เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33421
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 45 เมื่อ 21 ส.ค. 13, 14:40
|
|
ไปข่มขู่เปิดประเทศเค้า เค้าก็เลยบุกเข้าประเทศตะเอง ไม่น่าเล๊ย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33421
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 46 เมื่อ 23 ส.ค. 13, 09:49
|
|
แยกกระทู้เรื่องสถานกงสุลไปแล้วค่ะ จะได้ไปอภิปรายกันให้จุใจว่าเป็นสถานกงสุลของประเทศไหนกันแน่ สถานกงสุลปริศนา
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 47 เมื่อ 23 ส.ค. 13, 10:16
|
|
Jalito
กว่าจะเข้าห้องเรียนได้ก็เกือบเป็นคนสุดท้ายทุกที เค้าล้างถ้วยล้างชามกันเรียบร้อยแล้ว
ดูชื่อหัวข้อแล้วเห็นภาพพี่ไทยตัวจ้อยแบบบางลงไปนอนคลุกฝุ่นเลือดอาบร่างบาดแผลเต็มตัวในลานบ้านตัวเอง มี 3 ไอ้หรั่งอาวุธครบมือ ยืนล้อมกรอบกระเหี้ยนกระหือรืออยู่
มีอดีตผบ.ทร.ท่านหนึ่ง ตอนท่านเกิดคุณพ่อได้ตั้งชื่อลูกชายเื่พื่อระลึกถึงเหตุการณ์ครั้งสำคัญของชาติว่า 'ฝรั่ง' ทั้งที่เป็นไทยแท้ ผมไม่แดง ผิวไม่เผือกแต่อย่างใด พอโตเป็นหนุ่มเข้าเรียนโรงเรียนนายเรือ นนร.ฝรั่ง ถูกเพื่อนๆล้อเชิงเหยียด ตลอดถึงผบ.โรงเรียนก็ไม่แฮปปี้ที่ต่อไปจะมีนายทหารเรือไทยชื่อนี้ ต่อมาท่านจึงเปลี่ยนชื่อใหม่ค่อนข้างทันสมัยว่า 'ประยูร' แต่ก็ยังไม่วายซ้ำกับคนอื่น ซึ่งก็ไม่ใช่ใครอื่นไกลเลย ภรรยาของท่านที่เป็นคุณครูโรงเรียนราชินีนั่นเอง เป็นคู่แท้กันซะจริงๆเลย
บ้านของท่านที่ใกล้ๆหัวถนนพระราม4 พระโขนง เลยมีป้ายชื่อติดที่ประตูรั้วบ้านว่า 'บ้านสองประยูร"
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 48 เมื่อ 23 ส.ค. 13, 10:18
|
|
V_Mee ขอแก้ไขชื่อผู้แต่งเพลงล้อหมอจิก (หมอชีค) กับมิสซาหลุย (มิสเตอร์หลุย)ครับ อาจารย์ประสงค์ ปัญญาเพชร เหลนของพญาเทพวณีสอน (หนานสิทธิ) ได้ให้ข้อมูลไว้ว่า หนานแปง ญาณวุฒิ บุตรเขยของพญาเทพวณีสอน คนเลี้ยงช้างของพระเจ้าอินทวิชยานนท์และคนสนิทของเจ้าแก้วนวรัฐฯ และมีศักดิ์เป็นคุณตาของ อาจารย์ประสงค์เป็นผู้แต่งค่าวซอนี้ไว้
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 49 เมื่อ 23 ส.ค. 13, 10:19
|
|
เพ็ญชมพู นายแปง วณีสอน กับ หนานแปง ญาณวุฒิ เป็นคนเดียวกันหรือเปล่า ฮืม
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 50 เมื่อ 23 ส.ค. 13, 10:21
|
|
V_Mee เป็นคนเดียวกันครับ แต่นายแปงนั้นนามสกุลญาณวุฒิ ไม่ใช่วณีสอน นามสกุลวณีสอนเป็นนามสกุลพญาเทพวณีสอนหรือเพี้ยเทพ (ในเอกสารเก่าจะเรียกบรรดาศักดิ์ "พญา" ของหลวงพระบางและล้านนาว่า "เพี้ย") ผู้เป็นนายช้างประจำหอหลวงตามที่คุณจิรนันท์ พิตรปรีชา กล่าวถึง
