เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 4052 เพลง สดุดีมหาราชา
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


 เมื่อ 02 ก.ย. 13, 18:55

เป็นการรวมศิลปินมารวมตัวที่ไพเราะที่สุด

บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 02 ก.ย. 13, 19:01

นำมาให้อ่านครับ

ขอประทานอนุญาต คุณอาชรินทร์ และ คุณอาซูม นำบางส่วนของบทความ “ ที่มาของเพลง...”สดุดีมหาราชา “ ที่เผยแพร่ในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ หน้า 5 คอลัมน์  ซูม ซอกแซก สุดสัปดาห์ ฉบับวันอาทิตย์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ.2554 (แนะนำให้อ่านฉบับเต็ม เป็นบันทึกประวัติศาสตร์ที่สำคัญไม่อยากให้พลาดกัน) มาให้หลายท่านที่ไม่มีโอกาสได้อ่านได้รับทราบเรื่องราวฉบับย่อจากที่นี้ครับ ขอขอบพระคุณครับ                    
         “ เพลงสดุดีมหาราชาเผยแพร่สู่ประชาชนครั้งแรก โดยบรรจุอยู่ในภาพยนตร์เพลงพระราชทาน “ ลมหนาว “ ที่คุณชรินทร์ นันทนาคร สร้างฉายที่ศาลาเฉลิมกรุงเมื่อปี พ.ศ.2509 ( หลายคนที่อ่านบทความจากเวปบล็อกคีตมหาราชนิพนธ์ จะทราบว่าผมเคยนำเรื่องราวเกี่ยวกับภาพยนตร์เรื่องนี้มาให้อ่านกัน) เป็นตอนใกล้จบเรื่อง มีภาพนักโทษการเมืองและพระเอกของเรื่องที่ได้รับพระราชทานอภัยโทษเนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา เดินออกจากคุกและพร้อมใจกันก้มกราบระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ

ผู้ที่เข้ามาดูภาพยนตร์ในรอบแรกต่างลุกขึ้นถวายความเตารพ คนเฝ้าประตูใหญ่ด้านข้างของเฉลิมกรุงก็เปิดประตู ผู้คนเข้าใจว่าภาพยนตร์จบแล้ว ต่างก็กรูกันออกไปเต็มถนนเจริญกรุง ไม่นานก็ได้เรื่อง ตำรวจพาตัวคุณชรินทร์ไปที่โรงพักพระราชวังเพราะมีคนไปแจ้งความว่า คุณชรินทร์เอาเพลงอะไรก็ไม่รู้มาเปิดแทนเพลงสรรเสริญพระบารมี อธิบายอย่างไรตำรวจก็ไม่เข้าใจ ทางโรงก็ไม่กล้าฉายหนัง คุณชรินทร์ก็ต้องโทร.ถึงที่พึ่งของคุณชรินทร์

พักใหญ่ที่พึ่งของคุณชรินทร์ท่านก็มา ตำรวจตั้งแถวกันพรึ่บพรั่บทั่วโรงพัก และทุกอย่างก็จบลงด้วยรอยยิ้มและความเข้าใจ ภาพยนตร์ก็ฉายได้ตามปกติ จากวันนั้นถึงวันนี้ เพลง “ สดุดีมหาราชา “ ได้กลายเป็นเพลงของประชาชนคนไทยทั้งประเทศไปแล้ว ถ้าสวรรค์มีจริงอัจฉริยชนคนธรรมดาและเป็นคนดีที่พร้อมอย่าง คุณสมาน กาญจนผลิน ท่านคงยิ้มอย่างเป็นสุขอบู่บนนั้น “

ปัจจุบันเพลงนี้มีการขับร้องเพื่อถวายพระพรพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาของทั้งสองพระองค์อยู่เสมอ โดยถือเป็นธรรมเนียมทั่วไปว่าเพลงนี้ต้องขับร้องหลังการร้องเพลงสรรเสริญพระบารมี และมีการจุดเทียนชัยถวายพระพร  และรัฐบาลได้จัดเพลงนี้ให้เป็น 1 ใน 6 เพลงสำคัญของแผ่นดิน ตามมติคณะรัฐมนตรีลงวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2546

บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 02 ก.ย. 13, 19:05

ต่อยอดครับ

เรื่องภาพยนต์ ลมหนาว ปี ๒๕๐๙

บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 02 ก.ย. 13, 19:16

ต่อยอดครับ


เรื่องภาพยนตร์ ลมหนาว ปี ๒๕๐๙ ฟิลม์ชุดนี้ผู้บรรยายว่าเริ่มถ่ายทำเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๘ ก่อนเรื่องลมหนาวจะฉาย


