เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 9 10 [11] 12 13 ... 15
  พิมพ์  
อ่าน: 57250 ญี่ปุ่น ญี่ปุ๊น ญี่ปุ่น 2
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 150  เมื่อ 04 ต.ค. 13, 18:49

พักผ่อนจนหายเหนื่อยเมื่อยล้าจากการเล่นสกี จะพาไปเที่ยวต่อ

สถานที่แห่งนี้สำคัญระดับที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทีเดียว  

เชื่อแน่ว่าหลายท่านคงเคยไปสถานที่แห่งนี้มาแล้ว จำได้ไหมว่าสถานที่นี้ชื่อว่าอะไร อยู่ที่ไหนเอ่ย  ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 151  เมื่อ 05 ต.ค. 13, 23:21

หากบอกว่าที่นี่มีภาพสลักไม้ที่เป็นต้นแบบของปริศนาธรรมที่มีชื่อเสียงคือ "ลิงสามตัว"  

คงนึกออกว่าคือสถานที่ใด ยิงฟันยิ้ม


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 152  เมื่อ 05 ต.ค. 13, 23:26

คำอธิบายปริศนาธรรมของท่านพุทธทาส  ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
mrpzone
มัจฉานุ
**
ตอบ: 89


ความคิดเห็นที่ 153  เมื่อ 06 ต.ค. 13, 03:19

หากบอกว่าที่นี่มีภาพสลักไม้ที่เป็นต้นแบบของปริศนาธรรมที่มีชื่อเสียงคือ "ลิงสามตัว"  

คงนึกออกว่าคือสถานที่ใด ยิงฟันยิ้ม

นึกไม่ออกครับ แต่แอบใช้ตัวช่วยค้นรูปภาพให้ครับ  อายจัง


(ภาพไม้แกะสลักลิงสามตัว ณ ศาลเจ้าโทโชกุ เมืองนิกโก้ ข้อมูลจาก his-bkk.com)

“ศาลเจ้าโทโชกุ” ศาลเจ้าประจำตระกูลโทกุงาวะที่โด่งดังในอดีต และยังเป็น “สุสานของโชกุนโทกุงาวะ อิเอยะสุ” โชกุนผู้ผลิกพลันชะตาชีวิตของชาวญี่ปุ่น พร้อมสักการะ “เทพเจ้า” ผู้คุ้มครองและปกปักรักษาลูกหลานของตระกูลและบรรดาผู้เลื่อมใส ชม “เจดีย์ 5 ชั้น” สถานที่เก็บพระธรรมคำสอน, บทสวดมนต์ และสิ่งของมีค่า แล้วชม “งานแกะสลัก” อันเป็นโบราณวัตถุที่ล้ำค่า ที่มีมากกว่า 5,000 ชิ้น แล้วตื่นตากับ “ซุ้มประตูโยเมมง” (Yomei-Mon) อันเป็นสถาปัตยกรรมที่มีความสำคัญในแง่ประวัติศาสตร์ศิลป์ของญี่ปุ่น และยังเป็น “ศิลปะชิ้นเอก” และมีชื่อเสียงของญี่ปุ่น

และข้อมูลจากวิกิเรื่อง ลิงสามตัว ได้อธิบายต้นกำเนิดของภาพปริศนาธรรมโดยย่อเอาไว้ดังนี้ครับ

ต้นกำเนิดของภาพปริศนาธรรมอันโด่งดังนี้มีที่เริ่มมาจากลักษณะภาพแกะสลักบนประตูของศาลเจ้านิกโกโทโช จังหวัดนิกโก ประเทศญี่ปุ่น ย้อนหลังไปถึงศตวรรษที่ 17 อย่างไรก็แล้วแต่ตัวปรัชญาของปริศนาธรรมนั้นน่าจะมาพร้อมกับตำนานของ Tendai Buddhist ซึ่งเชื่อกันว่ามาจากประเทศจีนในศตวรรษที่ 8 (ยุคนะระ) ในภาษาจีนนั้น ประโยคคล้ายกับเรื่องลิงสามตัวนี้สามารถอ่านเจอในคัมภีร์ของหลักขงจื๊อ ถอดความได้ว่า "ไม่มองในสิ่งที่ค้านกับความเหมาะสม ไม่ฟังในสิ่งที่ค้านกับความเหมาะสม และไม่กระทำ (เคลื่อนไหว) ในสิ่งที่ไม่เหมาะสม" จากที่กล่าวมาในประโยคข้างต้นนั้นสามารถกล่าวได้ว่าเมื่อปรัชญานี้มาถึงญี่ปุ่น ตัวปรัชญาเองนั้นถูกทำให้กระชับและได้ใจความขึ้น