หนานแปง ญาณวุฒินั้น เป็นพี่เขยของท้าวคำวังวณีสอนผู้เป็นคุณตาของอาจารย์ประสงค์ ปัญญาเพชร และเป็นคุณปู่ของอาจารย์สุรสีห์ ญาณวุฒิ ซึ่งทั้งสองท่านนี้เป็นชาวเชียงใหม่และเป็นผู้ชี้แจงให้ทราบว่าข้อมูลของคุณจิรนันท์นั้นคลาดเคลื่อน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 51 เมื่อ 23 ส.ค. 13, 10:42
|
|
องก์๓
ท่านได้อ่านบันเทิงคดีที่นายแพทย์วิบูลได้เขียนไว้แล้ว ถือเป็นการปูพื้นก่อนที่ผมจะนำไปสู่การวิเคราะห์โดยตัวผมเอง ทั้งนี้ โดยอาศัยแหล่งข้อมูลที่พบในอินเทอเน็ททั้งหมด และน่าเสียดายว่าไม่มีข้อมูลที่เป็นทางการของฝ่ายสยามเลย ดังนั้น ผมจะพยายามทิ้งร่องรอยของเอกสารที่ผมค้นมาได้นั้นให้มากที่สุด เพื่อประโยชน์ในการศึกษาหากจะมีนักกฎหมายผู้ใดเข้ามาอ่าน และนำไปขยายผลต่อในทางที่ถูกต้องตามควร
เอกสารแรกคือ บันทึกคดีพิพาทระหว่างประเทศที่นำไปสู่การพิจารณาของอนุญาโตตุลาการ ที่ลงคำพิพากษาคดีนี้
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 52 เมื่อ 23 ส.ค. 13, 10:48
|
|
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 53 เมื่อ 23 ส.ค. 13, 10:52
|
|
2
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 54 เมื่อ 23 ส.ค. 13, 10:53
|
|
3
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 55 เมื่อ 23 ส.ค. 13, 10:53
|
|
4
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 56 เมื่อ 23 ส.ค. 13, 10:59
|
|
ถือเป็นสำนวนคำวินิจฉัยอนุญาโตตุลาการที่สั้นมาก เมื่อเปรียบเทียบกับเอกสารที่ทั้งสองฝ่ายนำมาอ้างเป็นพยานกว่า๒๐๐๐หน้า
ต่อไปนี้เป็นสำนวนแปลของสถาปนิกให้ผู้อ่านส่วนใหญ่ในเรือนไทยนะครับ ผิดถูกก็ขออภัยนักกฏหมายตัวจริงไว้ก่อน และขอขอบคุณหากจะเข้ามาแก้ไขให้
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 57 เมื่อ 23 ส.ค. 13, 11:04
|
|
คำวินิจฉัยของอนุญาโตตุลาการ นิโคลัส เฮนเนน (Sir Nicholas J. Hennen) ณ วันที่ ๒๑ มีนาคม ๑๘๙๘ ต่อคดีนายแพทย์ชีค ระหว่างสยามและสหรัฐอเมริกา
เนื่องด้วย ข้อตกลงที่กระทำขึ้นระหว่างกรมหมื่นเทววงศ์วโรปกรณ์ เสนาบดีกระทรวงต่างประเทศในรัฐบาลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวแห่งสยาม กับนายจอห์น บาร์แรตต์ อัครราชทูตและกงสุลใหญ่สหรัฐอเมริกา ให้การพิจารณาทุกสาเหตุแห่งข้อพิพาท ตามประเด็นของข้อกฎหมายและข้อเท็จจริง ซึ่งเป็นกรณีย์ความระหว่างรัฐบาลสยามกับกิจการของนายแพทย์ชีคผู้วายชนม์ อยู่ภายใต้การตัดสินของข้าพเจ้า เซอร์ นิโคลัส จอห์น เฮนเนน หัวหน้าผู้พิพากษาศาลฎีกาในสมเด็จพระบรมราชินีนาถแห่งสหราชอาณาจักร ประจำประเทศจีนและญี่ปุ่น และ
เนื่องด้วย เพื่อปริวรรตให้เป็นไปตามข้อ ๓ แห่งข้อตกลงข้างต้น ข้าพเจ้าได้มานั่งพิจารณาคดีในกรุงเทพในวันที่ ๑ กุมภาพันธุ์ ๑๘๙๘ และใช้เวลาอีกเก้าวันติดต่อกัน ตรวจสอบข้อกล่าวหาและข้อแก้ต่าง เอกสาร การพิสูจน์หลักฐาน และสิ่งอื่นๆที่ยื่นเสนอให้ข้าพเจ้าโดยทั้งสองฝ่าย และรับฟังคำให้การของคู่กรณีย์ที่มีข้อขัดแย้งกัน และ
