เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 [3] 4
  พิมพ์  
อ่าน: 20144 พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสวัสดิประวัติ กรมพระสมมตอมรพันธุ์
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 30  เมื่อ 21 ส.ค. 13, 18:51

เมื่อนายกุหลาบออกหนังสือชื่อ "สยามประเภท" ลงบทความต่างๆด้านประวัติศาสตร์ ตีพิมพ์จำหน่าย  ทำนองเดียวกับหนังสือวชิรญาณของหอพระสมุด   ในระยะแรก สยามประเภทได้รับความสนใจจากคนอ่านมาก  มีคนสมัครเป็นสมาชิกกันมากมาย  กระจายออกไปถึงนอกประเทศ   บางครั้งต้องพิมพ์ซ้ำหลายครั้งในฉบับเดียว เพื่อตอบสนองคนอ่านได้ทั่วถึง    ฉบับแรกๆเป็นเรื่องของความรู้ต่างๆ   ต่อมาอีก 1 ปี ก็เป็นการตอบคำถามที่ประชาชนส่งเข้าไป 

สำหรับบุคคลภายนอก หรือประชาชนทั่วไป นิยมว่านายกุหลาบเป็นผู้รู้เรื่องราวประวัติศาสตร์อย่างกว้างขวาง    แต่สำหรับเจ้านายที่ทรงรอบรู้เรื่องภาษาและประวัติศาสตร์ไทยอย่างกรมพระสมมตอมรพันธุ์ทรงสะกิดพระทัย  เมื่อทรงสังเกตเรื่องหนังสือโบราณแทรกสำนวนใหม่ของนายกุหลาบ  เป็นเหตุให้ทรงตัดสินพระทัยจะต้องค้นหาความจริงจากนายกุหลาบให้ได้  โดยไม่ให้รู้ตัวเสียก่อน   จึงทรงทำตัวคล้ายเชอร์ล็อคโฮล์มส์ คือสืบความลับด้วยการทำไมตรีกับนายกุหลาบเหมือนไม่รู้เท่าทัน
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 31  เมื่อ 21 ส.ค. 13, 18:53

    นายกุหลาบเข้าใจว่าเจ้านายทรงนับถือตนว่าเป็นผู้มีความรู้  ก็เลยนำหนังสือฉบับที่ตนแก้ไขดัดแปลงแล้ว  ขึ้นถวาย หลายเรื่องด้วยกัน   รวมทั้งพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ ตอนรัชกาลที่ 3 ซึ่งเจ้าพระยาทิพากรวงศ์เป็นผู้เรียบเรียง
    นายกุหลาบไม่รู้ว่าหนังสือเป็นเรื่องราวสมัยรัชกาลที่ 3 ก็จริง  แต่เจ้าพระยาฯท่านมาทำเมื่อรัชกาลที่ 5 นี่เอง  ฉบับเดิมยังอยู่ในหอพระสมุด  เมื่อกรมพระสมมตฯ นำทั้งสองฉบับมาตรวจสอบกันดู ความก็แตกออกมา  ว่านายกุหลาบเอาหนังสือซึ่งเป็นของหลวง   มาแต่งแทรกใหม่ลงไปหลายตอน    ทรงสามารถแยกแยะออกมาได้ว่าตอนไหนบ้าง    กรมพระสมมตฯ จึงทรงนำเรื่องขึ้นกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

     สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงเล่าในตอนนี้ว่า
    "สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง ทรง" มันไส้"   ถึงเขียนลายพระราชหัตถเลขาลงในฉบับของนายกุหลาบ    ทรงชี้ให้เห็นตรงที่แทรกบ้าง   บางแห่งก็ทรงเขียนเป็นคำล้อเลียน หรือคำบริภาษแทรกลงบ้าง   แล้วพระราชทานคืนออกมายังกรมพระสมมตฯ     กรมพระสมมตฯ ต้องให้อาลักษณ์เขียนตามฉบับของนายกุหลาบขึ้นใหม่ ส่งคืนไปให้เจ้าของ  เอาหนังสือของนายกุหลาบที่มีลายพระราชหัตถเลขารักษาไว้ในหอสมุดวชิรญาณจนบัดนี้"
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 32  เมื่อ 21 ส.ค. 13, 22:42

