เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 11056 รบกวนช่วยสะกดชื่อเป็นอักษรโรมันแบบบาลีสันสกฤตให้หน่อยครับ
boyy
อสุรผัด
*
ตอบ: 4


 เมื่อ 15 ส.ค. 13, 21:22

ศราวุฒิ ต้องสะกดเป็นภาษาอังกฤษแบบบาลีสันสกฤตยังไงครับ

ขอบคุณครับ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 15 ส.ค. 13, 21:38

สะกดตามพระราชนิยมในรัชกาลที่๖ นะครับ ศราวุฒิ =Saravudhi
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 16 ส.ค. 13, 11:26

อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่ค่ะ

การถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมันแบบถ่ายเสียงของราชบัณฑิตยสถาน
บันทึกการเข้า
boyy
อสุรผัด
*
ตอบ: 4


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 18 ส.ค. 13, 15:50

ขอบคุณครับคุณ navarat.c
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 18 ส.ค. 13, 17:28

ยินดีครับ
บันทึกการเข้า
boyy
อสุรผัด
*
ตอบ: 4


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 31 ส.ค. 13, 04:18

แล้วคำว่า จรัญ ล่ะครับ ถ้าจะสะกดแบบบาลี-โรมัน จะต้องสะกดยังไงครับ
Caran, Carun, Charan หรือ Charun ครับ เพราะ C แทน จ.

ขอบคุณครับ ยิ้ม
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 31 ส.ค. 13, 06:50

Charan ครับ
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 31 ส.ค. 13, 23:14

คำว่าจรัญไม่มีความหมายน่ะครับ แต่ถ้าจะถอดตามตัวอักษรโดยไม่สนใจความหมายก็จะเป็น Caraña

เรื่อง จ (च) เป็น c นี่เป็นตัวเจ้าปัญหา มาตรฐาน romanization เป็นอย่างนั้นจริง และก็ใช้กันจริง แต่ดูเหมือนคนอินเดียที่คุ้นกับภาษาอังกฤษบางคนจะยอมรับได้ยาก (ชาติในยุโรปบางชาติ ออกเสียง c เป็น จ อยู่่แล้ว ไม่มีปัญหาอะไร) จึงแทน จ ด้วย ch

ปัญหาคือ ch ถูกกำหนดให้ใช้แทน ฉ (छ) อยู่แล้ว ทีนี้มันก็ยุ่งสิครับท่าน ระบบ romanization  แบบที่แยกตัวอักษร 2 ตัวออกจากกันไม่ได้ เห็นจะมีแต่ประเทศแถบสารขัณฑ์เท่านั้นแหละถึงจะยอมรับได้

ผลก็คือ ผมเคยเห็นเขาเอา chh มาแทน ฉ (छ) ครับ

แต่ถ้าว่ากันตามมาตรฐานจริงๆ จ ต้อง c ส่วน ch คือ ฉ ครับ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 01 ก.ย. 13, 09:06

ประเทศแถบสารขัณฑ์ของคุณม้าผมไม่ทราบว่าหมายถึงประเทศไหนบ้าง แต่ประเทศสารขัณฑ์ผมรู้จักเพราะเคยดูหนังฮอลิวู๊ดเรื่อง The Ugly American ที่เป็นเรื่องราวของเอกอัครราชทูตอเมริกันในประเทศซึ่งหนังใช้ชื่อสมมติว่าSarkan ในท่ามกลางวิกฤตการสงครามเย็นระหว่างค่ายคอมมิวนิสต์กับค่ายเสรีทุนนิยม ยกกองมาถ่ายทำในเมืองไทยทั้งเรื่อง จ้างคนดังอย่างม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมชแสดงเป็นนายกรัฐมนตรี ตั้งทำเนียบรัฐบาลอยู่ที่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สารขัณฑ์จึงถูกบัญญัติขึ้นโดยท่านผู้นี้ และมีคนใช้ต่อมาเรื่อยๆเวลาใครจะกล่าวหาประเทศไทยในมุมที่เลวๆ เช่นเรื่องคอรัปชั่น เรืองโสเภณี เรืองยาเสพย์ติดเป็นต้น

