เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3 4
  พิมพ์  
อ่าน: 20138 พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสวัสดิประวัติ กรมพระสมมตอมรพันธุ์
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
 เมื่อ 15 ส.ค. 13, 19:45

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสวัสดิประวัติ กรมพระสมมตอมรพันธุ์ ทรงเป็นพระราชโอรสลำดับที่ 49 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาหุ่น(ท้าวทรงกันดาล) เมื่อวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2403 สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2458 พระชันษา 55 ปี    ทรงเป็นต้นราชสกุลสวัสดิกุล


บันทึกการเข้า
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 15 ส.ค. 13, 19:53

เด็กดีมาลงชื่อเข้าห้องตามระเบียบครับ  เจ๋ง  เจ๋ง
บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 15 ส.ค. 13, 20:00

^
ไม้เรียวยังใช้ได้ผลทุกสมัย  ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 15 ส.ค. 13, 21:45

     พระเจ้าลูกยาเธอพระองค์เจ้าสวัสดิประวัติ กรมพระสมมตอมรพันธุ์เมื่อทรงพระเยาว์   ทรงเริ่มศึกษาเบื้องต้นในพระบรมมหาราชวัง     เริ่มเล่าเรียนเขียนอ่านภาษาไทยในสำนักหม่อมเจ้าจอมในกรมหลวงเสนีบริรักษ์  (พระองค์เจ้าชายแตง พระโอรสในกรมพระราชวังบวรสถานภิมุขในรัชกาลที่ 1    ต้นราชสกุลเสนีวงศ์  ณ อยุธยา) ในตอนนั้นกรมหลวงเสนีฯสิ้นพระชนม์แล้ว  แต่เจ้าจอมหม่อมห้ามของท่านยังมีชีวิตอยู่
     หลังจากทรงเรียนภาษาไทยชั้นต้นแล้ว   ต่อมาก็ทรงย้ายมาเรียนภาษามคธหรือบาลีกับพระยาปริยัติธรรมธาดา (เปี่ยม) เมื่อยังเป็นหลวงราชาภิรมย์ ปลัดกรมราชบัณฑิต ที่พระที่นั่งสุทไธสวรรย์  พร้อมด้วยพระองค์เจ้าอีกหลายพระองค์   แม้ว่าเรียนมคธภาษา แต่ทรงเรียนหนังสือขอมที่เป็นเครื่องใช้เขียนและจารตำรับเรียนด้วย
    ต่อมาเมื่อเจริญพระชันษาขึ้น ก็ทรงเรียนภาษาอังกฤษในสำนักงานของนายฟรานซิส ยอร์จ  แปตเตอสัน(Francis George Patterson)   ครูชาวอังกฤษซึ่งได้รับว่าจ้างให้มาถวายพระอักษรเจ้านายเล็กๆในรัชกาลที่ 4
   พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯเสด็จสวรรคตเมื่อพระองค์เจ้าสวัสดิประวัติมีพระชันษาได้เพียง 8 ปี
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 15 ส.ค. 13, 22:17

อ้างถึง
ไม้เรียวยังใช้ได้ผลทุกสมัย

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 16 ส.ค. 13, 08:33

โอ๋ยโย๋    คุณประกอบคนไหนคะ  ตกใจ

ป.ล.     ๑   ครูคนนี้แกมีเวลาสอนในคาบอีกกี่นาทีกัน      เล่นตียาวเหยียดเป็นงูกินหางแบบนี้
           ๒   ถ้าเป็นประเทศไทย     ป่านนี้ครูต้องขึ้นโรงพัก เป็นข่าวหน้าหนึ่งไทยรัฐไปนานแล้ว


