เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
อ่าน: 8630 พระธาดาอำนวยเดช (พรม สุวรรณธาดา)
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
 เมื่อ 11 ส.ค. 13, 09:50

ชื่อเดิมของท่าน บางแห่งสะกดว่า พรหม
ท่านเป็นผู้ทำเรื่องขอพระราชทานนามสกุล  เมื่อดำรงตำแหน่งกรมการพิเศษจังหวัดร้อยเอ็ด    พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานว่า สุวรรณธาดา  Suvarnadha^ta^ เป็นนามสกุลที่ 4784
พระธาดาอำนวยเดช  ยังเคยเป็นเจ้าเมืองจตุรพักตรพิมานอีกด้วย
บันทึกการเข้า
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 11 ส.ค. 13, 15:55

รีบมาเสนอหน้าลงชื่อเข้าห้องก่อนโดนท่านอาจารย์ตามครับ   ยิงฟันยิ้ม  ยิงฟันยิ้ม  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
Jalito
องคต
*****
ตอบ: 478


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 11 ส.ค. 13, 16:48

เข้ามาลงชื่อตามหัวหน้าห้องครับ
บันทึกการเข้า
mrpzone
มัจฉานุ
**
ตอบ: 89


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 11 ส.ค. 13, 18:02

มิสเตอร์พีมาค้าบบบ  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 11 ส.ค. 13, 20:09

คราวนี้. ครูเข้าห้องช้าเอง.  อายจัง.  นักเรียนมากันสลอนเชียว
อยู่ที่สุวรรณภูมิค่ะเวลานี้.   เครื่องมาช้ากว่ากำหนด. 1 ชม.    ต้องนั่งรอวีไอพีในบ้าน
คืนนี้คงกลับไปต่อกระทู้ไม่ทัน
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 12 ส.ค. 13, 10:43

  พระธาดาอำนวยเดช  หรือท้าวพรม   เป็นบุตรชายพระรัตนวงษา (ท้าวคำสิงห์) กับญาแม่โซ่นแป้   พระรัตนวงษาเป็นเจ้าเมืองสุวรรณภูมิ คนที่ 12 ปู่ของท่านมีบรรดาศักดิ์เป็นพระรัตนวงษา(ชมภู)   สืบเชื้อสายมาจากพระยาขัติยวงษา (สีลัง)
 พระธาดาอำนวยเดช เกิดปีระกา เดือน 9  พ.ศ. 2395 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว   ในขณะที่บิดาดำรงตำแหน่งเป็นอุปฮาดเมืองสุวรรณภูมิ
  ในปี พ.ศ. 2413 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว   ขณะท้าวพรมมีอายุได้ 18 ปี บิดาได้ส่งไปถวายตัวเป็นมหาดเล็กเพื่อเรียนวิชาการเมืองการปกครอง ในพระบรมมหาราชวัง        เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้ว   จึงได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นท้าวมหาไชย ตำแหน่งราชบุตรเมืองสุวรรณภูมิ
บันทึกการเข้า
Jalito
องคต
*****
ตอบ: 478


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 12 ส.ค. 13, 18:35

สุวรรณภูมิใน คห.5 คืออำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด ต่างจากสุวรรณภูมิใน คห.4...ใช่นะครับอาจารย์!
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 12 ส.ค. 13, 20:02

แม่นแล้ว!


