เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 7
  พิมพ์  
อ่าน: 29793 นิพพานวังหน้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 45  เมื่อ 05 ส.ค. 13, 16:48

มีอีกค่ะ
พระพุทธสิหิงค์ (จำลอง) เป็นพระพุทธรูปหล่อด้วยโลหะ หน้าตักกว้าง ๑.๒๐ เมตร สูง ๑.๖๒ เมตร พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ โปรดให้หล่อจำลองจากพระพุทธสิหิงค์ ซึ่งประดิษฐานอยู่ภายใน พระที่นั่งพุทไธสวรรค์ ในพระบวรราชวัง แต่ขยายให้ใหญ่กว่าองค์เดิม แล้วโปรดให้อัญเชิญไปประดิษฐานไว้ที่ซุ้มจระนำ ณ องค์พระปฐมเจดีย์ ด้านทิศตะวันออก


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 46  เมื่อ 05 ส.ค. 13, 17:22

นึกว่ากรมศิลป์เองมีหลายองค์ เวลาอัญเชิญออกไปให้ประชาชนสรงน้ำตอนสงกรานต์ที่สนามหลวงเมื่อก่อนกระโน้น เขาว่าเป็นองค์จำลองอีกที แต่เหมือนเสียจนไม่ทราบว่าองค์ไหนเป็นองค์แท้ องค์ไหนจำลองน่ะครับ
อ้าว ! ข้อนี้ไม่รู้มาก่อนค่ะ
เมื่อก่อนกระโน้นคือยุคไหนคะ    ยุคนี้เห็นเวลาแถลงข่าว บอกว่าเป็นองค์จริงจากพระที่นั่งพุทไธสวรรย์

กรุงเทพฯ 12 เม.ย. - เช้าวันนี้ที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) เป็นประธานในพิธีอัญเชิญพระพุทธสิหิงค์ พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมือง จากพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ ขึ้นขบวนรถแห่เพื่อให้ประชาชนได้สรงน้ำและสักการะบูชาในช่วงเทศกาลสงกรานต์ โดยจะหยุดรถที่วงเวียนใหญ่ เวลา 10.00 น. ที่สวนสันติชัยปราการ เวลา 13.00 น. และบริเวณวัดชนะสงคราม ถนนข้าวสาร เวลา 14.00 น. จากนั้นเวลา 15.00 น.จะอัญเชิญพระพุทธสิหิงค์ไปประดิษฐาน ณ พระมณฑป บริเวณลานคนเมือง ศาลาว่าการ กทม. ซึ่งเป็นสถานที่จัดงาน “ยิ้มสุขใจ สงกรานต์ไทยชุ่มฉ่ำ”  ให้ประชาชนได้สักการะบูชาอย่างใกล้ชิดตลอดช่วงเทศกาลสงกรานต์จนถึงวันที่ 15 เมษายนนี้ หลังจากนั้นจึงอัญเชิญกลับพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เขตพระนคร
-สำนักข่าวไทย
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 47  เมื่อ 05 ส.ค. 13, 17:36

จากความจำนะครับ สมัยก่อนบ้านอยู่ไม่ไกลจากสนามหลวง ผมเคยไปสรงน้ำพระพุทธสิหิงค์อยู่หลายๆปี สังเกตุว่าผิวพรรณขององค์พระแตกต่างกัน เคยดูว่าเก่าแบบขลังๆ แต่ต่อมาหลังๆ(ตอนนั้น)ดูเอี่ยมขึ้น จะว่าจากการขัดสีฉวีวรรณก็ไม่ใช่ ถามเจ้าหน้าที่ที่เฝ้าอยู่แถวนั้น เขาบอกว่าคนละองค์กัน ระยะหลังๆที่เอาออกมาให้สรงน้ำที่สนามหลวงไม่ได้เอาของแท้มา เพราะไม่คุ้มเสี่ยงหากเกิดอะไรขึ้น ผมถามอย่างงั้นทุกปี บางคนก็ทำงงๆ บอกว่ามีองค์เดียว ไม่รู้จะเชื่อใครเลยนึกว่าอาจารย์พิเศษ จันทร์เจียพงศ์กล่าวอะไรที่ข้องอยู่ในใจผม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 48  เมื่อ 05 ส.ค. 13, 18:27

