เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 20 21 [22] 23 24 ... 28
  พิมพ์  
อ่าน: 81164 ญี่ปุ่น ญี่ปุ๊น ญี่ปุ่น
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 315  เมื่อ 18 ส.ค. 13, 20:08

เคยเห็นแต่บอนไซจีน ที่เน้นต้น ไม่มีดอก   มาเห็นดอกไม้บอนไซแล้วเพลินตามากค่ะ


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 316  เมื่อ 19 ส.ค. 13, 08:08

เบญจมาศแบบบอนไซ ใช้กิ่งไม้แห้งทำเป็นต้น และดัดลำต้นอ่อน ๆ  ของเบญจมาศให้ส่วนดอกอยู่ซ้ายบ้างขวาบ้างเป็นชั้น ๆ เหมือนต้นไม้แคระ  ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 317  เมื่อ 19 ส.ค. 13, 08:15

ดอกเบญจมาศที่ปราสาทเมืองนาโงย่า

ภาพนี้และข้างบนถ่ายโดย Brian McMorrow



บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 318  เมื่อ 19 ส.ค. 13, 09:02

มีเกร็ดภาษาเกี่ยวกับดอกเบญจมาศมาเล่าให้ฟัง

ดอกเบญจมาศในภาษาญี่ปุ่นคือ อ่านว่า คิคุ หรือ คิขุ  ฉะนั้นที่เมื่อเราวิจารณ์สาวญี่ปุ่นว่า คิขุ อาโนเนะ   きくあのね นั่นก็หมายถึง (น่ารักเหมือน) ดอกเบญจมาศ เอ้อนะ

ป.ล. คำนี้คนไทยคิดขึ้นเอง ไปพูดกับคนญี่ปุ่นเขาอาจไม่รู้เรื่องเลยก็ได้ ถ้าจะชมให้เขารู้เรื่องต้องพูดว่า คาวาอี (คะวะอี) かわいい แปลว่า น่ารัก

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 319  เมื่อ 19 ส.ค. 13, 09:32

ขอออกนอกเรื่อง

ที่เมืองไทยก็มีเทศกาลเบญจมาศบานในสายหมอกที่วังน้ำเขียว นครราชสีมา ประมาณเดือนกุมภาพันธ์

สวยงามไปอีกแบบหนึ่ง  ยิ้มเท่ห์

เจ้าของรูปที่เห็นส่วนแขนกับเสื้อสีชมพู  เป็นคนเดียวกับเจ้าของโมเสคหรือเปล่าหนอ?
รูปนี้คิขุ อาโนเนะ คะวะอี มากๆ
ป.ล. หมายถึงดอกไม้นะคะ ไม่ใช่คน


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 320  เมื่อ 19 ส.ค. 13, 09:45

ถ้าชมเจ้าของภาพเสื้อสีชมพูว่า "คิขุ อาโนเนะ คะวะอี มากๆ"  คงยิ้มแก้มตุ่ยเชียว   ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 321  เมื่อ 19 ส.ค. 13, 09:52

กำลังหาละมุนภัณฑ์ Demosaicing software   ถ้าเจอจะเอาความคิขุคะวะอีของเจ้าของเสื้อสีชมพูมาให้เห็นโดยทั่วกัน


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 322  เมื่อ 19 ส.ค. 13, 19:34

มีเกร็ดภาษาเกี่ยวกับดอกเบญจมาศมาเล่าให้ฟัง

ดอกเบญจมาศในภาษาญี่ปุ่นคือ อ่านว่า คิคุ หรือ คิขุ  

เกร็ดเรื่องที่สอง ในภาษาแต้จิ๋ว อ่านว่า เก็ก คนไทยรู้จักในนาม "เก็กฮวย" (菊花 - ดอกเก็ก)

ดอกเบญจมาศในภาษาแต้จิ๋วก็คือ เก๊กฮวยนั่นเอง เบญจมาศมีหลายสปีชีส์ น้ำเก๊กฮวยจะทำจากดอกเบญจมาศสวน Chrysanthemum indicum   หรือเบญจมาศหนู Chrysanthemum morifolium

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 323  เมื่อ 20 ส.ค. 13, 09:03

นำน้ำเก๊กฮวยมาปั่นกระทู้


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 324  เมื่อ 20 ส.ค. 13, 09:43

น้ำเก๊กฮวย ภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า 菊の花茶 (คิคุ โนะ ฮะนะ ชะ - ชาดอกเบญจมาศ) ไม่ค่อยเห็นคนญี่ปุ่นดื่มกันสักเท่าไร ดูจะออกไปทางจีนเสียมากกว่า

หากจะให้เข้าบรรยากาศ ญี่ปุ๊น ญี่ปุ่น เห็นจะต้องเป็น "ชาเขียว" (抹茶 - มัทชะ)  ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 325  เมื่อ 20 ส.ค. 13, 09:58

ช็อคโกแลตชาเขียว อร่อยสุดๆ   (ไม่บอกยี่ห้อ เดี๋ยวจะเป็นโฆษณาไป)


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 326  เมื่อ 20 ส.ค. 13, 10:28

พิธีชงชา (茶道 - ซะโด, ชะโด - วิถีแห่งชา) คงจัดแสดงให้นักท่องเที่ยวชม ในวัดแห่งหนึ่งที่โตเกียว

ถ้ารับประทานขนมชาเขียวของคุณเทาชมพูร่วมด้วย คงน่าอร่อยดี   ยิ้มเท่ห์


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 327  เมื่อ 20 ส.ค. 13, 12:09

โปรดสังเกตลายดอกไม้ที่ผ้า คือลายดอกบ๊วย ( - อุเมะ)  ฉากหลังเป็นดอกบ๊วยกำลังบาน

พิธีชงชาข้างบน เป็นส่วนหนึ่งของเทศกาลชมดอกบ๊วย (梅祭 - อุเมะ มัทสุริ) จัดในช่วงดอกบ๊วยบานช่วงเดือนมีนาคม

ดอกอุเมะจะบานก่อนซากุระหนึ่งเดือน ประมาณเดือนมีนาคม

ภาพบน เป็นบรรยากาศผู้คนไปชมดอกอุเมะบานที่ชินจูกุเกียวเอน  ส่วนภาพล่าง ที่วัดแถว ๆ ซุยโดบาชิ







บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 328  เมื่อ 20 ส.ค. 13, 13:25

เคยไปดูพิธีชงชาของเขาหนหนึ่งเมื่อไปญี่ปุ่นครั้งแรก     กำลังจะถามเซนเซเพ็ญอยู่พอดีว่าไปดูบ้างหรือเปล่า   น่าจะเป็นพิธีที่นักท่องเที่ยวขาดไม่ได้  ยังไงไกด์ต้องพาไปถ้าไปโตเกียว
จำได้แต่ว่าชาของเขาขมมาก    ต้องกินกับขนมหวานจึงจะบรรเทารสขมลงไปได้ค่ะ


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 329  เมื่อ 20 ส.ค. 13, 16:33

จุดมุ่งหมายของพิธีชงชา เขาว่าไม่ได้เล็งถึงรสชาติของชาอย่างเดียว แต่อยู่ที่ความงามในอิริยาบถของผู้ชงชาและบรรยากาศที่สงบเงียบของพิธีด้วย

http://www.youtube.com/watch?v=7K0-dvxvRRM#at=54

บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 20 21 [22] 23 24 ... 28
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.131 วินาที กับ 20 คำสั่ง