เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 2903 ระบบการศึกษาและอำนาจในสังคมไทย : ก็อปมาจากมติชน
จ้อ
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1081

แต่งงานแล้วจ้า ...


เว็บไซต์
 เมื่อ 25 พ.ค. 01, 09:53

บังเอิญได้อ่านมิติชนสุดสัปดาห์ แล้วพบบทความของ คุณ ไมเคิล ไรท์
(อีกแล้ว)

เลยก็อปเอามาให้อ่านกันครับ  จะค่อนข้างยาวเล็กน้อย
/>

/>
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
/>


ระบบการศึกษาและอำนาจในสังคมไทย :ต้นสมัยจักรวรรดินิยม :-
ฝรั่งเป็น 'อริ' หรือ 'อริยะ' ?



                       
                                                          ไมเคิล ไรท์
/>


  ในรัชกาลที่ 3 ดูเหมือนกับว่าไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง
สยามยังเป็นสยามเหมือนสมัยอยุธยา พุทธและพราหมณ์ยังเป็นบรรทัดฐานของ
"อารยธรรม", กษัตริย์ยังเป็นกษัตริย์, ไพร่ยังเป็นไพร่
และจักรพรรดิเมืองจีนยังเป็นร่มโพธิ์ ร.3
/>
จึงไม่มีเหตุต้องสนใจฝรั่งหรือฟังเสียงทูตที่เข้ามาเรียกร้องต่างๆ
นานา



อย่างไรก็ตาม ในรัชกาลที่ 3,
โลกรอบด้านสยามกำลังเปลี่ยนไปมาก และมีการปฏิวัติโลกทรรศน์ของปัญญาชนสยาม
ว่าง่ายๆ "ไตรภูมิ" ของชาวสยามถูกพลิกคว่ำอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน
ผลก็คือสยามจะเป็นสยามแบบเดิม (อยุธยา, ขอม) อีกต่อไปไม่ได้


/>
  ความเปลี่ยนแปลงครั้งรัชกาลที่ 3 มีหลายประการ หลายระดับ
ทั้งภายนอกและภายใน ทั้งด้านภววิสัยและอัตวิสัย



ทางด้านนอก
ในต้นรัชกาลที่ 3 ได้ยึดรามัญญเทศ (เมืองมอญในตอนใต้ของพม่า)
ประชิดชายแดนด้านตะวันตกใน ค.ศ.1825 และฝรั่งเศสเริ่มเบียดเบียนรังแกเวียดนาม
ประชิดชายแดนด้านตะวันออก



มองจากกรุงเทพฯ
แล้วคงเป็นเรื่องที่น่ายินดีที่เห็นศัตรูเก่า (พม่าและเวียดนาม) ถูกถอนอำนาจ
แต่ในขณะเดียวกันก็น่ากลัว เพราะสยามถูกขนาบระหว่างอังกฤษกับฝรั่งเศส
ที่ต่างมีอาวุธร้ายแรงและการจัดทัพที่มีประสิทธิภาพสูง

               
                                   
อย่าให้พูดถึงฝรั่งเศสที่เกลี้ยกล่อมเขมรและลาว
และอังกฤษที่เกลี้ยกล่อมล้านนาและรัฐต่างๆ ในแหลมมลายู ที่ร้ายแรงยิ่งกว่านั้น,
ในสงครามฝิ่น (1839-42) อังกฤษและมหาอำนาจตะวันตกอื่นๆ
ได้รุกรานรังแกและบังคับเมืองจีนตามใจชอบ

                           
           โดยที่จีนสู้หรือโต้ตอบไม่ได้เพราะอาวุธยุทโธปกรณ์ล้าสมัย
และการจัดตั้งทั้งทางทัพและทางบ้านเมืองใช้งานไม่ได้เสียแล้ว


/>
ผลก็คือสยามโดดเดี่ยว, ไม่มีที่พึ่ง บารมีจักรพรรดิเมืองจีนหดหู่,
นโยบายอันเก่าแก่ที่สยามเคยพึ่งร่มโพธิ์เมืองจีนจึงล่มสลายไม่มีความหมาย
/>


