เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 30
  พิมพ์  
อ่าน: 127562 เรื่องเล่าชาวกรุงเทพรุ่นทวด
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 06 ก.ย. 13, 16:24

คล้ายกันครับ แต่นี่เป็นแบบสมัยใหม่ ส่วนใหญ่เป็เสาคอนกรีตใส่ยางรถยนต์เก่าไปเป็นตัวกันกระแทก

บุรณศิริเป็นตระกูลใหญ่ที่สมาชิกในตระกูลคงจะรู้จักกันไม่ถ้วนทั่วด้วยซ้ำ แต่สายของจารย์ดมศรีท่านจัดว่ามีฐานะดีมาก ทราบจากที่ท่านเล่าเรื่องบ้านของคุณพ่อ

 ตึกที่ผมเกิดนั้นเป็นตึกโบราณกำแพงหนาราว 50 ซม. ตรงช่องหน้าต่างนั่งได้ทั้งตัวเลย ภายในตึกมีที่ว่างกลางบ้าน ในนั้นมีสระน้ำ สวนเล็กๆ มีโอ่งมังกรปากกว้างมาจากเมืองจีนปลูกบัวอยู่ 5-6 โอ่ง และในโอ่งนั้นมีปลาตัวเล็กชื่อ ปลา”หัวตะกั่ว” แยะเลย ทั้งๆ ที่ไม่มีใครมาเลี้ยง ทำให้ผมสนุกกับการช้อนปลาในโอ่งบัวมาก ทำให้คิดถึงคำโบราณที่ว่า “น้ำถึงไหนปลาถึงนั่น” เป็นความจริงเลย และน้ำในโอ่งทุกโอ่งจะใสเสมอเพราะบัวเป็นเครื่องกรอกน้ำของธรรมชาติ แต่ในโอ่งเหล่านั้นไม่ค่อยมีดอกบัวเลย เพราะถูกแดดไม่เพียงพอ (ไม่มีแดดก็มีมีดอก)

ที่ลานหน้าบ้านด้านแม่น้ำเจ้าพระยาปูด้วยหินแกรนิตๆ แผ่นสี่เหลี่ยมผิวหน้าไม่เรียบนัก (เพราะสกัดด้วยมือ) ขนาดราว 50 ซม. หินเหล่านี้ได้มาจากหินถ่วงเรือเพื่อไม่ให้เรือโคลงมากนักขณะแล่นกลางทะเล (ที่เรียกกันว่า “อับเฉา” ของเรือที่มาจากเมืองจีนมาจอดที่ท่าน้ำและขนมาทิ้งไว้ที่บ้านเรา เพื่อขนสินค้าจากเมืองเราไปเมืองจีนต่อไป ฉะนั้น บ้านเราจึงมีลานหินกว้างๆ และโอ่งเคลือบลายมังกรปากกว้าง ๆ ของจีนเหมาะสำหรับปลูกบัวด้วยประการฉะนี้
พออายุ 5-6 ขวบ ไฟก็ไหม้ห้องแถวทั้ง 9 ห้อง แต่ไม่ได้ไหม้ตึกใหญ่ เพราะมีเรือ “ผจญเพลิง” ของตำรวจน้ำ และเรือของทหารเรืออีก 1 ลำ มาช่วยดับให้ และต้นมะม่วงใหญ่ 2 ต้นนั้นก็ช่วยกันไฟให้ตึกใหญ่ด้วย แต่ก็ตายไปครึ่งหนึ่งทั้ง 2 ต้น ต้นไม้ดีฉะนี้แหละนะ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 06 ก.ย. 13, 16:25

พ.ศ. 2472 เราก็ย้ายบ้านไปอยู่ที่ซอย “ศาลาแดง” ถนนสีลม บ้านหลังนี้ออกแบบโดยคุณหลวงบูรกรรมโกวิท และปีนี้เองเหตุการณ์ที่ไม่นึกไม่ฝันก็เกิดขึ้นคือ ภราดา “ไมเกิ้ล” (อธิการ) และภราดา “ฮีแลร์” อาจารย์ใหญ่ ร.ร. อัสสัมชัญ มาที่บ้านและขอให้เราพี่น้อง 3 คนไปเรียนที่ ร.ร. อัสสัมชัญ สมัยนี้ต้องไปขอร้องขอเสียค่า “แปะเจี๊ยะ” เป็นแสน!! แปลกดีนะเหตุการณ์ระหว่างสมัย


