เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6 7 ... 30
  พิมพ์  
อ่าน: 127694 เรื่องเล่าชาวกรุงเทพรุ่นทวด
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 60  เมื่อ 07 ก.ย. 13, 20:30

หนี ๆ ๆ ไปต่อเรื่องเครื่องแบบ......

หนีไม่ทัน หลบก็ไม่ทัน  ถูกฝ่ามือมหากาฬตะปบเข้าให้แล้ว อ่ะ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 61  เมื่อ 07 ก.ย. 13, 20:58

อ้างถึง
ยังเห็นภาพตัวจริงของท่านติดตาอยู่เลย
ใส่กางเกงทรงขอบเอวยันเกือบลิ้นปี่ งอแขนฉากช่วยขยับกางเกงไม่ให้เลื่อนหลุดลงไป ฝ่ามือพร้อมตะปบ พร้อมออกเสียงชี้.....   เท่านั้นแหละ   ว้าววววว   

หนีไม่ทัน หลบก็ไม่ทัน  ถูกฝ่ามือมหากาฬตะปบเข้าให้แล้ว อ่ะ

กลัวแบบต้องซ่อนหัวเราะ

ซ่อนหัวเราะเพราะฉี่ราดละซี้
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 62  เมื่อ 07 ก.ย. 13, 21:04

ผมต้องซีเรียสหน่อย มีคนขู่จะแก้แค้น เอาจารย์ดมศรีมาเป็นตัวช่วยดีกว่า

ระหว่าง พ.ศ. 2484-2488 เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 กองทัพญี่ปุ่นมายึดคณะเราภายในจุฬาฯ คณะเดียวเท่านั้น เราต้องย้ายไปอาศัยคณะวิศวฯ ได้อยู่ที่นึกแดงริมถนนอังรีดูนังค์ พอพ.ศ.2487-2488 พวกเรากำลังเรียนชั้นปีที่ 5 กำลังทำ THESIS อีก 3 เดือนก็จะจบแล้ว จุฬาฯ ประกาศหยุดเรียน เพราะพันธมิตรมาทิ้งระเบิดบ่อยมาก แต่พวกเราก็ยังขี่จักรยานเที่ยวกันสนุกสนาน ขี่จักรยานไปดูที่ถูกทิ้งระเบิด มีบ้านอยู่หลังหนึ่งสนามหน้าบ้านมีผ้าไหมสีต่างๆ กองเป็นหย่อมๆ นั้นคือ หางของลูกระเบิดเพลิงที่ไม่ระเบิด ตัวลูกระเบิดจมไปในดิน หางของมันก็เลยกองอยู่บนพื้นสนาม สีต่างๆสวยดีเหมือนกัน

เครื่องบินที่มาบอมบ์กรุงเทพเป็นแบบนี้


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 63  เมื่อ 07 ก.ย. 13, 21:27

ในสมัยสงครามนั้นน้ำมันแพงมาก จึงมีรถ 3 ล้อใช้คนปั่น นั่งได้ 2 คน วางของได้นิดหน่อย ราคาค่าโดยสารพอสมควร มาเป็นรถโดยสารคล้ายแท็กซี่สมัยนี้

สมัยก่อนรถสามล้อ เราก็มีรถลากหรือที่เราเรียกกันว่า รถเจ๊ก เพราะเป็นรถลาก 2 ล้อมีคนจีนเป็นคนลาก เวลาเรานั่งรถเจ๊กรู้สึกสงสารคนลากจัง คิดว่าเขาคงใช้แรงหนักมาก บางทีขณะที่เขาลากไป เขาคงหิวมากแวะข้างทางที่มีร้านข้าวต้มซื้อข้าวต้มเปล่า 1 ฃามใส่ซีอิ๊วมาหน่อย 1 สตางค์ ซดเพียง 1-2 นาที ก็ลากไป (น่าสงสารมากนะ) เมื่อมีรถ 3 ล้อ เข้ามามากขึ้น รถเจ๊กก็ค่อยๆ หายไป


