เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3 4
  พิมพ์  
อ่าน: 31879 ความหมายของชื่อเรือพระที่นั่ง "เวสาตรี"
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
 เมื่อ 23 ส.ค. 13, 21:26

สืบเนื่องจากกระทู้   ริชลิว-นักธุรกิจข้ามชาติในมาดนายพลเรือสยาม

ความเห็นที่ 301 ของคุณ NAVARAT.C

ผมพลิกพจนานุกรมทั้งภาษาไทย บาลี สันสกฤตกี่เล่มๆก็ไม่มีคำแปลของ “เวสาตรี” ไม่พบแม้แต่ร่องรอยของความหมายที่อาจจะแผลงมาจากรากศัพท์อื่น คิดว่าจนปัญญาแล้ว ก็หันกลับมาใช้อินทรเนตรสอดส่องหาจากคำว่า “Vesatri” บ้าง อดทนเปลี่ยนหน้าไปเรื่อยๆ เหมือนคนงมของในน้ำขุ่น ควานหาไปๆสุดท้ายก็เจออะไรติดมือขึ้นมาจนได้

อยู่ใน e-book บันทึกส่วนพระองค์ของเจ้าชายอัลเบิร์ต วิคเตอร์ และ เจ้าชายยอร์จ แห่งเวลส์ ในการเดินทางเยือนตะวันออกโดยเรือหลวง“แบคแชนต์”ของราชนาวีอังกฤษครับ

THE CRUISE OF H.M.S. "BACCHANTE.' 1879—1882.THE PRIVATE JOURNALS, LETTERS, AND NOTE-BOOKS OF PRINCE ALBERT VICTOR AND PRINCE GEORGE  OF WALES
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 23 ส.ค. 13, 21:27


ความคิดเห็นที่ 302  เมื่อ 18 ส.ค. 13, 08:53 ของคุณ NAVARAT.C
   
หนังสือเล่มเบ้อเริ่ม แต่มีกล่าวถึงสยามอยู่สองสามหน้า  ระหว่างเสด็จประทับอยู่ในสิงคโปร์ อาณานิคมของจักรภพอังกฤษ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯทรงโปรดเกล้าฯให้กรมหมื่นเทววงศ์วโรปการ เสนาบดีกระทรวงการต่างประเทศเสด็จจากกรุงเทพโดยเรือพระที่นั่งเวสาตรีมาเยี่ยมคำนับ เมื่อวันที่๑๑ มกราคม พ.ศ.๒๔๓๕ (นับแบบปัจจุบัน นับแบบก่อนจะยังไม่เปลี่ยนศักราช) 
ความสำคัญทั้งย่อหน้ามีดังนี้

Then back to Government House by 2.15 P.M. Shifted into uniform and off to the Bacchante to receive Prince Devawongsa, who, with Captain Richelieu, a Danish naval officer in the Siamese service, came on board at 3.30 P.M. We showed him all over the ship : he examined the guns and torpedoes and went down into the hold, the flats, engine-room and stokehole, where he was much pleased with a drink of condensed water which the chief engineer administered.
Afterwards we visited him on board the king's steam yacht, the Vesatri (" Angel of the East"), a pretty little vessel built at Southampton. She was beautifully clean throughout. His own cabin was fitted up in English style, only with a peacock-feather punkah, and there were many well-used English books all about, Spence Hardy on Buddhism amongst the rest.

หลังจากนั้นก็กลับมาที่ทำเนียบรัฐบาลตอนบ่ายสองโมงสิบห้า เปลี่ยนเป็นแต่งเครื่องแบบทหารแล้วกลับไปยังเรือหลวงแบคแชนต์เพื่อรับเสด็จในกรมเทววงศ์ พร้อมกับกัปตันริชลิว นายทหารเรือเดนมาร์กที่รับราชการสยาม ทรงมาเยี่ยมชมเรือของเราในเวลาบ่ายสามโมงครึ่ง เราได้นำเสด็จทอดพระเนตรตลอดทั้งลำเรือ ท่านทรงสำรวจปืนใหญ่และตอร์ปิโดและเสด็จลงปล่องบันไดสู่ชั้นต่างๆ ยังห้องเครื่องจักรกลและเตาไอน้ำ ทรงโปรดมากเมื่อต้นกลนำน้ำดื่มจากไอน้ำกลั่นมาถวายให้เสวย

