เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 5 6 [7] 8
  พิมพ์  
อ่าน: 25258 ไอ้เสดฟัน ไอ้กันขวิด ไอ้กิดเฉือน เหตุต่อจาก ร.ศ. ๑๑๒
Neepata
อสุรผัด
*
ตอบ: 24


ความคิดเห็นที่ 90  เมื่อ 29 ส.ค. 13, 02:17

สวัสดีค่ะ หนูพึ่งสมัครสมาชิกได้(หลังจากพยายามมานาน) เพราะไม่เห็นว่าตรงรหัสอักษรให้คีย์ตัวเลขแทน แหะแหะ พึ่งฉลาดตะกี้เอง  แต่ได้เข้ามาติดตามเรือนไทยเป็นระยะๆค่ะ ชอบอ่านกระทู้เพราะได้ความรู้เยอะเลยหลายเรื่องเป็นเหตุการณ์ที่ยังไม่เกิด ถามใครก็ไม่มีใครรู้  พอมานั่งอ่านแล้วเพลินพร้อมได้ความรู้ด้วย เช่นเรื่องนี้อ่านแล้ว รู้สึกโกรธฝรั่งที่จ้องมาเอาเปรียบไทย  ไม่ว่าจะสมัยไหนก็ยังเหมือนเดิม เลยคิดไปว่าพ่อหลวงรัชกาลที่5 ทรงเสียพระทัยแค่ไหนและต้องใช้พระปรีชาสามารถแค่ไหนที่จะฝ่าอุปสรรคพาประเทศไทยรอดพ้นมาได้อย่างทุกวันนี้  หนูขอเป็นนักเรียนเข้าใหม่มาขอความรู้จากอาจารย์ทุกท่านนะคะ   ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 91  เมื่อ 29 ส.ค. 13, 06:09

ยินดีครับ เข้ามาแล้วก็อย่าอ่านอย่างเดียวนะครับ ไม่ต้องเกรงใจ ซักถาม หรือร่วมแสดงความเห็นได้เสมอ

ว่าแต่ว่าโพสต์มาตอนตีสองเศษๆนี่ จากเมืองไทยหรือตอนนี้อยู่เมืองนอกเมืองใดครับ
บันทึกการเข้า
Neepata
อสุรผัด
*
ตอบ: 24


ความคิดเห็นที่ 92  เมื่อ 29 ส.ค. 13, 17:04

หนูอยู่ไทยค่ะ  กลางวันจะยุ่งเลยไม่ได้เข้ามาอ่าน นานๆทีจะแว๊บอย่างวันนี้ค่ะ  แต่เวลาอ่านเรือนไทยจะเริ่มอ่านตั้งแต่ ห้าทุ่มยาวจนกว่าจะจบ ก็ประมาณตี3ค่ะ เพลินจนอ่านไปเรื่อยๆคิดตามไปเรื่อยๆ เพราะมีแต่เรื่องที่น่าสนใจค่ะ  พออ่านก็เอาไปถามแม่บ้างแต่ท่านก็ตอบไม่ได้หมดเพราะก็เกิดไม่ทันเหมือนกันค่ะ  ชอบที่เวลาอาจารย์ทุกท่านมาช่วยกันวิเคราะห์หาข้อมูลมาคุยกัน อยากร่วมด้วยแต่ความรู้+ประสบการณ์ด้อยนักขอเป็นผู้อ่านที่ดีไปก่อนนะคะ 
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 93  เมื่อ 03 ก.ย. 13, 08:37

จากหนังสือที่มีอยู่ในบ้านครับ

ฟื้นความหลังอเมริกัน-ไทย๑๕๐ปี หนังสือจัดพิมพ์โดยรัฐบาลสหรัฐ ที่กล่าวถึงแทบจะทุกเรื่องตั้งแต่เริ่มมีสัมพันธไมตรีกับสยาม ยกเว้นเรื่องที่ผมนำมาเล่าสู่กันอ่านทั้งหมดในกระทู้นี้
ที่เอามาฝากได้จึงมีอย่างเดียว คือภาพกงสุลสหรัฐอเมริกาในสมัยนั้น ผมหลงไปหาที่อื่นเสียตั้งนานแล้วก็ไม่เจอ จนถึงขั้นต้องแยกกระทู้ไปเสวนากันต่างหาก