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 16 ส.ค. 13, 08:54

   พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงขึ้นครองราชย์เมื่อพระชนมายุเพียง 15 พรรษา  มีพระเจ้าน้องยาเธอที่ทรงพระเยาว์ด้วยกันทั้งสิ้น      ทรงพระเมตตาต่อบรรดาเจ้านายเล็กๆทั้งหลายอย่างบิดาอุปถัมภ์บุตร    พระองค์เจ้าสวัสดิประวัติจึงได้รับการศึกษาต่อมาจนพระชันษาครบเวลาโสกันต์ก็ได้โสกันต์เมื่อพ.ศ. 2415   จากนั้นก็เป็นไปตามขั้นตอนอย่างพระเจ้าลูกยาเธออื่นๆ  คือปีต่อมาทรงบรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดบวรนิเวศ    ในสำนักสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์     ทรงเล่าเรียนอักษรสมัยและพระปริยัติธรรมอยู่ 2 พรรษา     
   พระองค์เจ้าสวัสดิประวัติทรงมีความสามารถพิเศษอย่างหนึ่งคือ ระหว่างบรรพชา  ทรงฝึกเทศน์มหาชาติกับพระครูมหิธร(ชู)  จนกระทั่งทรงชำนาญ  เทศน์กัณฑ์มหาพนได้ไพเราะ        แต่มิได้มีพระประสงค์จะเอาดีในสมณเพศ    จึงทรงลาจากสามเณรเมื่อพระชันษาได้ 14 ปี    ไปทรงศึกษาภาษาไทยและคำนวณชั้นสูงจนชำนาญ    จากนั้นทรงศึกษาภาษาบาลีในสำนักขุนปรีชานุสาส์น(โต เปรียญ) ต่อจากที่เคยศึกษาชั้นต้นกับพระยาปริยัติฯ (เปี่ยม)   
    ยุคนั้น ถือกันว่าเจ้านายอายุสัก 14-15  ก็เรียกได้ว่าเจริญพระชันษาเป็นหนุ่มแล้ว   ถึงเวลามีพระตำหนักของพระองค์เอง     พระองค์เจ้าสวัสดิประวัติทรงมีที่ดินส่วนพระองค์อยู่ใกล้วัดเทพธิดาราม ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ พระราชทานเป็นพระราชมรดก     พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯจึงโปรดสร้างตำหนักประทานบนที่ดินผืนนี้    พระองค์เจ้าสวัสดิประวัติก็ประทับอยู่ที่วังส่วนพระองค์ใกล้วัดเทพธิดาต่อมา
 
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 16 ส.ค. 13, 09:01

   วังของพระองค์เจ้าสวัสดิประวัติ  กรมพระสมมตอมรพันธุ์ ยังอยู่มาจนถึงปัจจุบัน   แม้ว่าไม่ได้ใช้เป็นที่อยู่อาศัยแล้วก็ตาม    ถ้าใครอ่านกระทู้แล้วอยากเห็นขึ้นมา ก็ไม่ยาก    ตรงไปที่ “ชุมชนวังกรมพระสมมติอมรพันธ์" ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างถนนบำรุงเมืองและวัดเทพธิดาราม หรือย่านประตูผีที่เรารู้จักกัน     ชุมชนแห่งนี้เป็นชุมชนเล็กๆ ตั้งอยู่ในตรอกแคบๆ ซึ่งอาจจะเดินเลยไปได้ ถ้าหากไม่สังเกตให้ดี
       
   มุ่งหน้าเข้าไปในชุมชน     เมื่อเดินผ่านทางเดินเล็กๆนั้นเข้ามา จะเห็นตึกเก่าสร้างแบบยุโรป  รูปทรงสี่เหลี่ยมสองชั้น  ทาสีขาว ยังดูสง่างามอยู่มาก  ไปค้นกูเกิ้ล มีบอกเล่าไว้สั้นๆว่า เคยเป็นสำนักงานตำรวจ และเคยเป็นโรงเรียนมาก่อน  สภาพภายนอกยังคงสวยงามดีอยู่ แต่ภายในค่อนข้างทรุดโทรม  ไม่ได้เปิดใช้งานมานานแล้ว


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 16 ส.ค. 13, 19:22

ขอแนบแผนที่บริเวณวังกรมพระสมมตอมรพันธุ์ ตั้งอยู่ถนนบำรุงเมือง สมัยรัชกาลที่ ๕ ครับ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 16 ส.ค. 13, 20:29

รอว่าเมื่อใดคุณหนุ่มสยามจะเปิดหีบสมบัติ นำแผนที่มาแจม   ยิงฟันยิ้ม ขอบคุณนะคะ

ในช่วงต้นๆของรัชกาลที่ 5  เป็นยุคของคนรุ่นใหม่เข้ามาบริหารงานแผ่นดินแทนคนรุ่นเก่า   บรรดาพระเจ้าน้องยาเธอทั้งหลายต้องทรงรับพระราชภารกิจแผ่นดิน อย่างหนักมาก   ทุกพระองค์ล้วนต้องทำตัวเป็นผู้ใหญ่กว่าวัยทั้งสิ้น   เรียกว่าพอพ้นวัยเด็กก็ข้ามมาวัยทำงานเลย   ไม่ผ่านวัยรุ่นหรือวัยหนุ่มสาว     พระองค์เจ้าสวัสดิประวัติก็เช่นกัน   เมื่อพระชันษาได้ 15 ปี   ถ้าเป็นเด็กหนุ่มสมัยนี้ก็ยังนุ่งขาสั้นเรียนอยู่ ม. 3   แต่ว่าพระองค์ท่านต้องเข้าทำงานรับราชการเต็มตัวอย่างผู้ใหญ่ ประจำอยู่ในออฟฟิศหลวง  หรือสมัยนั้นเรียกว่า "ออดิตออฟฟิศ (Audit office)