หลังจากนั้น เราได้ไปเยี่ยมท่านบ้างบนเรือพระที่นั่งของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวชื่อเวสาตรี("เทพธิดาแห่งตะวันออก") เรือเล็กๆที่สวยงามต่อจากอู่ในเซาท์แธมตัน สอาดเอี่ยมอ่องไปตลอดทั้งลำ ห้องบรรทมของพระองค์ตกแต่งแบบอังกฤษทั้งหมดนอกจากปันการ์(พัดโบกแบบแขวนห้อยจากเพดาน)ที่ทำด้วยขนนกยูงเท่านั้น และยังมีหนังสือตำราภาษาอังกฤษทุกเรื่องทุกราวมากมาย เล่มหนึ่งในนั้นคือพระพุทธศาสนาเขียนโดยนายเสปนซ์ ฮารดี้

ตกลงความหมายของ “เวสาตรี” ที่น่าจะทรงอธิบายโดยกรมหมื่นเทววงศ์วโรปการเอง ถวายแด่เจ้าชายอังกฤษทั้งสองคือ บูรพาเทวี หรือเทพธิดาแห่งตะวันออก ครับ
ส่วนรากศัพท์ ขอเชิญท่านอาจารย์ทั้งหลายในห้องนี้โปรดให้ความรู้ต่อไป
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 23 ส.ค. 13, 21:35

คำนี้เหลือความสามารถของดิฉันจะหาคำแปลออกมาได้     จึงได้ติดต่อทั้งโดยตรงและโดยอ้อม (คือผ่านอาจารย์รุ่นพี่ที่เคารพนับถืออีกท่านหนึ่ง) ไปยังกวีผู้เชี่ยวชาญทางภาษาบาลีและไทย   นาวาเอกทองย้อย แสงสินชัย  อดีตผู้อำนวยการกองอนุศาสนาจารย์ กรมยุทธศึกษาทหารเรือ เพราะท่านเคยเป็นเปรียญ ๙ มาก่อน

อาจารย์ทองย้อยกรุณาส่งคำตอบมาให้  เป็นการสันนิษฐานเชิงวิเคราะห์อย่างเอียดลออ  ให้ความรู้ทางภาษาบาลีอีกด้วย    สมควรที่จะแยกกระทู้มาพิเศษต่างหาก ไม่รวมในกระทู้ริชลิวของเดิม
จึงขอนำลงในกระทู้นี้   และขอขอบพระคุณท่านอาจารย์ในวิทยาทานที่ให้มา ณ ที่นี้ ด้วยค่ะ
นับเป็นเกียรติอย่างยิ่งแก่เรือนไทย

                                               ***********************
ชื่อเรือ เวสาตรี
แปลว่า -เทพธิดาแห่งตะวันออก (Angel of the East)
น่าจะมาจากคำอะไรในบาลีสันสกฤต ?

----------------

เมื่อได้รับคำถามถึงศัพท์ “เวสาตรี” ผมบอกว่า เสียงและรูปเหมาะจะเป็นบาลีสันสกฤต แต่ค้นดูในเบื้องต้นแล้ว ไม่มีคำนี้ตรงๆ

หลักคิดของผมคือ เว- มาจาก วิ- ในบาลี หรือ ไว- ในสันสกฤตได้
ถ้าหา เว- ตรงๆ ไม่พบ ก็ต้องดูที่ วิ- ในบาลี

วิ- ที่ผมเล็งไว้มีอยู่คำหนึ่ง คือ “วิสตฺติกา” (วิ-สัด-ติ-กา) แต่ไม่กล้าคิดว่าจะเป็นที่มาของชื่อ “เวสาตรี” เพราะยังติดในความหมายเดิมที่เรียนมาว่า คำนี้เป็นชื่อของกิเลสตัณหา
ใครจะเอาชื่อกิเลสตัณหามาตั้งเป็นชื่อเรือ  
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 23 ส.ค. 13, 21:37

เมื่อได้ทราบความหมายของคำว่า “เวสาตรี” ว่าหมายถึง Angel of the East เทพธิดาแห่งตะวันออก ก็ทำให้ต้องย้อนกลับไปหยิบเอา วิสตฺติกา มาพิจารณาใหม่
เวสาตรี” บางทีจะมาจากคำว่า วิสตฺติกา นี้กระมัง ?

