่ก่อสร้างสวยงามมาก เป็นอ่าวสวยและมีเกาะเป็ดอยู่ข้างหน้า ตอนกลางวันมีร้านกาแฟอยู่ร้านเดียว กลางคืนไม่มีร้านอาหารเลย ผมต้องไปอาศัยอยู่กับพวกหมอโสดของ ร.พ. ทหารเรือที่สัตหีบ ห่างจาก “เกล็ดแก้ว” 11 กิโลเมตร ตอนเช้าจะไปทำงานมีอาหารเช้าคือ ข้าว1หม้อ ไข่ดาวเท่าจำนวนนายทหารที่มีอยู่ น้ำปลาพริกขี้หนูชามใหญ่ นี่แหละอาหารเช้าของนายทหารเรือที่พวกเราอยู่ ต่อมาก็มีรถขนนักโทษทหารไปทำงานที่ “เกล็ดแก้ว” มารับผมไปด้วย เลิกงานก็พามาส่ง
ตอนเย็นตามบ้านพักนายทหารโดยมากจะมีการดื่มกันอยู่ที่เฉลียงหน้าบ้าน นายทหารคนใดผ่านมาก็เรียกมาร่วม “กรุ้บ” กันด้วยทุกคน นี่แหละน้ำใจของทหารเรือ เหล้าในเวลาสงครามนั้นหายาก มีเหล้ากล้วยขวดละ 1บาท (เป็นเหล้าที่ชาวบ้านเอากล้วยมาทำกันเอง) อย่างดีหน่อยก็ยาดองกระดูกเสือ กินกันไปตามแกนและเพื่อสังสรรค์ตามคำเชิญของนายทหารเหล่านี้ ทำให้เรารู้จักสนิทสนมกับนายทหารชั้นผู้ใหญ่มากขึ้นด้วย

ก่อนสงครามสงบนั้น กองทหารญี่ปุ่นฮึ่มๆกับรัฐบาลไทย กลัวไทยจะแปรพักตร์ เพราะมีข่าวของเสรีไทย ฉะนั้นทางกองทัพเรือที่สัตหีบก็เตรียมสู้ตายที่นั่นถ้าทหารญี่ปุ่นบุกไทย เลยตั้งป้อมปืนใหญ่และปืนกลหลายแห่งตามข้างถนนก่อนที่ญี่ปุ่นจะมาถึงสัตหีบ เดชะบุญสงครามจบไปด้วยดี(โล่งอกไปที)


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 77  เมื่อ 08 ก.ย. 13, 11:17

ถึงเรื่องสำคัญทันยุคสมัยเจี๊ยบของคุณทวด คุณเหลนทั้งหลายโปรดอ่าน

ในเวลาสงครามนั้นน้ำมันเบนซิน ตามปั๊มมีการปันส่วนให้เพียงเดือนละ 10 ลิตร (ราคาจำไม่ได้แน่ดูเหมือนลิตรละ 2-3 บาทเท่านั้น) แต่ราคาในตลาดมืด 20 ลิตรต่อ 300 บาท ฉะนั้นคนส่วนมากจึงขี่จักรยาน นายทหารก็มีขี่จักรยานเหมือนกัน แต่รถเมล์ไทยประดิษฐ์คิดทำแก๊สจากถ่านหุงข้าวนี่แหละเทเข้าไปในถังกลมๆ สูงราว 1 เมตร แล้วก็หมุนที่มีมือจับ สักครู่รถก็วิ่งได้ คนไทยช่างคิดการดัดแปลงแก้ไขปัญหาในเวลาวิกฤตดีเหลือเกิน และยังมีอีกที่เอาน้ำยางพารามากลั่นเป็นน้ำมันแทนน้ำมันเบนซินได้ คนไทยเก่งจริงๆ

เรื่องทำแก็สจากถ่านหุงข้าว เรียกว่าgasify เดี๋ยวนี้ยังทำกันอยู่บ้างแต่ไม่ถึงกับมาฉุดเครื่องยนต์รถเมล์ ส่วนการนำน้ำยางพารามากลั่นเป็นน้ำมันในสมัยสงครามนี่ คุณ ravio แควนเก่าของผมสมัยอยู่พันทิปเขียนไว้ในบล็อก ผมโยงสายอากาศไว้ให้แล้ว ใครสนใจก็เข้าไปคลิ๊กอ่านได้ทั้งฝ่ายม๊อบและฝ่ายปราบม๊อบ

http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=ravio&month=06-2011&date=20&group=6&gblog=58

ไม่ทราบว่าคุณ ravio ใช้ชื่อใดในเรือนไทยหรือเปล่า หรือเป็นเสือซุ่มประเภทอ่านเฉยๆ ไม่เห็นชื่อคุณนานแล้ว เลิกเล่นกระทู้ไปหรือยัง
คิดถึง ๆ


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 78  เมื่อ 08 ก.ย. 13, 11:42