เมื่อนายกุหลาบออกหนังสือชื่อ "สยามประเภท" ลงบทความต่างๆด้านประวัติศาสตร์ ตีพิมพ์จำหน่าย  ทำนองเดียวกับหนังสือวชิรญาณของหอพระสมุด   ในระยะแรก สยามประเภทได้รับความสนใจจากคนอ่านมาก  มีคนสมัครเป็นสมาชิกกันมากมาย  กระจายออกไปถึงนอกประเทศ   บางครั้งต้องพิมพ์ซ้ำหลายครั้งในฉบับเดียว เพื่อตอบสนองคนอ่านได้ทั่วถึง    ฉบับแรกๆเป็นเรื่องของความรู้ต่างๆ   ต่อมาอีก 1 ปี ก็เป็นการตอบคำถามที่ประชาชนส่งเข้าไป 

สำหรับบุคคลภายนอก หรือประชาชนทั่วไป นิยมว่านายกุหลาบเป็นผู้รู้เรื่องราวประวัติศาสตร์อย่างกว้างขวาง    แต่สำหรับเจ้านายที่ทรงรอบรู้เรื่องภาษาและประวัติศาสตร์ไทยอย่างกรมพระสมมตอมรพันธุ์ทรงสะกิดพระทัย  เมื่อทรงสังเกตเรื่องหนังสือโบราณแทรกสำนวนใหม่ของนายกุหลาบ  เป็นเหตุให้ทรงตัดสินพระทัยจะต้องค้นหาความจริงจากนายกุหลาบให้ได้  โดยไม่ให้รู้ตัวเสียก่อน   จึงทรงทำตัวคล้ายเชอร์ล็อคโฮล์มส์ คือสืบความลับด้วยการทำไมตรีกับนายกุหลาบเหมือนไม่รู้เท่าทัน

อ่านแล้วนึกถึงหนังสือเล่มหนึ่ง  ที่คนรุ่นใหม่เขาอ่านกันแล้วเยินยอคนเขียนเสียเลิศเลอว่า ช่างเก่งกล้าสามารถเขียนวิพากษ์เรื่องราวที่คนไม่กล่าพูดถึง  แต่สำหรับคนที่รู้ทันท่านก็ว่าตัดแปะและบิดเบือนเสียจนเละไปหมดทั้งเล่ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 33  เมื่อ 21 ส.ค. 13, 23:34

พอจะรู้ว่าเล่มไหน     รอวันหนึ่งความจริงที่เป็นเรื่องจริง จะกระจ่างออกมาค่ะ คุณ V_Mee
ดิฉันฝากความหวังไว้ที่คุณ V_Mee ด้วย
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 34  เมื่อ 22 ส.ค. 13, 09:56

   ในฐานะราชเลขานุการเป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัย  กรมพระสมมตอมรพันธุ์ได้ตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ เมื่อเสด็จประพาสยุโรปทั้ง 2 ครั้ง   ครั้งหลังเสด็จไปเมื่อ พ.ศ. 2450  เจ้านายอื่นๆที่ตามเสด็จคือพระเจ้าลูกยาเธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์, พระเจ้าลูกยากรมพระนครสวรรค์วรพินิต และพระเจ้าน้องยาเธอกรมหลวงสรรพสาตรศุภกิจ      กลับมาได้ 3 ปี พระเจ้าอยู่หัวก็สวรรคต

   เริ่มรัชกาลที่ 6  กรมพระสมมติมีพระชันษา 50 ปี  ทรงรับราชการมายาวนานถึง 35 ปี   ตรากตรำทำงานในหน้าที่สำคัญๆมามาก พระพลานามัยก็เริ่มอ่อนแอลงตามวัย    โรคเรื้อรังที่เป็นมาหลายปีคือโรคไต(พระวักกะ)พิการ นอกจากนี้แพทย์ยังลงความเห็นว่า พระหทัยโต  ทำให้เหนื่อยง่ายและอ่อนเพลีย   จึงกราบบังคมทูลลาออกจากราชการในพ.ศ. 2554
   พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ ทรงเห็นพระทัยก็โปรดเกล้าฯให้เป็นไปตามพระประสงค์   แต่ยังให้ดำรงตำแหน่งเป็นเสนาบดีที่ปรึกษาในกรมราชเลขานุการต่อไป    ดังที่มีพระราชหัตถเลขามาถึง ตอนหนึ่งว่า