                                                               
                  ในเรื่องนี้อย่าเชื่อผมเลย ให้ฟังเสียง ร.3
ที่ตรัสในวาระสุดท้ายว่า

                                     
"การศึกสงครามข้างญวนข้างพม่าก็เห็นจะไม่มีแล้ว
จะมีอยู่ก็แต่ข้างพวกฝรั่งให้ระวังให้ดีอย่าให้เสียทีแก่เขาได้
/>
การงานสิ่งใดของเขาที่ดีควรจะเรียนร่ำเอาไว้ก็เอาอย่างเขา
/>
แต่อย่าให้นับถือเลื่อมใสไปทีเดียว" (พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์,
รัชกาลที่ 3, กรมศิลปากร, พ.ศ.2538, หน้า 152)



 ด้านภายใน
ในปลายรัชกาลที่ 3 สยามถูกล้อมรอบ จึงยากที่จะส่งทัพไปรุกรานบ้านอื่นเมืองอื่น
(เช่น เขมร, ลาว, มลายู) แล้วลากเชลยศึกกลับมาเป็นไพร่ขุดคลอง,
สร้างกำแพงเมือง, ทำนาข้าว (สิ่งที่ขอมเคยทำมาก่อน)


/>
ในยุคขาดแคลนแรงงานเช่นนี้ ชนชั้นปกครองจึงหันไปจ้างแรงงานราคาถูกของคนจีน
ที่หนีความอดอยากในจีนตอนใต้



                             
            นี่คือจุดเริ่มต้นของความเปลี่ยนแปลงที่ไม่ค่อยได้รับการศึกษา
ในเมื่อแรงงานจีนเข้ามาแทนที่แรงงานไพร่เดิม (ลาว, มอญ, เขมร, มลายู)
/>


แรงงานไพร่เดิมนั้นหายไปไหน มีเวลาว่างจากราชการ
และมีเสรีภาพที่จะสร้างครอบครัวให้ร่ำรวยมั่งคง? หรือตกนอกคอกเศรษฐกิจสมัยใหม่
? เรื่องนี้ต้องค่อยว่ากันภายหลัง



กึ่งในกึ่งนอก รัชกาลที่
3 เป็นยุคมหัศจรรย์สำหรับชาวสยามและฝรั่งพอๆ กัน
เพราะเป็นยุคที่ความคิดและการทดลองยุคก่อนๆ
เริ่มมีผลเป็นรูปธรรมอย่างเห็นได้ด้วยตา



 ในรัชกาลที่ 3
เรือกลไฟลำแรกเข้ามาจอดในแม่น้ำเจ้าพระยา เราท่านไม่ตื่นเต้นกับเรือกลไฟ,
แต่คนรุ่น ร.3 เคยเห็นแต่เรือฝีพายหรือเรือใบ นี่คงเป็นครั้งแรกที่ท่านเห็น
"เรือเดินเอง" ที่ไม่ต้องคอยลมเข้าใบหรือพึ่งแรงพาย
/>
ซึ่งคงสร้างความตื่นเต้นกับคนทั่วไปและเรียกร้องความสนใจในหมู่เจ้านาย
/>
(เช่น เจ้าฟ้าจุฑามณี/พระปิ่นเกล้า) ที่โปรดศึกษาวิทยาศาสตร์
/>


                                     
ในด้านแพทยศาสตร์ตะวันตกยังล้าหลังอยู่มาก
แต่มีสิ่งใหม่ที่เป็นจุดเด่นคือการปลูกฝีป้องกันโรคฝีดาษอย่างได้ผลที่การแพทย์แผนโบราณไม่มีมาก่อน
หมอสอนศาสนานำเข้ามาครั้งรัชกาลที่ 3
และเป็นที่นิยมทั้งในและนอกรั้ววังในทันที