เมื่อสงครามสงบลง ผมก็ลางานไปเรียนต่อที่คณะ ขณะมาเรียนที่จุฬานั้นผมต้องแต่งเครื่องแบบนายเรือตรี(จะแต่งยุวชนไม่ได้เพราะผมเป็นนายทหารแล้ว)

ช่วงหลังสงคราม ดูเหมือนจะมีรุ่นพี่ของจารย์ดมศรี เป็นนายทหารเรือที่กองทัพส่งมาเรียนคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์อีกหนึ่งท่าน มาเรียนต่อให้จบปริญญาด้วย คือนายเรือตรีสมหมาย ภิรมย์ ซึ่งน่าจะเป็นบุุคคลในภาพซึ่งผมเจอจากหนังสือเล่มอื่น

ท่านที่ผมกล่าวถึงนี้ภายหลังได้เปลี่ยนชื่อตามรัฐนิยม รับราชการเป็นสถาปนิกทหารเรือจนใกล้เกษียณ แล้วจึงย้ายมาเป็นคณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร และเป็นอธิบดีกรมศิลปากรจนเกษียณอายุราชการ  ชื่อ ยศ และตำแหน่งสุดท้ายของท่านคือ ศาสตราจารย์ พลเรือตรีสมภพ ภิรมย์ ราชบัณฑิตสาขาวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 79  เมื่อ 08 ก.ย. 13, 11:49

ส่วนจารย์ดมศรีนั้น

ในวันหนึ่งขณะที่ผมทำThesisอยู่ ท่านเจ้าคุณ(พระยาประกิตกลศาสตร์ คณบดีคณะสถาปัตยฯ)มาพูดกับผมว่า “ดม มาช่วยกันสอนหน่อย” เมื่ออาจารย์ต้องการเช่นนั้น ผมจึงต้องมาเป็นอาจารย์ที่คณะสถาปัตย์ฯหลังจากที่ผมจบและได่รับพระราชทานปริญญาสถาปัตยกรรมศาสตร์บัณฑิตจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล โดยแต่งเครื่องแบบขาวเต็มยศของนายเรือคาดกระบี่ด้วย ทับเสื้อครุยปริญญา ในเวลานั้นรู้สึกภูมิใจและโก้เก๋มาก

รูปนี้มีค่าทางประวัติศาสตร์ ผมไม่เคยเห็นภาพพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล รัชกาลที่๘ ขณะพระราชทานปริญญาบัตรให้บัณฑิตจุฬาผู้สำเร็จการศึกษามาก่อน เพราะเสด็จพระราชดำเนินมาเพียงครั้งเดียวเท่านั้นในรัชสมัยของพระองค์


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 80  เมื่อ 08 ก.ย. 13, 11:57

จากวิกี้

ในระหว่างเสด็จนิวัตประเทศไทยเป็นครั้งที่ 2 นั้น พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดลได้เสด็จมาพระราชทานปริญญาบัตร ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2489 ซึ่งเป็นการพระราชทานปริญญาบัตรครั้งแรกในรัชสมัย และมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ (มหาวิทยาลัยมหิดลในปัจจุบัน) เมื่อวันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2489 ซึ่งเป็นการพระราชทานปริญญาบัตรเป็นครั้งสุดท้ายในรัชสมัย


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 81  เมื่อ 08 ก.ย. 13, 12:09

ต่อไปจากนี้ไป ท่านก็เขียนเล่าเกี่ยวกับเรื่องภายในวงการสถาปนิก และของคณะสถาปัตย์ที่ท่านเป็นอาจารย์จนเกษียณ ผมเห็นว่าแค่ที่ลงมาแล้วก็น่าจะพอเพียงต่อการที่ท่านๆจะรู้จักจารย์ดมศรีของผม ขอลงภาพเก็บตกในจุฬาอีกนิดหน่อย แล้วเราจะไปต่อเรื่องถนนสุขุมวิทที่คุณทวดเคยเห็นกัน
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 82  เมื่อ 08 ก.ย. 13, 12:23

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และบรรดาสถาปนิก ถืออาจารย์นารถ โพธิประสาท เป็นบุพพการีผู้ก่อให้เกิดการเรียนการสอนวิชาสถาปัตยกรรมขึ้นในประเทศไทยเป็นครั้งแรก ท่านผู้นี้จบมาจากมหาวิทยาลัยลิเวอร์พูล ประเทศอังกฤษ แต่น่าเสียดาย หลังจากที่ภาควิชาสามารถแยกออกจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มาเป็นคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ได้ ท่านก็ล้มเจ็บและถึงแก่กรรม อาจารย์ศิววงศ์ กุญชร ณ อยุธยา สถาปนิกจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ได้สืบต่อการทำงานของท่าน จนคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์เป็นปึกแผ่น

ทั้งสองท่านที่กล่าวมา ไม่ได้เป็นคณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ทั้งคู่


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 83  เมื่อ 08 ก.ย. 13, 12:28

ศาสตราจารย์ พลเรือตรีสมภพ ภิรมย์ เมื่อครั้งเป็นบัณฑิตหนุ่มของจุฬาฯ


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 84  เมื่อ 08 ก.ย. 13, 12:37