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 94  เมื่อ 15 ก.ย. 13, 14:27

มาต่อกระทู้กันหน่อยในเรื่องบทบาทของการเป็นนักล่าเมืองขึ้นของสหรัฐอเมริกา

ดูเหมือนว่าอเมริกาจะมีภาพพจน์ที่เสียหายในด้านนี้น้อยกว่าประเทศในยุโรป แต่ไม่ใช่ว่าจะไม่แสบ ในทศวรรษเดียวกันกับที่มาขวิดสยามนั้น อเมริกาก็เขมือบราชอาณาจักรฮาวายไปโดยมีพ่อค้าระดับนายทุนเป็นตัวชงให้เช่นทุกกรณีย์ในโลก โดยใช้ Gun Boat Policy เหมือนกับที่ใช้ในสยามนี่แหละ
ย้อนหลังไปเมื่อวันที่ ๑๘มกราคม๑๗๗๘ เรือสำรวจของกัปตัน เจมส์ คุ๊ค ของราชนาวีอังกฤษสปอนเซอร์โดย Earl of Sandwich ได้มาถึงเกาะนี้ก่อนใครเพื่อน และตั้งชื่อให้ว่าหมู่เกาะแซนด์วิช เรียกตามสำเนียงไทยๆที่หมอบลัดเลสะกดไว้คือ เกาะซันดาวิซ ไม่ทราบคุณตั้งฟังแล้วจะปวดหัวเหมือนได้ฟังเด็กพูดภาษาไทยในยุค AEC หรือเปล่า

หลังจากนั้น ทัพหน้าของอเมริกันชนในรูปลักษณ์ของมิชชันนารีก็นำคำสอนของพระเจ้าองค์ใหม่ใหม่ และแท่นพิมพ์เพื่อกระจายข่าวสารของพระองค์และข่าวในวงการพ่อค้า เมืองหลวงที่เงียบเหงาอย่างฮอนโนลูลูก็กลายเป็นเมืองท่าสำคัญ คึกคักไปด้วยเรือทุกสัญชาติที่แล่นไปมาระหว่างอเมริกาเหนือและเอเชียที่ต้องหยุดพักเติมเสบียงระหว่างทาง นักล่าปลาวาฬ และกลาสีเรือสินค้า ต่างนำเชื้อโรคไปสู่คนพื้นเมืองที่ขาดภูมิต้านทาน นานกว่าชาวเกาะดั้งเดิมที่รอดตายจากการระบาดของไข้ทรพิษ ซิฟิลิส โรคหัด ก็ปรับตัวได้ และจำเป็นต้องหาเงินเลี้ยงชีพต่อไปด้วยการเปลี่ยนวิถีชีวิตเป็นลูกจ้างฝรั่ง ทำงานกรรมกรในไร่อ้อยที่นายทุนอเมริกันมาบุกเบิก


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 95  เมื่อ 15 ก.ย. 13, 14:36

ขณะนั้นฮาวายมีประมุขของราชอาณาจักรอิสระเล็กๆนี้เป็นพระราชินี ทรงพระนามว่า ลิลี โอคาลานี ผู้ได้รับการศึกษาแบบตะวันตกจากมิชชันนารี พระนางสามารถพตรัสและเขียนภาษาอังกฤษได้คล่องแคล่วเท่าๆกับภาษาฮาวาย รวมทั้งตรัสภาษาฝรั่งเศส เยอรมันและภาษาละตินได้พอประมาณ นอกจากนั้น พระนางยังได้เคยเดินทางไปหาประสบการณ์ในสหรัฐอเมริกาและอังกฤษ ทำให้ทรงมีวิสัยทัศน์อันทันสมัย

ฮาวายในรัชสมัยของพระนางกำลังพยายามปฏิรูปประเทศด้วยการประกาศสิทธิของประชาชนตามรัฐธรรมนูญ จัดการปกครองโดยผ่านรัฐสภาแห่งชาติ จัดการระบบการศึกษาของประชาชน และจัดระบบในเรื่องทรัพย์สินของเอกชน ที่ดินของชาวท้องถิ่น ตามแนวคิดของชาวตะวันตก