ข้อมูลพื้นฐาน
(๑)
คัมภีร์มหานิทเทส พระไตรปิฎกเล่ม ๒๙ ข้อ ๔๒๕ อธิบายความหมายของ “วิสตฺติกา” ไว้ว่า -
[๔๒๕]  อตาริ  โส  วิสตฺติกนฺติ  วิสตฺติกา  วุจฺจติ  ตณฺหา  
โย  ราโค  สาราโค ฯเปฯ อภิชฺฌา  โลโภ  อกุสลมูลํ  ฯ  
วิสตฺติกาติ  เกนตฺเถน  วิสตฺติกา ฯ วิสตาติ  วิสตฺติกา ฯ วิสาลาติ  
วิสตฺติกา ฯ วิสฏาติ  วิสตฺติกา ฯ วิสมาติ  วิสตฺติกา ฯ วิสกฺกตีติ  
วิสตฺติกา ฯ วิสํหรตีติ  วิสตฺติกา ฯ วิสํวาทิกาติ  วิสตฺติกา ฯ
วิสมูลาติ  วิสตฺติกา ฯ วิสผลาติ  วิสตฺติกา ฯ วิสปริโภคาติ  
วิสตฺติกา ฯ วิสาลา  วา  ปน  สา  ตณฺหา  รูเป  สทฺเท  คนฺเธ  รเส  
โผฏฺฐพฺเพ  กุเล  คเณ  อาวาเส  ฯเปฯ  ทิฏฺฐสุตมุตวิญฺญาตพฺเพสุ  
ธมฺเมสุ  วิสฏา  วิตฺถตาติ  วิสตฺติกา ฯ อตาริ  โส  วิสตฺติกนฺติ  
โส  อิมํ  วิสตฺติกํ  ตณฺหํ  อตาริ  อุตฺตริ  ปตฺตริ  สมติกฺกมิ  วีติวตฺตตีติ  
อตาริ  โส  วิสตฺติกํ ฯ เตนาห  ภควา  
ตํ  พฺรูมิ  อุปสนฺโตติ      กาเมสุ  อนเปกฺขินํ
คนฺถา  ตสฺส  น  วิชฺชนฺติ   อตาริ  โส  วิสตฺติกนฺติ
ฯ  
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 23 ส.ค. 13, 21:38

แปลว่า

คำว่า  บุคคลนั้นข้ามตัณหาวิสัตติกาได้แล้ว  หมายความว่า ตัณหาที่เรียกว่า วิสัตติกา ได้แก่ ราคะ (ตัวความกำหนัดติดใจ) สาราคะ (สิ่งอื่นๆ อันจูงใจให้ติดใจยินดี) ฯลฯ อภิชฌา (ความจ้องแต่จะเอา) โลภะ (อยากได้ผิดวิสัย) อกุศลมูล (รากเหง้าของความชั่ว)
ถามว่า ตัณหาชื่อว่า วิสัตติกา เพราะมีความหมายว่าอะไร
ตอบว่า เพราะมีความหมายว่าซ่านไป, แผ่ไป, แล่นไป, ไม่เรียบร้อย, ครอบงำ, ทำลาย, เป็นเหตุให้พูดผิดจากความจริง, มีรากเป็นพิษ, มีผลเป็นพิษ, บริโภคเข้าไปก็เป็นพิษ
เพราะมีความหมายดังว่านี้ ตัณหาจึงชื่อว่า วิสัตติกา

อีกนัยหนึ่ง ตัณหานั้นแผ่ไปในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ สกุล (นี่ครอบครัวของกูนะ) คณะ (นี่พรรคพวกของกูนะ) อาวาส (นี่บ้านกูนะ) ฯลฯ แล่นไป ซ่านไปในรูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน กลิ่น รส โผฏฐัพพะที่รับกระทบ เรื่องราวที่คิดที่จิตรู้แจ้ง เพราะฉะนั้น ตัณหาจึงชื่อว่า วิสัตติกา
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 23 ส.ค. 13, 21:39

