เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 30
  พิมพ์  
อ่าน: 127586 เรื่องเล่าชาวกรุงเทพรุ่นทวด
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 30  เมื่อ 07 ก.ย. 13, 07:17

ขอบคุณอัสสัมชนิก และทุกท่านครับ

การเดินทางมาโรงเรียนในสมัยนี้มีหลายวิธีคือ เดินสำหรับผู้ที่มีบ้านอยู่แถวนั้น จักรยาน (สมัยนั้นต้องมีทะเบียนและ “ใบขับขี่” ด้วย) มีกันมากเหมือนกันเป็นรถจักรยานมาจากอังกฤษ มีหลายยี่ห้อ เช่น “เฮอร์คิวลิส” “ราเล่ห์”  “ฮัมเบอร์” ฯลฯ ต่อมาก็รถรางและรถเมล์ ราคาค่าโดยสารเท่ากัน เช่นจากสีลมถึงตรอกวัดแขก 1 สตางค์ (สำหรับรถรางนั้นมีชั้น 1 ด้วย ราคาเพิ่มอีกเท่าตัว โดยมีเบาะสีขาวรอง และมีที่กั้นกับชั้น 2) ถึงตรอกพระยาพิพัฒน์ 2 สตางค์ ถึงศาลาแดง 3 สตางค์ ถึงประตูน้ำ 4 สตางค์ (ประตูน้ำนี่แหละเป็นที่พบปะของหนุ่มสาวที่มา “มอร์นิ่วว๊อล์ค” กันตอนเช้ามืดมาเดินคู่กัน อวดเครื่องแต่งตัวและมากินโจ๊ก กาแฟและปาท่องโก๋ ฯลฯ
สำหรับรถเมล์มีคนขายตั๋วและนายตรวจด้วย เวลานายตรวจจะเปลี่ยนไปตรวจรถคันอื่นเข้าก็กระโดดลงไปในขณะรถกำลังวิ่ง มีท่าทางสวยๆ และกระโดดขึ้นคันที่สวยมาได้อย่างสวยงาม
จากนั้นก็เป็นรถยนต์ส่วนตัว รถยนต์นี้มีน้อยกะมีราวๆ 6,000 คัน เท่านั้น ทั้งๆที่ราคาถูกมาก(สำหรับสมัยนี้) รถยนต์สปอร์ตยี่ห้อ บี.เอส.เอ ของอังกฤษ 2 ประตู 4 ที่นั่ง เปิดประทุน ราคา 2,500 บาท รถเก๋ง “โอลสโมบิล” ของอเมริการาคา 3,700 บาท (ผ่อนเดือนละ 100 บาทก็ได้) แต่ค่าครองชีพในสมัยนั้นถูกมาก  เช่น เงินเดือนราชการสัญญาบัตรตั้งต้นเดือนละ 80 บาท เท่านั้น แม่ครัว 15 บาท เด็กรับใช้ 10 บาท คนสวน 15 บาท คนขับรถ 30 บาท แม่บ้าน 30 บาท เป็นอย่างไรบ้างสำหรับสมัยนี้!


ในภาพเป็นรถเมล์ที่ถ่ายในปี๒๔๗๒ ช่วงๆที่คุณทวดกล่าวถึง


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 31  เมื่อ 07 ก.ย. 13, 07:39

รถยนต์ครับ ไม่ทราบที่เห็นในภาพมียี่ห้ออะไรมั่ง


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 32  เมื่อ 07 ก.ย. 13, 07:45

รถราง ชั้นหนึ่งและชั้นสองอยู่ในคันเดียวกันนั่นเอง


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 33  เมื่อ 07 ก.ย. 13, 07:49

ขอเล่าชีวิตใน ร.ร.อัสสัมชัญต่อ เข้าเรียน 8.30 นาฬิกา พัก 10 นาที ตอน 10.10 นาฬิกา ต่อจากนั้นพักเที่ยง 12.00 นาฬิกา เข้าเรียน 13.10 นาฬิกา พัก 10 นาทีตอน 14.30 นาฬิกา และเลิกเรียน 16.00 นาฬิกา

