ชิทซึเระชิมัส(しつれします) ขอเสียมารยาทครับ
เห็นเสิร์ฟทั้งอาหาร ทั้งชาแล้ว แต่ยังขาดขนมสด อย่างโอคาฉิ(お菓子)
เลยขออนุญาต ปูเสื่อตาตามิวางขนมและชงชาเสิร์ฟครับ
โจวนามะคะฉิกับมัจจะ(上生菓子と抹茶)
เปิดดิกดู เขาเขียนว่า Japanese Fresh High Grade Traditional Confection

กระผมก็ไม่ค่อยจะสันทัดนัก ทราบแต่เพียงว่า หากไปที่นครหลวงเก่าอย่างเกียวโต จะหาทานได้ทั่วไป
คล้ายกับขนมสดบ้านเราในหลายๆแง่ทีเดียวครับแต่เขายกระดับดับจนทัดเทียมหรืออาจจะสูงกว่าขนมตะวันตก
วิธีการทานมัจจะที่ถูกต้องสำหรับคนที่ยังไม่ชินก็คือการทานขนมก่อนครับ
เมือทานขนมแล้วดื่มชาตามจะรู้สึกว่าความขมลดน้อยลงอย่างมาก (โดยส่วนตัวแล้วกระผมซดชาจีนบ่อยๆเลยไม่รู้สึกว่าขมเลยครับ)
การทานขนมนี้มีข้อหนึ่งที่ควรสังเกต คือ ความเป็นฤดูกาลครับ ทั้งการจัดดอกไม้ในห้องชา (ซาเฮหยะ) หรือกระทั่งขนมเองก็จะเปลี่ยนรูปลักษณ์เพื่อสะท้อนถึงฤดูนั้นๆ
เช่น ชิ้นนี้แสดงถึงต้นฤดูใบไม้ผลิครับ จะเห็นเจ้าดอกไม้สีเหลืองๆทั่วไปในประเทศญี่ปุ่น การตั้งชื่อก็จะทำให้สอดคล้องครับ

อีกชิ้นหนึ่งที่พิเศษหน่อย ขออนุญาตแปลเองว่า "ขนมเปี๊ยะน้ำ" (มิซิมังจู)

ขนมชิ้นนี้จะแช่ไว้ในน้ำตลอดเวลา ด้านในเป็นถั่วแดงอัตซึกิ หุ้มด้วยแป้งจากรากคุซุ บางตำราแปลไว้ว่าแป้งท้าวยายม่อม
มีใส้ให้เราเลือกว่าจะเป็นใส่ชาเขียวมัจจะ หรือ หาเป็นหน้าซากุระก็จะมีใส้ซากุระเป็นพิเศษครับ
ที่ผมเลือกใช้คำว่าขนมเปี๊ยะนั้นเพราะโดยวัถตุดิบที่ใช้แป้งหุ้มใส่ถั่วนั้น คล้ายคลึงกับกรรมวิธีของจีนมากทีเดียว ขนมมังจูอื่นๆเองก็คาดว่าจะแตกสายออกไปจากขนมเปี๊ยะจากจีนเช่นกันครับ
ภาพจากถาดแช่ขนมครับ สีชมพูคือใส่ซากุระแต่คาดว่าอาจะแต่งสีเอามากกว่า เนื่อจากทั้งดอกและใบซากุระจะไม่ให้สีจัดขนาดนี้ครับ อีกทั้งเวลาใช้ก็มักจะเป็นแบบดองเกลือซึ่งรสจะออกไปทางเค็มเสียมากกว่า

เชิญทานขนมไปพลาง จิบชาไปพลางรับฟังบรรยายไปพลางนะครับ