เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
อ่าน: 6118 จริงหรือ อุทกภัย เกิดจากการตัดไม้ทำลายป่า
น้องพิม วังชิ้น
บุคคลทั่วไป
 เมื่อ 04 มิ.ย. 01, 17:11

การตัดไม้ทำลายป่าเป็นต้นเหตุให้เกิดอุทกภัย เป็นไปได้หรือไม่
บันทึกการเข้า
VMaster
อสุรผัด
*
ตอบ: 20

คณะผู้บริหารวิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 21 พ.ค. 01, 23:03

ขอเชิญโพสที่ห้อง บ้านนี้เมืองนี้

http://www.vchakrarn.com/vcafe/thistown' target='_blank'>http://www.vchakrarn.com/vcafe/thistown



หรือที่ห้องเด็กวิทย์ครับ

http://www.vcharkarn.com/vcafe/dekvit' target='_blank'>http://www.vcharkarn.com/vcafe/dekvit
บันทึกการเข้า
จ้อ
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1081

แต่งงานแล้วจ้า ...


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 22 พ.ค. 01, 00:32

โพสต์กระทู้สิ่งแวดล้อมที่ห้องเด็กวิทย์จะดีกว่านะครับ
นักวิทยาศาสตร์ทั้งหลายจะได้เข้ามาออกความเห็นกัน
บันทึกการเข้า
สตาร์
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 22 พ.ค. 01, 01:39

รูปร่างของพื้นที่รับน้ำก็มีส่วน ถ้าหุบเขาที่รับน้ำฝนเป็นแอ่งรูปร่างยาวก็เกิดน้ำท่วมไม่สูงมาก ถ้าหุบเขารับน้ำฝนเป็นแอ่งกลมๆ หรือครึ่งวงกลม น้ำย่อมไหลจากห้วยสาขาย่อยๆ มาตรงจุดรวมพร้อมกัน ระดับน้ำเลยสูง ทำให้น้ำท่วมได้ เพราะน้ำมีปริมาณมาก
บันทึกการเข้า
นวล
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 24 พ.ค. 01, 00:40

ตัวอย่างของพื้นที่ตามที่คุณสตาร์ได้
กล่าวไว้ก็คือ หาดใหญ่ไงค่ะ ซึ่งตั้งอยุ่
กลางแอ่งกระทะ และมีแม่น้ำสายเดียว
ที่พอจะเป็นทางน้ำไหลออกจากแอ่งได้บ้าง

หากจะกล่าวต่อถึงอุทกภัย แบบน้ำป่าไหลหลากนั้น ขอบอกว่า ไม่จำเป็นเลยที่ต้องมาจากเหตุการตัดไม้ทำลายป่า เพราะต่อให้มีป่าอุดมสมบูรณ์ยังไง ถ้าฝนตกติดต่อกันสี่วันแล้ว น้ำท่วมแน่ๆ น้ำป่าไหลหลากแน่ๆ ค่ะ

ขออภัยที่ตอบผิดห้อง แต่เห็นว่าเจ้าของกระทู้โพสต์มาแล้ว จึงขอตอบเสียเลย
บันทึกการเข้า
สตาร์
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 24 พ.ค. 01, 11:16

สวัสดีคุณนวล

เลยคุยต่ออีกนิด ถ้าฝนตกสี่วันบางที่ก็แถมหินลงมาด้วยสิ อย่างที่กะทูน คีรีวงศ์ นครศรีธรรมราช ไม่ค่อยอยากเอ่ยถึงเลย ตอนเกิดใหม่ๆ ก็ได้ไปดูและเขียนสรุปไว้ หินบริเวณนั้นซึ่งเป็นหินตระกูลแกรนิต เมื่อแร่บางส่วนผุพังแล้วก็เป็นดินขาว ผสมกับกรวดทรายและก้อนหินหลายขนาด ก็เลยลงมาพร้อมๆ กันเมื่อดินชุ่มน้ำขาดแรงยึดมวลทั้งหมดไว้

และจะเป็นเช่นนี้ตลอดไปทุกช่วงเวลาหนึ่ง อาจเป็นทุกหมื่นปี แสนปี ก็ยังไม่ได้ศึกษา เพราะไปเห็นร่องรอยเก่าๆ กรวดทรายที่เคยลงมาทับถมกันก่อนหน้านี้ก็มีให้เห็นอยู่แล้ว

เมื่อเป็นเช่นนี้ก็ไม่เหมาะกับการตั้งถิ่นฐาน ร่องรอยวัฒนธรรมแถวนี้ถ้าเคยมีอยู่ก็ไม่เหลือให้เห็น เราจึงอาจเห็นวัฒนธรรมแต่ส่วนที่มีถิ่นฐานชายทะเล หรือที่ราบไกลเขาออกมา ซึ่งปลอดภัยกว่า
บันทึกการเข้า
นวล
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 25 พ.ค. 01, 01:38