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 12 ส.ค. 13, 21:20

   ขอเล่าถึงที่มาของเมืองสุวรรณภูมิ ค่ะ  
   ก่อนหน้าจะมีเมืองสุวรรณภูมิ    มีเมืองดั้งเดิมชื่อว่าเมืองทุ่งศรีภูมิ  สร้างขึ้นโดยเจ้าเมืองชื่อเจ้าแก้วมงคล หรือ แก้วปูฮม (แก้วบรม)  หรือเรียกอีกอย่างว่า ให้อาจารย์แก้ว(จานแก้ว)  ตามพระราชโองการของสมเด็จพระเจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทธางกูร กษัตริย์แห่งอาณาจักรล้านช้าง  ให้เจ้าแก้วมงคล ควบคุมไพร่พลประมาณ 3,000 คน  ข้ามแม่น้ำโขงมาตั้งเมืองขึ้นบนบริเวณที่ราบริมฝังแม่น้ำ(แม่น้ำเสียว) ที่อีสานตอนล่าง   ซึ่งเป็นแหล่งเกลือและนาข้าวที่อุดมสมบูรณ์  
    เจ้าแก้วมงคล ได้รับพระราชโองการแต่งตั้งเป็นเจ้าผู้ครองเมืองทุ่งศรีภูมิองค์แรก  มีระบบบริหารบ้านเมืองเช่นเดียวกับนครจำปาสักนัคบุรีศรี  เมืองหลวงของล้านช้าง
  เจ้าแก้วมงคล  มีโอรส ๒ องค์ คือ เจ้ามืดดำโดน และเจ้าสุทนต์มณี   เมื่อเจ้าแก้วมงคลสิ้นพระชนม์ สมเด็จพระเจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทธางกูรจึงทรงแต่งตั้งเจ้ามืดดำโดนอุปราชขึ้นเป็นเจ้าผู้ครองเมืองทุ่งศรีภูมิองค์ที่ ๒ ให้เจ้าสุทนต์มณีเป็นอุปฮาดเมืองทุ่งศรีภูมิ  เมืองนี้ก็ยังขึ้นอยู่กับราชอาณาจักรล้านช้าง
  ต่อมาเมื่อเจ้ามืดดำโดนสิ้นพระชนม์  กษัตริย์องค์ใหม่ของล้านช้างมิได้ทรงแต่งตั้งพระโอรสของเจ้ามืดดำโดนขึ้นครองเมืองทุ่งศรีภูมิ  แต่ตั้งเจ้าสุทนต์มณีอุปราชขึ้นเป็นเจ้าผู้ครองเมืองทุ่งศรีภูมิองค์ที่ ๓    เจ้าเชียงและเจ้าสูนโอรสเจ้ามืดดำโดน เจ้าผู้ครองเมืององค์ก่อนไม่พอใจ จึงสมคบกับขุนนางส่วนหนึ่งหนีไปพึ่งพระเจ้าเอกทัศน์แห่งกรุงศรีอยุธยา
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 13 ส.ค. 13, 10:58

    เจ้าเชียงและเจ้าสูนไปถึงอยุธยาในพ.ศ. 2308  ทูลขอกองทัพจากพระเจ้าเอกทัศมาช่วยเพื่อจะมาตีเมืองทุ่งศรีภูมิ หากสำเร็จ  ก็ตกลงว่าเจ้าเชียงจะขึ้นครองเมือง  โดยยอมยกเมืองทุ่งศรีภูมิเป็นประเทศราช  ส่งเครื่องราชบรรณาการแก่อยุธยา   แต่เจ้าเชียงไปถึงในจังหวะที่พระเจ้ามังระแห่งพม่าส่งกองทัพมาตีกรุงศรีอยุธยาพอดี    พระเจ้าเอกทัศไม่สามารถจะยกกำลังจากในเมืองไปช่วยได้   แต่ก็ทรงมีพระราชโองการให้หัวเมืองทางอีสานตอนล่างที่ขึ้นกับอยุธยา ยกทัพไปตีเมืองทุ่งศรีภูมิจนแตก
    ช่วงนั้นทางล้านช้างเกิดเหตุวุ่นวาย   กษัตริย์ล้านช้างไม่สามารถส่งกองทัพมาช่วยได้    เจ้าสุทนต์มณีพ่ายแพ้ศึก  จึงทิ้งเมืองหนีไป เจ้าเชียงจึงขึ้นเป็นเจ้าผู้ครองเมืององค์ที่ ๔  มีเจ้าสูนเป็นอุปราช เมืองทุ่งศรีภูมิจึงตกเป็นเมืองประเทศราชของกรุงศรีอยุธยานับแต่นั้น