แต่ช้าไป


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 96  เมื่อ 15 ก.ย. 13, 14:39

หลายทศวรรษก่อนหน้านั้น อุตสาหกรรมเกษตรที่เน้นปลูกอ้อยอย่างเป็นล่ำเป็นสันเพื่อผลิตน้ำตาล ได้ทำให้แรงงานในไร่ขาดแคลน จนฝรั่งต้องนำเข้าคนจีนแถวกวางตุ้ง และญี่ปุ่นมาเป็นกรรมกรในไร่ เพิ่มสัดส่วนประชาชากรเป็นคนต่างด้าวขึ้นมาพอๆกับคนพื้นเมือง คนเหล่านี้เป็นปฏิปักษ์ต่อการดำรงชีวิตและขนบประเพณีดั้งเดิม ตลอดจนภาษาและวัฒนธรรมที่เจ้าของประเทศเห็นว่าดีงาม
 
อดีตมิชชันนารีอเมริกันและลูกหลานของพวกเขากลายสภาพเป็นนักธุรกิจ ผู้มาใหม่จากทั่วโลกก็เป็นคนทุกระดับชนชั้น บริษัท ห้างร้าน ธนาคารถูกก่อตั้งขึ้นทั่วราชอาณาจักร และเข้ากุมเศรษฐกิจของประเทศนั้นโดยสิ้นเชิง คนต่างชาติเหล่านี้จึงสามารถมีปากมีเสียงเรียกร้องความต้องการของตนเองต่อรัฐบาลของราชอาณาจักรได้อย่างดังฟังชัด


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 97  เมื่อ 15 ก.ย. 13, 14:44

รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่เสนอสู่สภาโดยพระราชินีถูกต่อต้านโดยนักธุรกิจต่างชาติ เนื่องด้วยกระทบต่อผลประโยชน์ของตนในเรื่องสิทธิในที่ดินทำกินและการเสียภาษี ขณะเดียวกันนั้น รัฐบาลสหรัฐเองก็ประกาศเก็บภาษีศุลกากรจากน้ำตาลที่นำเข้าจากต่างประเทศขึ้นเพื่อปกป้องอุตสาหกรรมน้ำตาลในประเทศ ทำให้เศรษฐกิจของฮาวายวูบลงอย่างทันตาเห็น พ่อค้านายทุนจำเป็นต้องแก้เกมตรงนี้โดยด่วน ทำอย่างไรน้ำตาลของฮาวายจะหลุดจากบัญชีสินค้านำเข้าจากต่างประเทศได้ วิธีง่ายที่สุดก็คือ ทำให้ฮาวายเป็นส่วนหนึ่งของสหรัฐอเมริกาไปเลย สิ้นเรื่อง

ไม่ทราบว่ามีการล๊อบบี้กันอย่างไร ใครต่อใครต้องลงขันจ่ายใครกันเท่าไหร่ แต่ในตอนเช้าวันหนึ่ง เรือยูเอสเอส บอสตัน ที่ประจำการอยู่ในฐานเรือรบในเกาะใกล้เคียง ก็ได้รับ“คำสั่งพิเศษเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของสหรัฐ” ให้นำนาวิกโยธิน๑๖๒นายพร้อมอาวุธครบมือ ลงเรือแล้วถอนสมอเดินหน้าสู่ฮอนโนลูลู หนึ่งในบุคคลสำคัญที่อยู่บนเรือปืนลำนั้นคืออัครราชทูตของสหรัฐอเมริกาประจำราชอาณาจักรฮาวาย
 
พระราชินีแห่งฮาวายไม่ทรงเคยระแคะระคายเลยว่า คนอเมริกันกลุ่มเล็กๆบนเกาะนี้ได้สมรู้ร่วมคิดกัน และได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐ ต้องการชิงราชบัลลังก์ของพระนาง


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 98  เมื่อ 15 ก.ย. 13, 14:53