อ้อ อย่างนี้นี่เอง  ฟังแล้ว    เป็นไปได้ที่จะเป็นองค์จำลองนะคะ    เพราะไม่คุ้มจริงๆถ้าจะเกิดเหตุไม่บังควรขึ้นกับพระพุทธรูปองค์จริง

กลับมาเรื่องนิพพานวังหน้า
พระองค์เจ้ากัมพุชฉัตรไม่เห็นด้วยกับการกระทำของพระเชษฐาทั้งสองเอามากๆ   เพราะทรงยึดคำสั่งของพระบิดาให้ฝากตัวกับพระปิตุลา      เมื่อเกิดเรื่องกบฏ  จึงทรงตำหนิพระองค์เจ้าลำดวนและอินทปัตอย่างไม่ไว้เอาจริงๆจังๆ

เสียแรงที่เป็นชายชาติกำแหง                   หาญเสียแรงรู้รบสยบสยอน
เสียพระเกียรติมงกุฏโลกลือขจร                 เสียแรงรอนอรินราบทุกบุรี
เสียดายเดชเยาวเรศปิโยรส                     เสียยศบุตรพระยาไกรสรสีห์
เสียชีวิตผิดแพ้พระบารมี                         เสียทีทางกตัญญุตาจริง

พระองค์เจ้าหญิงกัมพุชฉัตรในตอนนั้นก็พระชันษา 17-18 ปี   แต่พระนิสัยที่แสดงออกมาทางพระนิพนธ์ แกล้วกล้าเกินหญิงสาว     ความรู้ทางหนังสือก็ดีมาก   ฝีมือแต่งบทกวีทั้งโคลง ร่ายและกลอน แสดงออกมาได้คล่องแคล่วจัดเจนเกินวัย  แสดงว่าคงคลุกคลีอยู่กับหนังสือมาหลายปี     น่าจะได้ทั้งสองอย่างนี้มาจากพระบิดา  
ขอเดาว่าน่าจะเป็นพระธิดาองค์โปรดองค์หนึ่งที่กรมพระราชวังบวรฯ คงทรงให้รับใช้ใกล้ชิด   จึงทรงรู้เกร็ดเรื่องโน้นเรื่องนี้ในวัง เกร็ดเรื่องวรรณคดีและประวัติศาสตร์  จะทยอยเล่าให้ฟังในโอกาสต่อไปค่ะ

เรื่องกบฏวังหน้า เห็นได้ชัดว่าพระองค์เจ้าหญิงกัมพุชฉัตร ว่ามิได้ทรงสงสัยเลยว่าพระเชษฐาถูกใส่ร้ายหรือมีใครหาเรื่องแกล้งยัดเยียดข้อหาให้    พอทราบเรื่องก็กริ้วและบริภาษทันที   แสดงว่าทรงรู้นิสัยกันมาก่อน ว่าพระเชษฐาทั้งสองเป็นคนทนงองอาจเกินตัว   คิดการใหญ่เกินเหตุ    ไม่ประมาณตนว่ายังไงก็สู้พระบารมีพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าไม่ได้  ข้อหลังนี้พระองค์หญิงทรงดูออก  จึงเห็นว่าทรงทำตัวกตัญญูรู้คุณเสียจะถูกต้องกว่า
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 49  เมื่อ 05 ส.ค. 13, 20:56

