เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3 ... 30
  พิมพ์  
อ่าน: 127125 เรื่องเล่าชาวกรุงเทพรุ่นทวด
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


 เมื่อ 06 ก.ย. 13, 07:29

คนรุ่นผมนี่ก็ถือว่าเป็นรุ่นปู่แล้ว ผ.ศ.อุดมศรี บูรณศิริ อาจารย์ของผมที่คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่จะกล่าวถึงในกระทู้นี้จึงต้องถือว่าท่านเป็นรุ่นทวด บัดนี้อายุเก้าสิบเศษแล้วยังรื่นเริง แข็งแรง สามารถมาร่วมกิจกรรมสำคัญๆกับคณะได้บ่อยๆในฐานะอาจารย์อาวุโส ต้นปีนี้นิสิตเก่าคณะสถาปัตย์ได้งานฉลองการก่อตั้งคณะมาครบ๘๐ปีกัน จารย์ดมศรีก็ไปในงานนี้ด้วย ผมเสียอีกไม่เอาแล้วงานสมัยนี้ เพราะเค้าเปิดเครื่องเสียงกันหนวกหูเหลือกำลัง จะคุยอะไรกันก็ไม่รู้เรื่อง
 
ตั้งใจเอารูปนี้มาโฆษณาหน่อยว่าอาจารย์รุ่นทวดของผมท่านป๊อบปูล่าอย่างไรในหมู่ลูกศิษย์ลูกหาที่บางคนท่านคงคุ้นๆหน้าอยู่


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 06 ก.ย. 13, 07:33

เจอในเวปของสภากาชาดไทยว่าเมื่อสองปีที่ผ่านมาท่านนำเงินสะสมของท่านเอง๑ล้านบาทไปบริจาคให้ สุดยอดจริงๆ ในเวปของสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ ก็เห็นภาพท่านไปทำพิธีเปิดศูนย์บริการของสมาคมที่ตึกเอมโพเรียมในฐานะสมาชิกอาวุโสที่สุดด้วย


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 06 ก.ย. 13, 07:36

เดือนที่แล้วเพื่อนผมเอาหนังสือนี้มาให้ ผมเห็นรูปท่านบนหน้าปกมีอยู่ก็ใจหายวาบ ถามเพื่อนว่า เฮ้ย ! งานอะไร ?!? เพื่อนบอกว่า ไม่ใช่ม่ายช่าย ยัง..ยัง จารย์ดมศรีเอามาแจกเฉยๆ
…เฮ้อ แล้วไป

ชื่อหนังสือบนปกเขียนว่า “ลูกถาปัด”คนหนึ่ง ในเล่มก็มีข้อเขียนของท่านเล่าอะไรต่อมิอะไรเป็นเรื่องๆไป บางเรื่องผมอ่านแล้วก็เห็นว่าน่าจะถ่ายทอดมาให้ชาวเรือนไทยอ่านด้วย เช่นเรื่อง อดีตถนนสุขุมวิทที่ผมเห็น จึงขอถือโอกาสนี้อนุญาตท่านทางเน็ทนี่แหละ อาจารย์คงไม่ว่าผมนะครับ 
ไม่เป็นไรน่ะ อย่างมากท่านก็คงคิดค่าลิขสิทธิ์แค่ตบหลังผมสักป้าบหนึ่งเท่านั้น


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 06 ก.ย. 13, 07:38

ผมจะยกมาเขียนเล่าเรื่อยๆนะครับ ใครจะปาด หรือจะแซงหน้าแซงหลังชนท้ายทุบหลังคาก็เชิญตามสะดวก เพราะเรื่องของจารย์ดมศรีมีหลากอรรถรส สามารถแยกเข้าซอยได้ตลอด แต่อย่าไปโผล่ออกทะเลก็แล้วกันเดี๋ยวจะกู่ไม่กลับ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 06 ก.ย. 13, 07:56

ก่อนจะไปถนนสุขุมวิท ท่านเล่าประวัติของท่านน่าสนใจทีเดียว ตระกูลบูรณศิริของท่านถือเป็นตระกูลขุนนางเก่าแก่ สืบต่อจากสมัยอยุธยามาจนถึงรัตนโกสินทร์ บรรพบุรุษของท่านได้รับความไว้วางพระราชหฤทัยจากพระมหากษัตริย์ทุกพระองค์