พ่อค้านายทุนหน้าเลือดที่คุมตลาดน้ำตาลของสหรัฐ ผู้มีไร่อ้อยและโรงงานหลายแห่งทั้งในแคลิฟอเนียและหมู่เกาะฮาวาย เป็นอเมริกันที่มีเชื้อสายยิว-เยอรมัน ชื่อคลอส สเปรกเคิลส์ ผู้มีฉายาว่า“ราชาแห่งน้ำตาล”(Sugar King) เขาร่ำรวยมหาศาลจนชาตินี้เขาและลูกหลานก็ใช้ไม่หมดอยู่แล้ว แต่ก็ยังอยากที่จะรวยมากขึ้นไปอีก

นายคนนี้ได้ซ่องสุมกันวางแผนในสโมสรที่สงวนสิทธิ์เฉพาะพวกไฮโซที่รวมกลุ่มกันตั้งขึ้นมาเท่านั้น มีคนจำนวนหนึ่งพร้อมจะลงขันกับเขาเพื่อจะฉุดคร่าฮาวายไปสู่กรงเล็บของไอ้กัน แผนนั้นถึงระดับว่าถ้าจำเป็นก็ “อาจจะมีการการปะทะกันอย่างรุนแรงระหว่างฝ่ายผู้มุ่งมั่นที่จะขยายระบอบทุนนิยมประชาธิปไตย กับชาวเกาะในราชอาณาจักรแห่งนี้”


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 99  เมื่อ 15 ก.ย. 13, 15:04

สองวันหลังจากที่พระราชินีเสนอร่างรัฐธรรมนูญใหม่ผ่านสภา ในวันที่ ๑๖มกราคม พ.ศ.๒๔๓๖ ชาวยุโรปและอเมริกันราวหนึ่งพันคนที่ถูกปลุกระดมไว้ก่อนหน้าแล้วโดยกลุ่มบุคคลที่ใช้ชื่อว่า “คณะกรรมการรักษาความปลอดภัย” ก็มารวมตัวกันอย่างคึกคักหน้าอาคารแห่งหนึ่งกลางเมืองฮอนโนลูลูตามแผน เพื่อฟังคำปราศรัยของแกนนำผู้ที่บรรดานายทุนผู้ปิดบังตนเองกำหนดให้เป็น“ตัวเปิด” นายคนนี้เป็นนักกฎหมายชื่อลอร์ริน เธอร์สตั้น บุตรชายของมิชชันนารียุคบุกเบิก   ตั้งตนเป็นตัวแทนของ “ผู้มีความกังวลในความปลอดภัยของชีวิตและทรัพย์สินของพลเมืองอเมริกัน” ประกาศข้อเรียกร้องต่างๆของพวกตนให้รัฐบาลราชอาณาจักรฮาวายปฏิบัติตาม

เมื่อรัฐบาลยังทำเป็นงงๆต่อข้อเรียกร้อง เย็นวันนั้น เรือรบยูเอสเอส บอสตัน ก็เข้าเทียบท่าฮอนโนลูลู ผู้บังคับการเรือออกคำสั่งให้ทหารนาวิกโยธินขึ้นบก จัดแถวหน้าเดินมาตามถนนที่เงียบงัน มุ่งสู่พระราชวังที่ห่างจากท่าเรือไปเพียงไม่กี่ช่วงตึก


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 100  เมื่อ 15 ก.ย. 13, 15:08

ขณะนั้นพระอาทิตย์ได้ลับขอบฟ้าไปแล้ว พระราชินีทรงได้ยินเสียงดุริยางค์และกลอง นำขบวนทหารอเมริกันกระชั้นใกล้เข้ามา พระนางได้เสด็จขึ้นไปทอดพระเนตรที่ระเบียงชั้นบน จากแสงไฟฟ้าริมถนนที่เพิ่งติดตั้งขึ้นใหม่ของเมือง  ทรงสามารถที่จะมองเห็นทหารฝรั่งร่างสูงใหญ่ในเครื่องแบบสนามสีน้ำเงิน เดินเตะเท้าพรึ่บๆอย่างเข้มแข็งฝุ่นตลบมุ่งตรงมาที่พระราชวัง พระนางตกพระทัย ทำไมอยู่ดีๆทหารอเมริกันจึงได้ออกมา ทั้งๆที่สถานการณ์ยังสงบเป็นปกติ หนำซ้ำ เมื่อมาถึงก็จัดการตั้งปืนกลแก๊ตลิ่งพร้อมลังกระสุน๑๔,๐๐๐นัด หมุนปากกระบอกปืนมา ดูเหมือนว่าพวกเขากำลังเล็งมายังทิศทางที่พระนางประทับยืนอยู่ด้วย