    เพลงยาวเรื่องนี้อ่านยากหน่อยตรงที่เนื้อความวกไปวนมา  ไม่ได้เรียงลำดับเหตุการณ์ก่อนหน้าหลังให้อ่านง่าย   แต่ว่าชอบย้อนกลับไปในอดีตเป็นระยะ   ถ้าไม่มีประวัติศาสตร์เป็นตัวเทียบก็จะไม่เข้าใจเลยว่าผู้นิพนธ์เล่าถึงอะไรอยู่
    หลังจากเกิดเหตุกบฏวังหน้าแล้ว   ฝ่ายในของวังหน้าคือเจ้าจอมมารดาอีของพระองค์เจ้ากัมพุชฉัตร ก็โดนพระราชอาญาเข้าด้วย    ทรงเท้าความไปถึงเหตุบาดหมางระหว่างวังหลวงกับวังหน้า ก่อนที่กรมพระราชวังบวรฯสิ้นพระชนม์    วังหลวงสั่งเกณฑ์ชาวเขมรลากปืนขึ้นประจำป้อม    ทางวังหน้าก็เคลือบแคลงว่าวังหลวงยกปืนใหญ่เล็งมาทางวังหน้าทำไม  จึงทรงสั่งให้นักองค์อี เจ้าจอมมารดาของพระองค์เจ้ากัมพุชฉัตรซึ่งเป็นชาวเขมร ใช้ชาวเขมรไปสืบความที่วังหน้ากับพวกเขมรที่ประจำป้อมอยู่   ครั้นได้ความว่านำขึ้นใช้ยิงในพิธีตรุษ  ความคลางแคลงก็จบลง     
แต่ผู้เคราะห์ร้ายคือนักองอี   เพราะความทราบถึงสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ ว่านักองอีใช้คนไปสืบความ  ก็พิโรธเป็นอันมาก    หลังจากกรมพระราชวังบวรฯสิ้นพระชนม์ เกิดกบฏวังหน้าให้วุ่นวายขึ้นมา    ก็เจ็บพระทัยเรื่องนี้มาก  จึงทรงรื้อฟื้นคดีเก่าเรื่องนักองอีขึ้นมาอีก   ให้ชำระความเรื่องนี้ด้วย
เคราะห์ร้ายตรงที่ขุนนางเขมรคนหนึ่งซึ่งเป็นข้าเก่าของพระอุไทยราชา พระบิดาของนักองอี  เกิดให้การซัดทอดนักองอีว่าเป็นผู้ยุยงกรมพระราชวังบวรฯให้ทำ   นักองอีก็เลยต้องพระราชอาญา ถูกจองจำพร้อมบ่าวไพร่

เรื่องนักองอีต้องโทษ  ไม่มีบันทึกอยู่ในประวัติศาสตร์หรือพระราชพงศาวดาร    มีแต่ในเพลงยาวนิพพานวังหน้า  ทำให้เห็นความวุ่นวายหลังกรมพระราชวังบวรฯ สิ้นพระชนม์ ว่าเรื่องราวในวังหน้าคงเป็นหนามยอกอกสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ    กลายเป็นว่าเจ้านายวังหน้าหลายคนช่วยกันก่อเรื่องแก่วังหลวงไม่หยุดไม่หย่อน  มีมาตั้งแต่กรมพระราชวังบวรฯยังดำรงพระชนม์อยู่

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 50  เมื่อ 06 ส.ค. 13, 15:59

      ในบรรดากบฏวังหน้าที่ถูกจับและจองจำเพื่อรอประหารชีวิต มีเจ้าจอมวันทาของกรมพระราชวังบวรฯรวมอยู่ด้วย      เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯทรงสอบสวนให้ละเอียดเพื่อความรอบคอบ   เจ้าจอมวันทาก็เลยรับสารภาพ ด้วยเห็นว่าไหนๆจะตายแล้วก็ขอให้การเป็นสัจจะ ว่านักองอีมิได้เป็นผู้ยุแยงกรมพระราชวังบวรฯ         ผลก็คือนักองอีหลุดพ้นจากข้อหา  โปรดประทานเบี้ยหวัดให้ดังเดิม   