เนื่องด้วย การเตรียมการในเบื่องต้นทั้งหมดซึ่งคู่กรณีย์พึงปฏิบัติตามระบุในข้อตกลงข้างต้นได้รับจัดทำโดยเรียบร้อย ข้าพเจ้าได้นำมาพินิจพิเคราะห์โดยรอบคอบ ทั้งประเด็นในสัญญา และข้อเท็จจริงต่างๆที่คู่กรณีย์กล่าวหากัน โดยใช้เอกสาร หลักฐาน ข้อโต้แย้ง และการสื่อสารระหว่างข้าพเจ้ากับทั้งสองฝ่ายเสมอกันระหว่างการนั่งพิจารณาคดี บัดนี้ อาศัยความเป็นกลางและการพิจารณาอย่างเสมอภาค ข้าพเจ้าสามารถบรรลุซึ่งคำตัดสิน ดังนี้
เนื่องด้วย ในวันที่๒๐ สิงหาคม ๑๘๙๒ และหลังจากนั้นมา รัฐบาลสยามได้เข้ายึดและเข้าครอบครองกิจการซึ่งอยู่ภายใต้ความควบคุมของนายแพทย์ชีค และ
เนื่องด้วย ข้าพเจ้ามีความเห็นว่า การเข้ายึดและเข้าครอบครองกิจการดังกล่าว เป็นการละเมิด ข้อสอง แห่งสนธิสัญญาทางพระราชไมตรีระหว่างสหรัฐอเมริกาและราชอาณาจักรสยาม และ
เนื่องด้วย ในการพิจารณาเหตุผลด้านความเป็นธรรมของการเข้ายึดและการเข้าครอบครองกิจการดังกล่าว ด้วยข้อกล่าวหาว่านายแพทย์ชีคผิดสัญญาที่ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไงนั้นๆ ของสัญญานั้นๆ ซึ่งกระทำขึ้นระหว่างนายแพทย์ชีคและรัฐบาลสยาม หนึ่งในนั้นก็คือ นายแพทย์ชีคไม่สามารถจ่ายดอกเบี้ยที่รัฐบาลสยามให้เงินกู้แก่นายแพทย์ชีค ซึ่งมีกำหนดจ่ายทุกวันที่ ๓๑ มีนาคมของแต่ละปี และ
เนื่องด้วย เป็นสิ่งจำเป็นที่การผิดสัญญาในการกระทำตามเงื่อนไขใดๆ จะต้องสามารถพิสูจน์ได้ ด้วยการมีจริงของเงื่อนไขของสัญญาดังกล่าว ซึ่งต้องนำมาแสดงให้ประจักษ์ตั้งแต่แรก และ
เนื่องด้วย ข้าพเจ้ามีความเห็นว่า ข้าพเจ้ามิได้รับการพิสูจน์ให้ประจักษ์จนเป็นที่พอใจ ว่าสัญญาดังกล่าวมีข้อความหรือถ้อยคำที่มีนัยยะ ให้ทุกฝ่ายเข้าใจว่ามีเงื่อนไขดังกล่าวอยู่ ดังที่มีการกล่าวหาว่าไม่ได้รับการปฏิบัติตามนั้น และ
เนื่องด้วย ข้าพเจ้ามิได้รับการพิสูจน์ให้ประจักษ์จนเป็นที่พอใจว่า นายแพทย์ชีคได้กระทำผิดสัญญา ในการกระทำอื่นๆตามเงื่อนไขต่างๆ ซึ่งกล่าวหาว่าได้ระบุไว้ในสัญญา ซึ่งรัฐบาลสยามนำมาบังคับใช้ และ
เนื่องด้วย ในวันที่๑๕ มิถุนายน ๑๘๙๓ รัฐบาลสยามได้ออกคำสั่ง หรืออนุญาตให้ออกคำสั่ง ดังปรากฏในเอกสารและคำให้การว่า “คำสั่งนครเชียงใหม่” ซึ่งตามความเห็นของข้าพเจ้าว่าไม่มีความเป็นธรรม ซึ่งคำสั่งดังกล่าวสามารถคำนวณได้ว่าจะสร้างความเสียหายร้ายแรงต่อนายแพทย์ชีคเพียงใด และได้เกิดขึ้นไปแล้วจริงๆเท่าไหร่ และ