ก่อนจะเล่าถึงงานของกรมพระสมมตอมรพันธุ์   ขอปูพื้นเล่าถึงการเงินของสยามในยุคนั้นและก่อนหน้านั้นก่อนนะคะ  

การเงินของสยามเมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯขึ้นครองราชย์ อยู่ในภาวะที่สมัยนี้เรียกว่า "ขาดสภาพคล่อง"   เกิดจากความสับสน   ไม่มีระเบียบเพราะไม่มีระบบที่แน่นอน     เงินของแผ่นดินที่เรียกเก็บจากภาษีอากร   แทนที่จะรวมรวมเป็นอันหนึ่งอันเดียว  ไหลตรงเข้าไปรวมที่พระคลังมหาสมบัติ  เอาเข้าจริงกลับแยกเป็นหลายกระแส  แถมยังรั่วไหลไปตามทางเสียมาก   เล่นเอาพระคลังมหาสมบัติเกือบจะไม่มีเงินพอค่าใช้จ่าย   ข้อนี้ ทำให้พระเจ้าอยู่หัวทรงต้องสร้างระบบขึ้นมาใหม่เป็นเรื่องสำคัญ และชักช้ามิได้
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 16 ส.ค. 13, 20:32

ย้อนหลังไปสมัยรัชกาลที่ 3  พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงกำหนดระบบเจ้าภาษีขึ้นเพื่อพระคลังจะได้มีรายได้เต็มเม็ดเต็มหน่วย   ในสมัยนั้น เป็นได้ว่าทรงวางระเบียบไว้ดี   มีขุนนางที่เป็นไม้เป็นมือเป็นจำนวนมาก   เจ้าภาษีนายอากรก็ไม่กล้าบิดพลิ้ว  นำเงินส่งราชการเต็มตามจำนวนและตรงเวลา ทำให้ท้องพระคลังมีเงินเต็มขึ้นมา  เงินของประเทศอยู่ในสภาพคล่องตัวอย่างสูง

แต่เมื่อเวลาล่วงไปหลายสิบปี  คนรุ่นเก่าหมดไป   ระเบียบที่เคยเคร่งครัดได้ผลก็เริ่มหย่อนยานตามกาลเวลา    เจ้าภาษีนายอากรหาทางบิดพลิ้วผัดผ่อน ไม่ส่งเงินตามกำหนด  หรือส่งให้ก็ไม่ครบตามจำนวน ซ้ำยังไปรีดนาทาเร้นราษฎรให้ได้รับความเดือดร้อน    ขุนนางที่เคยเข้มงวดกวดขันก็สมรู้ร่วมคิดยักยอก ฉ้อโกงเงินหลวงของข้าราชการบวกเข้ามาด้วย    ทำให้คลังขาดเงินไปปีละมากๆ   จนเงินที่เคยเต็มคลังก็พร่องลงไป  กลายเป็นสภาพฝืดขึ้นมาแทน

ปัญหาดั้งเดิมที่เรื้อรังมานานตั้งแต่รัชกาลที่ 1 คือกรมพระคลังมหาสมบัติ ไม่ว่าจะอยู่ในยุคสภาพคล่องหรือสภาพไม่คล่อง  เป็นพระคลังที่ไม่มีการจัดทำบัญชีเป็นระบบ   ไม่มีหลักฐานให้ตรวจสอบได้   ผลคือจึงไม่มีตัวเลขแน่นอนว่าในแต่ละปี รัฐได้รับเงินเท่าไร และจ่ายราชการไปเท่าไร มีกำไรหรือขาดทุน   ทุกอย่างอยู่ในมือเสนาบดีพระคลังมหาสมบัติ   แล้วแต่จะจัดการด้วยตัวเองอย่างไรแบบไหน    
ด้วยเหตุนี้ เมื่อแต่ละท่านดับสูญไป บัญชีนั้นก็พลอยสูญหายไปด้วย   ไม่มีการจัดแจงเรียบเรียงบัญชีไว้สำหรับแผ่นดิน   เมื่อสิ้นปีก็ไม่มีการทำงบบัญชีขึ้นทูลเกล้าฯ พระเจ้าแผ่นดิน เพื่อถวายให้ทรงทราบเป็นบัญชีข้างที่ เอาไว้สำหรับทรงตรวจดูตัวเงินแผ่นดินว่ามีเงินมากน้อยเพียงใด
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 17 ส.ค. 13, 09:58