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 64  เมื่อ 07 ก.ย. 13, 21:44

ขณะทีเกิดสงครามนั้น บ้านที่ศาลาแพงอยู่ใกล้สวนลุมพินี ซึ่งพวกทหารญี่ปุ่นตั้งไฟฉาย, ปตอ., และปืนกล แยะเลย เราเลยต้องสร้างที่หลบภัยในบ้านเพื่อให้คนในบ้านใช้หลบภัย และให้ความรู้สึกที่ดีและอบอุ่นแก่คนเหล่านั้นเมื่อเวลา “หวอ” มา คนก็ลงหลุมกันหมด ดูเครื่องบินมันมา ไฟฉายหลายดวงก็ส่องไฟจับที่เครื่องบินเป็นจุดเดียว เห็นเครื่องบินสว่างด้วยลำไฟฉายเหมือนกับเครื่องบิน บินลอยอยู่กลางแสงไฟฉาย สวยมาก แล้ว ปตอ. และปืนกลของเราก็ยิงขึ้นไปเห็นเป็นจุดแดงๆ เป็นสายขึ้นไปด้วยปืนกล และลูกแตกของ ปตอ. ก็ระเบิกใกล้ๆ เครื่องบินสีเงินนั้น แล้วมันก็ยิงปืนกลเป็นสาย จุดแดงๆ ลงมาและทิ้งระเบิดลงมาด้วย มองเห็นสวยงามและสนุกมาก ผมก็พากย์ให้คนในหลุมฟังด้วยการเห็นครั้งแรกและคงจะไม่ได้เห็นอีกแล้ว ตลอดเวลาสงครามนั้น พวกพันธมิตรมุ่งทำลาย “ไปรษณีย์กลางบางรัก” ซึ่งที่ตั้งอยู่ริมถนนเจริญกรุง ระหว่างถนนสุริยวงศ์ และถนนสีพระยา เครื่องบินมาโจมตีจุดนี้มากที่สุด แต่ทำอะไรไม่ได้เลยจนสิ้นสงคราม “คงกะพันชาตรี” ร้าน “สแตนดาร์ชู” เป็นตึกแถวข้างหน้า “ไปรษณีย์กลาง” ระเบิดพังไปเลย ลูกที่สองลงห่างบันไดหน้าตึก “ไปรษณีย์กลาง” 2 เมตรเท่านั้น แต่ไม่ระเบิด ลูกที่ 3 “ม่วงแค” ที่อยู่หลังตึกนั้นก็ระเบิด เป็นเรื่องเหลือเชื่อจริง ๆ อยู่ได้คงทนตลอดเวลาของสงคราม

เรื่องที่ที่ทำการไปรษณีย์กลางบางรักแคล้วคลาดจากระเบิดนี่ พอเครื่องบินสัมพันธมิตรผ่านไปแล้ว มีผู้ยืนยันนั่งยันนอนยันว่าตนเห็นกับตา พญาครุฑที่หัวมุมตึก ปฏิมากรรมฝีมือศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรีนั้น ได้แสดงสปิริตในความรักชาติอย่างน่าอัศจรรย์ยิ่ง พุ่งบินออกมาบินปัดลูกระเบิดไปตกที่อื่นหมด คนฟังก็ฟังอ้าปากหวอไปตามๆกัน


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 65  เมื่อ 07 ก.ย. 13, 22:09

เรื่องครุฑ  เคยได้ยินคล้ายๆกัน ต่างกันในรายละเอียดค่ะ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 66  เมื่อ 07 ก.ย. 13, 22:24

เมื่อไปทำงานก็ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี มีตัวอย่างเช่น เมื่อผมไปรับงานสร้างโรงไฟฟ้าที่พิษณุโลก พอจะส่งงานก็กลัวว่าจะต้องมีค่าน้ำร้อนน้ำชา แต่เปล่าเลย เพราะนายช่างใหญ่ก็วิศวฯจุฬาฯ ข้าหลวง(เดี๋ยวนี้เรียกว่าท่านผู้ว่าราชการจังหวัด)ก็จุฬาฯ เลยเซ็นรับรองงานได้โดยง่าย จุฬาฯ ด้วยกันเชื่อใจกัน ขอขอบพระคุณพี่ๆ ด้วยครับ