                 
                      สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งคือแท่นพิมพ์ของหมอ บรัดเลย์
ที่สามารถพิมพ์ภาษาไทยด้วยอักษรไทยเป็นครั้งแรก
(แท่นพิมพ์ภาษาไทยอักษรโรมันมีมาก่อนแล้ว)



                 
                      พระภิกษุเจ้าฟ้ามงกุฎเป็นคนแรกที่จับความได้ว่า
แท่นพิมพ์เป็นเครื่องมือที่จะนำไปสู่ความเปลี่ยนแปลงและความเจริญครั้งยิ่งใหญ่
เช่น กับที่เกิดในยุโรปแต่ก่อนเมื่อ Gutenburg คิดแท่นพิมพ์ที่ทำให้หนังสือ
(และความรู้) เป็นของทุกคน
/>
ไม่ใช่ของชนชั้นเจ้านายฝ่ายเดียวที่มีทรัพย์เลี้ยงเสมียนคัดลอกเอกสารหรือจารใบลาน
/>

/>
พระภิกษุเจ้าฟ้ามงกุฎเป็นชาวสยามคนแรกที่เป็นธุระสั่งซื้อแท่นพิมพ์กับตัวพิมพ์อักษรไทย
(จากคณะมิชชันนารีเมืองกัลกัตตา) มาไว้ที่วัดบวรนิเวศ



 
วันบวรฯ นี้น่าจะเคยเป็นศูนย์กลางที่ชาวสยามเริ่มศึกษาตะวันตก
(ที่ผมอยากเรียกว่า "ผรังคิวิทยา") เป็นที่น่าเสียดายมากว่าหลัง 2475
ชนชั้นปกครองใหม่รังเกียจเจ้านายรุ่นเก่า,
จนบัดนี้จึงไม่มีการศึกษาบทบาทของวัดบวรฯ ครั้งคริสต์ศตวรรษที่ 19 ตอนกลาง
(ผมหมายถึงการศึกษาเชิงวิเคราะห์, ไม่ใช่สรรเสริญหรือติเตียน)


/>
                                                                         
        การเปลี่ยนแปลงทางปัญญา



ระหว่างต้นรัชกาลที่ 1
กับปลายรัชกาลที่ 3 สภาพภายนอกและภายในของสยามได้เปลี่ยนไปมาก
/>
แต่ที่สำคัญยิ่งกว่านั้นคือการเปลี่ยนทรรศนะของปัญญาชนชั้นเจ้านายครั้งรัชกาลที่
3 (ปัญญาชนชาวบ้านยังไม่มีเสียง)



  ในรัชกาลที่ 3
มีเจ้านายหลายคนว่างราชการ จึงมีเวลาว่างติดตามความสนใจของตน
อย่าคิดว่ามีพระภิกษุเจ้าฟ้ามงกุฎเพียงองค์เดียว ในกลุ่มปัญญาชนครั้ง ร.3
ยังมีอีกหลายๆ คน เช่น เจ้าฟ้าจุฑามณี (ที่พ่อขนานนามว่า George Washington
ตามผู้ก่อตั้งสาธารณรัฐ)

                                     
พระองค์เจ้าวงศาธิราชที่ได้ประกาศนียบัตรทางการแพทย์ (ทางไปรษณีย์) จากสหรัฐ
และคงมีอีกหลายๆ
ท่านที่ประวัติศาสตร์ลืมหรือตั้งใจเขี่ยไม่ให้ใครรู้ไม่ให้ใครจำ
เจ้าฟ้าจุฑามณีถนัดภาษาอังกฤษ, ถนัดการฝึกทหารแบบตะวันตก
และยังใฝ่ใจกลศาสตร์และเทคโนโลยีถึงได้ต่อเรือกลไฟลำแรกของสยาม


/>
 อย่างไรก็ตาม พระภิกษุเจ้าฟ้ามงกุฎเป็นปัญญาชนรุ่น ร.3 ที่น่าสนใจที่สุด
(และติดตามได้ง่ายที่สุดเพราะมีหลักฐานสมบูรณ์ที่สุด)