    มีความเสียใจที่ได้ทราบว่า ประชวรมีพระอาการหายได้ช้า    เห็นว่าควรอยู่แล้วที่จะมีโอกาสได้พักผ่อนจริงๆ    เพราะฉะนั้นอนุญาตให้ทรงออกจากตำแหน่งน่าที่ราชเลขานุการและอธิบดีพระคลังข้างที่.....ส่วนพระองค์ท่านเอง   หม่อมฉันนับถือว่าเป็นครูผู้ ๑   ยังจะต้องขอให้ได้มีโอกาสรับคำแนะนำแลปฤกษาหาฤๅต่อไป     เพราะฉะนั้นขอให้ทรงรับตำแหน่งเสนาบดีที่ปฤกษา    ขอให้ทรงอุตสาหรักษาพระองค์ให้จงดี   เพราะยังมีเวลาได้อาไศรยไหว้วานกันไปอีก
บันทึกการเข้า
werachaisubhong
องคต
*****
ตอบ: 449



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 35  เมื่อ 22 ส.ค. 13, 17:31

กรมพระสมมตอมรพันธุ์  อ่านว่าอย่างไรครับ ท่านอาจารย์
บันทึกการเข้า

ฅนเมียงแป้ มาอยู่ เจียงฮาย
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 36  เมื่อ 22 ส.ค. 13, 17:51

Krom Phra Sommot Amonphan
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 37  เมื่อ 22 ส.ค. 13, 21:04

^
ใช่ค่ะ  สมมต อ่านว่า สม-มด
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 38  เมื่อ 23 ส.ค. 13, 12:46

  ในปีที่ทรงกราบถวายบังคมลาจากราชการนี้เอง   พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 ก็โปรดเกล้าฯเลื่อนพระอิสริยยศเป็น พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสมมตอมรพันธุ์    ในประกาศตอนหนึ่ง ทรงสรรเสริญไว้ว่า

  "....ทรงเคารพนับถือประหนึ่งว่าเป็นพระอาจารย์พระองค์ 1    ทั้งทรงได้สังเกตพระอัธยาศัยว่าเต็มไปด้วยความเมตตาสีตลหฤทัย  กอปรด้วยวิริยอุตสาหอันยิ่งใหญ่   มีพระสติปัญญาอันสุขุม    สมควรที่จะได้เลื่อนพระอิสริยยศเป็นต่างกรมผู้ใหญ่ที่เคารพได้..."

   หมายเหตุ : สีตลหฤทัย  ---> สีตล = เย็น  หฤทัย = ใจ    ---> มีจิตใจเยือกเย็น

   นอกเหนือจากตำแหน่งสำคัญๆในราชการที่ทรงรับมาตลอด 35 ปี    พระวิริยะอุตสาหะอีกประการหนึ่งของกรมพระสมมตฯ คืองานในตำแหน่งสภานายกกรรมการหอพระสมุดพระนคร  ที่ทรงทำมาตั้งแต่พ.ศ. 2453-2458
   ผลงานเรื่องสำคัญๆ ที่ทรงค้นคว้าเรียบเรียง   คือ
   - จดหมายเหตุเรื่องทรงตั้งพระบรมวงศานุวงศ์กรุงรัตนโกสินทร์
   - เรื่องตั้งพระราชาคณะผู้ใหญ่ในกรุงรัตนโกสินทร์
   - เรื่องตั้งเจ้าพระยาในกรุงรัตนโกสินทร์ (ทรงค้างไว้)
   และพระนิพนธ์สำคัญคือ จดหมายเหตุรายวัน  หรือ ไดอรี ที่กล่าวถึงในกระทู้นี้มาแล้วค่ะ


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 39  เมื่อ 23 ส.ค. 13, 17:52

พระรูปของเสด็จในกรมพระองค์นี้หายากจริงๆ ที่ผมก็อปออกมาจากหนังสือก็ได้คุณภาพเท่านี้เองครับ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 40  เมื่อ 23 ส.ค. 13, 18:52

ขอบคุณค่ะ  หาในกูเกิ้ลก็ได้มาแค่นี้


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 41  เมื่อ 24 ส.ค. 13, 09:27

  กรมพระสมมตอมรพันธุ์ทรงใฝ่พระทัยทางทะนุบำรุงศาสนาอีกทางหนึ่งด้วยนอกเหนือจากงานในหน้าที่    เห็นได้จากทรงรับเป็นมรรคนายกวัดเทพธิดาราม ซึ่งอยู่ใกล้วัง    อีกวัดหนึ่งคือวัดวิเวกวายุพัดที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ก็ทรงร่วมบริจาคทะนุบำรุงตั้งแต่วัดมีหลังคาจากจนเปลี่ยนเป็นหลังคาตึก     
  นอกจากนี้  ทรงสร้างกุฏิไว้หลังหนึ่งที่วัดมกุฎกษัตริยาราม  เรียกว่าโสตถิวิหาร
  ในรัชกาลที่  5 และต้นรัชกาลที่ 6  โรงเรียนและโรงพยาบาลเป็นของใหม่    กรมพระสมมตฯทรงเห็นประโยชน์ของทั้งสองอย่างจึงทรงบริจาคเงินทองช่วยเหลืออยู่เสมอ    แม้แต่ในพระพินัยกรรม  ก็ทรงแบ่งทรัพย์สินส่วนหนึ่งไว้สำหรับวัด  โรงเรียนและโรงพยาบาล