คำว่า บุคคลนั้นข้ามตัณหาวิสัตติกาได้แล้ว หมายความว่า บุคคลนั้นได้ข้ามขึ้น ก้าวขึ้น ข้ามพ้น ล่วงเลย ล่วงพ้นตัณหาอันชื่อว่าวิสัตติกานี้ได้แล้ว เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่าบุคคลนั้นข้ามตัณหาวิสัตติกาได้แล้ว
เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า -

ตํ  พฺรูมิ  อุปสนฺโตติ      กาเมสุ  อนเปกฺขินํ
คนฺถา  ตสฺส  น  วิชฺชนฺติ   อตาริ  โส  วิสตฺติกํ.


ผู้ไม่จับจ้องในกามทั้งหลาย
เราเรียกว่าผู้สงบมั่น
กิเลสเครื่องร้อยรัดทั้งหลายย่อมไม่มีแก่เขา
เขาข้ามตัณหาวิสัตติกาได้แล้ว


(๒)
ในคัมภีร์พระธรรมบทมีคาถาบทหนึ่ง ซึ่งพระอรรถกถาจารย์นำไปขยายความด้วยการเล่าเรื่องธิดามารทั้ง ๓ คือ นางตัณหา  ราคา  อรตี มาเล้าโลมพระพุทธองค์ในเวลาที่เพิ่งตรัสรู้ใหม่ๆ พระพุทธองค์ตรัสตอบว่า -

ยสฺส  ชาลินี  วิสตฺติกา
ตณฺหา  นตฺถิ  กุหิญฺจิ  เนตเว
ตํ  พุทฺธมนนฺตโคจรํ
อปทํ  เกน  ปเทน  เนสฺสถ ฯ


ตัณหาอันเปรียบประดุจข่าย มักซ่านไปตามอารมณ์ต่าง ๆ
ไม่มีแก่พระพุทธเจ้าพระองค์ใด ในอันที่จะนำไปเกิดในภพไหน ๆ ได้อีกแล้ว
พระพุทธเจ้าพระองค์นั้นมีวิสัยสามารถอันหาที่สุดมิได้
ไม่ทรงมีร่องรอยใดๆ ที่มารจะตามหาได้พบอีกแล้ว
พวกเธอจะนำพระองค์ไปด้วยร่องรอยอะไรกันเล่า
?
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 23 ส.ค. 13, 21:40

พระอรรถกถาจารย์ขยายความไว้ว่า -

ตณฺหา  นาเมสา  สํสิพฺพิตปริสิพฺพิตปริโยนทฺธตฺเถน
ชาลมสฺสา  อตฺถีติปิ  ชาลการิกาติปิ  ชาลูปมาติปิ  ชาลินี,
รูปาทีสุ  อารมฺมเณสุ  วิสตฺตตาย  วิสาหารตาย  วิสปุปฺผตาย  
วิสผลตาย  วิสปริโภคตาย  วิสตฺติกา.

แปลว่า

อันว่าตัณหานั้น ชื่อว่า ชาลินี โดยความหมายว่า “มีข่าย” บ้าง “ผู้ทำข่าย” บ้าง  “เปรียบด้วยข่าย” บ้าง หมายความว่า รวบรัด ตรึงตรา ผูกมัดไว้
ตัณหานั้นชื่อว่า วิสตฺติกา เพราะมักซ่านไปในอารมณ์ทั้งหลายมีรูปเป็นต้น เพราะเปรียบด้วยอาหารอันมีพิษ เพราะเปรียบด้วยดอกไม้มีพิษ เพราะเปรียบด้วยผลไม้มีพิษ เพราะเปรียบด้วยเครื่องบริโภคมีพิษ

พุทธวรรค ธรรมบท พระไตรปิฎกเล่ม ๒๕ ข้อ ๒๔
ธัมมปทัฏฐกถา (อรรถกถาธรรมบท) ภาค ๖ เรื่องที่ ๑๔๘ หน้า ๖๖
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 23 ส.ค. 13, 21:42

ตามคำอธิบายนี้ ท่านว่า “วิส” (ในคำว่า วิสตฺติกา) มีความหมายว่า “ซ่านไป” อย่างหนึ่ง และหมายถึง “มีพิษ” อีกอย่างหนึ่ง (วิส = วิษ = พิษ)