   สองปีต่อมา กรุงศรีอยุธยาแตก   เมืองทุ่งศรีภูมิก็หยุดส่งราชบรรณาการ   ต่อมาสมเด็จพระเจ้าตากสินทรงสถาปนาอาณาจักรธนบุรีขึ้น    ปราบปรามก๊กต่างๆจนสำเร็จ   ในพ.ศ. ๒๓๑๙ ทรงส่งกองทัพขึ้นมารวบรวมหัวเมืองที่เคยเป็นเมืองประเทศราชของกรุงศรีอยุธยาให้กลับไปเป็นเมืองประเทศราชส่งเครื่องราชบรรณาการให้กับกรุงธนบุรี เหมือนอย่างที่เคยทำกับอยุธยา
บันทึกการเข้า
atsk
มัจฉานุ
**
ตอบ: 59


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 13 ส.ค. 13, 21:33

ขอเข้าห้องเรียนด้วยครับอาจารย์

ผมเป็นคนร้อยเอ็ดครับ  อยู่อำเภอเกษตรวิสัย ติดกับอำเภอสุวรรณภูมิ 

เห็นพ่อแม่ปู่ย่าตายายเรียกว่า เมืองศรีภูมิ  มาตลอดไม่รู้ทำไมถึงไม่เรียกเมืองสุวรรณภูมิ เพิ่งมากระจ่างก็วันนี้ครับ

ทราบแต่ตำนาน จารย์แก้ว หรือ จารย์เจ้าแก้ว  ครับ เพราะตำนานจารย์แก้ว จะมีในกลอนลำของหมอลำสมัยก่อนครับ

(  จารย์  ของภาษาอีสานหมายถึงผู้ที่บวชเรียนมาพอสมควร เช่น 3 พรรษา 5 พรรษา หรือมากกว่านี้   และยังแยกย่อยออกเป็น

- จารย์ซา
- จารย์คู (ครู)

แล้วแต่ความรู้ที่ได้ร่ำเรียนมาครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 13 ส.ค. 13, 21:52

ขอบคุณค่ะ คุณ atsk   ดีใจที่มีชาวร้อยเอ็ดมาร่วมวง   และขอบคุณอีกครั้งที่ช่วยเพิ่มเติมความรู้ในกระทู้นี้ค่ะ
ถ้าจะเล่าถึงตำนานเจ้าแก้ว ก็ยินดีค่ะ

เล่าต่อ
เจ้าเชียงผู้ครองเมืองทุ่งศรีภูมิ ตกลงใจอ่อนน้อม  ขอส่งเครื่องราชบรรณาการให้กรุงธนบุรีเช่นเดียวกับที่เคยส่งให้กรุงศรีอยุธยา เมื่อกองทัพกรุงธนบุรีเข้าเมืองแล้ว เจ้าเชียงเห็นว่าเมืองทุ่งศรีภูมิเคยเสียหายมาตั้งแต่ครั้งกองทัพอยุธยาเข้าตี   ประกอบกับตัวเมืองตั้งอยู่ใกล้แม่น้ำเสียว    ถึงฤดูฝนน้ำก็ท่วมก่อความเสียหายให้เป็นประจำ   จึงปรึกษากับแม่ทัพกรุงธนบุรี  เพื่อขอพระราชโองการจากสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ขอย้ายเมืองไปยังดงช้างสาร ซึ่งห่างจากตัวเมืองเดิมประมาณ ๑๐๐ เส้น   เมื่อความทราบถึงสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ  ก็พระราชทานพระราชานุญาตให้ย้ายเมืองตามที่ขอ    พระราชทานนามเมืองใหม่ว่า เมืองสุวรรณภูมิประเทศราช