วัดวิเวกวายุพัด หรือวัดช่องลม 
v


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 42  เมื่อ 24 ส.ค. 13, 10:30

     ทางด้านส่วนพระองค์  กรมพระสมมตอมรพันธ์เคยมีพระชายาเป็นเจ้าหญิงเขมรชื่อนักสุดาดวง  บุตรีเจ้าแก้วมโนนอร์ ซึ่งเป็นพระโอรสของสมเด็จพระหริรักษ์รามาธิบดี พระเจ้ากรุงกัมพูชา   นักสุดาดวงเป็นหม่อมพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว   แต่สิ้นพระชนม์ไปโดยไม่มีโอรสธิดา
      ทรงมีพระโอรส จากชายาอื่นๆ คือ จากหม่อมเจ้าหญิงจำรัส นิลรัตน์  พระธิดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้านิลรัตน กรมหมื่นอลงกฎกิจปรีชา) มีโอรส 1 องค์ ได้แก่หม่อมเจ้ามงคลประวัติ สวัสดิกุล (พ.ศ. 2428-2491) เสกสมรสกับ หม่อมราชวงศ์บัว สนิทวงศ์
      จากหม่อมเพิ่ม สวัสดิกุล ณ อยุธยา มีโอรส 1 องค์คือหม่อมเจ้าวิบูลย์สวัสดิ์วงศ์ สวัสดิกุล (พ.ศ. 2428-2483) เสกสมรสกับ หม่อมเกื้อ ณ ระนอง
      จากหม่อมตลับ   มีโอรส 1 องค์ คือหม่อมเจ้าชายใหญ่  ไม่ทราบปีประสูติและสิ้นพระชนม์

      กรมพระสมมตอมรพันธ์ประชวรหนักเมื่อพ.ศ. 2458   พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเสด็จเยี่ยมพระอาการ  แต่พระอาการก็ไม่ดีขึ้น   จนสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2458   พระชันษา 55 ปี

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 43  เมื่อ 24 ส.ค. 13, 18:33

หม่อมเจ้าวิบูลย์สวัสดิ์วงศ์ สวัสดิกุล


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 44  เมื่อ 25 ส.ค. 13, 13:52

กรมพระสมมตอมรพันธุ์มีหลานปู่ ท่านหนึ่ง เป็นบุตรชายเกิดจากหม่อมเจ้ามงคลประวัติ  สืบทอดความเป็นนักปราชญ์ทางอักษรศาสตร์จากเสด็จปู่
ท่านชื่อศาสตราจารย์ ม.ร.ว.สุมนชาติ สวัสดิกุล  เป็นอาจารย์คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ   
ท่านเป็นผู้ที่ตั้งข้อสงสัยถึงตัวตนจริงของศรีปราชญ์ โดยเทียบกับหลักฐานทางประวัติศาสตร์ แล้วพบว่าไม่สอดคล้องกัน   
นอกจากนี้ยังเขียนบทความเรื่อง "กามนิตสืบเนื่องมาแต่พระสูตรไหน"

อีกเรื่องหนึ่ง คือบันทึกรับสั่งสมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ประทาน ม.ร.ว.สุมนชาติ สวัสดิกุล ตีพิมพ์ครั้งแรกในหนังสือ วงวรรณคดี 
เมื่อสมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสด็จกลับจากปีนัง ได้ประทานโอกาสให้หม่อมราชวงศ์ สุมนชาติ สวัสดิกุล เข้าเฝ้าซักถามปัญหาเกี่ยวกับโบราณคดีและวรรณคดีของไทย ณ วังวรดิศ ทุกวัน ปัญหาส่วนมากทรงตอบทันที แล้วหม่อมราชวงศ์สุมนชาติ สวัสดิกุล บันทึกนำมาอ่านถวายในวันรุ่งขึ้น


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3] 4
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.044 วินาที กับ 20 คำสั่ง