ความหมายของ วิสตฺติกา ดังที่นำมาแสดงนี้ สมควรยึดไว้เป็นหลัก เพราะเป็นความหมายตามรากศัพท์ดั้งเดิม เมื่อจะใช้จินตนาการวาดภาพใดๆ ต่อไปจากนี้ ภาพนั้นๆ ก็ควรมีรากฐานออกไปจากความหมายนี้

สำหรับผู้ประสงค์จะเสพอรรถรสในเชิงวรรณคดี สามารถอ่านรายละเอียดและความเพริศพริ้งได้จาก ปฐมสมโพธิกถา พระนิพนธ์สมเด็จกรมพระปรมานุชิตชิโนรส ตอน โพธิสัพพัญญูปริวัตต์ ปริจเฉทที่ ๑๑

พจนานุกรมบาลี – อังกฤษ ของ ริส เดวิดส์ (THE PALI TEXT SOCIETY’S PALI-ENGLISH DICTIONARY  edited by T. W. RHYS DAVIDS) แปล วิสตฺติกา เป็นอังกฤษว่า
clinging to, adhering, attachment
ความติดพัน, การเกาะติด, การยึดเหนี่ยว
และขยายความว่า
sinful bent, lust, desire.
กิเลส, ราคะ, ความอยาก
บันทึกการเข้า
CVT
องคต
*****
ตอบ: 452


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 23 ส.ค. 13, 21:46

ขอบตุณครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 23 ส.ค. 13, 21:47

จาก วิสตฺติกา
ไปเป็น บูรพาเทวี หรือ เทพธิดาแห่งตะวันออก ได้อย่างไร

วิสตฺติกา (เขียนแบบไทนเป็น วิสัตติกา) เป็นคุณนามของตัณหา ซึ่งท่านวาดภาพให้เป็น “มารธิดา” หรือธิดามาร
ชื่อในชุดของธิดามารมี ๓ นาง คือ ตัณหา  ราคา  อรตี ท่านสมมุติให้เป็นธิดาแห่งวสวัตดีมาร
คำที่ท่านใช้เรียก ตัณหา (ธิดามาร) ล้วนแต่เพราะพริ้ง เช่น
ชาลินี = ผู้มีข่าย
วิสตฺติกา = ซ่านไป, มีพิษ
เอชา = ยังหัวใจให้ไหวหวั่น
มายา = ล่อลวงให้หลงใหล, ยวนเสน่หา
ชนิกา = ผู้ให้กำเนิด
สญฺชนนี = ผู้ทำให้เกิด
สิพฺพินีผู้เย็บ” = ร้อยรัดพันใจ
อายูหนี (อา-ยู-หะ-นี) = “ผู้เป็นแรงขับ
ภวเนตฺติ = ผู้นำไปเกิด

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 23 ส.ค. 13, 21:49

ข้อควรสงสัยก็คือ ในเมื่อคำเหล่านี้เป็นชื่อเรียกกิเลสตัณหา จะเอาไปตั้งชื่อเรือได้ด้วยเหตุดังฤๅ ?
ประเด็นนี้ต้องมองให้ถูกมุม

ตัณหา ราคา อรตี มายา วิสัตติกา ... ในมุมมองฝ่ายโลกุตระ ผู้สิ้นกิเลสแล้ว หรือผู้กำลังเพียรพยายามเพื่อบรรลุความสิ้นกิเลส ย่อมเป็นความชั่วร้ายอันจักต้องกำจัดตัดต้นเหตุให้หมดสิ้นไป
แต่ในมุมมองฝ่ายโลกียะไม่จำเป็นต้องเห็นเป็นเช่นนั้นเสมอไป
ฝ่ายโลกียะนั้นยังต้องอยู่กับกิเลสตัณหา
พูดตรงๆ ว่ายังต้องอาศัยกิเลสตัณหาอยู่
เมื่อยังต้องอยู่ด้วยกัน ความคิดที่จะมองกันอย่างเป็นสิ่งสวยงามก็ย่อมมีขึ้นได้ (แต่ถึงกระนั้น บัณฑิตในทางโลกียะก็เตือนสติไว้เสมอว่า พึงดำรงสติให้มั่นในการอยู่ร่วมกับสิ่งสวยงามชนิดเช่นนี้ คือให้อยู่ร่วมกันพร้อมๆ กับรู้เท่าทันไปด้วย)