ร้านขายอาหารที่นี่มี 2 กลุ่ม พวกเล็กและพวกใหญ่ มีอาหารแปลกๆ อร่อยๆ หลายอย่างต่างๆ กัน เช่น ข้าวราดแกงชามละ 3 สตางค์ ก๋วยเตี๋ยวน้ำหรือแห้ง 3 สตางค์ น้ำส้มใส่น้ำแข็งถ้วย 1 สตางค์ ถ้วยใหญ่ 2 สตางค์ “ไอติมแท่ง” เป็นหลอดยาวๆ  มีหลายอย่างเช่น ลิ้นจี่, ทุเรียน, ขนุน, ลำไย, นมสด, ถั่วแดง, วานิลา, ช็อคโกเล็ต, ข้าวโพด ฯลฯ แท่งละ 1 สตางค์ 6 แท่ง 5 สตางค์ แค่นั้นยังไม่พอบางคนเดินไปไกลถึงลานหน้า “โรงภาษีร้อยชักสาม” (เป็นโรงภาษีเก็บได้เพียง 3% เท่านั้น) ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ลมพัดเย็นดี มีอาหารหลายอย่างเหมือนกัน สิ่งที่พวกเราชอบเรียกกันว่า “สามโก” เป็นข้าวราดสตูเนื้อแตงร้านหั่นชิ้นบางๆ ใส่นิดหน่อย ชามละ 3 สตางค์ อร่อยด้วย อีกร้านหนึ่งเป็นหาบทองเหลืองรูปร่างคล้ายปิ่นโตใหญ่ๆ (เดี๋ยวนี้ไม่ค่อยได้เห็นแล้ว) ขายเนื้อและเครื่องในวัวตุ๋น ร้านนี้ราคาแพงหน่อย ชามละ 5 สตางค์ แต่อร่อยดี คนกินกันมากเหมือนกันและการกินต้องยืนกินนะ!

การที่โรงเรียนอัสสัมชัญ ชั้นประถมเรียนอย่างโรงเรียนอื่น ๆ แต่พอถึง ม.1 การเรียนทุกวิชาเป็นภาษาอังกฤษ หรือฝรั่งเศส เท่านั้น (แล้วแต่ใครจะเลือก) ภาษาไทยมีเฉพาะวิชาภาษาไทยเท่านั้น แต่กระทรวงธรรมการในสมัยนั้นมีกฎว่าการสอบ ม.6, ม.8 นั้น ถ้าตกภาษาไทยถือว่าตกทั้งหมด


ภาพไอติมแท่งแบบหาบเร่ รูปนี้ดูเหมือนลุงไก่กับคุณหนุ่มจะนำมาเล่นทายปริศนาอะไรกันสักอย่างนึงแล้ว


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 34  เมื่อ 07 ก.ย. 13, 09:23

ขอแนบภาพบรรยากาศโรงเรียนอัสสัมชัญ น่าจะในยุครัชกาลที่ ๖ โรงเรียนมีนักเรียนจำนวนมากทั้งชั้นประถมและมัธยมเรียนอยู่ที่นี่
ไกลภาพจะเห็นตึกไม้สัก ๓ ชั้นสร้างด้วยไม้ปลูกสร้างคร่อมไว้กลางพื้นที่โรงเรียน และด้านหลังอีก ๑ หลัง รวม ๒ หลังด้วยกัน
ภายหลังอาคารนี้ถูกย้ายไปปลูกสร้างที่โรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชา ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ ๒ และบางอาคารโดนระเบิดเสียหาย

สำหรับโรงอาหารที่กล่าวถึงนั้น ก็คืออาคารที่เห็นในภาพขวามือ เดิมเป็นหลังคาไม้ ภายหลังสร้างเป็นคอนกรีตเสาโรมัน เป็นอาคารชั้นเดียว
เรียกกันในหมู่นักเรียนว่า "ตึกเตี้ย" หน้าตึกเตี้ยจะเป็นก๊อกน้ำดื่ม ให้นักเรียนได้ดื่มตลอดเวลา แม้ว่าเวลาผ่านไปเป็นร้อยปีแล้ว ธรรมเนียม
การสร้างน้ำก๊อกให้นักเรียนดื่มที่โรงเรียนนี้ยังคงมีอยู่ในรุ่นผม หน้าโรงอาหารจะต้องมีก๊อกน้ำเรียงเป็นแนวยาวตลอดอาคารให้นักเรียนดื่ม


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 35  เมื่อ 07 ก.ย. 13, 10:04

แต่งเครื่องแบบเสื้อขาวกางเกงขายาวเหมือนนายร้อยน่ะใครครับ ครูหรือนักเรียน
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 36  เมื่อ 07 ก.ย. 13, 10:45

แต่งเครื่องแบบเสื้อขาวกางเกงขายาวเหมือนนายร้อยน่ะใครครับ ครูหรือนักเรียน

ไม่ทราบเหมือนกัน อิอิ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 37  เมื่อ 07 ก.ย. 13, 10:59