เนื่องด้วย ข้าพเจ้ามีความเห็นว่า กิจการของนายแพทย์ชีคผู้วายชนม์ น่าจะดำรงสถานภาพอยู่นานเท่านานอย่างที่ควรจะเป็น หากรัฐบาลสยามมิได้เข้าไปยึดทรัพย์สินและเข้าครอบครองกิจการของนายแพทย์ชีคในเดือนสิงหาคม ๑๘๙๒ และไม่ได้ออกออกคำสั่ง หรืออนุญาตให้ออกคำสั่งนครเชียงใหม่ ข้าพเจ้า ณ บัดนี้ จึงตัดสินให้กิจการของนายแพทย์ชีคได้รับเงินชดเชยจำนวน ๗๐๖,๗๒๑(เจ็ดแสนหกพันเจ็ดร้อยยี่สิบเอ็ด)บาท จากรัฐบาลสยาม เพื่อความพึงพอใจของผู้เรียกร้องดังที่ข้าพเจ้าพิจารณาแล้ว และ ตัดสินให้ “หนังสือยินยอมให้ขายจำนองทรัพย์สิน” ลงวันที่ ๒๓ เมษายน ๑๘๘๙ ไม่มีผลใช้บังคับอีกต่อไป เงินที่ให้กู้ทั้งหมด รวมทั้งดอกเบี้ย ข้าพเจ้าได้นำมาหักกลบลบกันแล้วกับจำนวนเงินที่รัฐบาลสยามต้องชดเชยข้างต้น กับกิจการของนายแพทย์ชีค และหนังสือยินยอมให้ขายจำนองทรัพย์สินดังกล่าว และ
เนื่องจาก มีข้อกล่าวหาจากฝ่ายของนายแพทย์ชีค โดยตัวแทนของเขา ว่ารัฐบาลสยามให้คำมั่นว่าจะให้นายแพทย์ชีคได้สัมปทานในป่าหลายแปลงดังเอกสารและคำให้การ ระบุว่า “ป่าเมืองน่าน” โดยค่าชดเชยสำหรับการไม่ปฏิบัติตามคำมั่นดังกล่าว ฝ่ายนายแพทย์ชีคได้เรียกร้องมาด้วย และ
เนื่องจาก ข้าพเจ้ามิได้รับการพิสูจน์ให้ประจักษ์จนเป็นที่พอใจว่า มีการให้คำมั่นเช่นนั้นจริง ข้าพเจ้า ณ บัดนี้ตัดสินว่า ธุรกิจของนายแพทย์ชีคจะไม่ได้รับชดเชยใดๆจากรัฐบาลสยาม เฉพาะในส่วนที่เรียกร้องดังกล่าวนี้
บันทึกคำให้การ ความเห็นและคำตัดสินได้ทำขึ้นเหมือนกันสองชุดและลงนามโดยข้าพเจ้า ณ วันที่ ๒๑ มีนาคม ๑๘๙๘ ที่นครเซี่ยงไฮ้ แห่งอาณาจักรจีน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 58 เมื่อ 23 ส.ค. 13, 11:12
|
|
พักให้คิดสักครู่ครับ ใครจะมีความเห็นอย่างไรก็เชิญนะครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33421
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 59 เมื่อ 23 ส.ค. 13, 11:51
|
|
อยากจะขอเชิญท่านสมาชิกเรือนไทยที่มีความรู้ทางกฎหมาย ไม่ว่าโดยอาชีพหรือโดยสมัครเล่นมาออกความเห็นนะคะ
ดิฉันไม่รู้ภาษากฎหมาย เท่าที่อ่านจากคุณนวรัตนแปลมา เหมือนกับว่าข้อเท็จจริงที่หมอชี้คผิดสัญญาไม่จ่ายดอกเบี้ยไปกู้จากรัฐบาลสยาม ซึ่งมีกำหนดจ่ายทุกวันที่ ๓๑ มีนาคมของแต่ละปี เป็นเรื่องที่อนุญาโตคนนี้ตัดสินว่า สัญญานั้นไม่มีจริง หรือต่อให้มีจริง ทางฝ่ายสยามก็ไม่ได้นำมาแสดงเป็นหลักฐานในสำนวน ทำให้ยกมาอ้างไม่ได้ที่ไปยึดทรัพย์เขา แต่เรื่องฝ่ายสยามไปยึดทรัพย์สินของหมอชี้ค เป็นเรื่องมีจริง เห็นกันจริง ก็เลยพิจารณาเฉพาะประเด็นนี้เป็นหลัก
ฟังๆคล้ายกับหมอชี้คเป็นหนี้นอกระบบ ฝ่ายเจ้าหนี้ไม่มีหลักฐานว่าลูกหนี้มากู้เงินจริง แต่ลูกหนี้มีหลักฐานว่าเขาโดนยึดบ้านยึดรถ เพราะงั้นต้องคืนของให้เขาพร้อมค่าปรับด้วย มันจะเป็นไปได้ละหรือที่รัฐบาลไม่เคยทำสัญญาอะไรกับหมอชี้ค พูดกันแค่ปากเท่านั้น หรือมีสัญญาจริงแต่ในนั้นไม่ได้ระบุชัดเจน
"ข้าพเจ้ามีความเห็นว่า ข้าพเจ้ามิได้รับการพิสูจน์ให้ประจักษ์จนเป็นที่พอใจ" แปลว่า ไม่มีหลักฐาน หรือมีแล้วแต่เท่าไหร่ๆข้าพเจ้าก็ยังไม่เชื่ออยู่นั่นเอง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|