เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 7
  พิมพ์  
อ่าน: 29787 นิพพานวังหน้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 30  เมื่อ 05 ส.ค. 13, 11:11

ทั้งหมด ชิ้นส่วนของโกศก็มีเพียง๕เท่านี้


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 31  เมื่อ 05 ส.ค. 13, 11:12

คราวนี้มาดูหลักฐานทางประวัติศาสตร์ พระโกศที่ทรงพระศพของกรมพระราชวังบวรมหาสุรสีหนาถ คือพระโกศไม้สิบสอง เช่นเดียวกับในรูปชุดข้างบนเลยทีเดียวแหละครับ หลักฐานที่ผมมีกล่าวว่า โกศแบบนี้มีอยู่เพียง๒ชุด คือชุดโบราณกับชุดที่สร้างขึ้นใหม่ ที่ว่าสร้างขึ้นใหม่ก็นานนมมาแล้วไม่ทราบแต่สมัยไหน พระในวัดบอกผมว่า โกศที่ผมถ่ายรูปมาให้ดูนั้นเป็นโกศเก่า อาจจะเก่าถึงรัชกาลที่๑ก็ได้

หากพิจารณาโครงสร้างของโกศ โอกาสที่ไม้จะลั่นเพราะยืดหดตัวแทบจะไม่มี แต่ก็ไม่ใช่จะเกิดขึ้นไม่ได้เลย เพราะเป็นแบบย่อมุมไม้สิบสอง ผนังมีด้านกว้างมากพอสมควร ถ้าไม่ใช่ไม้แผ่นเดียวแต่หลายชิ้นมาต่อกัน หากไม้ที่มาทำนั้นเป็นไม้ใหม่ยังไม่แห้งสนิท๑๐๐% ถึงจะมีเดือยมีสลัดยึดก็ต้องมีการทากาว กาวสมัยนั้นทำจากยางไม้หรือหนังสัตว์นำมาเคี่ยว ความสามารถในการยึดติดห่างไกลจากกาวสมัยนี้มาก อาจทนแรงบิดตัวของไม้ไม่ได้  ดังนั้น ถ้าใครไปเคาะเบาๆแต่ถูกที่ถูกเวลาก็อาจลั่นเปรี๊ยะออกมาค่อยๆแต่พอได้ยินได้เหมือนกัน

ส่วนที่ว่าจะดังมาจากพระลองได้ไหมนั้น ผมว่าตัดประเด็นไปได้เลยครับ


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 32  เมื่อ 05 ส.ค. 13, 11:29

ร้านขายโลงศพ ก็มักจะมีเหตุการณ์ไม้โลงลั่น ซึ่งเป็นลางที่ไม่ดีสำหรับร้าน

ทำนองเดียวกัน ไม้สด ไม้แห้ง ต่างก็มีการขยาย หด ตัวอยู่แต่ในอัตราที่แตกต่างกัน ไม่เก่าก็ยืด หด ได้เช่นกันโดยเฉพาะมีอากาศเย็นๆ  ทั้งนี้การตั้งพระโกศของพระราชบิดาแห่งวังหน้านี้ เกิดขึ้นใน เดือนใด ครับ  ฮืม

เพราะถ้าเป็นช่วงหน้าหนาวแล้ว ยิ่งมีโอกาสไม้ลั่นสูง
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 33  เมื่อ 05 ส.ค. 13, 12:54

เสด็จทิวงคตวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2346
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 34  เมื่อ 05 ส.ค. 13, 13:42

เสด็จทิวงคตวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2346

ไม้เก่า 30 กว่าปีที่บ้าน พอลมหนาวเข้ามาเยือน ต่างพากันลั่นเปรี๊ย ๆ ตามความเย็นของลมหนาว
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 35  เมื่อ 05 ส.ค. 13, 14:28