ว้า
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 38  เมื่อ 07 ก.ย. 13, 11:14

พ.ศ. 2480 พวกเราเรียนอยู่ชั้น ม.6 วิทยาศาสตร์ แผนกฝรั่งเศส กระทรวงมีบัญชามาว่าปีหน้า (2481) จะมี ม.8 เป็นปีสุดท้าย เมื่อจบ ม.6 แล้วต้องเข้าไปเรียนต่อที่โรงเรียนเตรียมอุดมฯ และเข้ามหาวิทยาลัย ไม่มี ม.7, ม.8 อีกแล้ว เมื่อจบ ม.6 แล้วพวกเรา 8 คน ก็ตัดสินใจเรียน ม.8 ควบ ม.7 ภายในปีเดียว รู้สึกว่าหนักมากเหมือนกันเพราะเรียนที่ ร.ร. อัสสัมชัญ 8.30 น. ถึง 16.00 น.  17.00 น. ไปเรียนพิเศษกวดวิชาที่โรงเรียนศิริศาสตร์ ถึง 21.00 น. ต้องกลับไปทำการบ้านของ ร.ร. อัสสัมชัญอีก และโชคดีก็มาหาเราโดยจบ ม.8 ปีสุดท้ายด้วยกันทั้ง 8 คน (แทบตายแต่ก็ยิ้มได้)

ในเวลาเรียนนั้นนักเรียนส่วนมากมองนักเรียนนายเรือเป็นอันดับแรก (เพราะเครื่องแบบสวย มีห้อยกระบี่ด้วย โก้จัง) เพราะในเวลานั้นเด็กนักเรียนไม่รู้ว่าจะไปเรียนต่ออะไร ที่ไหน? เพื่อดำเนินชีวิตต่อไปอย่างไร?.... ไม่มีอาจารย์มาช่วยแนะแนวให้ เพ้อเจ้อไปตามประสาเด็กๆ ผมก็เลยรีบไปสมัครสอบนักเรียนนายเรือทันที แต่เข้าไม่ได้ เพราะตรวจโรคมีผลว่าเป็นริดสีดวงตา ซึ่งขณะนั้นคนกลัวโรคนี้กันมากเพราะติดเชื้อง่ายมาก จ๋อยเลย

พ.ศ. 2482 ก็หันเข็มมาที่คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ พอไปสอบก็จ๋อยอีกเพราะตกภาษาอังกฤษ (เพราะเรียนภาษาฝรั่งเศส) เลยไปเข้าธรรมศาสตร์ฯ (ยังมีบัตรประจำตัวของธรรมศาสตร์อยู่จนบัดนี้) ในปี 2483 มีเพียง 9 เดือนเท่านั้น เพราะมีการเปลี่ยนแปลงการขึ้นปีใหม่จาก 1 เมษายน เป็น 1 มกราคม จะเป็นการบังเอิญหรือเทวดามาโปรดก็ได้ แผนกสถาปัตย์ฯ จุฬาฯ อนุญาตให้สอบภาษาฝรั่งเศสแทนภาษาอังกฤษได้ ผมจึงได้เป็น “ลูกถาปัด” เต็มตัวในแผนกสถาปัตยกรรม คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


พูดถึงนักเรียนนายเรือ สมัยนั้นถือเป็นตัวเลือกอันดับหนึ่งของนักเรียนชาย ในขณะที่อักษรศาสตร์จุฬา เป็นตัวเลือกอันดับหนึ่งของนักเรียนหญิง จบแล้วได้เป็นบุคคลระดับครูบาอาจารย์แน่นอน
เรื่องในตระกูลผมเองกล่าวถึงคุณลุงคนหนึ่งที่การเรียนดีมาก เลือกสอบเข้าโรงเรียนนายเรือและสามารถเข้าได้ ทั้งๆที่ระดับสมองและไอคิว น่าจะเรียนแพทย์ได้โดยไม่เกินวิสัย ก็ไม่ทราบว่าจะน่าเสียดายหรือเปล่า เพราะคุณลุงสร้างเกียรติประวัติมากมาย โดยเฉพาะเป็นทหารเรือคนเดียวในประวัติศาสตร์ทหารไทย ที่ทหารบกยอมหลีกทางให้ดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงกลาโหม คนเดียวหนึ่งเดียวจริงๆจนบัดนี้


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 39  เมื่อ 07 ก.ย. 13, 11:15