สวัสดีคุณสตาร์
รู้สึกว่าคุยกันถึงเรื่องน้ำแล้ว
จะน้ำลายแตกฟองกันทั้งคู่ หุ หุ
เอาเป็นว่า ถ้าเขาไม่ไล่ เราไม่เลิก... หุ หุ

เรื่องเกี่ยวกับ soil composition นี่ ใช่เลย
ขอยกตัวอย่างเมื่อครั้งที่ฝนตกติดๆ กันที่
เกาะฮ่องกง  น้ำฝนเซาะดินที่เป็นตัว
ยึดหินตามเขาออกไปเสียมาก ผลก็คืน
ภูเขาทลายลงมาถมทับบ้านเรือน
รู้ๆ กันอยู่ว่า เกาะฮ่องกงนั้น เป็นพื้นที่
ที่มีเนื้อหินและเนื้อดินแข็งแกร่งมาก
แต่ก็ยังสู้น้ำไม่ได้ นี่ละหน่า เขาถึงว่า
น้ำหยดลงหินทุกวัน หินมันยังกร่อน

อีกตัวอย่างหนึ่งของ flash flood ก็คือ
แถบลุ่มแม่น้ำอเมซอน ป่าดงดิบทั้งนั้น
แต่พอน้ำหลาก ก็ท่วมค่ะ

พูดถึงว่า ถ้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่แถบชายทะเล
สมัยนี้ เพื่อหนีน้ำท่วมปนหินไหลนั้น
ก็คงไม่ปลอดภัยเท่าไรแล้วล่ะคะ ต้องระวัง
El nino กะ La ืืnina แน่ๆ
บันทึกการเข้า
เปี้ยว
พาลี
****
ตอบ: 321

วิชาการ.คอม, อาจารย์ภาคฟิสิกส์ มหิดล


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 25 พ.ค. 01, 01:50

คุยน้ำลายแตกฟอง ผมก็เข้ามาฟังหูห้อยด้วยละกัน หุๆๆ

เพิ่งอ่านเรื่องราวเกี่ยวกับ Marsh Arab ที่อยู่ทางใต้ตุรกี และตะวันออกของอีรักมาครับ พวกนี้สร้างบ้านและที่อยู่ต่างๆมาจากต้นกก เมื่อก่อนบริเวณนั้นเป็น Marsh (ภาษาไทยน่าจะใช้ว่าบึงตื้นๆ) ขนาดใหญ่ ต้นกกจะเจริญเติบโตได้ก็ต่อเมื่อมี Fresh Flood เขามา แต่ช่วง 10 ปีให้หลัง ทางตุรกีสร้างเขื่อนกั้นน้ำเยอะ ซัดดัมก็ผันน้ำออกไป ทำให้บริเวณ Marsh land น้ำหายไปเรื่อยๆ ไม่มีน้ำท่วมช่วงหน้าฝน จนตอนนี้เหลือต้นกกอยู่นิดเดียว
(จาก New Scientist เร็วๆนี้ มีรูปด้วย บ้านสวยดี เดี๋ยวจะแอบสแกนมา )

ที่เกี่ยวกับกระทู้นี้ก็คือ บางที่น้ำท่วมนั้นจะดี
บันทึกการเข้า
นวล
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 25 พ.ค. 01, 12:04

หุ หุ มีสมาชิกน้ำลายแตกฟองเพิ่มขึ้นมาอีกหนึ่ง
คุณเปี้ยว Marshland ของฝรั่งนั้น ดูๆ แล้ว
น่าจะเทียบได้กับป่าชายเลนของไทยเรานะ
เพราะต้องมีน้ำท่วมเป็นบางเวลา ตามน้ำขึ้นน้ำลง
และอยู่ได้ก็เพราะน้ำท่วมนี่แหละ...
หรือคุณสตาร์ว่ายังไงเอ่ย... อ้อ.. คุณสตาร์นี่
ทราบมาว่า น่าจะเป็นเจ้าแม่วงการเจาะหิน
เคาะดินได้นะคะ ประมาณว่าชอบยุ่งมุ่งอยู่
แต่เรื่องหินดินทรายกะดาวเทียม หุ หุ หุ
(เข้าเค้า เท้าติดดิน ตาดูดาว เลยแหะ อิ อิ)

แล้วใครอธิืบายให้ทราบหน่อยซิคะว่า
ธรณีวิทยา ต่างกับปฐพีวิทยาอย่างไร

รอดูรูปที่คุณเปี้ยวจะ(แอบ)สแกนมา...
บันทึกการเข้า
สตาร์
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 25 พ.ค. 01, 12:51

5 5 5 คุณนวลอย่าเอ่ยเรื่องที่ว่าเลย อิ อิ เสียวอ้ะ
เราพวกเพ้อเจ้อแตกแถวน่ะ และก็พวกน้ำท่วมทุ่งด้วย
เดี๋ยวกระทู้นี้เป็นร้อยความคิดเห็นเลย
คุณเทาชมพูอาจรู้สังกัดเราว่าอยู่แถวไหนอยู่แล้ว