หากพิจารณาโครงสร้างของโกศ โอกาสที่ไม้จะลั่นเพราะยืดหดตัวแทบจะไม่มี แต่ก็ไม่ใช่จะเกิดขึ้นไม่ได้เลย เพราะเป็นแบบย่อมุมไม้สิบสอง ผนังมีด้านกว้างมากพอสมควร ถ้าไม่ใช่ไม้แผ่นเดียวแต่หลายชิ้นมาต่อกัน หากไม้ที่มาทำนั้นเป็นไม้ใหม่ยังไม่แห้งสนิท๑๐๐% ถึงจะมีเดือยมีสลัดยึดก็ต้องมีการทากาว กาวสมัยนั้นทำจากยางไม้หรือหนังสัตว์นำมาเคี่ยว ความสามารถในการยึดติดห่างไกลจากกาวสมัยนี้มาก อาจทนแรงบิดตัวของไม้ไม่ได้  ดังนั้น ถ้าใครไปเคาะเบาๆแต่ถูกที่ถูกเวลาก็อาจลั่นเปรี๊ยะออกมาค่อยๆแต่พอได้ยินได้เหมือนกัน
ส่วนที่ว่าจะดังมาจากพระลองได้ไหมนั้น ผมว่าตัดประเด็นไปได้เลยครับ
^
ก็เป็นคำอธิบายที่สมเหตุสมผลเท่าที่จะหาได้แล้วค่ะ

แล้วเคาะพระโกษฐกราบสุชลริน             เชิญพระปิ่นเกล้าโลกย์สดับธรรม
พระโกษฐลั่นยินแสยงพอแจ้งเหตุ               ถึงสองเชษฐต้องคดีที่ข้อขำ
เขาว่าโทษลึกลับให้จับจำ                       ก็ค้างคำเทศนาเข้ามาฟัง


ถอดความ  ลำดับเหตุการณ์ตามนี้
๑ พระสงฆ์รับนิมนต์มาเทศน์ถวายหน้าพระโกศ
๒ เจ้านายเคาะพระโกศเพื่ออัญเชิญให้ทรงฟังธรรม
๓ เสียงพระโกศลั่น  ได้ยินเพราะว่าพระยังไม่ได้สวด
๔ ข่าวด่วนเข้ามาในตอนนั้นว่าพระองค์เจ้าลำดวนและพระองค์เจ้าอินทปัตถูกจับ จำขื่อคาไว้
๕ เกิดความปั่นป่วนขึ้นในวงเจ้านายที่กำลังฟังพระเทศน์
๖ ทุกองค์ไม่มีกะจิตกะใจ  หยุดฟังพระเทศน์ ทรงแห่กันเข้ามาฟังผู้แจ้งข่าวนี้

ถ้าเป็นตามนี้ เสียงพระโกศลั่นก็น่าจะเกิดจากไม้ยืดหดตัว  ได้ยินชัดเพราะว่าพระยังไม่ได้เทศน์
แต่ถ้าพระเทศน์แล้ว ก็ยังได้ยินเสียงพระโกศลั่นอยู่อีก   แสดงว่าลั่นดังมาก และทิ้งช่วงเวลาระหว่างการเคาะกับเสียงลั่นอยู่พักหนึ่ง  
ถ้างั้นก็...หาคำอธิบายอื่นเอาเองนะคะ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 36  เมื่อ 05 ส.ค. 13, 15:15

พระองค์เจ้าหญิงกัมพุชฉัตร น่าจะเป็นพระธิดาที่ทรงใกล้ชิดกับพระบิดาอยู่ไม่น้อย  หรือไม่นักองอีผู้เป็นเจ้าจอมมารดาก็เป็นคนโปรด จึงทรงรู้รายละเอียดเล็กๆน้อยๆหลายอย่างซึ่งไม่ได้มีบันทึกไว้ในพระราชพงศาวดาร    เช่นเมื่อครั้งสมเด็จกรมพระราชวังบวรฯยังดำรงพระชนม์อยู่  จะเสด็จขึ้นไปปฏิสังขรณ์วัดที่กรุงเก่า   มีผู้ทิ้งหนังสือ (หมายถึงบัตรสนเท่ห์) ท้าทายขู่ว่าจะทำร้าย     
เมื่อความทราบถึงทางวังหลวง  สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯก็ทรงเป็นห่วง รับสั่งให้คนไปทูลห้าม   กรมพระราชวังบวรฯก็ไม่ฟัง  ตั้งพระทัยจะเสด็จก็เสด็จไปจนได้   ผลก็คือไม่เกิดเหตุอันใดขึ้น   เสด็จไปเสด็จกลับมาได้อย่างปลอดภัย