     
                                 พระภิกษุเจ้าฟ้ามงกุฎเป็นปัญญาชนสมบูรณ์แบบ
(RenaissanceMan) ที่รวบรวม "โบราณวิทยา" (ความรู้ที่รับมาจากอดีต เช่น ภาษามคธ
และพุทธศาสน์) กับ "ผรังคิวิทยา" (ความรู้ใหม่ที่รับมาจากตะวันตก เช่น ภาษา
วิทยาศาสตร์ และทฤษฎีการปกครองสมัยใหม่) ในองค์เดียวกัน อย่าให้ผมรายงานทั้งหมด
ซึ่งปรากฏมากมายก่ายกองในที่อื่น



                         
                                                 
ผมขอยกสอง-สามประเด็นที่เห็นว่าสำคัญมากและน่าควรศึกษาอีกต่อไป


/>
 ประการแรก คือ พระภิกษุเจ้าฟ้ามงกุฎ (ที่ถนัดภาษามคธ)
เคยศึกษาภาษาละตินกับ "สังฆราช" ปาลเลกัว (พ่อเจ้าวัด Conception
สามเสนปัจจุบัน) และนับถือท่านเป็นพระอาจารย์ที่บ้านเขมร
ภาษาละตินเป็นภาษาราชการของจักรวรรดิโรมันเมื่อ 2,000
ปีที่แล้วและเป็นภาษาโบราณหลักๆ ของวัฒนธรรมตะวันตก ประเด็นสำคัญคือ
ภาษาละตินและมคธมีลักษณะทางภาษาศาสตร์ (ทั้งไวยากรณ์และศัพท์)
ที่แสดงว่าเป็นญาติกันอย่างสนิท



ผมไม่มีหลักฐานว่า
ท่านเรียนละตินแล้วคิดอย่างไร (เพราะไม่มีบันทึก)
แต่ขออนุมานว่าพระภิกษุเจ้าฟ้ามงกุฎคงจับความได้ทันทีว่า
ชาติฝรั่งที่ใช้ภาษาละตินเป็นหลักทางวัฒนธรรมนั้น
น่าจะเป็นอารยชนที่อยู่ในตระกูลเดียวกันกับ ศากยมุนี ที่พูดมคธเมื่อ 2,500
ปีที่แล้ว นี่คือการปฏิวัติทางทัศนคติว่า พวกฝรั่งไม่ได้เป็น "ยักษ์เป็นมาร"
ดั่งที่คิดมาก่อน หากเป็น "นานาอารยประเทศ"
คำนี้เป็นคำที่จะได้ยินบ่อยมากในรัชกาลที่ 5 ต่อไป


/>
ประการที่สอง คือ ศิลาจารึกหลักที่ 1 สุโขทัย (จารึกพ่อขุนรามคำแหง)
ซึ่งผมไม่อาจเชื่อได้ว่าเป็นงานใน คริสต์ศตวรรษที่ 13
ผมเชื่อว่าพระภิกษุเจ้าฟ้ามงกุฎคงได้วานให้คณะบัณฑิตทำขึ้นมา
ไม่ใช่เพื่อหลอกใครแต่เพื่อเชื่อมโยงระหว่างอดีตที่นับถือ (Ideal Past)
กับอนาคตที่ฝันหา (Ideal Future) ว่าอีกนัยหนึ่ง, จารึกหลักที่ 1
ไม่ได้เป็นเอกสารโบราณ "ปลอม" (Fake)
หากเป็นพิมพ์เขียวสำหรับอนาคตอันอุดมในรูปของวรรณกรรมโบราณ
จารึกหลักนี้สนองความต้องการของสังคมไทยกลาง คริสต์ศตวรรษที่ 19
ที่ต้องการการสืบสันตติวงศ์แบบตะวันตก, การค้าเสรี ฯลฯ
ที่ชนชั้นปกครองทั่วโลกไม่เคยนึกถึงในคริสต์ศตวรรษที่ 13
(โปรดดูศิลปวัฒนธรรมปีที่ 21 ฉบับที่ 9)