มานั่งคิดดู
ที่ญี่ปุ่นมีปริศนาธรรม ลิงสามตัว จากภาพไม้แกะสลักลิงปิดหูตาปาก (หรืออาจมีภาพปริศนาธรรมเพิ่มอีก 1 อย่าง คือปิดที่บริเวณท้องหรืออวัยวะเพศ) โดยน่าจะมีที่มาจากคำสอนของขงจื้อ


ไม่ทราบว่าทางญี่ปุ่นเค้ามีเครื่องลางของขลังหรือวัตถุบูชา (ที่มีที่มาจากปริศนาธรรมชุดนี้) จำหน่ายอย่างเป็นเรื่องเป็นราวเหมือนไทยเราบ้างหรือเปล่าครับ? เท่าที่เคยเห็นในหนังสือหรือในหนัง จะเป็นยันต์ต่างๆ แค่นั้นเองครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 06 ต.ค. 13, 16:05 โดย เทาชมพู » บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 154  เมื่อ 06 ต.ค. 13, 11:13

ทำได้แล้วค่ะ  ขอบคุณมาก
ต่อไปนี้ถ้าจะทายรูปโหดๆ เห็นจะต้องเอามาจากหนังสือ   ไม่เอาจากเน็ตดีกว่า


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 155  เมื่อ 06 ต.ค. 13, 16:04

คุณพีตามมาถูกที่แล้ว สถานที่นี้คือศาลเจ้าโทโชกุแห่งนิกโก ที่โตเกียวก็มีศาลเจ้าชื่อเดียวกันนี้อยู่แห่งหนึ่งที่อุเอะโนะ

ศาลเจ้าโทโชกุ 上野東照宮 - Ueno Toshogu ศาลเจ้านี้สร้างอุทิศให้โชกุนโทะกุงะวะ อิเอะยะซุ โชกุนคนแรกของตระกูลโทะกุงะวะ  มีศาลเจ้าชื่อเดียวกันนี้ทั่วประเทศกว่า ๑๓๐ แห่ง  ที่มีชื่อเสียงและสวยที่สุดอยู่ที่นิกโก คือ 日光東照宮 - Nikko Toshogu

ที่นี่คงมีคนไทยไปเที่ยวมากพอสมควร มีป้ายต้อนรับอยู่หน้าศาลเจ้าเป็นข้อความหลายภาษา หนึ่งในนั้นคือภาษาไทย

ชาวนิกโกยินดีต้อนรับทุกท่าน



คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 156  เมื่อ 06 ต.ค. 13, 16:27

มีแมวด้วยค่ะ  แต่ไม่รู้ว่าปริศนาธรรมอะไร


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 157  เมื่อ 06 ต.ค. 13, 17:03

เรียกว่าภาพ "แมวหลับ" 眠猫 - nemuri neko 

มี คำอธิบายหนึ่ง กล่าวทำนองว่าเป็นเรื่องของการเมืองญี่ปุ่นในสมัยนั้น

รูปแมวหลับที่ดูเหมือนแมวนี้กำลังนอนหลับ แต่แท้จริงแล้วแมวตัวที่เห็นนี้ไม่ได้หลับ เมื่อเดินไปที่ด้านหลังของภาพนี้แล้ว จะเห็นรูปนกกระจอกที่กำลังตื่นตระหนกอยู่คู่หนึ่ง แผ่นภาพแกะสลักนี้ สื่อถึงรัฐบาลทหารเอโดะที่มองเผิน ๆ เหมือนแมวหลับอยู่ ความจริงเป็นแมวที่พร้อมจะโดดตระครุบนก หากแว่นแคว้นใดไม่อยู่ในร่องรอยแล้ว รัฐบาลเอโดะก็พร้อมจะบดขยี้ในทันที




บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 158  เมื่อ 06 ต.ค. 13, 17:15

และข้อมูลจากวิกิเรื่อง ลิงสามตัว ได้อธิบายต้นกำเนิดของภาพปริศนาธรรมโดยย่อเอาไว้ดังนี้ครับ

ต้นกำเนิดของภาพปริศนาธรรมอันโด่งดังนี้มีที่เริ่มมาจากลักษณะภาพแกะสลักบนประตูของศาลเจ้านิกโกโทโช จังหวัดนิกโก ประเทศญี่ปุ่น