ธรณีก็เรียนทุกอย่างในโลกนี้ เผลอๆ ก็ไปเดาเรื่องธรณีของดาวอื่นด้วย
ปฐพีแปลว่าพื้นดิน ก็จะศึกษาละเอียดเฉพาะดิน
ซึ่งเป็นผลที่ได้จากขบวนการเกิดต่างๆ เช่น การสลายของหิน
การพัดพา การพังทลาย ทำนองนั้น

Marsh นี้มีหลายแบบ ภาษาใต้น่าจะตรงกับ พรุ หรือ โพร๊ะ
ป่าชายเลนน่าจะรวมอยู่ในนั้นด้วย

ตอนนี้เพิ่งได้หนังสือประวัติศาสตร์สิบสองปันนามา
จากทะเลจะคุยเป็นสหวิทยาการขึ้นไปถึงดอย
น้ำท่วมทุ่งขึ้นไปถึงโน่น เดี๋ยวยาวแน่ๆ
บันทึกการเข้า
นวล
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 25 พ.ค. 01, 14:37

หุ หุ หุ อ่านวรรคแรกแล้วขำค่ะ
พรุ คือพื้นดินที่ข้างบนแข็ง ข้างล่างเป็นหล่ม
(ตามพจนานุกรม ราชบัณฑิตฯ)
ดูแล้ว พรุน่าจะเป็นพื้นที่ชื้นแฉะเต็มไป
ด้วยโคลนดิน มากกว่าจะเป็นแบบที่มีน้ำท่วมนะ
คุณสตาร์มีภาพไหม (แอบ)สแกนให้ชมหน่อยสิคะ

พูดถึงหนังสือ คุณกำลังอ่านสิบสองปันนา
อิฉันกำลังอ่านประวัติของชนกลุ่มน้อยในพม่า
ตั้งแต่มีการฉีกสนธิสัญญา.....
เดี๋ยวอ่านจบ เรามาคุยกันดีกว่า คราวนี้บุกขึ้น
เขากันจริงๆ เหอ เหอ เหอ
บันทึกการเข้า
สตาร์
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 25 พ.ค. 01, 22:24

คุณเปี้ยวเลยหายไปเลย เรื่องกกที่นำมาทำที่อยู่ได้ เห็นทางใต้ก็มีต้นกะจูด หรือจูด
ก็คงเป็นพืชตระกูลกกที่ขึ้นแถวๆทะเลสาบสงขลาด้วย
จะแข็งกว่ากกปกติ นำมาสานทำฝาบ้าน เสื่อ กระเป๋า ฯลฯ

คุณนวล เขียนยาวจะออกนอกเรือนไทย ผิดวัตถุประสงค์ของบอร์ด น่าจะเป็นกระทู้ใหม่

ประวัติศาสตร์สิบสองปันนา - เป็นหนังสือผลงานวิจัยใหม่
เป็นโครงการระหว่างมหาวิทยาลัยหลายแห่ง
พิมพ์ครั้งแรกเดือน มีนาคม 2544 นี้เอง
ทำให้เข้าใจสังคมไทย โดยเฉพาะล้านนา คือ ทางเหนือ
เคยอยู่เหนือ แต่ไม่เคยรู้เรื่องที่มาของอะไรเลย เช่นประเพณีการมี เจ้าเมือง หอคำ ฯลฯ
บันทึกการเข้า
นวล
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 25 พ.ค. 01, 22:59

หุ หุ หุ เห็นด้วยค่ะ
งั้น เจอกัน same time, same place......
au revoir
บันทึกการเข้า
เปี้ยว
พาลี
****
ตอบ: 321

วิชาการ.คอม, อาจารย์ภาคฟิสิกส์ มหิดล


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 26 พ.ค. 01, 07:26

มาแล้วๆครับ วันนี้ยุ่งทั้งวันเลย

ข้างล่างเป็นรูปของชาว Marsh Arab ครับ

http://vcharkarn.com/reurnthai/uploaded_pics/RW601x013.jpg'>
บันทึกการเข้า
เปี้ยว
พาลี
****
ตอบ: 321

วิชาการ.คอม, อาจารย์ภาคฟิสิกส์ มหิดล


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 26 พ.ค. 01, 07:41

อันนี้บ้านเขาครับ ผมว่ามันน่าอยู่ดี

(แบบว่าท่าทางจะนั่งตกปลาได้ทั้งวัน อิอิ )

ร้อนมากก็แอบเข้าไปนอนซะ ท่าทางจะสบายจริงๆ

http://vcharkarn.com/reurnthai/uploaded_pics/RW601x014.jpg'>
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.043 วินาที กับ 19 คำสั่ง