   เกร็ดเล็กๆเหล่านี้ประวัติศาสตร์ไม่ได้บันทึกไว้      รวมทั้งเกร็ดบางเรื่องด้วย ที่เคยเกริ่นไว้ตอนต้นกระทู้   คือพระโรคของกรมพระราชวังบวรฯ   พงศาวดารบันทึกว่าประชวรด้วยพระโรคนิ่ว     แต่ในนิพพานวังหน้าบอกไว้ชัดเจนว่า พระโรคที่ทรมานพระองค์ท่านอยู่คือวัณโรค 

  พระวัณโรครึงรนไม่ทนทาน                         ทรมานนานเนิ่นก็เกินแรง

  สาเหตุที่สิ้นพระชนม์เร็วก็เพราะทรงปฏิเสธไม่เสวยพระโอสถทั้งหมด  เพราะเห็นว่ามีแต่จะเหนี่ยวรั้งให้ทรงทรมานกับพระโรคนานเกินไป      กรมพระราชวังบวรฯทรงทราบล่วงหน้าว่าจะมีพระชนม์อยู่อีกไม่กี่วัน จึงเตรียมพระองค์พร้อมสำหรับสู่สวรรคาลัย    แล้วก็สิ้นพระชนม์จริงๆดังพระประสงค์

   วัณโรคเป็นโรคที่น่ากลัวมากในสมัยโบราณ เพราะเป็นแล้วตายสถานเดียว ไม่มียารักษา     ที่สงสัยอยากจะถามผู้รู้ในเรือนไทยก็คือทำไมคนโบราณเป็นวัณโรคกันมาก  ในเมื่ออากาศสมัยโน้นก็สะอาด  ปราศจากมลพิษ สภาพแวดล้อมก็ใกล้ชิดธรรมชาติ  ไม่มีสารเคมี   ดีกว่าสมัยนี้อย่างเทียบกันไม่ได้
บันทึกการเข้า
Rangson Boontham
มัจฉานุ
**
ตอบ: 50



ความคิดเห็นที่ 51  เมื่อ 06 ส.ค. 13, 21:41

นึกว่ากรมศิลป์เองมีหลายองค์ เวลาอัญเชิญออกไปให้ประชาชนสรงน้ำตอนสงกรานต์ที่สนามหลวงเมื่อก่อนกระโน้น เขาว่าเป็นองค์จำลองอีกที แต่เหมือนเสียจนไม่ทราบว่าองค์ไหนเป็นองค์แท้ องค์ไหนจำลองน่ะครับ
อ้าว ! ข้อนี้ไม่รู้มาก่อนค่ะ
เมื่อก่อนกระโน้นคือยุคไหนคะ    ยุคนี้เห็นเวลาแถลงข่าว บอกว่าเป็นองค์จริงจากพระที่นั่งพุทไธสวรรย์

กรุงเทพฯ 12 เม.ย. - เช้าวันนี้ที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) เป็นประธานในพิธีอัญเชิญพระพุทธสิหิงค์ พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมือง จากพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ ขึ้นขบวนรถแห่เพื่อให้ประชาชนได้สรงน้ำและสักการะบูชาในช่วงเทศกาลสงกรานต์ โดยจะหยุดรถที่วงเวียนใหญ่ เวลา 10.00 น. ที่สวนสันติชัยปราการ เวลา 13.00 น. และบริเวณวัดชนะสงคราม ถนนข้าวสาร เวลา 14.00 น. จากนั้นเวลา 15.00 น.จะอัญเชิญพระพุทธสิหิงค์ไปประดิษฐาน ณ พระมณฑป บริเวณลานคนเมือง ศาลาว่าการ กทม. ซึ่งเป็นสถานที่จัดงาน “ยิ้มสุขใจ สงกรานต์ไทยชุ่มฉ่ำ”  ให้ประชาชนได้สักการะบูชาอย่างใกล้ชิดตลอดช่วงเทศกาลสงกรานต์จนถึงวันที่ 15 เมษายนนี้ หลังจากนั้นจึงอัญเชิญกลับพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เขตพระนคร
-สำนักข่าวไทย