     ผลจากไร้ระบบจัดเก็บภาษีอากร  การเงินของสยามก็เลยไม่เป็นหนึ่งเดียว   แต่ถูกแบ่งอำนาจการจัดเก็บไปอยู่ที่เจ้านายและขุนนางที่มีตำแหน่งการงานเกี่ยวข้อง   การเก็บภาษีอากรก็เลยกระจัดกระจายไปอยู่ตามกรมต่างๆ เช่น กรมพระคลังมหาสมบัติ กรมพระกลาโหม กรมมหาดไทย กรมนา และหน่วยพระคลังสินค้า ฯลฯ   กลายเป็นว่าแล้วแต่เจ้ากรมผู้บังคับบัญชากรมนั้นๆ จะจัดเก็บตามใจชอบ   ไม่เป็นระเบียบแบบแผนอันเดียวกัน
     ตามระเบียบที่วางไว้  ภาษีอากรที่กรมต่างๆ จัดเก็บได้  โดยหลักการพวกนี้ต้องมอบเงินส่วนหนึ่งให้กรมพระคลังมหาสมบัติ    แต่ในเมื่อกรมพระคลังมหาสมบัติอยู่ในสภาพ "เสือกระดาษ"   กรมต่างๆก็เลยชักดาบ  ให้บ้างไม่ให้บ้าง   กรมพระคลังมหาสมบัติซึ่งควรจะเป็นศูนย์กลางการเงินของแผ่นดิน    ก็มีฐานะเป็นเพียงแต่เจ้าพนักงานรับเงินหลวง ไม่มีอำนาจบังคับหรือเรียกร้องให้กรมต่างๆ ปฏิบัติตาม    เพราะไม่เคยตรากฎหมายเอาไว้ให้ทำ  ทำให้เงินผลประโยชน์ของแผ่นดินรั่วไหลไปทางอื่นเสียเป็นอันมาก   
     ทางอื่นที่ว่านี้ก็คืออำนาจอยู่กับผู้ใด  เงินแผ่นดินก็ไหลไปทางนั้น    ถ้าเจ้ากรมมีอำนาจ  เงินก็ไหลไปที่เจ้ากรม   ถ้าเสนาบดีมีอำนาจ  เงินก็ไหลไปทางนั้น   
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 17 ส.ค. 13, 10:01

ผลก็คือเมื่อพระนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2411 เป็นต้นมา    เงินรายได้ของแผ่นดินลดลงไปมาก ในขณะที่การใช้จ่ายในกรมพระคลังมหาสมบัติเพิ่มรายการขึ้นทุกปี จนในที่สุดรายได้ไม่พอจ่ายต้องค้างชำระ รัฐบาลต้องเป็นหนี้เป็นสินรุงรัง ดังปรากฏหลักฐานอยู่ในพระราชหัตถเลขาของรัชกาลที่ 5 ซึ่งทรงมีไปถึงสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ฉบับลงวันที่ 28 ตุลาคม ร.ศ. 122

        "…ในเวลาครึ่งปีต่อมา เงินภาษีอากรก็ลดเกือบหมดทุกอย่าง ลดลงไปเป็นลำดับ จนถึงปีมะแม ตรีศก (พ.ศ. 2414) เงินแผ่นดินที่เคยได้อยู่ปีละ 50,000 - 60,000 ชั่งนั้น เหลือจำนวนอยู่ 40,000 ชั่ง แต่ไม่ได้ตัวเงินกี่มากน้อย แต่เงินเบี้ยหวัดปีละ 11,000 ชั่ง ก็วิ่งตาแตก ได้เงินในคลังมหาสมบัติ ซึ่งเป็นของเจ้าหน้าที่วิ่งมาหาเป็นพื้น นอกนั้นก็ปล่อยค้าง ที่ได้เงินตัวจริงมีประมาณ 20,000 ชั่งเท่านั้น เงินไม่พอจ่ายราชการก็ต้องเป็นหนี้…"