นี่เป็นภาพตึกใหญ่ของโรงเรียนอัสสัมชัญ ที่มีการวางศิลาฤกษ์โดยสมเด็จเจ้าฟ้ามหาวิชรุณหิศ สยามมงกุฎราชกุมาร ด้านหน้าเป็นซอยบูรพา (เจริญกรุง ๔๐) มาด้วยรถยนต์ เดินมา หรือปั่นจักรยาน นั่งเรือมาก็ได้นะครับ

นึกถึงงานเขียนของพระยาอนุมาราชธน ท่านเป็นอัสสัมชนิกเช่นเดียวกัน บ้านท่านอยู่แถวสี่พระยา ท่านก็นั่งรถรางมา แล้วก็เดินมาโรงเรียนเช่นเดียวกัน พอท่านมีลูกชายก็ให้เข้าโรงเรียนอัสสัมชัญเหมือนอย่างท่าน

แต่ขณะนั้นท่านดำรงตำแหน่งเป็นพระยาแล้ว ท่านซื่อรถยนต์คนงาม แต่ท่านไม่ยอมขึ้น แต่ให้ลูกท่านขึ้นรถยนต์ไปโรงเรียนอัสสัมชัญ ส่วนท่านก็เดินหรือนั่งรถรางไปทำงาน

มีคนเดินเข้ามาถามท่านว่า ท่านเป็นพระยาทำไมไม่นั่งรถ และปล่อยให้ลูกนั่งรถโก็เลย

ท่านก็ตอบว่า "เขาเป็นลูกพระยา ต้องนั่งรถดี ๆ ส่วนฉันมันลูกเจ็ก (หรือลูกจีน จำไม่ได้) ก็อาศัยเดินกับนั่งรถรางเนี่ยแหละ"  อายจัง


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 40  เมื่อ 07 ก.ย. 13, 11:58

เอ้า ต่อครับ ต่อ

พวกเราผ่านการสอบคัดเลือกมาได้ 10 มาจากโรงเรียนเตรียมอุดมฯ 10 คน โดยไม่ต้องสอบคัดเลือก(ดีจัง) พอวันเปิดเทอมเราก็เข้าไปเรียนที่แผนกสถาบัตยฯ เป็นบ้าน 3 ชั้น เก่าๆ นอกรั้วจุฬาฯ (บ้านเจ้าคุณภะรตฯ) ซึ่งถูกรื้อมาเป็นตึกสำนักงานเลขาฯเดี๋ยวนี้ โดยอาจารย์ศิววงษ์ กุญชร ณ อยุธยา เป็นหัวหน้าแผนก
ชั้นล่างของบ้านเป็น Studio ของปี 1 พอเราเข้าไปก็เห็นโต๊ะเขียนแบบอยู่ 50 ตัว เราจึงรู้ว่าเป็นโต๊ะของพวกพี่ๆ ที่รอจะเรียนพร้อมเราอยู่ 30 คน!!
ชั้น 2 ของตัวตึกเป็น Studio ของปี 2 และห้องทำงานของอาจารย์ 4-5 คนอยู่ในห้องเดียวกัน มีอาจารย์ศิววงษ์,  อาจารย์เฉลิม, อาจารย์แหลมฉาน, อาจารย์รำไพ ฯลฯ
ชั้น 3 เป็นห้องวาดหุ่น (มีชีวิตและไม่มีชีวิต) ห้องนี้พวกพี่ๆ ชอบกันมากกับหุ่นที่มีชีวิต บางทีก็เจอะหุ่นลุงจันทร์ (ภารโรงเก่าแก่ของเรา)
ออกจากตึกไปเป็นโรงเรือนไม้ยาวๆ Studio 3 และ 4 อยู่ที่ปีก 2 ข้าง ตรงกลางเป็นห้องโล่งๆ มีโต๊ะปิงปอง 1 ตัว ผู้เล่นต้องเป็นผู้ชนะเท่านั้น ผู้ที่แพ้ต้องออกไปให้ผู้อื่นเข้ามาเล่นบ้าง โดยมีกองเชียร์เยอะแยะ และพวกกองเชียร์ก็หาโอกาสเข้าไปเล่นเหมือนกัน แต่ต้องมือดีนะถึงได้เล่นนานๆ