ไม่ทราบว่าคุณม้าเอามาเปรียบเทียบทำไม กับการสะกดชื่อคนไทยให้ฝรั่งอ่านออกมาแล้วเจ้าของชื่อพอจะเข้าใจว่าเขาเรียกตน
Caraña เกือบร้อยทั้งร้อยฝรั่งจะออกเสียงว่า"คารานา"จะมีชาวต่างประเทศใดอ่าน"จารานา"หรือไม่ผมยังสงสัย แม้แต่ชาวอินเดียก็เถอะ
แต่คงจะไม่มีใครออกเสียงว่าจารัน ตามชื่อแท้จริงของคุณจรัญแน่ๆ

ชื่อคนไทยถึงจะมีรากเหง้าจากสันสกฤตหรือบาลีก็จริง แต่ชื่อคนไทยก็ไม่ใช่ชื่อของชาวอินเดีย จะไปบังคับให้เขียนแบบชาวอินเดีย มันก็ไม่ใช่ชื่อคนไทยที่เขียนด้วยภาษาไทย

ผมมีหนังสือนามสกุลพระราชทานโดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าฯอยู่ ก็นำมาเปรียบเทียบหาที่ทรงบัญญัติไว้คล้ายกัน เพื่อสงเคราะห์จขกท. ไม่ได้เปิดตำราอักขระวิธีภาษาไหนมาสะกดให้
นามสกุลพระราชทานที่ประกอบด้วยคำว่า“จรัญ”ไม่มี ที่ใกล้เคียงที่สุดคือ “จรัณยานนท์” ทรงใช้ว่า Charanyanananda จรัญกับจรัณออกเสียงเหมือนกัน ผมจึงแนะนำให้คุณจรัญ เขียนว่า Charan นามสกุลในหมวด จ. ทรงใช้ ch ทุกนามสกุล

กลายเป็นชาวสารขัณฑ์ไปแล้วหรือครับคุณม้า
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 01 ก.ย. 13, 12:01

ขออภัยคุณ Navarat.C ครับ ผมตอบรวบรัดไปหน่อย ทำให้สื่อความหมายผิดพลาดไป ผมไม่ได้มีเจตนาสื่อเรื่องนี้ถึงคุณนวรัตนแต่อย่างใดครับ

การนำอักษรโรมันมาใช้เขียนในภาษาต่างๆ ต้องเรียกได้ว่าได้รับความนิยมมาก เนื่องจากแต่ละชาติมีเสียงในภาษาที่แตกต่างกัน ดังนั้นจึงกำหนดมาตรฐานการแทนเสียงด้วยอักษรโรมันแตกต่างกันไป ระบบอย่างที่ไทยเราใช้อยู่มีรากฐานมาจากระบบการเขียนอักษรโรมันของภาษาทางอินเดีย ไม่ว่าจะเป็นภาษาปัจจุบันอย่างฮินดี หรือภาษาเก่าในตำราอย่างสันสกฤตและมคธ (บาลี) ดังนั้นต้องไปดูว่าภาษาทางนั้นเขาใช้อย่างไรครับ

ระบบการเขียนด้วยอักษรโรมันแทนอักษรเทวนาครีของทางอินเดียเป็นอย่างนี้ครับ (ขอแทนอักษรเทวนาครีด้วยอักษรไทยเพื่อความสะดวกในการทำความเข้าใจ เนื่องจากตรงกันนะครับ)

ก(k)   ข(kh)   ค(g)   ฆ(gh)   ง(ng)
จ(c)   ฉ(ch)   ช(j)   ฌ(jh)   ญ(ñ)
ฏ(ṭ)   ฐ(ṭh)   ฑ(ḍ)   ฒ(ḍh)   ณ(ṇ)
ต(t)   ถ(th)   ท(d)   ธ(th)   น(n)
ป(p)   ผ(ph)   พ(b)   ภ(bh)   ม(m)

(ผมเคยเขียนเรื่องที่เกี่ยวข้องไว้ในกระทู้นี้ หากท่านใดสนใจเชิญข้ามไปอ่านได้ครับ http://www.reurnthai.com/index.php?topic=2868.0 )

ระบบนี้เป็นระบบมาตรฐาน เจ้านายและขุนนางในราชสำนักสยามยุคก่อนได้รับการศึกษามาอย่างดีมาก ระบบอย่างพระราชนิยม ร.๖ มีพื้นฐานจากระบบนี้ (จะมีก็เรื่อง จ นี่แหละครับที่ผมเห็นว่าเป็นตัวยุ่ง) แต่พระราชนิยมกับมาตรฐานนั้นไม่ตรงกันครับ