ผมเกิดเมื่อ พ.ศ. 2465 ภายใต้การปกครองระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 คุณพ่อคือ คุณหลวงเลขาวิจารณ์ (ศรีศุกร์ บุรณศิริ) รับราชการเป็นเลขาของท่านเจ้าคุณเสนาบดีกระทรวงยุติธรรม คุณแม่คือ นางเลขาวิจารณ์ (จิตรารมย์ บุรณศิริ) บ้านของผมอยู่ที่ถนนทรงวาดหน้าบ้านติดแม่น้ำเจ้าพระยา หลังบ้านติดถนน (เพราะสมัยโบราณนั้นหน้าบ้านต้องติดแม่น้ำ เพราะการจราจรทางน้ำสะดวกกว่า) มีห้องแถว 2 ชั้นอยู่ 9 ห้อง ถัดมาก็มีที่ว่างหลังบ้าน มีมะม่วงใหญ่มาก 2 ต้น ต่อมาก็เป็นตึกใหญ่โบราณสี่เหลี่ยม ถัดออกมาไปอีกก็มีลานกว้างปูด้วยหินแกรนิตแผ่นสี่เหลี่ยม ขนาด 50 ซม.ต่อไปถึงริมแม่น้ำเจ้าพระยา มีบันใดท่าน้ำใหญ่เป็นที่อาบน้ำและซักผ้าของคนเช่าบ้านในบริเวณนั้น และมีโป๊ะยื่นลงไปในแม่น้ำ ใช้ขึ้นสินค้าที่มาจากเมืองจีนและต่างจังหวัด (ของร้านคนจีนที่มาเช่าคุณย่าอยู่) มี “เสาตะเกียบ” ใหญ่ 2 ต้น เพื่อกันเรือใหญ่มากระแทกโป๊ะ


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 06 ก.ย. 13, 07:58

รูปคุณพ่อของคุณทวดอีกรูปหนึ่ง

(ต้องการไกด์พาแยกเข้าซอยบูรณศิริครับ)


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 06 ก.ย. 13, 08:57

ซอยบุรณศิริ  มีต้นซอยย้อนหลังไปถึงสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช   ต้นตระกูลเป็นพราหมณ์เมืองพาราณสี  เข้ามารับราชการอยู่ในอยุธยา    ก็คล้ายๆกับตระกูลบุณยรัตพันธุ์ที่ว่าเป็นพราหมณ์พฤฒิบาศมาจากอินเดีย เข้ามารับราชการในอยุธยาเหมือนกัน    จากนั้นก็กลายเป็นไทยนับถือพุทธศาสนาในตอนปลายอยุธยา
เรื่องราวของผู้สืบตระกูลในช่วงปลายอยุธยา ขาดหายไป  ใครทราบกรุณาเชื่อมให้ด้วยค่ะ
มารู้จักอีกครั้งตอนกลางซอย  คือ ในสมัยรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 4    ผู้สืบตระกูลนี้คือเจ้าพระยาธรรมาธิกรณาบดี(บุญศรี)เสนาบดีกระทรวงวัง     เมื่อท่านชราแล้วพระเจ้าอยู่หัวทรงเลื่อนเป็นเจ้าพระยาสุธรรมมนตรี   เพื่อให้ผู้อื่นได้เลื่อนเป็นเจ้าพระยาธรรมาธิกรณ์ต่อไป
ถ้าสนใจประวัติท่านก็หาอ่านได้ใน "ตั้งเจ้าพระยากรุงรัตนโกสินทร์"ค่ะ

ในรัชกาลที่ 3  เมื่อเจ้าอนุวงศ์แห่งเวียงจันทน์แพ้ศึก   ถูกจับตัวมากรุงเทพพร้อมด้วยบุตรภรรยา    หนึ่งในจำนวนบุตรีเจ้าอนุวงศ์ชื่อ "พัน" ได้มาเป็นภรรยาคนหนึ่งของเจ้าพระยาสุธรรมมนตรี   มีธิดาคนหนึ่งชื่อแหวว   หม่อมแหววผู้นี้ต่อมาได้เป็นภรรยาหม่อม (หมายถึงอนุภรรยา)ของเจ้าพระยาศรีพิพัฒน์ (แพ บุนนาค)  มีธิดาด้วยกัน 2 คน    หนึ่งในจำนวนนั้นชื่อแดง  ต่อมาคือหม่อมของพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าคำรบ   บุตร 2 คนในจำนวน 6 คนของท่านก็คือม.ร.ว.เสนีย์ และม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 06 ก.ย. 13, 09:01

ร่วมด้วยช่วยพาเข้าซอย "บุรณศิริ"

เจ้าพระยาชำนาญบริรักษ์ (อู่)  (ท่านผู้นี้เป็นสกุลอื่นๆ อีกหลายสกุล  ซึ่งไม่จำเป็นต้องกล่าวในที่นี้) มีบุตร  ๒  คน  คือ
๑ เจ้าพระยาสุรินทราชา  (จันทร์)  เป็นต้นสกุลจันทโรจวงศ์
๒ พระยาวิเศษสุนทร  (นาก หรือบุนนาค  นกเล็ก)

พระยาวิเศษสุนทร  (นาก)  มีบุตรหลายคน  ที่สำคัญ คือ
๑ หลวงเสน่ห์สรชิต  (พราหมณ์)
๒ พระยาจินดารังสรรค์  (แก้ว  หรือแก้วแขก)  เป็นต้นสกุลภูมิรัตน
๓.เจ้าจอมมาดาพุ่ม  ในรัชกาลที่ ๑  

เจ้าจอมมารดาพุ่ม   เป็นพระมารดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ  พระองค์เจ้าคันธรส  กรมหมื่นศรีสุเรนทร์  ส่วนหลวงเสน่ห์สรชิต  (พราหมณ์) มีบุตร  คือ เจ้าพระยาสุธรรมมนตรี  (บุญศรี)  เป็นต้นสกุลบุรณศิริ