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 18 ส.ค. 13, 10:05

       ตามความเป็นจริง   ในรัชกาลที่ 5  ผู้คนพลเมืองย่อมเพิ่มขึ้นจากรัชกาลที่ 3   ในบ้านเมืองที่อุ่นหนาฝาคั่ง  ระบบภาษีก็ทำไว้ดีตั้งแต่รัชกาลที่ 3     ดังนั้นการเก็บภาษีก็ควรจะได้มากขึ้น   แต่เงินภาษีกลับรั่วไหล แตกฉานซ่านเซ็นเสียจนพระคลังกระเป๋าขาด ก็นับเป็นเรื่องน่าตระหนกตกใจมาก   เป็นปัญหาใหญ่อันดับต้นๆที่ยุวกษัตริย์พระชนมายุ 15 พรรษาต้องเผชิญและยุติปัญหาให้ได้     แต่ใน 5 ปีแรก อำนาจอยู่ในมือผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน   พระเจ้าอยู่หัวจึงไม่อาจแก้ไขปัญหาของแผ่นดินโดยพระองค์เองได้อย่างทันใจ 
   
      ดังนั้นเมื่อบรมราชาภิเษก   ได้เสด็จขึ้นว่าราชการแผ่นดินโดยเด็ดขาด จึงทรงเริ่มทำการปฏิรูปการคลัง   ทรงตั้งหอรัษฎากรพิพัฒน์ ขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2416 ในพระบรมมหาราชวัง ให้เป็นที่ทำการของเจ้าพนักงานพระคลังมหาสมบัติ   มีตำแหน่งพนักงานบัญชีกลางสำหรับรวบรวมบัญชีเงินผลประโยชน์แผ่นดิน  และตรวจตราการเก็บภาษีอากรซึ่งกรมต่างๆ เป็นเจ้าหน้าที่เก็บนั้น ให้รู้ว่าเป็นจำนวนเงินเท่าใด และเร่งเรียกเงินของแผ่นดินในด้านภาษีอากรให้ส่งเข้าพระคลังมหาสมบัติตามกำหนด พร้อมกันนั้นได้ทรงตราพระราชบัญญัติสำหรับหอรัษฎากรพิพัฒน์ จุลศักราช 1235 หรือ พ.ศ. 2416   

     พูดง่ายๆคือจัดหน่วยงานศูนย์กลางรวบรวมเงินภาษีจากทุกทิศทุกทางของราชการให้ไหลตรงมาที่นี่ทีเดียว   ไม่แยกย้ายไปตกปลักอยู่ตรงโน้นบ้างตรงนี้บ้าง   จนไม่เหลือเป็นชิ้นเป็นอันกว่าจะมาถึงปลายทางอย่างเมื่อสมัยก่อน   
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 19 ส.ค. 13, 09:15

  สองปีต่อมาในพ.ศ. 2418  ผลจากการปฏิรูปการจัดระบบระเบียบเก็บภาษีอาการครั้งใหญ่   หน่วยงานสำคัญอีกหน่วยงานหนึ่งก็เกิดขึ้นตามมา  คือ ออฟฟิศหลวง  หรือ Audit office  เป็นหน่วยงานตรวจสอบบัญชีคลัง   แต่เป็นหน่วยงานอิสระไม่ขึ้นกับกรมพระคลังมหาสมบัติ     มีหน้าที่ตรวจบัญชีเงินของแผ่นดินทั่วพระราชอาณาจักร    และถวายรายงานการตรวจบัญชีให้พระเจ้าอยู่หัวทรงทราบ    
    ผู้ที่ทรงไว้วางพระราชหฤทัยให้เป็นหัวหน้าพนักงานออฟฟิศหลวง คือพระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าเทวัญอุไทยวงศ์ (ต่อมาคือสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ ต้นราชสกุล เทวกุล)  พระชันษา 17 ปี     และอีกองค์หนึ่งที่ทรงแต่งตั้งให้เป็นพนักงานออฟฟิศหลวงคือพระองค์เจ้าชายสวัสดิประวัติ พระชันษา 15 ปี
    ก็เป็นอันว่าพระเจ้าน้องยาเธอ 2 พระองค์  พระชันษา 17 กับ 15 ปี  ทรงต้องแบกภาระตรวจเงินทั้งแผ่นดินมิให้หายหกตกหล่น    ไม่ให้ถูกนำไปใช้ผิดประเภท  และไม่ให้ถูกเบียดบังฉ้อโกงไปด้วยวิธีใดๆ   ต้องทรงจับได้ไล่ให้ทัน ตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย   ทั้งหมดนี้พระเจ้าอยู่หัวเสด็จลงทรงตรวจบัญชีด้วยพระองค์เอง
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3 4
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.09 วินาที กับ 19 คำสั่ง