/>
นอกจากปัญญาชนในบรมวงศ์แล้ว
ผมเชื่อว่ายังคงมีอีกหลายคนที่ช่วยปฏิวัติความคิดครั้งนั้น เช่น
เจ้านายในตระกูลบุนนาค

                                     
นักประวัติศาสตร์มักเสนอว่าพวกบุนนาคนั้นเป็นพวก "อนุรักษนิยม" บ้าง,
"หัวโบราณ" บ้าง, แต่จากจดหมายเหตุฝรั่งจะเห็นได้ชัดว่าผู้นำตระกูลบุนนาค
(อย่างน้อยดิศและช่วง) ทำการค้าขายกับต่างประเทศ ถนัดภาษาอังกฤษ
และติดตามข่าวในยุโรปและอเมริกา (จากหนังสือพิมพ์สิงคโปร์และฮ่องกง ?) ดังนั้น
เราไม่ควรมองข้ามบทบาทของตระกูลบุนนาค



                     
                 
ในขณะที่ปัญญาชนชาวเมืองหลวงเริ่มแปรพักตร์ไปสู่ทิศตะวันตกและผดุงวัฒนธรรมใหม่นั้น
ยังได้เกิดวิวัฒนาการทางปัญญาอีกขนานหนึ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะเป็นคู่
(หรือเป็นลูก) ของทัศนคติใหม่ของชนชั้นปกครอง นั่นคือ ในสายตาของคน "เจริญ"
ในเมืองหลวง ชาวชนบท (ไม่ว่าเป็น ไทย, ลาว, มอญ, เขมร) กลายเป็นคนล้าหลัง
ไม่มีปัญญา ไม่มีวัฒนธรรมที่น่าเคารพหรือควรปรึกษา



         
                              นี่คือจุดเริ่มต้นของช่องว่างระหว่างนักปกครอง
(ข้าราชการ) และผู้ที่ถูกปกครอง (ราษฎร)
ที่ยังอยู่กับเราจนทุกวันนี้และแก้ไม่ตก
เพราะไม่มีใครยอมรับว่าสาเหตุเป็นเช่นนี้

                           
                                                     
อาจจะเป็นเพราะกลัวจะต้องโทษท่านหรือชนชั้นของท่าน


/>
ในเรื่องนี้ผมไม่เห็นทางที่จะโทษใคร หรือโทษชนชั้นใด เรื่องแบบนี้เป็น
"กรรม" ที่กลิ้งเหมือนกงล้อตามรอยตีนของวัวลาก

                       
               
คนทุกคนเกิดในกาลสมัยของตนและเผชิญปัญหาเฉพาะของตนด้วยปัญญาเท่าที่มีในยุคนั้นๆ
ดังนั้น คนปัจจุบันจะติเตียนคนในอดีตไม่ได้



               
                                    หรือว่านักประวัติศาสตร์ไทยจะโทษฝรั่งชั่ว
? ก็โทษฝรั่งได้ และคงสร้างความอบอุ่นใจ ความพอใจไม่น้อย



   
                                     
แต่ตราบเท่าที่คนไทยโทษชาติอื่นในความเจ็บปวดของตน ก็เท่ากับว่าคนไทยไม่ต้อง
(และไม่มีทาง) แก้ปัญหาของตนเอง



                           
                                                      สรุป


/>
สุดท้ายนี้ผมขอเสนอว่า ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดในรัชกาลที่ 5, รัชกาลที่ 6,
รัชกาลที่ 7 และสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม นั้น ล้วนแต่น่าสนใจอย่างยิ่ง
/>


อย่างไรก็ตาม ความเปลี่ยนแปลงทางทัศนคติ
และวิวัฒนาการทางปัญญาที่เกิดครั้งรัชกาลที่ 3 นั้น สำคัญกว่ากันมาก
/>
เพราะเป็นจุดกำเนิดของปัญหาปัจจุบัน
บันทึกการเข้า
จ้อ
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1081

แต่งงานแล้วจ้า ...