ข้อมูลจากคุณวิกกี้บางทีก็ไม่ใคร่ถูกต้องนัก

นิกโกไม่ใช่จังหวัด หากเป็นเพียงเมือง ๆ หนึ่งใน จังหวัดโทะชิงิ (栃木)

ไม่ทราบว่าทางญี่ปุ่นเค้ามีเครื่องลางของขลังหรือวัตถุบูชา (ที่มีที่มาจากปริศนาธรรมชุดนี้) จำหน่ายอย่างเป็นเรื่องเป็นราวเหมือนไทยเราบ้างหรือเปล่าครับ? เท่าที่เคยเห็นในหนังสือหรือในหนัง จะเป็นยันต์ต่างๆ แค่นั้นเองครับ

ถ้าเป็นเครื่องรางรูปลิงสามตัว คงไม่มี มีแต่ที่ทำเป็นของที่ระลึก

ดังตัวอย่างที่ซื้อมานี้  ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 159  เมื่อ 06 ต.ค. 13, 17:19

เยี่ยม!


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 160  เมื่อ 06 ต.ค. 13, 17:20

จำก้อนหินเหล่านี้ได้ไหมคะ


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 161  เมื่อ 06 ต.ค. 13, 17:24

สวนหินนี้อยู่ที่เกียวโตหนอ  ยิ้มเท่ห์

ต้องไปดูที่วัดเรียวอันจิ ทีเกียวโต

อ่านคำบรรยายไป ดูภาพไป อาจจะบรรลุสัจธรรมของเซนได้




บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 162  เมื่อ 06 ต.ค. 13, 17:29

เพ็ญชมพูซังใกล้บรรลุหรือยังหนอ   โปรดอธิบายปริศนาธรรมด้วย


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 163  เมื่อ 06 ต.ค. 13, 17:32

พระอาจารย์ไพศาล วิสาโล ท่านอธิบายไว้ดีแล้ว


คนที่ยึดมั่นถือมั่นกับความคิดความเห็นของตน เมื่อไปสวนหินวัดเรียวอันจิ ย่อมอดไม่ได้ที่จะโต้แย้งกับเพื่อนที่นั่งชมสวนคนละมุม เพราะเห็นก้อนหินไม่เท่ากัน คนหนึ่งยืนยัน ๑๓ อีกคนยืนยัน ๑๔ ตราบใดที่ยังยืนยันจากสิ่งที่ตนเห็น ก็ย่อมผิดทั้งคู่

ถ้าต้องการเห็นก้อนหินครบทั้ง ๑๕ ก้อนในสวนเรียวอันจิ มีทางเดียวเท่านั้น นั่นคือมองจากเบื้องบน หรือจากที่สูงมาก ๆ ไม่ใช่มองจากระดับพื้นดิน ความจริงแท้ก็เช่นกัน เราจะเห็นได้ก็ต่อเมื่อไม่ยึดติดกับความคิดและการรับรู้ของตัว หากพร้อมที่จะหลุดออกมาจากความคิดและการรับรู้ ยิ่งความจริงระดับปรมัตถ์ด้วยแล้ว ต่อเมื่อเราอยู่เหนือโลก ไม่ติดในโลก เราถึงจะเห็นหรือเข้าถึงได้

การติดในโลกหมายถึงติดยึดตัวตนหรือสิ่งที่สำคัญมั่นหมายว่าเป็นของตน ไม่ว่า ชื่อเสียง เงินทอง อำนาจ ตลอดจนความคิดความเชื่อ สิ่งเหล่านี้ใช่ว่าจะไร้ประโยชน์ แต่มันมีประโยชน์ต่อเมื่อรู้จักใช้ และรู้จักวาง ไฟฉายนั้นมีประโยชน์เมื่อใช้ส่องในความมืด แต่ถ้าเราถือไฟฉายไปตลอด จะกินข้าว เข้าห้องน้ำ มือก็ยังจับยังยึดไฟฉายไว้ ก็ย่อมติดขัด ในยามนี้สิ่งที่ควรทำเป็นอย่างแรกคือวางไฟฉายลง

รู้จักวางเสียบ้าง เราจะเห็นอะไรได้ชัดขึ้น และชีวิตจะเบาลงมาก


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 164  เมื่อ 06 ต.ค. 13, 17:36