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 06 ก.ย. 13, 16:27

อ่ะ คุณหนุ่มสยาม ศิษย์เก่าอัสสัมจะประท้วงอะไรมั้ย
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 06 ก.ย. 13, 16:36

ริมแม่น้ำเจ้าพระยา มีบันใดท่าน้ำใหญ่เป็นที่อ่าบน้ำและซักผ้าของคนเช่าบ้านในบริเวณนั้น และมีโป๊ะยื่นลงไปในแม่น้ำ ใช้ขึ้นสินค้าที่มาจากเมืองจีนและต่างจังหวัด (ของร้านคนจีนที่มาเช่าคุณย่าอยู่) มี “เสาตะเกียบ” ใหญ่ 2 ต้น เพื่อกันเรือใหญ่มากระแทกโป๊ะ

“เสาตะเกียบ” นั้นทำด้วยซุงไม้แข็งทั้งต้น เส้นผ่าศูนย์กลางราว 60 ซม. ยาวราว 7-8 เมตร ตอกตะปูถี่ๆ และฉาบปูนขัดมันรอบต้น ระหว่างระดับน้ำขึ้นสูงสุดและน้ำลงต่ำสุด เพื่อกันไม้ผุ เสาตอนเหนือน้ำไม่ฉาบปูน เพราะถ้าถูกเรือกระแทกปูนจะแตก ถ้าเป็นไม้แข็งทนได้ไม่แตก


ผมพยายามหาภาพเสาตะเกียบมาให้ดู แต่หายากมาก ที่นำมาลงนี้พอให้เข้าใจว่าคุณทวดหมายถึงอะไร


ตัวอย่างเสาตะเกียบ


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 06 ก.ย. 13, 16:42

พ.ศ. 2472 เราก็ย้ายบ้านไปอยู่ที่ซอย “ศาลาแดง” ถนนสีลม บ้านหลังนี้ออกแบบโดยคุณหลวงบูรกรรมโกวิท และปีนี้เองเหตุการณ์ที่ไม่นึกไม่ฝันก็เกิดขึ้นคือ ภราดา “ไมเกิ้ล” (อธิการ) และภราดา “ฮีแลร์” อาจารย์ใหญ่ ร.ร. อัสสัมชัญ มาที่บ้านและขอให้เราพี่น้อง 3 คนไปเรียนที่ ร.ร. อัสสัมชัญ สมัยนี้ต้องไปขอร้องขอเสียค่า “แปะเจี๊ยะ” เป็นแสน!! แปลกดีนะเหตุการณ์ระหว่างสมัย

การเรียนของโรงเรียนอัสสัมชัญนั้น ในสมัยเริ่มแรกท่านอธิการมีเจตนาช่วยเหลือให้บุตรหลานได้รับการศึกษา เพื่อจะได้รำเรียนเขียนอ่าน มีความรู้ด้านภาษาอังฤษ ฝรั่งเศส คำนวณเป็นจะได้เป็นเจ้าคนนายคน ไม่ลำบากยากจน เป็นคติประจำของอัสสัสัมชัญ ภารดาหลายท่านให้บุตรหลานเข้าเรียนที่โรงเรียนแบบฟรี ๆ ได้ครับ ท่านช่วยเหลือเด็ก

สำหรับสมัยนี้ก็เป็นทุกโรงเรียนแหละครับ 555 อยู่ที่จะเปิดปากพูดหรือหลับตาทำเป็นไม่เห็นเท่านั้น รูดซิบปาก รูดซิบปาก
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 06 ก.ย. 13, 16:48

เอาละนะครับ พอหอมปากหอมคv
.
.

นี่ รูปคุณทวดตอนเป็นนักเรียนอัสสัม
ผมคุ้นๆหน้าจัง เหมือนดาราเด็กที่เล่นเรื่อง Home Alone รึเปล่า?