เรื่องที่พระองค์เจ้าหญิงกัมพุชฉัตรทรงทราบว่าพระเชษฐาทั้งสองก่อกบฏ   เห็นได้จากพระนิพนธ์ว่า ไม่พอพระทัยที่ทั้งสององค์ทรงทำเช่นนี้   ทรงบริภาษเอาไว้ยาวพอสมควรว่าเป็นการไม่คิดถึงพระคุณ และไม่ทรงเชื่อฟังคำสั่ของพระบิดา   

แต่อย่างไรก็ตาม ก็ทรงยกย่องว่าทั้งสององค์เป็นนักรบแกล้วกล้า   เคยฝากผลงานไว้เมื่อคราวรบพม่าที่เชียงใหม่     พร้อมกับทรงเล่าเกร็ดเรื่องหนึ่งแทรกมาด้วย คือสมเด็จพระบวรราชเจ้าฯ ทรงอัญเชิญพระพุทธสิหิงค์ลงมากรุงเทพในคราวนั้น   
ปรากฏว่าพระพุทธรูปที่งามยิ่งพระองค์นี้ทรงมีนิ้วพระหัตถ์ชำรุดอยู่นิ้วหนึ่ง     พระเจ้าแผ่นดินหลายองค์พยายามจะต่อนิ้วให้สมบูรณ์ แต่ไม่มีใครทำได้   จนล่วงมาถึงครั้งกรมพระราชวังบวรฯได้พระพุทธสิหิงค์มา  สามารถต่อนิ้วพระหัตถ์ได้สำเร็จ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 37  เมื่อ 05 ส.ค. 13, 15:28

ในเรื่องนิพพานวังหน้า พระองค์เจ้ากัมพุชฉัตรทรงเล่าในทำนองตำนาน   ว่าเป็นเรื่องเล่ามาสืบต่อกันมา ว่ามีพระพุทธทำนาย ว่าต่อไปภายหน้าจะมีพระเจ้าแผ่นดินที่ทรงอานุภาพมาก มาต่อนิ้วพระหัตถ์ให้ครบถ้วนสมบูรณ์ได้   

พระมหากรุณาธิคุณตรัส                            แย้มพระโอษฐ์โปรดดำรัสพิกัดหมาย
เยื้อนพระพุทธฎีกาวาทีทาย                       จะมีบดินทร์ดังนารายณ์สี่กร
มายกพระศาสนาตถาคต                          ให้ปรากฏภิญโญสโมสร
จะต่อหัตถ์พระสิหิงค์ได้แน่นอน                   จะเลื่องยศฤาขจรเกียรติขจาย


   การที่กรมพระราชวังบวรฯโปรดให้เชิญพระพุทธสิหิงค์ลงมากรุงเทพฯ ก็เพราะทรงเห็นว่าเดิมพระพุทธสิหิงค์มิใช่พระพุทธรูปของเชียงใหม่ แค่เคยเป็นพระพุทธรูปสำคัญของกรุงศรีอยุธยา ครั้นกรุงแตกเมื่อ พ.ศ. 2310 มีผู้เชิญเอาไปเมืองเชียงใหม่  จึงโปรดให้นำกลับมาเมืองหลวง   ประดิษฐานอยู่ในพระราชวังบวรฯวังหน้า  ทรงอุทิศพระราชมณเฑียรองค์หนึ่งถวายเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธสิหิงค์ พระราชทานนามว่า พระที่นั่งพุทไธสวรรย์
    เมื่อกรมพระราชวังบวรสุรสิงหนาทสิ้นพระชนม์   ไม่มีผู้ปฏิบัติบูชา   พระบามสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯโปรดให้เชิญพระพุทธสิหิงค์เข้าไปประดิษฐานในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในวังหลวง อยู่อย่างนั้นตลอดรัชกาลที่ 2และที่ 3  จนรัชกาลที่ 4 จึงโปรดให้อัญเชิญกลับวังหน้าเหมือนเดิม

ร.4 โปรดให้สมเด็จพระอนุชาธิราช พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเชิญพระพุทธสิหิงค์จากวังหลวงกลับขึ้นไปไว้พระราชวังบวรฯ เมื่อ พ.ศ. 2394