ทั่วราชอาณาจักรนี้เราเป็นหลักอยู่แต่ละส่วน
ชาวจุฬาฯ จึงควรรู้ค่าแห่งเกียรติภูมิจุฬาฯ
พร้อมกันอภิรักษ์ พิทักษ์ให้อยู่คู่ฟ้า
วุฒิศักดิ์จุฬาฯ วัฒนาอยู่นิจนิรันดร์


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 67  เมื่อ 07 ก.ย. 13, 22:31

^
ชอบเพลงนี้ 
คนแต่งเนื้อร้อง  หาคำศัพท์ได้อลังการมาก


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 68  เมื่อ 08 ก.ย. 13, 07:22

อ้างถึง
เรื่องครุฑ  เคยได้ยินคล้ายๆกัน ต่างกันในรายละเอียดค่ะ
ไม่เล่าสักหน่อยหรือครับ ต่างกันอย่างไร
บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 69  เมื่อ 08 ก.ย. 13, 08:02

ไม่เล่าสักหน่อยหรือครับ ต่างกันอย่างไร
[/quote]

เท่าที่ทราบทางฝั่งขะโน้นเขาปัดระเบิดไม่ให้มาถูกประตูน้ำภาษีเจริญ
ส่วนที่ว่าเขาปัดลูกระเบิดปรมาณูนี่คงไม่ใช่ เพราะตอนนั้นอเมริกายังอยู่ในระหว่างการทดสอบระเบิดอยู่ในทะเลทรายที่ประเทศของเขา

 ยิงฟันยิ้ม   ยิ้ม

บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 70  เมื่อ 08 ก.ย. 13, 08:43

นั่นแม่ชีธรรมกายกระมั้งครับลุงไก่ ฝั่งโน้นแม่ชี ฝั่งนี้ครุฑ แล้วมีที่ไหนอีกบ้างล่ะที่มีผู้เห็นอาวุธลับ Patriot missile ของประเทศไทย
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 71  เมื่อ 08 ก.ย. 13, 08:45

^
จะเข้ามาเล่าต่อเมื่อไหร่ก็เชิญตามสะดวกนะครับ

เมื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองสำเร็จเรียบร้อย หลังจากพระราชทานรัฐธรรมนูญแล้ว ปี๒๔๗๒ คณะราษฎร์ก็จัดงานฉลองขึ้นเป็นปีแรกในบริเวณพระราชอุทยานสราญรมย์  จนถึงปี๒๔๘๒ ส่วนของจังหวัดพระนครได้ย้ายสถานที่ไปจัดกัน ณ สวนอัมพร งานฉลองรัฐธรรมนูญเป็นงานฤดูหนาวที่จัดกันทุกจังหวัดตอนต้นเดือนธันวาคมของทุกปี ถือเป็นงานใหญ่ที่รัฐบาลทุ่มงบประมาณเต็มที่ให้กรมกองทั้งหลายไปออกร้านเพื่อให้ความรู้ความบันเทิงแก่ประชาชน ซึ่งต่างก็เตรียมเสื้อกันหนาวไว้จะใส่ประกวดประขันกันในงานนั้น
ในปี๒๔๘๓ ขณะที่คนไทยกำลังสนุกสนานเพลิดเพลินกับงานฉลองรัฐธรรมนูญ กองทัพลูกพระอาทิตย์ก็ยกพลขึ้นบกพร้อมกันทั่วทั้งแหลมทอง หวังอาศัยประเทศไทยเป็นทางผ่านไปรบกับอังกฤษในมลายูและสิงคโปร์ สงครามโลกครั้งที่สองจึงได้เปิดยุทธภูมิใหม่ขึ้นในอุษาคเนย์นับตั้งแต่วันที่ ๘ ธันวาคม ๒๔๘๓ นั้น