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 21 พ.ค. 01, 06:04

อ่านแล้วมีความเห็นกันอย่างไรบ้างครับ

อย่างแรกที่ผมสงสัยคือ นโยบายของไทยก่อนรัชกาลที่ 3 นั้น พึ่งจีนมากจริงหรือ
คุณไมเคิลเขียนอย่างกับว่าจีนคอยปกป้องไทยอย่างนั้นแหละ?
ในความคิดผมรู้สึกไม่ค่อยจะเห็นด้วยเท่าไหร่นัก
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 21 พ.ค. 01, 08:51

ดิฉันขอแย้งตั้งแต่สมมุติฐานของคุณไมเคิล ไรท์  เลยทีเดียว ว่า
๑) จีนไม่เคยเป็นร่มโพธิ์ของสยาม  ถ้าในความหมายว่าเราต้องพึ่งจีนเหมือนเราเป็นเมืองประเทศราช
แต่สยามใช้จีนเป็นแหล่งทรัพยากร  สร้างการค้าขาย เพิ่มกำลังทางเศรษฐกิจให้เรา มาตั้งแต่อยุธยา จนถึงรัชกาลที่ ๑ และ ๒
ในรัชกาลที่ ๒ นี้เอง พระเจ้าลูกยาเธอกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ ทรงมองเห็นการเพิ่มพูนทางแรงงานและวัฒนธรรมนอกเหนือจากเศรษฐกิจ  
นอกจากทรงค้าสำเภาจนร่ำรวยแล้ว  ทรงเปิดโอกาสให้แรงงานจีนหลั่งไหลเข้ามาในไทยอย่างไม่อั้น   ไม่ใช่เพื่อเอามาเป็นกุลีแบกหามอย่างคุณไรท์ว่า
เพราะแรงงานแบบนั้นเรามีมาตั้งแต่สร้างกรุง   คลองทั้งหลายก็อาศัยแรงงานจีน เช่นคลองมหานาค
แต่เอาคนจีนมาช่วยเรื่องเศรษฐกิจ  มาค้าขาย  มาช่วยเสริมสร้างศิลปวัฒนธรรม
วัดทั้งหลายที่สร้างในรัชกาลที่ ๓  จึงมีฝีมือช่างจีนเข้ามา ฉีกแนวไปจากวัดสมัยรัชกาลที่ ๑ และ  ๒ ซึ่งสืบทอดศิลปสถาปัตยกรรมแบบไทยจากอยุธยา
ตัวอย่างวัดไทยแซมฝีมือจีน ก็วัดราชโอรสซึ่งเป็นวัดประจำรัชกาลที่ ๓  

เอาประเด็นเดียวก่อนนะคะ
คุณไรท์จับสิ่งละอันพันละน้อยมาโยงเข้าด้วยกัน  อย่างไม่ค่อยจะถูกต้องนัก   อ่านแล้วต้องใช้เวลาแยกแยะพอสมควร
ข้อมูลเธอมีมาก จริงบ้างไม่จริงบ้าง  ข้ามบางอย่างไปบ้าง
เรื่องอื่นๆจะเข้ามาตอบทีหลังค่ะ
บันทึกการเข้า
อ่านบ้างฟังบ้าง
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 21 พ.ค. 01, 11:19

อีกอย่างที่ว่า "เจ้าฟ้าจุฑามณี (ที่พ่อขนานนามว่า George Washington ตามผู้ก่อตั้งสาธารณรัฐ) " ที่จริง เป็นกรมหมื่นบวรวิไชยชาญ พระโอรสในสมเด็จพระปิ่นเกล้า(เจ้าฟ้าจุฑามณี )
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 21 พ.ค. 01, 12:48