ทรงพระราชดำริจะให้ไปประดิษฐานไว้เป็นพระประธานในวัดบวรสถานสุทธาวาส ซึ่งกรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเทพ(วังหน้าสมัย ร.3) ทรงสร้างไว้ในพระราชวังบวรฯ ทำนองอย่างวัดพระแก้ว วังหน้า


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 38  เมื่อ 05 ส.ค. 13, 15:33

    ส่วนเรื่องนิ้วพระหัตถ์    ไม่รู้เหมือนกันว่าจริงๆเป็นอย่างไร   เพราะอาจารย์พิเศษ เจียจันทร์พงษ์  ผู้เชี่ยวชาญประวัติศาสตร์โบราณคดี กรมศิลปากร  อธิบายความในเพลงยาวนิพพานวังหน้า ว่าพระองค์เจ้ากัมพุชฉัตรทรงบันทึกว่าตอนนี้ ผู้ที่ต่อพระหัตถ์พระพุทธสิหิงค์ได้สำเร็จ คือพระบิดา  หมายถึงกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท
เห็นได้จากกลอนตอนนี้ค่ะ

    คือจอมหริวงศ์องค์ปิตุเรศ                      เรืองพระเดชต่อได้ดังใจหมาย
เทวทั่วพรหมโลกก็โปรยปราย                     กราบถวายบุบผาสาธุการ


   แต่จากคำยืนยันของอาจารย์พิเศษ   บอกว่าไม่เคยเห็นว่าพระพุทธสิหิงค์องค์ใดมีร่องรอยการซ่อมแซมที่พระหัตถ์เลย

  ส่วนจริงๆจะเป็นอย่างไรนั้น ฝากชาวเรือนไทยพิจารณากันต่อไปค่ะ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 39  เมื่อ 05 ส.ค. 13, 15:43

อ้างถึง
แต่จากคำยืนยันของอาจารย์พิเศษ   บอกว่าไม่เคยเห็นว่าพระพุทธสิหิงค์องค์ใดมีร่องรอยการซ่อมแซมที่พระหัตถ์เลย


แปลว่าพระพุทธสิหิงค์วังหน้ามีหลายองค์หรือครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 40  เมื่อ 05 ส.ค. 13, 16:15

โธ่   มาถามอะไรกับคนไกลวัดล่ะคะ   เศร้า

ครูกู๊กบอกว่า

พระพุทธรูปที่ทรงพระนามว่าพระพุทธสิหิงค์ ที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันมีอยู่ ๓ องค์ ๓ แห่ง คือ
พระพุทธสิหิงค์ องค์ที่ ๑ ประดิษฐานในพระที่นั่งพุทไธศวรรย์ พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ กรุงเทพมหานคร
พระพุทธสิหิงค์ องค์ที่ ๒ ประดิษฐานในวิหารลายคำ วัดพระสิงห์ จ.เชียงใหม่
พระพุทธสิหิงค์ องค์ที่ ๓ ประดิษฐานในหอพระพุทธสิหิงค์ ข้างศาลากลาง จ.นครศรีธรรมราช

คุณโรม บุนนาคเขียนไว้ว่า  ยังมีพระพุทธสิหิงค์ที่ตรัง  (ถูกขโมยไปแล้ว) และที่โคกขาม จ.สมุทรสาคร  ทุกองค์ได้รับการอ้างว่าเป็นองค์จริงทั้งสิ้น
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 41  เมื่อ 05 ส.ค. 13, 16:18

(ต่อ)
โรม บุนนาค เขียนเรื่องการเดินทางของพระพุทธสิหิงค์ไว้ในหนังสือมิติลี้ลับสุดมหัศจรรย์ (สำนักพิมพ์สยามบันทึก) ว่า

ตำนานพระพุทธสิหิงค์ของโบราณ เล่ากันไว้หลายสำนวน สำนวนที่กล่าวขานกันมาก พระโพธิรังสี พระภิกษุแห่งล้านนา แต่งเป็นภาษาบาลีไว้ เมื่อ พ.ศ.1985 ศ.ร.ต.ท.แสงมนวิทูร แปลเป็นภาษาไทย กรมศิลปากรจัดพิมพ์ไว้ในเทศกาลสงกรานต์ พ.ศ.2506

