เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 21 22 [23] 24 25 ... 28
  พิมพ์  
อ่าน: 81281 ญี่ปุ่น ญี่ปุ๊น ญี่ปุ่น
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 330  เมื่อ 20 ส.ค. 13, 22:08

เข้ามาช่วยขยายเรื่องของพิธีชงชาไปอีกหน่อยนึงครับ

ได้เคยอ่าน เคยเห็น แล้วก็ทราบจากการสนทนากับอดีตข้าราชบริพารของญี่ปุ่น ทำให้พอทราบข้อมูลดังนี้

  ที่มาที่ไปของเรื่องนี้ เกิดจากเรื่องของความต้องการพบผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา (คนสนิท เพื่อนร่วมตาย) ของนายใหญ่ (ผู้สูงศักดิ์) ในลักษณะที่อยู่นอกกรอบประเพณีและพิธีการที่เคร่งครัดทางสังคม  เป็นการพบแบบกันเอง เป็นการส่วนตัว และคุยกันในเรื่องที่ไม่สามารถคุยกันได้ในสถานที่ต่างๆ   
  ดังเดิมนั้น ไม่ได้เป็นพิธีแบบมีขั้นตอนที่เข้มครัดดังที่เราทราบกันอยู่ในปัจจุบัน (ขั้นตอนที่เคร่งครัดนี้เกิดขึ้นในภายหลัง เมื่อใดจำไม่ได้ครับ)  แต่จะว่าไม่มีพิธีเลยก็ไม่ได้ นายใหญ่จัดทั้งทีก็ต้องมีความต่าง ดูดี มีระดับ
  การพบปะนี้จะกระทำในบ้านหลังเล็ก (กะต๊อบยกพื้นห้องเดียว) ขนาดของบ้าน ของห้อง จะเล็กกว่าบ้านปรกติประมาณครึ่งหนึ่ง ห้องดื่มชาจริงๆ (ที่เคยเห็นอยู่หลายแห่ง) กว้างยาวประมาณ 2.5 x 3 ม. ที่มุมหนึ่งของห้องจะมีพื้นที่ประมาณ 0.5 x 0.5 ม.เป็นบริเวณสำหรับชงชา ประตูทางเข้าห้องนี้ จะสูงประมาณ 1.5 ม. เท่านั้นเอง 
  พิธีการหลักๆ คือ ก่อนเข้าห้องนี้ ผู้เข้าร่วมวงจะต้องวางอาวุธ  ผู้ร่วมวงจะเป็นชายเท่านั้น มีผู้หญิงได้เพียง 1 คน สำหรับชงชาและเสริฟขนมหวานให้กับผู้ร่วมวง ผู้ร่วมวงแต่ละคนจะมีถ้วยชาประจำของตน เป็นถ้วยชาที่จัดหามาเองและมักจะทำขึ้นมาด้วยมือของตนเอง ของใช้ทุกอย่างจะถูกเก็บวางไว้ในห้องนี้ รวมทั้งการล้าง การทำความสะอาด การต้มน้ำ     
 
  ปรัชญาของพิธีการ คือ เรื่องของการไม่พกอาวุธเข้าห้อง....แสดงถึงความไว้เนื้อเชื่อใจกันอย่างจริงๆ ทั้งนี้ แม้จะพกเข้าไปด้วยก็จะเกะกะมากแถมจะใช้ก็ลำบากมากเพราะถูกขนาดของห้องบังคับจำกัดเอาไว้       นายใหญ่และทุกคนจะต้องคารวะให้แก่กัน เพราะประตูมันเตี้ยเลยต้องก้มหัวมุดเข้าไป หรือไม่ก็ต้องลงนั่งคืบเข่าเข้าไป       การหมุนถ้วยชาของคนชงชาก่อนวางเสริฟชาหน้าแขก เป็นการหมุนเพื่อเอาตำหนิ เครื่องหมาย หรือสีบนถ้วยชานั้นให้อยู่ด้านในที่แขกสามรถเห็นและรู้ว่าเป็นถ้วยของตนที่นำมาใช้ เป็นการบอกถึงความใส่ใจของเจ้าบ้าน (นายใหญ่) ที่มีต่อพวกของตน ว่าจำรายละเอียดเรื่องของแต่ละคนได้
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 331  เมื่อ 20 ส.ค. 13, 22:55

ประสพการณ์ของผมต่างกับคุณตั้งนิดนึง หนุ่มๆเคยถูกเชิญให้ไปร่วมพิธีดื่มชาอย่างที่ว่า เจ้าภาพจะเตรียมถ้วยน้ำชาอันมีค่าไว้สำหรับแขก เป็นเครื่องเคลือบดินเผาแบบโบราณทำด้วยฝีมือช่างระดับครู ก่อนดื่มต้องประคองถ้วยแล้วหมุนสามรอบ เป็นนัยยะว่าเราชื่นชมศิลปะของถ้วยซะเหลือเกิน แล้วจึงค่อยๆจิบชาไปเรื่อยๆ จิบไปหมุนถ้วยไป