พูดถึงแรงงานไทย คิดว่าคุณไมเคิล ไรท์ยังวาดภาพไม่ออก
สังคมไทยสมัยก่อนเป็นสังคมแรงงาน ไม่ใช่สังคมเงิน อย่างเดี๋ยวนี้
ระบบเลก คือการเกณฑ์ชายฉกรรจ์มาใช้แรงงานให้รัฐ เป็นส่วนหนึ่งของการสร้างสังคม  ไม่ว่าจะขุดคลอง สร้างวัด สร้างกำแพงเมือง   ระดมพลในยามมีศึก  ต้องอาศัยแรงพลเมืองทั้งสิ้น
เมื่อศึกสงครามค่อยๆหมดไป   ก็ลดเวลาที่ต้องเกณฑ์แรงงานลงไปตามลำดับ    ปีหนึ่งแค่สองเดือน ให้ชาวบ้านไปทำมาหากินปลูกข้าวกันตามปกติ
แรงงานก็อาศัยการจ้างคนจีนแทน   เพราะบ้านเมืองสงบ   มีเวลาค้าขาย  มีเงินทองเก็บในพระคลังพอใช้จ่ายได้
รัชกาลที่ ๓ ไม่โปรดการทำศึกสงครามแผ่ขยายอาณาเขต  เมื่ออังกฤษมาชวนให้ทำศึกกับพม่า ก็ทรงปฏิเสธ   แต่ทำศึกกับลาวเพื่อระงับการสร้างอำนาจของเจ้าอนุวงศ์  และขยายไปถึงเขมร ก็ด้วยเหตุผลเดียวกัน

เรื่องศิลาจารึก เขาพิสูจน์กันมาตั้งนานด้วยหลักทางวิทยาศาสตร์ถึงความเก่าของรอยกร่อนของการสลัก   จนเลิกสัมมนาเรื่องนี้กันมานานแล้ว
  ในกระทู้เก่าๆของเรือนไทยก็ระบุชื่อนักวิชาการที่พิสูจน์ไว้แล้วด้วย

เรื่องของตระกูลบุนนาคก็ไม่มีใครมองข้าม   มีถึงขนาดกำลังทำวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกกันแล้วด้วย
ขุนนางตระกูลบุนนาคที่โดดเด่นที่สุดคือสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์     มีท่านอื่นๆด้วยอีกหลายคนมีความสำคัญตั้งแต่รัชกาลที่ ๑ ถึง ๕
แต่ท่านเหล่านี้มิได้ใช้ความรู้ทางตะวันตกที่ร่ำเรียนมา จนก่อให้เกิดผลกระทบรุนแรงต่อสังคมไทยอย่างพวกนักเรียนนอกที่ไปเรียนสมัยรัชกาลที่ ๖ และ ๗ ซึ่งกลับมาเปลี่ยนแปลงการปกครอง
ขุนนางตระกูลบุนนาคใช้ความรู้และความสามารถเสริมสร้างการงานให้เป็นไปเรียบร้อยและเป็นตัวอย่างที่ดีได้หลายเรื่อง
เช่นในกรณีสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติที่เห็นด้วยกับการรักษากฎมณเฑียรบาล ให้ประหารบุตรชายของท่าน  เพื่อเห็นแก่ระเบียบของสังคม มากกว่าจะปกป้องผู้ละเมิดเพื่อรักษาวงศ์ตระกูลของตน
บันทึกการเข้า
ne sais que
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 25 พ.ค. 01, 21:53

แต่ชอบประโยคของแก ที่ว่า "ผมหมายถึงการศึกษาเชิงวิเคราะห์ มิใช่การสรรเสริญหรือติเตียน"

แต่ รู้สึกว่า แก ไม่ใคร่จะ เคารพในสถาบัน และ ความรู้สึกของคนไทยเลย  ไม่ทราบว่าแก ไม่รู้จักจริงๆ  หรือ ตั้งใจจะลืมว่า  คำราชาศัพท์ มีไว้ใช้กับใคร ฮืม
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.042 วินาที กับ 19 คำสั่ง