จากมุมนี้เองที่เป็นที่มาของการนำคำที่เรียกกิเลสตัณหามาให้ความหมายในเชิงความงาม เราจึงเห็นคำว่า มายา อรดี ชนิกา ชาลินี นิยมนำไปตั้งเป็นนามของสตรีอยู่ทั่วไป ซึ่งในมุมมองฝ่ายโลกุตระเห็นว่าเป็นคำเรียกกิเลสตัณหา แต่ฝ่ายโลกียะมองเห็นเป็นคำสำหรับเรียกความสวยงาม

เป็นอันว่า คำที่ถูกให้ความหมายในเชิงความงามเหล่านี้ ถูกนำไปตั้งเป็นชื่อของสิ่งที่ใจมนุษย์บอกตาให้เห็นว่าเป็นความงาม

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 23 ส.ค. 13, 21:51

ถึงตอนนี้ขอฉวยโอกาสชวนให้ตั้งข้อสังเกตเสียเลย
She was beautifully clean throughout. (ข้อความตอนหนึ่งใน THE CRUISE OF H.M.S. "BACCHANTE.' 1879—1882.THE PRIVATE JOURNALS, LETTERS, AND NOTE-BOOKS OF PRINCE ALBERT VICTOR AND PRINCE GEORGE  OF WALES บันทึกส่วนพระองค์ของเจ้าชายอัลเบิร์ต วิคเตอร์ และ เจ้าชายยอร์จ แห่งเวลส์ ตามที่อ้างในหลักฐานของ NAVARAT.C )

๑     ในภาษาอังกฤษ เรือถูกสมมุติให้เป็นเพศหญิง เช่นเดียวกับคำทั้งหลายที่ใช้เรียกตัณหาในภาษาบาลี ก็เป็นอิตถีลิงค์
๒     คำว่า beautifully บ่งบอกถึงมุมมองที่เห็นเรือเป็นสิ่งสวยงาม เช่นเดียวกับคำเรียกกิเลสตัณหาที่ถูกให้ความหมายในเชิงความงาม

เรื่องธิดามารเป็นคติในคัมภีร์พระพุทธศาสนา
พระพุทธศาสนาในห้วงคิดคำนึงของชาวตะวันตกก็คือ ศาสนาของชาวตะวันออก หรือก็คือ -ตะวันออก

ดังนั้น ถ้า วิสัตติกา เป็นสมัญญานามของธิดามาร ก็จะแปลกอะไรที่จะบอกแก่ชาวตะวันตกว่า นั่นคือ เทวีแห่งบูรพา หรือ เทพธิดาแห่งตะวันออก
แม้จะเป็นธิดามาร แต่วสวัตดีมารตนนี้ก็คือจอมเทพแห่งสวรรค์ชั้นปรนิมมิตวสวัตดี เพราะฉะนั้น วิสัตติกา จึงอยู่ในฐานะเป็น Angel ได้โดยแท้
ที่ว่ามานี้เป็นในแง่ความหมาย
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 23 ส.ค. 13, 21:55

คราวนี้ว่าในแง่รูปศัพท์

วิสตฺติกา มาจาก วิสตฺต (แปลว่า ซ่านไป แผ่กระจายไป) + อิก ปัจจัย (อิก เปลี่ยนเสียงตามฐานะอิตถีลิงค์ เป็น อิกา) : วิสตฺต + อิกา = วิสตฺติกา