จิบแรกของผมซัดเข้าไปอึกใหญ่ เพราะเห็นสีน่ากินเหลือกำลัง นึกว่าเขาจะปรุงให้หวานๆหน่อย ไหนได้ ทั้งเผื่อนทั้งขม ถ้าวิ่งไปบ้วนทิ้งได้ก็ทำไปแล้ว แต่ถ้าทำอย่างนั้นเขาคงเลิกคบ เลยจำต้องกล้ำกลืนไปตามระเบียบ แทบแย่กว่าจะพ้นพิธีกรรมนั้นมาได้

หลังจากนั้นผมไม่เคยรับคำเชิญไปร่วมพิธีดื่มชากับคนญี่ปุ่นอีกเลย


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 332  เมื่อ 20 ส.ค. 13, 23:21

ชาญี่ปุ่นอีกแบบหนึ่ง


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 333  เมื่อ 21 ส.ค. 13, 08:54

เห็นภาพแล้วนึกถึงชาจีนมากกว่า น่าจะดื่มง่ายกว่าชาเขียวในพิธีชงชา  ยิ้มเท่ห์


แล้วเรื่องนี้พอดีเกี่ยวกับเรื่อง ญี่ปุ้น ญี่ปุ่น ได้ป่าว  ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม

เชิญคุณหนุ่มร่วมวงน้ำชา สรรหาเรื่อง ญี่ปุ๊น ญี่ปุ่น มาสนทนา เพื่อเสริมปัญญาและความเฮฮา กันเถิดนา


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 334  เมื่อ 21 ส.ค. 13, 09:36

ยาวมากแล้ว   จะตั้งกระทู้ ญี่ปุ่น ญี่ปุ๊น ญี่ปุ่น (๒)  ได้รึยังคะ


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 335  เมื่อ 21 ส.ค. 13, 10:09

ยังไม่จบเรื่องในโตเกียวเลย รอให้ออกต่างจังหวัดก่อนเถิด  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 336  เมื่อ 21 ส.ค. 13, 11:54

กระทู้ห้องใกล้ๆนี่เขาเสิฟขันโตกกัน   กระทู้นี้เชิญรับข้าว ซุป และหมูดำคุโรบุตะ ผัดขิง ค่ะ


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 337  เมื่อ 21 ส.ค. 13, 12:00

ได้เวลาอาหาร อยากทานคุโรบุตะแต่ทานม่ายด้าย ไปกินข้าวผัดดีกว่า
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 338  เมื่อ 21 ส.ค. 13, 12:19

อ้าว  ยังมีอีกชาม   ยกมาไม่ทัน   ท่านไปกินข้าวผัดซะแล้ว


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 339  เมื่อ 21 ส.ค. 13, 12:32

^
ทารุณจริงๆ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 340  เมื่อ 21 ส.ค. 13, 13:40

หลังจากอิ่มจากเมนู "หมูดำ" ( 黒豚 - คุโรบุตะ) เรียบร้อยแล้ว ก็ได้เวลาไปเที่ยวต่อ

ถัดจากเทศกาลชมดอกบ๊วยในเดือนมีนาคม ก็ถึงเทศกาลชมดอกซากุระในเดือนเมษายน  ภาษาญี่ปุ่นเขาเรียกการชมดอกไม้ว่า ฮะนะมิ 花見 (คนไทยคงคุ้นกับชื่อนี้ในฉายา "ข้าวเกรียบรวยเพื่อน"  ยิ้มเท่ห์)  

สถานที่สำคัญในโตเกียวที่นิยมไป "ฮะนะมิ" คือ สวนสาธารณะชินจุกุ (新宿御苑 - ชินจุกุเกียวเอง) และสวนสาธารณะอุเอะโนะ (上野公園 - อุเอโนะโกเอง)

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 341  เมื่อ 21 ส.ค. 13, 13:56

บรรยากาศที่สวนชินจุกุ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 342  เมื่อ 21 ส.ค. 13, 14:15

ฮะนะมิ ที่ ชินจุกุเกียวเอง



บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 343  เมื่อ 21 ส.ค. 13, 18:20

บรรยากาศที่สวนอุเอะโนะดูจะครึกครื้นมากกว่า


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 344  เมื่อ 21 ส.ค. 13, 18:30

花見 ที่  上野公園



บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 21 22 [23] 24 25 ... 28
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.06 วินาที กับ 19 คำสั่ง