ในระบบการเขียนภาษาไทยด้วยอักษรโรมัน ราชบัณฑิตยฯ มีการดัดแปลงบางส่วน เนื่องจากไทย(กรุงเทพ)ออกเสียงต่างไปจากภาษาแขก ไม่มีเสียงหลายเสียงที่มีในภาษาแขก เช่น
- วรรค ก เสียง ข ค ฆ ออกเสียงเหมือนกันหมด เป็น kh (ไม่คิดเรื่องเสียงวรรณยุกต์นะครับ)
- วรรค จ เสียง ฉ ช ฌ ออกเสียงเหมือนกันหมด เป็น ch
- วรรค ฏ กับ วรรค ต เสียง ฏ ต ออกเสียงเหมือนกัน เป็น t
- วรรค ฏ กับ วรรค ต เสียง ฐ ฑ ฒ ถ ท ธ ออกเสียงเหมือนกันหมด เป็น th
- วรรค ฏ กับ วรรค ต เสียง ณ น ออกเสียงเหมือนกัน เป็น n
- วรรค ป เสียง ผ พ ภ ออกเสียงเหมือนกันหมด เป็น ph

เห็นได้ว่าเสียงแขกกับเสียงฝรั่งอังกฤษมีบางเสียงที่แตกต่างกัน ที่คนชอบบ่นราชบัณฑิตยฯ ที่เป็นผู้กำหนดมาตรฐานว่า เอา ph มาแทน พ กับ th มาแทน ท มาทำไม ฝรั่ง (ซึ่งหมายถึงอังกฤษ) เพราะออกเสียงไปคนละเรื่อง ph เป็น f ส่วน th นี่คนไทยมึนเลย พอดูที่มาที่ไปก็เข้าใจได้

แล้วทำไมไม่ใช้ p ใช้ t แทนไปเลย เพราะภาษาอังกฤษ p จะเป็น ป จะเป็น พ, t จะเป็น ต เป็น ท ได้เหมือนกัน ขึ้นกับที่วาง ข้อนี้ผมว่าอังกฤษนั่นแหละที่แปลก เพราะภาษาส่วนใหญ่ในโลกกำหนดให้เสียงแต่ละตัวอักษรต่างกันชัดเจน เพราะถูกสร้างขึ้นมาเพื่อแทนเสียง แต่ที่ภาษาอังกฤษเป็นอย่างนั้น ผมเข้าใจว่าอังกฤษรับเอาภาษามาจากเพื่อนบ้านหลายทิศทาง โดยมากรักษารูปและคำอ่านของเขามาด้วย จึงกลายเป็นภาษาที่อย่างทุกวันนี้ เรียกได้ว่าอังกฤษเป็นภาษาที่มีลักษณะแปลก ระบบการเขียนของอังกฤษยากที่จะเขียน "ระบบ" การแทนเสียงด้วยอักษรโรมันออกมาชัดเจนได้ ใครจะยึดผมเห็นว่าไม่ได้ผิดอะไรครับ เพราะเป็นเรื่องการเลือก แต่โดยส่วนตัวตัวผมอยากได้ระบบที่สามารถแยกเสียงที่แตกต่างกันได้มากกว่าครับ

มาจบที่เรื่องเสียง จ ที่ราชบัณฑิตยฯ ท่านเลือก ch มาใช้แทน c อย่างมาตรฐานแขก ซึ่งเท่ากับว่าเรารวบเอา จ ฉ ช ฌ ให้เหมือนกันหมด ซึ่งผมเห็นว่าแปลก เพราะท่านยืนยันจะใช้ ph กับ th ได้ ทำไมถึงทำกับ  จ อย่างนี้

ทั้งนี้นอกจากเรื่อง จ แล้ว ระบบการเขียนภาษาไทยด้วยอักษรโรมันยังมีปัญหาที่เห็นได้อีกดังต่อไปนี้ครับ
- ใช้ o แทนทั้งเสียงออ และเสียงโอ
- ไม่สามารถแยกสระสั้น-ยาวได้
- ไม่มีระบบเสียงวรรณยุกต์
หากราชบัณฑิตท่านใดผ่านมาเจอ โปรดพิจารณาด้วยนะครับ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
boyy
อสุรผัด
*
ตอบ: 4