ท่านไม่ยักกะแต่งเครื่องแบบนายทหารเรือ สวมเสือครุยทับแฮะ สงสัยไม่ค่อยจะชอบห้อยกระบี่เหมือนจารย์ดมศรี
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 85  เมื่อ 08 ก.ย. 13, 12:41

กิจกรรมหลักของมหาวิทยาลัยในสมัยคุณทวดและปู่ คือเล่นกิฬาและเชียรกิฬากันเป็นบ้าเป็นหลัง สนุกซะเหลือเกิน หลายคนสนุกเพลินก็ต้องรีไทร์ไปเพราะอาจารย์ท่านไม่สนุกด้วย ปู่เองก็เสียวๆจะไม่รอดทุกปี

สงสัยว่าทำไมจารย์ดมศรีจึงเน้นเอารูปกองเชียรคณะบัญชีมาลงน้อ สงสัยอาจารย์กับลูกศิษย์จะมีรสนิยมเดียวกันตรงนี้


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 86  เมื่อ 08 ก.ย. 13, 12:53

กองเชียรถาปัด ชอบเล่นเป็นอินเดียนแดง ผู้ร้ายผู้น่าเห็นใจในหนังคาวบอยฮอลิวู๊ดที่เข้ามาตีตลาดเมืองไทย จนเด็กๆชอบเล่นเป็นคาวบอยสู้กับอินเดียนแดงเหมือนเด็กสมัยนี้เล่นเป็นไอ้มดเอ็กซ์ ดูซิครับ ทุ่มแรงทุ่มทุนมหาศาลตั้งกองเชียรไปให้กำลังใจนักกิฬา ทั้งๆที่รู้ว่าแพ้แน่ เพราะเป็นคณะเล็กคนน้อย หาตัวนักกิฬาที่จะไปสู้กับเขาได้ลำบาก


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 87  เมื่อ 08 ก.ย. 13, 13:08

จบเป็นสถาปนิกกันแล้ว ยังเล่นอินเดียนแดงอยู่เลย

วัฒนธรรมนี้ยังคงอยู่แม้จะเปลี่ยนรูปแบบไปบ้าง รุ่นผมนั้นตอนรับน้องใหม่รุ่นพี่จะให้แต่งเป็นอินเดียนแดง มาให้พี่ๆทั้งที่ไปจบแล้วและยังไม่จบpaintสีที่ใบหน้าและลำตัว เรียกพิธีกรรมนี้ว่า "ศีลจุ่ม" เมื่อทุกคนแสนจะสวยงามแล้ว ก็จะออกไปแห่เชือก คือช่วยกันแบกเชือกท่อนเท่าแขนยาวหลายสิบเมตรไปรอบถนนภายในจุฬา แล้วมาข้ามคลองหน้าคณะที่สมัยจารย์ดมศรีเรียกคลองไผ่สิงโต แต่สมัยผมเป็นแค่บ่อไปแล้ว รุ่นพี่จะช่วยลากเชือกขึ้นฝั่งอีกด้านหนึ่ง

การลงน้ำตรงนี้เป็นกุศโลบายที่ดี เพราะสีจะถูกล้างออกไปเยอะ หลังจากนั้นก็จะเข้าไปในตึก รุ่นพี่จะช่วยกันเทน้ำเย็นเจี๊ยบลงมาจากชั้นสอง สะใจเหมือนเล่นน้ำตกในฮอกไกโด หมดน้ำเย็นก็ต่อด้วยน้ำที่ฉีดโดยสายยางให้ฟอกสบู่ชำระล้างร่างกายจนสะอาด แล้วไปแต่งตัวสวมเครื่องแบบพระราชทานมาทานอาหารค่ำแบบหรูกับครูบาอาจารย์และพี่ๆ


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 88  เมื่อ 08 ก.ย. 13, 13:26

อาหารค่ำ สมัยผมเลี้ยงโต๊ะจีนกันเลยนะนั่น น้องใหม่จะถูกจับแยกไปนั่งกับรุ่นพี่ที่แต่งตัวอย่างหล่อกันมาเหมือนกัน


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 89  เมื่อ 08 ก.ย. 13, 13:51

ผมไม่ได้ไปร่วมกิจกรรมรับน้องมานานแสนนาน พอเขียนถึงตรงนี้เลยต้องไปแอบดูในเฟสบุ๊คเค้าหน่อยว่าเค้าทำอย่างไร

มันก็เปลี่ยนไปละครับ แต่รากเหง้าวัฒนธรรมศีลจุ่มยังอยู่ อินเดียนแดงคนสมัยนี้ไม่รู้จักแล้วก็ให้มันผ่านไป แห่เชือกยังอยู่แต่จุฬาถมสระหน้าคณะหมดแล้ว หมดที่จะเล่นข้ามฟากเลยต้องเอารถดับเพลิงมาล้างสีให้น้องใหม่


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 4 5 [6] 7 8 ... 30
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.065 วินาที กับ 20 คำสั่ง