ขออนุญาตเสริมครับ ครั้งหนึ่งไปกราบพระพุทธสิงหิงค์ที่วังหน้า เห็นเจ้าหน้าที่กำลังขยับโต๊ะหมู่บูชาหน้าพระแท่นบุษบก สอบถามดูได้ความว่าจะอัญเชิญไปประดิษฐานที่ท้องสนามหลวงครับ ไม่อยากเชื่อว่าจะเชิญองค์จริงไปให้สรงน้ำกัน เพราะน้ำอบน้ำปรุงอาจส่งผลต่อองค์พระได้  ขยิบตา แต่ก็ได้ความว่าอย่างนั้นครับ
นำภาพพระพุทธสิงหิงค์จำลอง ประดิษฐาน ณ หอพระพุทธสิงหิงค์ จ.ชลบุรี มาฝากครับ  ยิ้ม


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 52  เมื่อ 07 ส.ค. 13, 07:32

พระพุทธสิหิงค์ อัญเชิญองค์จำลอง ครับ ตามเฟสบุ๊คของพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 53  เมื่อ 07 ส.ค. 13, 07:35

ในอดีตสมัยที่ อ. Navarat.c คงได้สรงน้ำองค์จริง

ภาพการอัญเชิญพระพุทธสิงหิงค์ องค์จริง ออกมาสรงน้ำ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๓

ภาพจากเฟสบุ๊คพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ พระนคร


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 54  เมื่อ 07 ส.ค. 13, 08:27

ขอบคุณคุณหนุ่มสยามนะครับ ที่ช่วยทำให้ผมโล่งใจขึ้นนิดนึงว่าความจำเก่าๆยังพอใช้ได้อยู่ แปลกนะ พออายุมากขึ้น ความจำก็เริ่มเสื่อม โดยเฉพาะเรื่องใหม่ๆ แปร๊บเดียวก็นึกไม่ออกแล้ว แต่ความจำเก่าๆนี้ หลายเรื่องมันยังชัดแจ๋วอยู่

แต่ก็ไม่แน่ไม่นอนเหมือนกัน ไอ้ที่ชัดๆน่ะ อาจผิดอาจเพี้ยนก็ได้

เท่าที่จำได้อีกนะครับ คือประชาชนสามารถไปสรงน้ำได้ถึงองค์ จึงติดตาว่าพระพุทธสิหิงส์องค์แท้นั้นออกสีทองคำเก่าชัดเจน ไปทางแดงๆไม่ใช่เหลือง มีคราบคล้ายจะรานๆหน่อยๆด้วย องค์ที่ผมรู้สึกว่าไม่ใช่นั้นจะผิวจะออกวาวๆ มองแล้วรู้ว่าอายุไม่ถึงโบราณวัตถุ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 55  เมื่อ 07 ส.ค. 13, 09:11

ขออนุญาตนะครับ ไม่เกี่ยวกับหัวข้อเท่าไหร่ แต่หวังว่าจะไม่ทำให้กระทู้ออกทะเลนะครับ

ไหนๆก็พูดกันถึงเรื่องพระพุทธรูป ผมก็อยากจะให้ชมพระพุทธรูปโบราณพุทธศิลป์แบบสุโขทัย ขนาดเท่าๆกับพระพุทธสิหิงส์ ที่งามที่สุดในสายตาของผม คือหลวงพ่อเหลือ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ พิษณุโลก ที่องค์พระพุทธชินราช ประดิษฐานอยู่นั่นแหละครับ

รูปนี้ผมถ่ายมาเอง ดูที่พระพักตร์สิครับ ยิ่งดูยิ่งซึ้ง


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 56  เมื่อ 07 ส.ค. 13, 09:14

ตำนานกล่าวว่าหลังจากเททองสร้างพระพุทธชินราชและพระพุทธชินสีห์แล้ว ทองที่เตรียมไว้ยังเหลืออยู่ จึงได้สร้างพระขึ้นมาอีกหนึ่งองค์ ชื่อว่าพระเหลือ แล้วสร้างวิหารเล็กๆให้ประดิษฐานที่ลานโพธิ์ด้านหน้าของพระวิหารพระพุทธชินราช