พ.ศ.700 พระราชาสามองค์ พระอรหันต์ 20 องค์ และนาค 1 ตน ของลังกา ประชุมหารือกันสร้างพระพุทธปฏิมา (รูปจำลองของพระพุทธเจ้า) พระราชาและ พระอรหันต์ ติดขัดไม่มีผู้ใดเคยเห็นองค์จริงของพระพุทธองค์ แต่นาคซึ่งมีฤทธิ์บอกว่าเคยเห็น เนรมิตตนเป็นพระพุทธองค์นั่งขัดสมาธิบนบัลลังก์แก้ว

พระราชาสั่งให้ช่างปั้นหุ่นพระพุทธเจ้าด้วยขี้ผึ้ง  แล้วสั่งให้ช่างหล่อออกมา  ระหว่างการหล่อ ช่างคนหนึ่งทำไม่ถูกพระทัย พระราชาทรงตวัดหางกระเบนถูกนิ้วมือนายช่าง ผลจึงปรากฏว่าเมื่อหล่อออกมาเสร็จ นิ้วพระหัตถ์นิ้วหนึ่งขององค์พระมีตำหนิ

พระราชาหารือกันว่า จะซ่อมแซมนิ้วพระหัตถ์ พระพุทธปฏิมาเสียใหม่ แต่พระอรหันต์ทักท้วงว่า ในภายภาคหน้า พระพุทธรูปองค์นี้ จะไปอยู่ชมพูทวีป และจะลอยทวนน้ำขึ้นไปอยู่ต้นลำน้ำ พระราชาองค์หนึ่ง ในประเทศนั้น จะเป็นผู้ซ่อมแซมนิ้วพระหัตถ์องค์พระปฏิมาให้เรียบร้อยสมบูรณ์เอง

สามพระราชาคล้อยตาม สั่งให้ช่างขัดแต่งพระพุทธรูปจนงดงาม เนื่องจากพุทธลักษณ์ องค์พระปฏิมาเหมือนราชสีห์ จึงให้ขนานพระนามว่า พระพุทธสิหิงค์
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 42  เมื่อ 05 ส.ค. 13, 16:19

อีก 800 ปีต่อมา พ.ศ.1500 มีพระราชาพระนามว่า ไสยรงค์ แปลว่า พระร่วงองค์ประเสริฐ ครองสมบัติกรุงสุโขทัย ปกครองดินแดนจากเหนือจนใต้ถึงเมืองนครศรีธรรมราช วันหนึ่งพระร่วงเสด็จไปถึงนครศรีธรรมราช ได้ทราบว่ามีพระพุทธปฏิมางดงามมาก อยู่ที่เกาะสิงหล พระร่วงส่งสาส์นไปขอ พระราชาสิงหลซึ่งรู้คำพยากรณ์ของ 20 พระอรหันต์ อยู่แล้ว จึงยินดีถวายให้

ตำนานเล่าตอนนี้ว่า เรือขบวนที่อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์ แล่นจากสิงหลมานครศรีธรรมราช ระหว่างทางเกยหินโสโครกจมอยู่กลางทะเล ลูกเรือจมน้ำตายหมด แต่พระพุทธสิหิงค์ได้สำแดงปาฏิหาริย์ ลอยน้ำไปถึงเมืองนครศรีธรรมราช พระร่วงอัญเชิญต่อไปประดิษฐานไว้ยังกรุงสุโขทัย

สมัยพระมหาธรรมราชาที่ 4 (บรมปาล) กรุงสุโขทัยอ่อนแอ พระเจ้าอู่ทองแห่งกรุงศรีอยุธยายึดสุโขทัยได้ ส่งขุนหลวงพะงั่วไปครองสุโขทัย แต่ก็ทรงพระเมตตาให้พระมหาธรรมราชาที่ 4 มาครองพิษณุโลก พระมหาธรรมราชาที่ 4 อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์ มาพิษณุโลกด้วย

จนเมื่อพระมหาธรรมราชาที่ 4 ทิวงคต พระเจ้าอู่ทองจึงอัญเชิญพระพุทธสิหิงค์มาไว้ที่กรุงศรีอยุธยา