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 02 ก.ย. 13, 20:19

เขียนจากความทรงจำของผมเอง

หลังจากลมหนาวเข้าฉาย ไม่นานเพลงสดุดีมหาราชาก็โด่งดังจนร้องกันได้แทบทุกคน ปีนั้น หลังการแข่งขันรักบี้ประเพณีจุฬาธรรมศาสตร์ ชิงถ้วยพระราชทาน“มหิดล” ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าปกติจะเสด็จทอดพระเนตรด้วย เมื่อจะเสด็จพระราชดำเนินกลับ ประธานจัดการแข่งขันได้กราบบังคมทูลขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้นิสิตนักศึกษาทั้งสองสถาบัน ร่วมกันร้องเพลงสดุดีมหาราชาถวาย คนทั้งสนามได้ลุกขึ้นยืนร่วมร้องกับนิสิตนักศึกษาด้วยอย่างพร้อมเพรียง กำหนดกันไว้ว่าจะร้องสามเที่ยว แต่เมื่อครบแล้วก็มีคนขึ้นต้นร้องต่อ ทุกคนก็ร้องตาม เป็นอย่างนี้ไม่รู้สักกี่เที่ยวต่อกี่เที่ยว ทรงขยับจะเสด็จพระราชดำเนินกลับก็ไม่ยอม ช่วยกันเปล่งเสียงร้องแบบไม่มีตก ผมว่าน่าจะเกินสิบเที่ยวไปโขอยู่ ในที่สุดก็ทรงลุกขึ้นประทับยืนทั้งสองพระองค์สักพักหนึ่ง แย้มพระสรวลให้นิสิตนักศึกษาแล้วเสด็จพระราชดำเนินออกไปจากบริเวณที่ประทับ แต่เสียงร้องก็ยังหาได้ยุติลงไม่ นัยว่ารถพระที่นั่งยังเคลื่อนออกไปไม่พ้นสนามศุภชลาศัย แม้เวลาผ่านไปนานจนน่าจะพ้นแล้ว เสียงเพลงสดุดีมหาราชาก็ยังไม่ยอมจบ จนประธานเชียรทั้งสองมหาวิทยาลัยต้องออกไปประกาศให้ยุติแล้วแยกย้ายกันกลับบ้านได้ หลายครั้งหลายคลา แล้วให้สนามดับไฟไล่ จึงได้ทยอยกันออกจากอัฒจรรย์โดยหลายกลุ่มก็ไม่ได้หยุดร้อง เสียงเพลงได้เงียบลงจริงๆก็หลังจากที่ทุกคนแยกย้ายกันกลับบ้าน

ต่อมาได้ข่าวว่า ทรงเป็นห่วงพวกเรามาก เพราะใกล้ดึกแล้ว น่าจะกลับบ้านกันเสียที และไม่ทรงอนุญาตให้ร้องสดุดีมหาราชาเช่นนี้อีกในปีต่อๆไป

รักบี้ประเพณีสมัยก่อนแข่งขันกันกลางคืน เป็นการฉลองแผงไฟฟ้าที่สนามศุภเพิ่งจะติดตั้งใหม่ๆ ระหว่างพักครึ่งเวลา จะดับไฟทั้งสนามให้กองเชียรทั้งสองสถาบันแปรอักษรด้วยการใช้ไฟฉาย เล่นสีด้วยการฉายผ่านกระดาษแก้วสีต่างๆที่แผนกเชียรตัดเป็นแผ่นเล็กๆไว้ให้

หลังจากนั้นผมไม่เคยเจอเหตุการณ์อันยิ่งใหญ่ที่เกิดขึ้นโดยมิได้นัดหมายเช่นนี้อีกเลย
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 02 ก.ย. 13, 20:31

ทรงพระเจริญ

เพลง สดุดีมหาราชา

คำร้อง : นายชาลี อินทรวิจิตร นายสุรัฐ พุกกะเวส
ทำนอง : นายสมาน กาญจนะผลิน

ขอเดชะองค์พระประมุขภูมิพล มิ่งขวัญ ปวงชนประชาชาติไทย
มหาราช ขัตติย ภูวไนย ดุจร่มโพธิ์ร่มไทรของปวงประชา
ขอเดชะองค์สมเด็จพระราชินี คู่บุญ บารมี จักรีเกริกฟ้า
องค์สมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว มหาราชา ข้าพระพุทธเจ้าขอสดุดี
อ่าองค์พระสยมบรมราชันขวัญหล้า เปล่งบุญญาสมสง่าบารมี
ผองข้าพระพุทธเจ้า น้อมเกล้าขออัญชุลี สดุดีมหาราชา สดุดีมหาราชินี

รัฐบาลได้จัดเพลงนี้ให้เป็น 1 ใน 6 เพลงสำคัญของแผ่นดิน ซึ่งได้แก่ เพลงชาติ เพลงสรรเสริญพระบารมี เพลงมหาชัย เพลงมหาฤกษ์ เพลงสดุดีมหาราชา และเพลงภูมิแผ่นดิน นวมินทร์มหาราชา ตามมติคณะรัฐมนตรีลงวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2546
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 02 ก.ย. 13, 20:34

เพลงสดุดีมหาราชา  บรรเลงโดยวงโยธวาทิต

บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.051 วินาที กับ 20 คำสั่ง