สาธุ   
ขอนำมาลงในกระทู้  ให้อ่านได้ทั่วกันค่ะ

สุขใจในนาคร มิถุนายน ๒๕๔๕

ปริศนาจากสวนหิน
พระไพศาล วิสาโล

คงไม่มีก้อนหินที่ไหนสามารถดึงดูดความสนใจของผู้คนได้มากมายเท่ากับ กลุ่มก้อนหินที่วัดเรียวอันจิแห่งเมืองเกียวโต วัดนี้เป็นที่กล่าวขานทั่วโลกว่ามีสวนเซนที่งดงามและลึกซึ้งยิ่ง แต่สวนดังกล่าวหามีต้นไม้ขึ้นสักต้นไม่ ยกเว้นตะไคร่น้ำและมอสแล้ว ในสวนมีแต่ก้อนหินที่จับกันเป็นกลุ่ม ๆ บนลานกรวดล้วน ๆ แต่รูปลักษณ์และตำแหน่งของหิน รวมทั้งลูกคลื่นบนลานกรวดสีขาว กลับมีมนต์ขลัง ตรึงใจผู้คนมานานหลายศตวรรษแล้ว และคงจะต่อไปนานเท่านาน

สวนหินนั้นกำลังบอกอะไรแก่เรา ? ภูเขาทะยานพ้นก้อนเมฆ ? หมู่เกาะกลางสมุทร? ผู้คนในห้วงสังสารวัฏ? หรือโลกสมมติที่กำเนิดจากปรมัตถ์? นี้เป็นปริศนาที่สายตาทุกคู่พยายามหาคำตอบ แต่ไม่เคยมีคำเฉลยจาก “ศิลปิน” ผู้จัดสวนนี้เลย หรือว่าคำตอบที่แท้และถูกต้องที่สุดนั้นหามีไม่ จะมีก็แต่คำตอบจากใจของแต่ละคน เราคิดอย่างไร เรียนรู้มาอย่างไร ก็เห็นอย่างนั้น เด็ก ๆ อาจเห็นเพียงแค่ก้อนหินธรรมดา ขณะที่นักท่องป่าเห็นขุนเขาและเสือทะยาน ส่วนนักพรตเห็นความว่างเปล่าของชีวิต

แต่ไม่ว่าจะเห็นอะไร สิ่งหนึ่งที่เหมือนกันก็คือ ไม่เคยมีใครเห็นก้อนหินในสวนแห่งนี้ครบ ๑๕ ก้อนเลยเลย ไม่ว่าจะมองจากมุมไหนในทิศทั้งสี่ เราจะเห็นก้อนหินได้อย่างมากที่สุดเพียง ๑๔ ก้อน หินหนึ่งหรือสองก้อนจะถูกบังและหลบหนีจากสายตาเราไปได้เสมอ

นี่เป็นปริศนาอีกข้อหนึ่งจากสวนหิน แต่ปริศนาข้อนี้ดูเหมือนจะเฉลยไม่ยาก พุทธศาสนาแบบมหายานนั้นถือว่า หมายเลข ๑๕ เป็นสัญลักษณ์แห่งความสมบูรณ์พร้อม สวนหินแห่งนี้อาจกำลังบอกเราว่า ปุถุชนคนเรานั้นไม่มีวันที่จะเห็นความจริงได้ครบถ้วน ไม่ว่าจะพยายามเพียงใด ย่อมมีความจริงบางส่วนบางแง่ที่เรามองไม่เห็น หรือคลาดจากสายตาของเราไป

ต้นไม้ในสายตาของบางคนหมายถึงอากาศและน้ำ ในสายตาของเด็ก ต้นไม้คือความสนุกที่จะได้ป่ายปีน แต่อีกหลายคน มันหมายถึงซุงที่สามารถแปรเป็นเงินได้ จริงอยู่เมื่อเอาทุกคนมายืนอยู่หน้าต้นไม้ ทุกคนย่อมเห็นต้นไม้เหมือนกัน กระนั้นความจริงบางส่วนก็ยังขาดหายไป ต้นไม้ที่เราแลเห็น ไม่ใช่แค่ต้นไม้เฉย ๆ หากยังมีดวงอาทิตย์ หมู่เมฆ หยาดฝน สายลม รวมอยู่ในนั้นด้วย ปราศจากองค์ประกอบดังกล่าว ต้นไม้ก็หามีอยู่ไม่ ถ้าเห็นต้นไม้ว่าเป็นเพียงแค่ต้นไม้ นั่นก็หมายความว่าเรายังเห็นต้นไม้ไม่ครบถ้วน ถึงที่สุดแล้วในต้นไม้แต่ละต้นนั้นมีโลกทั้งโลกอยู่ หรืออาจจะรวมทั้งจักรวาล ถ้าเช่นนั้นต้นไม้ที่เราเห็นก็เป็นเพียงแค่ส่วนเสี้ยวเดียวเท่านั้นของความจริง