ในช่วงเวลาที่พระพุทธสิหิงค์อยู่กรุงศรีอยุธยา พระเจ้าณาณดิส แห่งเมืองกำแพงเพชร วางแผนส่งแม่หลวงผู้เป็นพระราชมารดามาถวายพระเจ้าอู่ทอง ใช้อุบายอัญเชิญพระพุทธสิหิงค์ไปเมืองกำแพงเพชร เจ้ามหาพรหม ผู้ครองเมืองเชียงราย เกิดความอยากได้พระพุทธสิหิงค์ ยกทัพมาเจรจาหว่านล้อมกัน พระเจ้าญาณดิสก็ยอมถวายให้

เจ้ามหาพรหมก็อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์ไปทำพิธีฉลอง ที่หัวเกาะดอนแทน กลางลำแม่น้ำโขง หน้าเมืองเชียงแสน

เนื่องจากพระพุทธสิหิงค์มีตำหนิที่นิ้วพระหัตถ์ เจ้ามหาพรหมจึงตัดนิ้วพระหัตถ์นั้น และซ่อมเสริมให้เรียบร้อยสมบูรณ์ด้วยทองคำ การซ่อมนิ้วพระหัตถ์ และที่ประดิษฐานเกาะดอนแท่น แม่น้ำโขง จึงสมตามคำทำนายของ 20 อรหันต์ เมื่อครั้งหล่อองค์พระที่ลังกา ทุกประการ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 43  เมื่อ 05 ส.ค. 13, 16:21

พระพุทธสิหิงค์ถูกยื้อไปแย่งมา  จนเมื่อ พ.ศ.2338 อยู่ที่เชียงใหม่ เมื่อสมเด็จกรมพระราชวังบวรฯ ยกทัพขึ้นไปช่วยเจ้าเชียงใหม่ที่ถูกพม่าล้อม ตีกองทัพพม่าแตกพ่ายไป ตอนกลับได้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์ลงมาไว้ที่กรุงรัตนโกสินทร์ ประดิษฐานไว้ที่พระราชวังบวร โดยทรงอุทิศพระราชมณเฑียรองค์หนึ่งถวาย พระราชทานนามว่า พระที่นั่งพุทไธสวรรย์

เมื่อกรมพระราชวังบวรสวรรคต พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ โปรดให้อัญเชิญไปไว้ที่พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม จนถึงรัชกาลที่ 4 โปรดให้อัญเชิญกลับไปไว้ที่พระราชวังบวรตามเดิม ทรงดำริที่จะนำไปเป็นพระประธานในโบสถ์วัดพระแก้ววังหน้า ที่กรมพระราชวังบวรในรัชกาลที่ 3 สร้างไว้

แต่ขณะซ่อมแซมโบสถ์ มีการเขียนภาพตำนานพระพุทธสิหิงค์ไว้ที่ผนังโบสถ์ พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเสด็จสวรรคตเสียก่อน พระพุทธสิหิงค์จึงยังคงประดิษฐานอยู่ที่พระที่นั่งพุทไธสวรรย์จนถึงวันนี้

ประเด็น พระพุทธสิหิงค์ องค์ไหนจริง องค์ไหนปลอม อาจารย์พิเศษ เจียรจันทร์พงษ์ ยืนยันว่าทุกองค์เป็นพระพุทธสิหิงค์จริง เพียงแต่ก็ทราบกันดีว่า พระพุทธสิหิงค์เชียงใหม่สร้างขึ้นที่ล้านนา พระพุทธสิหิงค์นครศรีธรรมราชสร้างที่ภาคใต้ ส่วนพระพุทธสิหิงค์ที่กรุงเทพฯสร้างขึ้นที่สุโขทัย

คำยืนยันของผู้รู้ขั้นสุดท้าย ไม่มีพระพุทธสิหิงค์องค์ไหนในประเทศไทย สร้างขึ้นที่เกาะลังกา.

                                                                           "บาราย"

ไทยรัฐออนไลน์
http://www.thairath.co.th/column/pol/kumpee/148454
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 44  เมื่อ 05 ส.ค. 13, 16:36

นึกว่ากรมศิลป์เองมีหลายองค์ เวลาอัญเชิญออกไปให้ประชาชนสรงน้ำตอนสงกรานต์ที่สนามหลวงเมื่อก่อนกระโน้น เขาว่าเป็นองค์จำลองอีกที แต่เหมือนเสียจนไม่ทราบว่าองค์ไหนเป็นองค์แท้ องค์ไหนจำลองน่ะครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 7
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.042 วินาที กับ 19 คำสั่ง