พระนางทรงทอดอาลัย นี่คงถึงกาลที่ความหายนะของพระราชอาณาจักรจะมาถึง โดยที่ไม่ทรงสามารถจะหยุดยั้งได้



บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 101  เมื่อ 15 ก.ย. 13, 15:23

พระราชินีลิลี โอคาลานี ทรงถูกคุมพระองค์ในคืนนั้น และถูกปลดอย่างเป็นทางการเมื่อ ๑๗ มกราคม พ.ศ. ๑๘๙๓(๒๔๓๖) พระราชบัลลังก์ถูกปล่อยให้ว่างอยู่รอการตัดสินใจขั้นต่อไป พระนางจำต้องทรงยอมทำตามรัฐบาลเฉพาะกาลของฮาวาย แต่งตั้งโดยรัฐบาลสหรัฐอเมริกา ซึ่งประกาศว่า บัดนี้ฮาวายเป็นดินแดนในอารักขาของสหรัฐอเมริกาแล้ว ในการนี้ทรงมีพระราชหัตถเลขาว่า

“ข้าพเจ้า พระราชินีลิลี โอคาลานี โดยพระกรุณาธิคุณแห่งพระผู้เป็นเจ้าและภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรฮาวาย ข้าพเจ้าขอประท้วงโดยสงบในการกระทำใดๆต่อข้าพเจ้าและรัฐบาลตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรฮาวาย โดยคนบางคนที่อ้างว่าได้จัดตั้งรัฐบาลเฉพาะกาลของราชอาณาจักรนี้ขึ้น ที่ข้าพเจ้ายอมจำนนต่อคือแสนยานุภาพของสหรัฐอเมริกา ซึ่งรัฐมนตรีกลาโหม ฯพณฯจอห์น เอล สตีเวนส์ ได้สั่งการให้กองทหารของสหรัฐเข้ายึดโฮโนลูลูและประกาศสนับสนุนรัฐบาลเฉพาะกาลนั้น บัดนี้ เพื่อหลีกเลี่ยงการปะทะกันด้วยกำลังอาวุธ อันอาจจะนำมาซึ่งความสูญเสียชีวิต ภายใต้การประท้วงนี้ ข้าพเจ้า ผู้ถูกใช้กำลังบีบบังคับดังกล่าว ยอมมอบอำนาจของข้าพเจ้าให้จนกว่าจะถึงเวลาหนึ่ง เช่นเมื่อรัฐบาลของประเทศสหรัฐอเมริกา หลังจากพิจารณาข้อเท็จจริงที่จะถูกนำเสนอต่อไป จะยกเลิกรับรองการกระทำของตัวแทนเหล่านั้น และคืนสิทธิอำนาจของข้าพเจ้าในฐานะพระเจ้าแผ่นดินของหมู่เกาะฮาวายโดยชอบตามรัฐธรรมนูญ”

ศาลเตี้ยอะไรก็ไม่รู้ที่รัฐบาลเฉพาะกาลตั้งขึ้น ได้ตัดสินจำคุกพระนาง๕ปีโดยให้ทำงานหนัก แต่ยังคงคุมขังพระนางไว้ในพระราชวังโอลานินั่นเอง หลังจากนั้นหนึ่งปี เมื่อเห็นว่าทรงไม่มีพิษมีภัย สาธารณรัฐฮาวายก็ประกาศนิรโทษกรรม และคืนสิทธิการเป็นพลเมืองแก่พระนางหลังจากทรงเป็นอิสระ
 
พระนางลิลี โอคาลานี เสด็จสวรรคตในเมื่อวันที่ ๑พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๖๐ พระศพของพระนางได้รับการจัดพิธีฝังในฐานะอดีตประมุขแห่งรัฐ พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ถูกบริจาคให้ "กองทุนสมเด็จพระราชินี ลีลี โอกาลานี เพื่อเด็กกำพร้าและยากจน" ซึ่งกองทุนนี้ยังคงอยู่ในปัจจุบัน