เรือนพระยาภะรตราชา สร้างเป็นที่พักของผู้บัญชาการจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในสมัยหนึ่งที่ต้องอยู่ประจำ เพื่อดูแลนิสิตที่ต้องอยู่หอพักเช่นกัน หลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง ผู้ใหญ่ในคณะราษฎร์ได้เข้ามาดำรงตำแหน่งนั้นแทนโดยไม่สนใจจะเข้าอยู่ในเรือนพัก ชื่อเรือนจึงไม่เปลี่ยนแต่ตัวพระยาภะรตต้องระเห็จไปเป็นอาจารย์พิเศษสอนในวชิราวุธวิทยาลัย ก่อนจะขึ้นเป็นผู้บังคับการ และลงตัวในตำแหน่งดังกล่าวจนถึงแก่อนิจกรรม จุฬาฯได้ทำการอนุรักษ์เรือนพระยาภะรตไว้ ปัจจุบันใช้ประโยชน์เป็น "ภูมิปัญญาเมธีสโมสร" คือสถานที่จัดการประชุม สัมนาต่างๆ


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 41  เมื่อ 07 ก.ย. 13, 12:17

พอปลายปี พ.ศ. 2483 พวกถาปัดก็ย้ายมาเรียนที่ตึกสถาปัตยฯเดี๋ยวนี้ที่อาจารย์ของเราเป็นผู้ออกแบบ ต่อมาก็เติมและเปลี่ยนแปลงอีกมา พวกเราปี 1 ก็ต้องช่วยกันขนของเป็น “เบ๊” โดยมีพวกพี่ๆ ช่วยเหลือ เหนื่อยแต่สนุกดีเหมือนกัน

ตึกคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ออกแบบโดยอาจารย์ลูเชียง คอบเป้ สถาปนิกชาวเบลเยี่ยมที่รับราชการอยู่ที่กรมโยธาธิการด้วย มีเรื่องเล่าว่าอาจารย์เขียนแบบค้างไว้เพราะยังคิดไม่ออกจะให้ตรงปลายของตึกจบอย่างไร จนลูกสาวตัวน้อยของท่านไปเล่นบนโต๊ะทำงานของพ่อ แล้วเอาเป๊กกดเล่น บังเอิญไปตรงกับปลายตึก อาจารย์คอบเป้มาเห็นเข้าเลยบรรลุซาโตริ ใส่ฟุลสต๊อบเข้าไปเต็มๆสี่จุดเลยดังที่เห็น


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 42  เมื่อ 07 ก.ย. 13, 12:25

ด้านหลังตึกมีบริเวณเล็กๆ มีบ้านเล็กๆของแม่ “เล็ก” ที่ทำอาหารหร่อยๆ และราคาถูกของเรา ข้าวชามละ 1 สตางค์ และกับข้าวต่างๆ ก็ชามละ 1 สตางค์ เหมือนกัน น้ำแข็งใส่น้ำหวานก็ 1 สตางค์ ทำให้พวกเรามีอาหารกลางวันถูก ๆ กินโดยไม่ต้องออกไปไกลๆ
 
ถ้าอยากกินดีหน่อยก็ไปสามย่าน มีร้านก๋วยเตี๋ยวเนื้อวัวอร่อยอยู่เจ้าหนึ่ง พวกเราให้ร้านนี้ชื่อว่าร้าน “ซาก” ชื่อนี้ได้มาจาก “เนื้อ” ที่ถูกต้มมาจนเปื่อยจนเหลือแต่ “ซาก” มาให้เรากินอร่อยๆ ชามละ 3 สตางค์ ข้าวเปล่า 1 สตางค์ อิ่มดีเหมือนกัน

คนสมัยนี้ (พ.ศ. 2546) คงตกใจกับราคาอาหารในสมัยนั้น และในสมัยนั้นยังมีเหรียญครึ่งสตางค์มาใช้อีก แต่ใช้ได้ไม่นานก็เลิกไป


แหะๆ อาจารย์ขะรับ คนสมัยนี้ไม่ได้ตกใจกับราคาอาหารในสมัยนั้นเท่าไหร่ เขาตกใจกับราคาข้าวแกงในสมัยนี้ตามข่าวล่าสุด ว่ากำลังจะปรับขึ้นเป็นจานละ ๕๐บาท(อ่านว่าห้าสิบบาทครับอาจารย์)
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 43  เมื่อ 07 ก.ย. 13, 14:19

แนบรายชื่อห้องเรียนฝรั่งเศส ม.๖ ปีการศึกษา ๒๔๘๐ อยู่ห้องฝรั่งเศส เลขที่ ๔๐


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 44  เมื่อ 07 ก.ย. 13, 15:13

ม.ร.ว.จุรีพรหม กมลาสนี่ก็สถาปนิกเหมือนกันนะครับ อ๋อ รุ่นเดียวกับจารย์ดมศรีด้วย
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 30
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.061 วินาที กับ 20 คำสั่ง