คนไปกราบไหว้หลวงพ่อเหลือเพราะเชื่อว่าชื่อของท่านเป็นมงคลที่จะยังให้ผู้ที่ไปบูชาขอพรเหลือกินเหลือใช้ ส่วนที่จะไปดื่มด่ำความงามเพื่อชำระจิตใจให้ถึงพร้อมที่จะรำลึกถึงพระคุณของพระพุทธเจ้าเป็นปฐมปรารถนา คงจะมีไม่เท่าไหร่
 
ถ้าท่านมีโอกาส ควรจะได้ไปสักการะ จะเพื่อประสงค์สิ่งใดก็ตามอัธยาศัยนะครับ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 57  เมื่อ 07 ส.ค. 13, 09:57

ขออนุญาตนะครับ ไม่เกี่ยวกับหัวข้อเท่าไหร่ แต่หวังว่าจะไม่ทำให้กระทู้ออกทะเลนะครับ

ตามสบายค่ะ    แยกซอยบ้างก็ได้ จะได้อ่านเพลินๆหลายทิศทาง ไม่เครียด

พระพุทธรูปโบราณสมัยอยุธยาที่งดงามมีอยู่อีกมาก  ควรแก่การเคารพบูชา เพื่อน้อมนำจิตใจสงบนิ่งอยู่ในพระรัตนตรัย  ขึ้นกับว่าพวกเราจะค้นพบหรือเปล่าเท่านั้น
อย่างองค์นี้ พระพักตร์และพระกายงามได้สัดส่วนตามแบบศิลปะเมื่อปฏิสังขรณ์แล้ว  อยู่ไม่ไกล  แค่ปราจีณบุรีเท่านั้นเอง


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 58  เมื่อ 07 ส.ค. 13, 10:16

เห็นด้วยครับ ของดีในเมืองไทยยังถูกทอดทิ้งอีกมาก พระพุทธรูปองค์นี้ ต้องขอฝากให้คนปราจีนช่วยดูแลรักษาด้วยนะครับ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 59  เมื่อ 07 ส.ค. 13, 10:32

กลับมาเรื่องนิพพานวังหน้า

เรื่องนิพพานวังหน้าไม่เป็นที่รู้จัก  ไม่ได้รับสนใจของนักวรรณคดีและประวัติศาสตร์มากเท่าที่ควร  เพราะเป็นเรื่องอ่านยาก เรียกได้ว่าครบถ้วนทุกประการของความยาก  เช่นใช้คำขยายฟุ่มเฟือยมาก เป็นคำแปลกๆ จนบางบทก็อ่านไม่รู้เรื่อง    ไม่ได้เรียงลำดับเหตุการณ์  เขียนย้อนไปย้อนมา ยังมีเกร็ดเล็กเกร็ดน้อย เช่นเรื่องวรรณคดีบ้างประวัติศาสตร์บ้างปะ ปนเข้ามาทุกที่ ตามพระทัยผู้นิพนธ์ ให้อ่านยากหนักเข้าไปอีก
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ทรงเห็นข้อนี้  จึงมีพระราชวิจารณ์ไว้ว่า

" ท่านผู่้แต่งไม่ทราบอักขรวิธี    เขียนด้วยความลำบาก    หาอะไรต่ออะไรบรรทุกลงไป  เพื่อจะสำแดงเครื่องหมายให้เข้าใจคำที่หวังจะกล่าว      จึงไม่เป็นการง่ายแก่ผู้ที่จะอ่าน   ถ้าจะอ่านตามตัว แทบจะไม่ได้ข้อความเท่าใด  จำจะต้องเดาอ่าน    แต่ถึงเดาอ่านดังนั้น  ยังจะกลั้นหัวเราะไม่ได้    ไปขันเสียในถ้อยคำที่จดลงไว้บ้าง    เบื่อคำครวญครางซ้ำซากให้ชวนพลิกข้ามไปเสียบ้าง   ไม่ใคร่จะได้ข้อความครบถ้วน"
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 7
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.05 วินาที กับ 20 คำสั่ง