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 06 ก.ย. 13, 09:17

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ โปรดเกล้าพระราชทานแก่ผู้สืบเชื้อสายจาก เจ้าพระยาสุธรรมมนตรี (บุญศรี) ว่า "บุรณศิริ" สะกดแบบโรมันว่า Purnasiri    ผู้ขอพระราชทานคือพระยามหานิเวศนานุรักษ์ (กระจ่างตา)  ข้าราชการกระทรวงวัง (นอกราชการ)  หลานปู่ของเจ้าพระยาสุธรรมมนตรี
คำว่า บุรณศิริ  น่าจะมาจากคำว่า บุญศรี นามเดิมของเจ้าพระยาสุธรรมมนตรี

เจ้าพระยาสุธรรมมนตรีสร้างวัดในกรุงเทพไว้วัดหนึ่ง  เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งพระยามหาอำมาตย์ ในรัชกาลที่ 3  พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานนามให้ว่า " วัดศิริอำมาตยาราม "  ต่อมาในรัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯได้พระราชทานเปลี่ยนใหม่เป็น " วัดบุญศิริมาตยาราม "
มาถึงรัชกาลที่ 5  เรียกนามวัดเสียใหม่เป็น " วัดบุรณศิริมาตยาราม " ยังเรียกชื่อนี้มาจนถึงปัจจุบัน  เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ   อยู่ใกล้ๆโรงแรมรอยัล   ที่ถนนอัษฎางค์หลังกระทรวงกลาโหม


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 06 ก.ย. 13, 10:15

ก่อนจะไปถนนสุขุมวิท ท่านเล่าประวัติของท่านน่าสนใจทีเดียว ตระกูลบูรณศิริของท่านถือเป็นตระกูลขุนนางเก่าแก่ สืบต่อจากสมัยอยุธยามาจนถึงรัตนโกสินทร์ บรรพบุรุษของท่านได้รับความไว้วางพระราชหฤทัยจากพระมหากษัตริย์ทุกพระองค์

ผมเกิดเมื่อ พ.ศ. 2465 ภายใต้การปกครองระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 คุณพ่อคือ คุณหลวงเลขาวิจารณ์ (ศรีศุกร์ บุรณศิริ) รับราชการเป็นเลขาของท่านเจ้าคุณ


รบกวนอา ใหม่อีกครั้ง คงรีบพิมพ์  ฮืม
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 06 ก.ย. 13, 15:26

ต้นฉบับเขียนไว้เพียงเท่านี้ครับ ที่ลอกมาลงไว้ถูกต้องแล้ว

รับราชการเป็นเลขาของท่านเจ้าคุณเสนาบดีกระทรวงยุติธรรม
ไม่ได้ระบุชื่อ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 06 ก.ย. 13, 15:40

มาขยายความเพราะคุณหลานไม่ได้บอกคุณอาให้แจ่มแจ้งลงไป  ว่าคุณหลานสงสัยว่าคุณอารีบพิมพ์คำไหน
กล่าวคือ
คุณหนุ่มหมายถึงว่า พ.ศ. 2465  ไม่ได้อยู่ในรัชกาลที่ 7 ค่ะ   ยังเป็นรัชกาลที่ 6 อยู่    
สิ้นรัชกาลที่ 6 เมื่อพ.ศ. 2468  
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 06 ก.ย. 13, 15:44

ต้นฉบับเป็นตามนั้นครับ คุณทวดคงหลงไปซะแล้ว

ปู่ก็หลงๆด้วย
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 06 ก.ย. 13, 15:46

ริมแม่น้ำเจ้าพระยา มีบันใดท่าน้ำใหญ่เป็นที่อ่าบน้ำและซักผ้าของคนเช่าบ้านในบริเวณนั้น และมีโป๊ะยื่นลงไปในแม่น้ำ ใช้ขึ้นสินค้าที่มาจากเมืองจีนและต่างจังหวัด (ของร้านคนจีนที่มาเช่าคุณย่าอยู่) มี “เสาตะเกียบ” ใหญ่ 2 ต้น เพื่อกันเรือใหญ่มากระแทกโป๊ะ

“เสาตะเกียบ” นั้นทำด้วยซุงไม้แข็งทั้งต้น เส้นผ่าศูนย์กลางราว 60 ซม. ยาวราว 7-8 เมตร ตอกตะปูถี่ๆ และฉาบปูนขัดมันรอบต้น ระหว่างระดับน้ำขึ้นสูงสุดและน้ำลงต่ำสุด เพื่อกันไม้ผุ เสาตอนเหนือน้ำไม่ฉาบปูน เพราะถ้าถูกเรือกระแทกปูนจะแตก ถ้าเป็นไม้แข็งทนได้ไม่แตก


ผมพยายามหาภาพเสาตะเกียบมาให้ดู แต่หายากมาก ที่นำมาลงนี้พอให้เข้าใจว่าคุณทวดหมายถึงอะไร


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 06 ก.ย. 13, 16:00

เสาตะเกียบ หน้าตาแบบนี้หรือเปล่าคะ


บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3 ... 30
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.081 วินาที กับ 20 คำสั่ง