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 06 ก.ย. 13, 16:53

ขณะที่เรียนอยู่ที่อัสสัมชัญนั้น เมื่อพ.ศ.2475 พวกเราตื่นเต้นมากที่ได้ขึ้นรถยนต์ข้ามสะพาน “พระพุทธยอดฟ้าฯ” ซึ่งตอนกลางสะพานยกเปิดด้วยเครื่องจักรให้เรือใหญ่ๆผ่านไปได้เป็นสะพานแรกของกรุงเทพฯ ที่ให้รถข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาไปฝั่งธนบุรีได้แทนการข้ามน้ำด้วยเรือจ้าง ทำให้การคมนาคมของกรุงเทพฯ ธนบุรีดีขึ้นมาก
และก็ตื่นเต้นอีกครั้งเมื่อมีการยึดอำนาจและเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบบประชาธิปไตยเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 เรื่องชนิดนี้ผมไม่รู้มากนัก ตื่นเต้นตามเขาไปด้วย
   
นักเรียนอัสสัมชัญสมัยนั้นมีเครื่องแบบคือ กางเกงขาสั้นสีน้ำเงิน เสื้อนอกคอปิดสีขาวกระดุม 5 เม็ด ถึงเท้าสีขาวและรองเท้าสีดำ เด็กที่ไม่มีถึงเท้ารองเท้าก็เดินเท้าเปล่า มีหลายคนเหมือนกัน และมีครูคนหนึ่งนุ่งกางเกงแพรจีน “ปังลิ้น” สีดำ เสื้อนอกคอปิดขาวและเท้าเปล่า
   
ที่โรงเรียนอัสสัมชัญ นี้มีดีมากอีกอย่างหนึ่งคือ รับเด็กยากจนมาอยู่ฟรีอีกด้วย แต่ต้องถือศาสนาคริสต์ ซึ่งพวกเราเรียกว่า “เด็กใน” (ผมได้เลขประจำตัว 9269 แต่ไม่ใช่เด็กใน)


มีซอยอ้สสัมชัญให้เข้าไปหาความรู้ไหมครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 06 ก.ย. 13, 17:07


มีซอยอ้สสัมชัญให้เข้าไปหาความรู้ไหมครับ

มีเด็กอัสสัมอยู่แถวนี้คนหนึ่ง รูปเพียบ แผนที่หลายพับ 
น่าจะตัดถนนเข้าไปได้จนถึงแม่น้ำละค่ะ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 06 ก.ย. 13, 19:05


มีซอยอ้สสัมชัญให้เข้าไปหาความรู้ไหมครับ

มีเด็กอัสสัมอยู่แถวนี้คนหนึ่ง รูปเพียบ แผนที่หลายพับ 
น่าจะตัดถนนเข้าไปได้จนถึงแม่น้ำละค่ะ

ให้เกียรติจังเลยครับ  อายจัง ซอยแห่งอัสสัมชัญเข้าได้เสมอครับ

บุคคลที่จบจากโรงเรียนอัสสัมชัญนั้นเรียกว่าได้เป็น "อัสสัมชนิก" อย่างเต็มปาก นักเรียนจะมีเลขประจำตัวเป็นเอกลักษณ์ตั้งแต่นักเรียนคนแรกหมายเลข ๑ เรื่อยมาจนทุกวันนี้ก็ราว ๕๐,๐๐๐ กว่าคนได้

คติพจน์ที่อัสสัมชนิกต้องท่องได้คือ "จงตื่นเถิด เปิดตาหาความรู้ เรียนคำครู คำพระเจ้าเฝ้าขยัน จักอุดมสมบัติ ปัจจุบัน แต่สวรรค์ดีกว่า เราอย่าลืม"

เป็นการสรุปชีวิตของ ๑ ชีวิตได้อย่างเป็นขั้นเป็นตอน โดยมีประติมากรรมนี้โดยฝีมือ อ.ศิลป์ พีระศรีและลูกศิษย์ร่วมปั้นไว้
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 06 ก.ย. 13, 19:20

ปฐมบทการก่อตั้งโรงเรียนอัสสัมชัญ เริ่มจากบาทหลวงกอลมเบต์ ชาวฝรั่งเศส ท่านเป็นเจ้าอาวาสวัดสวนท่าน (อาสนาวิหารอัสสัมชัญในปัจจุบัน) เห็นว่าการศึกษาให้กับบุตรหลานชาวสยามนั้น
ท่านต้องให้ความรู้ ใน พ.ศ. ๒๔๒๐ ท่านเริ่มทำการหาเด็กชาวสยาม ชาวจีน ชาวแขก และบุตรหลานต่าง ๆ ให้เข้ามาเรียนโดยใช้บ้านของหลวงพ่อกันตอง เป็นที่เรียนในระยะเริ่มแรก
โดยบ้านหลวงพ่อกันตอง ตั้งอยู่ใกล้วัดสวนท่าน ซึ่งเคยเป็นที่พำนักของบาทหลวงลาโนดีร์ (ผู้เป็นล่ามไปกับราชทูตในสมัยรัชกาลที่ ๔ ไปอังกฤษ และเป็นผู้ซื้อกล้องถ่ายรูปเข้ามายังสยามเป็นท่านแรก)
โรงเรียนครั้งแรกใช้ชื่อว่า ""โรงเรียนอาซมซานกอเล็ศ"