ควรทราบเป็นข้อมูลว่า ในคัมภีร์พบแต่คำที่ใช้เป็น วิสตฺติกา

แต่ วิสตฺต สามารถลง ณี ปัจจัยได้ด้วย
หลักของ ณี ปัจจัยที่ควรทราบ คือ -
๑ ลบ คงแต่เสียง อี
๒ มีอำนาจเปลี่ยนแปลงเสียงสระของพยางค์ที่อยู่ข้างหน้า เช่นทำเสียง อะ ให้เป็น อา
เพราะฉะนั้น วิสตฺต + ณี : วิสตฺต + อี = วิสตฺตี
วิสตฺตี แผลง อิ (ที่ วิ-) เป็น เอ ตามหลักนิยม (คำเทียบง่ายๆ เช่น มิตฺตา เป็น เมตฺตา)
วิสตฺตี = เวสตฺตี
ยืดเสียง อะ ที่ สตฺ เป็น อา (ตามอำนาจของ ณี ปัจจัยดังกล่าวข้างต้น) : เวสตฺตี = เวสาตฺตี
-ตี เป็น ตฺรี ตามรูปสันสกฤต (เช่น เมตฺติ เป็น ไมตรี)
เวสาตฺตี จึง = เวสาตฺตฺรี
เวสาตฺตฺรี เขียนแบบไทย ลบ ต เสียตัวหนึ่ง ก็เป็น เวสาตรี
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 23 ส.ค. 13, 21:57

วิสตฺติกา สะกดคำเป็นอักษรโรมันว่า Visattikā
ถ้าเป็น วิสตฺตี ก็สะกดเป็นอักษรโรมันว่า Visatti
วิสตฺตี เป็น เวสตฺตี สะกดเป็นอักษรโรมันว่า Vesatti
Vesatti สะกดอิงสันสกฤตเป็น เวสาตฺตฺรี เขียนเป็นอักษรโรมันก็คือ Vesattri
จาก Vesattri คงไม่ต้องสงสัยแล้ว ว่าไปเป็นชื่อเรือ Vesatri ได้อย่างไร

สรุปความตามที่สันนิษฐานมา
ชื่อเรือ Vesatri มาจาก วิสตฺตี ในภาษาบาลี กระบวนการแปลงรูปเป็นไปตามรายละเอียดที่แสดงมา
วิสตฺตี - เวสาตฺตฺรี - เวสาตรี เป็นสมัญญานามของมารธิดาตามบุคลาธิษฐานในคัมภีร์พระพุทธศาสนา ที่ถูกให้ความหมายในเชิงความงามตามมุมมองของโลกียชน
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 23 ส.ค. 13, 22:01

อนึ่ง โปรดเข้าใจว่า คำว่า Angel of the East ที่แปลว่า “บูรพาเทวี” หรือ “เทพธิดาแห่งตะวันออก” นั้น เป็นคำเรียกโดยภาพรวม หรือเรียกตามสถานภาพของคำที่ถูกจินตนาการให้เป็น “เทพธิดา” ตามคติของชาวตะวันออกเท่านั้น ไม่ใช่คำแปลตามตัวอักษร
พูดสั้นๆ “เวสาตรี” ไม่ได้แปลว่า “Angel of the East”
แต่ “เวสาตรี” มีสถานะเป็น “Angel of the East”

เวสาตรี” แปลว่าอะไร ก็อยู่ในคำอธิบายที่กล่าวมาข้างต้น ผู้มีจินตนาการอันงดงามอาจลองช่วยกันคิดคำแปลที่มีความหมายตามภาษาตรงๆ ก็จะเป็นบูรณาการอันมีค่าอีกทางหนึ่ง

ในที่สุดนี้ ผมขออนุญาตแสดงความในใจเล็กน้อย ว่า
๑ ความคิดเห็นทั้งหมดนี้มีที่มาจากข้อมูลหรือข้อความที่ว่า the Vesatri ("Angel of the East") – เวสาตรี ("เทพธิดาแห่งตะวันออก") เท่านั้น ไม่มีหลักฐานที่จะสนับสนุนหรือแย้งค้านอื่นใดอีกเลย
๒ ขั้นตอนการคิดของผมคือ
- จับคำบาลีที่เสียงใกล้กับ “เวสาตรี” มากที่สุด ซึ่งก็ได้คำว่า “วิสตฺติกา
- จับหลักแนวคิดที่ว่า “วิสตฺติกา” เป็นชื่อตัณหาที่สมมุติว่าเป็นมารธิดา-ธิดามาร
- โยงคำว่า “เทพธิดา--” ไปที่ “มารธิดา”
- จากนั้นจึงอธิบาย “มารธิดา” ให้เห็นเป็น “เทพธิดาแห่งตะวันออก” เพื่อให้ “วิสตฺติกา” กับ “เวสาตรี” เกี่ยวข้องกัน
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3 4
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.101 วินาที กับ 19 คำสั่ง