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 72  เมื่อ 08 ก.ย. 13, 08:50

เรื่องที่ที่ทำการไปรษณีย์กลางบางรักแคล้วคลาดจากระเบิดนี่ พอเครื่องบินสัมพันธมิตรผ่านไปแล้ว มีผู้ยืนยันนั่งยันนอนยันว่าตนเห็นกับตา พญาครุฑที่หัวมุมตึก ปฏิมากรรมฝีมือศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรีนั้น ได้แสดงสปิริตในความรักชาติอย่างน่าอัศจรรย์ยิ่ง พุ่งบินออกมาบินปัดลูกระเบิดไปตกที่อื่นหมด คนฟังก็ฟังอ้าปากหวอไปตามๆกัน

มีผู้ถามนายควง อภัยวงศ์ นายกรัฐมนตรี ในการแสดงปาฐกถา เมื่อวันที่ ๒๓ พ.ย. ๒๕๐๖ ว่า ในสมัยที่มีการ "คอรัปชัน" การก่อสร้าง ที่เรียกกันล้อ ๆ ว่า "กินหินกินปูน" คือ ขณะที่เกิดสงครามโลกครั้งที่ ๒ ปรากฏว่ากรุงเทพฯ โดนทิ้งระเบิดสถานที่สำคัญหลายแห่ง แต่กรมไปรษณีย์โทรเลข ที่เรียกกันว่า ไปรษณีย์กลาง ซึ่งเป็นตึกใหญ่โตสูงตระหง่านที่สุดในย่านสุรวงศ์สี่พระยานั้นฝ่ายสัมพันธ มิตรจงใจทิ้งระเบิดลงมาหลายครั้ง แต่ไม่ถูกเลย พลาดไปบ้าง ระเบิดด้านบ้าง ลูกหนึ่งตกลงไปฝังด้านหน้าก็ปรากฏว่าด้านไม่ระเบิด ถึงบางคนเล่าลือว่ามีคนเห็นครุฑ ๒ ตัวหน้าตึกบินขึ้นไปปัดระเบิด

จึงมีผู้ไปถามนายควง อภัยวงศ์ ซึ่งเป็นผู้ก่อสร้างขึ้น (สมัยเป็นอธิบดีกรมไปรษณีย์โทรเลข ปี ๒๔๗๘–๒๔๘๔) ว่าลงของดีอะไรไว้หรือไม่อย่างไร นายควงฯ ก็ตอบ (ลงในหนังสือพิมพ์) ว่า

"มีซีคุณของดี เมื่อเวลาสร้างตึกนี้ ไม่มีใครไปกินกำไรสักสตางค์ แล้วนั่นไม่ใช่ของดีหรือ"

จาก "เวียงวัง" ของจุลลดา ภักดีภูมินทร์ นิตยสารสกุลไทยรายสัปดาห์

บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 73  เมื่อ 08 ก.ย. 13, 09:15

อ๋อ เรื่องนี้เอง
นึกว่าเป็นเรื่องอภินิหารพญาครุฑ ที่แท้อภินิหารนายควงนี่เอง


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 74  เมื่อ 08 ก.ย. 13, 09:25

อ้างถึง
ไม่เล่าสักหน่อยหรือครับ ต่างกันอย่างไร
ที่ได้ยินมาคือระหว่างสงคราม  ครุฑกระพือปึก ปัดระเบิดไปตกที่อื่นค่ะ
พญาครุฑกวักปีกทีหนึ่ง เคลื่อนกายไปได้ไกล ๑ โยชน์ (๔๐๐ เส้น)  แสดงว่ากำลังปีกแรงมาก  พอจะปัดระเบิดให้เฉไปพ้นตึกไปรษณีย์ได้
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6 7 ... 30
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.1 วินาที กับ 20 คำสั่ง