บ่อยครั้งเรามักยึดถือเอาภาพที่เห็น เสียงที่ได้ยิน รวมทั้งความคิดนึกในใจเราว่าเป็นความจริงแท้ เมื่อเราเห็นบางคนมีอากัปกิริยาบางอย่าง เราก็อนุมานไปแล้วว่าเขากำลังคิดมิดีมิร้ายกับเรา แทนที่จะตระหนักว่านั่นเป็นแค่การคาดคะเน กลับทึกทักเอาว่าเป็นความจริง แล้วเราก็ยึดติดกับ “ความจริง” ดังกล่าว แล้วก็เลยเห็นการกระทำอื่น ๆ ของเขาไปในทางร้ายเสียหมด ครั้นมีคนอื่นมาท้วงติง ชี้ให้เห็นว่าเขาไม่ใช่เป็นคนอย่างนั้น เรากลับยืนกรานหนักแน่น เพราะเชื่อว่าสิ่งที่เราคิดนั้น “จริง” ส่วนคำทักท้วงของเขานั้น “ไม่จริง” หนักเขาก็ไม่พอใจ ฉุนเฉียว จนอาจเกรี้ยวกราด เพื่อนที่ท้วงติง ทั้งหมดนี้ก็เพราะไปหมายมั่นว่าความคิดของเรานั้นเป็นความจริงแท้

ผู้คนทุ่มเถียง วิวาท และเบียดเบียนกันซ้ำแล้วซ้ำเล่า ก็เพราะความหมายมั่นดังกล่าว หากเพียงแต่ทุกคนตระหนักว่าสิ่งที่ตนเห็นหรือคิดนั้น เป็นได้อย่างมากแค่ความจริงบางส่วนเท่านั้น
จิตใจเราจะเยือกเย็นลง และสังคมจะสงบสุขกว่านี้ เราจะอ่อนน้อมถ่อมตนลง และใจกว้างมากขึ้น เพราะตระหนักว่า ถึงแม้เขาเห็นต่างจากเรา แต่เขาก็อาจเข้าถึงความจริงในส่วนที่เรามองไม่เห็นก็ได้

คนที่ยึดมั่นถือมั่นกับความคิดความเห็นของตน เมื่อไปสวนหินวัดเรียวอันจิ ย่อมอดไม่ได้ที่จะโต้แย้งกับเพื่อนที่นั่งชมสวนคนละมุม เพราะเห็นก้อนหินไม่เท่ากัน คนหนึ่งยืนยัน ๑๓ อีกคนยืนยัน ๑๔ ตราบใดที่ยังยืนยันจากสิ่งที่ตนเห็น ก็ย่อมผิดทั้งคู่

ถ้าต้องการเห็นก้อนหินครบทั้ง ๑๕ ก้อนในสวนเรียวอันจิ มีทางเดียวเท่านั้น นั่นคือมองจากเบื้องบน หรือจากที่สูงมาก ๆ ไม่ใช่มองจากระดับพื้นดิน ความจริงแท้ก็เช่นกัน เราจะเห็นได้ก็ต่อเมื่อไม่ยึดติดกับความคิดและการรับรู้ของตัว หากพร้อมที่จะหลุดออกมาจากความคิดและการรับรู้ ยิ่งความจริงระดับปรมัตถ์ด้วยแล้ว ต่อเมื่อเราอยู่เหนือโลก ไม่ติดในโลก เราถึงจะเห็นหรือเข้าถึงได้

การติดในโลกหมายถึงติดยึดตัวตนหรือสิ่งที่สำคัญมั่นหมายว่าเป็นของตน ไม่ว่า ชื่อเสียง เงินทอง อำนาจ ตลอดจนความคิดความเชื่อ สิ่งเหล่านี้ใช่ว่าจะไร้ประโยชน์ แต่มันมีประโยชน์ต่อเมื่อรู้จักใช้ และรู้จักวาง ไฟฉายนั้นมีประโยชน์เมื่อใช้ส่องในความมืด แต่ถ้าเราถือไฟฉายไปตลอด จะกินข้าว เข้าห้องน้ำ มือก็ยังจับยังยึดไฟฉายไว้ ก็ย่อมติดขัด ในยามนี้สิ่งที่ควรทำเป็นอย่างแรกคือวางไฟฉายลง

รู้จักวางเสียบ้าง เราจะเห็นอะไรได้ชัดขึ้น และชีวิตจะเบาลงมาก 
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 9 10 [11] 12 13 ... 15
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.074 วินาที กับ 20 คำสั่ง