การเรียนครั้งแรกนั้นมีนักเรียนเพียง ๑๒ คน แต่บาทหลวงกอลมเบต์ก็ไม่ย่อท้อ พยายามไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งมีนักเรียนเพิ่มขึ้นตามลำดับ จนกระทั่งเมื่อโรงเรียนเริ่มปักฐานได้มั่นคงแล้วก็เรี่ยไรเงินจาก
พ่อค้าต่าง ๆ เพื่อทำการสร้างตึกเรียนแห่งแรก และขอพระราชทานพระมหากรุณาธิคุณต่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชทานเงินทุน ๘๐ ชั่ง และสมเด็จพระพันปีก็พระราชเงิน
ทุนร่วมเข้ามาอีก

และวันที่โรงเรียนปลาบปลื้มเป็นล้นพ้นเมื่อ วันที่ ๑๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๓๐ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมารเสด็จฯ ทรงวางศิลาฤกษ์
ตึกเรียนหลังแรก โดยทรงเสด็จมายังโรงเรียนโดยเรือ และทรงมาวางศิลาฤกษ์ ทรงจับเกรียงและค้อนเคาะที่แผ่นหิน ทรงตรัสว่า "ให้ที่นี้ถาวรมั่นคงสืบไป"

ภาพถ่ายสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมารเสด็จฯ ทรงวางศิลาฤกษ์โรงเรียนอัสสัมชัญ


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 06 ก.ย. 13, 19:29

บทบาทของโรงเรียนในระยะหลัง บาทหลวงกอลมเบต์ได้ขอให้คณะเซนต์คาเบียลเข้ามาดำเนินการช่วยเหลือเรื่องบุคคลากร เนื่องจากนักเรียนมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น หนึ่งในนั้นคือ "ภารดา ฟ. ฮีแฬร์"
ได้เข้ามาช่วยเหลืออย่างมาก ท่านรักเมืองไทยมาก และสามารถแต่งหนังสือเรียนดรุณศึกษาไว้ให้เล่าเรียนกัน แม้ว่าในช่วงภาวะสงครามโลกครั้งที่ ๒ ไทยมีปัญหาเกี่ยวกับฝรั่งเศส บรรดาบาทหลวง
ก็ต้องถูกให้ออกไปนอกประเทศ แต่การศึกษาก็ไม่ขาดช่วง ภายหลังท่านก็ได้กลับมาสร้างความเจริญให้กับโรงเรียนจนวาระสุดท้าย

ภาพถ่ายเหล่านักเรียนที่ครบ ๑,๕๐๐ คน


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 06 ก.ย. 13, 19:34

ภาพนักเรียนอัสสัมชัญ ในยุคแรกต่างแต่งชุดอะไรก็ได้ไม่จำกัด ภายหลังเริ่มแต่งขาสั้น เสื้อกระดุม ๕ เม็ด สวมหมวก แต่ยังไม่สวมรองเท้า

ภาพนี้ถ่ายไว้ขณะกำลังเปิดประตูใหญ่โรงเรียน


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 06 ก.ย. 13, 20:06

บุคคลสำคัญของอัสสัมชัญ   ภราดาฟ.ฮีแลร์   ผู้ชำนาญภาษาไทยถึงขั้นแต่งบทกวีนิพนธ์ได้


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 06 ก.ย. 13, 22:14

ชื่ออัสสัมชัญ นั้นเด่นมาช้านาน ยังมีพยานปรากฏรับรอง   ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 06 ก.ย. 13, 22:44

หอมกลิ่นกุหลาบ ซึมซาบขจรไกล   หอมฟุ้งจรุงใจ อบไปทั่วทิศทาง

อ้าว  เข้าผิดซอย  ขอโทษทีค่ะ... อายจัง


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 30
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.079 วินาที กับ 20 คำสั่ง