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 08 ก.ย. 13, 04:52

ขอบคุณ คุณnavarat.c ที่ช่วยสงเคราะห์ตอบครับ

ขอบคุณ คุณcrazyhorse ครับ

ยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 03 ธ.ค. 17, 18:47

ผ่านไปหลายปี  คุณ boyy ถามคำถามเดิมมาอีกครั้ง

สวัสดีครับ
รบกวนสอบถามหน่อยครับ
ถ้าจะสะกดคำว่า ศราวุฒิ แบบภาษาบาลี จะต้องสะกดแบบไหนครับ
Sarāvuḍhi, Śarāvuḍhi, Sarāvuḍḍhi, Śarāvuḍḍhi

ดิฉันส่งคำถามคุณไปให้น.อ.ทองย้อย แสงสินชัย ร.น.  เพราะเชื่อว่าท่านคงให้คำตอบที่ถูกต้องแม่นยำได้
ท่านจบเปรียญ 9 ประโยค เป็นนักปราชญ์ผู้เชี่ยวชาญภาษาบาลีระดับแถวหน้าของประเทศ   

ท่านกรุณาชี้แจงมาว่า

ถอดคำว่า ศราวุฒิ เป็นอักษรโรมัน

๑ คำว่า “ศราวุฒิ” ถ้าเขียนเป็นรูปคำบาลี อักษรไทย ต้องสะกดว่า “สราวุฑฺฒิ” อ่านว่า สะ-รา-วุด-ทิ

สะกดด้วยอักษรโรมันเป็น sarāvuḍḍhi

บน s ไม่มีเครื่องหมาย = ส
บน ā มีขีด = สระ อา ถ้า a ไม่มีขีด = สระ อะ
มีจุดใต้ ḍ = ฑ
ḍh = ฒ

๒ สะกดว่า “ศราวุฒิ” เป็นการสะกดอิงสันสกฤต คือ “ศร” เป็นรูปสันสกฤต แต่ “วุฒิ” เป็นรูปบาลี ในบาลีสะกดเป็น “วุฑฺฒิ” สะกดด้วยอักษรโรมันเป็น vuḍḍhi

เพราะฉะนั้น “ศราวุฒิ” ถ้าสะกดตามบาลีสันสกฤตเต็มๆ ต้องสะกดเป็น śarāvuḍḍhi

บน ś มีเครื่องหมาย = ศ

๓ ปัญหาคือ “ศราวุฒิ” คำไทย (เข้าใจว่าเป็นชื่อคน) ต้องการให้สะกดตามหลักการสะกดบาลีสันสกฤตเป็นอักษรโรมัน หรือต้องการให้สะกดเป็นเสียงอ่านในภาษาไทย
ถ้าสะกดตามหลักการสะกดบาลีสันสกฤตเป็นอักษรโรมัน ก็สะกดเป็น śarāvuḍḍhi หรือจะใช้อักษรนำเป็นตัวใหญ่ตามหลักนิยมในภาษาอังกฤษก็แล้วแต่ความประสงค์ของเจ้าของชื่อ คือสะกดเป็น Śarāvuḍḍhi

ถ้าต้องการให้สะกดเป็นเสียงอ่านในภาษาไทย ก็ต้องดูว่าเจ้าของชื่ออ่านอย่างไร แล้วสะกดไปตามนั้น

ถ้าอ่านว่า สะ-รา-วุด ก็สะกดด้วยอักษรโรมันเป็น Sarawut
ถ้าอ่านว่า สะ-รา-วุด-ทิ ก็สะกดด้วยอักษรโรมันเป็น Sarawutthi
(เฉพาะการถอดเป็นเสียงอ่านในภาษาไทย อ้างอิง: หลักเกณฑ์การถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมันแบบถ่ายเสียง ของราชบัณฑิตยสถาน)
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 03 ธ.ค. 17, 19:31

เว็บนี้คงใช้เป็นหลักในการสะกดคำที่มาจากสันสกฤตด้วยอักษรโรมันได้ดีพอสมควร  ยิงฟันยิ้ม

https://ezsanskrit.wordpress.com/2016/05/02/sanskrit-01/
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.043 วินาที กับ 19 คำสั่ง