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 102  เมื่อ 15 ก.ย. 13, 15:52

ตำราประวัติศาสตร์ และหนังสือคู่มือท่องเที่ยวฮาวายของอเมริกันชนส่วนใหญ่ จะมองข้ามไปว่าลูกหลานของมิชชันนารีผู้อ้างพระประสงค์ของพระผู้เป็นเจ้าในการเดินทางไปยังเกาะฮาวาย ได้กลับกลายไปเป็นผู้ร่วมมือกับพ่อค้านายทุนผู้ละโมภ ปล้นอธิปไตยของราชอาณาจักรเล็กๆที่มีเสน่ห์แห่งนี้
 
ปัจจุบันตระกูลของมิชชันนารีเหล่านี้ และบริษัทต่างๆที่อยู่เบื้องหลังการล้มล้างพระราชินีลีลี โอคาลานีเมื่อกว่าศตวรรษที่ผ่านมายังคงมีอำนาจครอบงำอยู่ในฮาวาย พวกเขายังคงเป็นเจ้าของที่ดิน ทรัพย์สิน และยังคงรักษาความร่ำรวยมหาศาล ภายในไม่กี่ปีที่พระราชินีถูกล้มล้าง พวกเขาได้ตรากฎหมายออกมาบังคับใช้ ให้คนอเมริกันสามารถอ้างสิทธิ์การเป็นพลเมืองของฮาวาย เข้าครอบครองที่ดิน๑.๘ล้านเอเคอร์ที่เป็นของชาวพื้นเมืองแท้ๆ คนต่างถิ่นพวกนี้จึงได้ร่ำรวยขึ้นทันตาเห็น ในขณะที่คนฮาวายเจ้าถิ่นยังคงยากจน อยู่ในฐานะลูกจ้างต่ำต้อยเหมือนเดิม

และนี่เป็นปล้นที่อุกอาจที่สุดเรื่องหนึ่งในยุคล่าเมืองขึ้นของฝรั่ง


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 103  เมื่อ 15 ก.ย. 13, 16:35

ตอนเด็กๆเคยอ่านประวัติศาสตร์ฮาวายฉบับปั้นน้ำเป็นตัวจากที่ไหนสักแห่ง     แล้วไม่เคยเฉลียวใจไปตรวจสอบ ก็เลยจำผิดมาตลอดว่า ฮาวายเข้าไปเป็นรัฐที่ห้าสิบของอเมริกาเพราะว่าพระราชินีลิลีอูโอคาลานีกับราษฎร พร้อมใจกันยกรัฐนี้ให้เป็นส่วนหนึ่งของสหรัฐอเมริกา   เรียกว่าเต็มอกเต็มใจเลยเชียวที่จะเป็นสาธารณรัฐ ปกครองโดยประชาชน แทนที่จะเป็นระบอบกษัตริย์แต่ดั้งเดิม

อ่านกระทู้จบ ก็ไปหาอ่านเพิ่มในกูเกิ้ลจึงพบว่าฮาวายก็มีประวัติศาสตร์ที่ขมขื่นอยู่ไม่น้อยกว่าประเทศเล็กประเทศน้อยอื่นๆทางเอเชีย 
แต่ที่จำถูกอีกอย่างคือพระนางผู้มีพระนามยาวจำยากองค์นี้ เป็นผู้แต่งเพลง ALoha Oe  ที่มีชื่อเสียงแพร่หลายไปทั่วโลก     จนทุกวันนี้ ถ้ามีสารคดีเกี่ยวกับฮาวาย  มักจะมีเพลงนี้บรรเลงเป็นแบคกราวน์อยู่เสมอ

" เดอะ คิง" เอลวิส เพรสลีย์ร้องเพลงนี้ในหนัง Blue Hawaii  ปี 1961



บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 104  เมื่อ 15 ก.ย. 13, 16:37

Aloha Oe บรรเลงด้วยกีต้าร์ล้วนๆ

บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 5 6 [7] 8
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.055 วินาที กับ 19 คำสั่ง