ส่วนเจ้าสุทนต์มณี อาของเจ้าเชียง  (หรือบางแห่งเรียกว่า "ท้าวทน") เมื่อต้องออกจากเมืองทุ่งศรีภูมิไปเพราะแพ้ศึกเจ้าเชียง   ก็ไปปักหลักอยู่ที่ดงเมืองจอก   เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินฯทรงรวบรวมหัวเมืองทางอีสานให้เป็นประเทศราช   เจ้าสุทนต์มณีก็ขอเข้ามาพบแม่ทัพของไทยชื่อพระยาพรหม พระยากรมท่า   ขออ่อนน้อม    
พระยาทั้งสองเห็นว่าเจ้าสุทนต์มณีมีบ่าวไพร่มากประมาณ 6,000 คน จึงมีใบบอกไปยังกรุงธนบุรีขอตั้งเจ้าสุทนต์มณีเป็นเจ้าเมืองอีกเมืองหนึ่ง โดยยกบ้านกุ่มฮ้างซึ่งเป็นเมืองร้อยเอ็ดเก่า  ยกฐานะขึ้นเป็นเมืองร้อยเอ็ดตามเดิม ตั้งเจ้าสุทนต์มณีเป็นพระขัติยะวงษา  ดำรงตำแหน่งเจ้าเมืองร้อยเอ็ดคนแรก
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 14 ส.ค. 13, 09:25

พระขัติยะวงศา  (เจ้าสุทนต์มณี)  มีบุตรชาย  3 คน  คือ
  1.  ท้าวศีลัง  (ภายหลังเป็นพระยาขัติยะวงษา  เจ้าเมืองร้อยเอ็ด)
  2.  ท้าวภูทอง  (ภายหลังเป็นพระรัตนวงษา  เจ้าเมืองสุวรรณภูมิ)
  3.  ท้าวหล้า  (ภายหลังเป็นพระรัตนวงษา  เจ้าเมืองสุวรรณภูมิ)

เมื่อพ.ศ. 2325 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯทรงสถาปนากรุงเทพฯเป็นราชธานีแห่งใหม่ ทำให้เมืองร้อยเอ็ดและบรรดาหัวเมืองอีสานมาขึ้นตรงต่ออาณาจักรรัตนโกสินทร์  ในปีต่อมา พ.ศ. 2326 พระขัติยะวงษา (เจ้าสุทนต์มณี) ถึงแก่กรรม   ท้าวสีลังบุตรคนโตได้รับโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งเป็นพระขัติยะวงษา เจ้าเมืองร้อยเอ็ดสืบต่อมา
ต่อมาในปี พ.ศ. 2369 ในรัชกาลที่ 3 เกิดกบฏเจ้าอนุวงศ์    เมื่อกองทัพกบฏถูกตีแตกถอยร่นกลับมา กำลังทหารจากเมืองร้อยเอ็ดได้เข้าโจมตีซ้ำเติมจนพวกกบฏแตกพ่าย พระขัติยะวงษา (สีลัง) มีความดีความชอบได้รับโปรดเกล้าฯเลื่อนขึ้นเป็นพระยาขัติยะวงษา
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 14 ส.ค. 13, 14:22

อนุสาวรีย์พระขัติยะวงษา (เจ้าสุทนต์มณี หรือท้าวทน)


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 14 ส.ค. 13, 14:37

ล่วงมาถึงรัชกาลที่ 6  พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯพระราชทานนามสกุลแก่ลูกหลานที่สืบเชื้อสายจากพระยาขัติยวงษา (สีลัง)  ว่า ธนสีลังกูร  สะกดแบบโรมันว่า  Dhanasilankura  
ผู้ขอพระราชทานนามสกุลคือหลวงรัตนวงษ (ผึ่ง) กรมการพิเศษจังหวัดร้อยเอ็ด  หลานปู่ของพระยาขัติยวงษา (สีลัง)

เชื้อสายของพระยาขัติยวงษา (สีลัง) อีกสายหนึ่งไปดำรงตำแหน่งพระรัตนวงษา เจ้าเมืองสุวรรณภูมิ   สืบเชื้อสายกันต่อๆมา จนถึงพระรัตนวงษา (ชมภู) ซึ่งเป็นเจ้าเมืองสุวรรณภูมิ คนที่ 12   ท่านมีบุตรชายชื่อพระรัตนวงษา (ท้าวคำสิงห์) สมรสกับญาแม่โซ่นแป้
บุตรของพระรัตนวงษา(คำสิงห์) คือ พระธาดาอำนวยเดช  (ท้าวพรม)  ซึ่งขอพระราชทานนามสกุลต่างหาก ไม่ได้ใช้ ธนสีลังกูร   พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯพระราชทานว่า สุวรรณธาดา  
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.067 วินาที กับ 19 คำสั่ง