เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 21 22 [23] 24
  พิมพ์  
อ่าน: 70314 สัตว์น่ารัก (2)
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 330  เมื่อ 01 ก.ย. 22, 18:35

ภาพที่คุณเทาชมพูนำมาแสดงคือ ปลาพลวงหิน Mahseer barb (Neolissochilus stracheyi) จากถ้ำปลาแม่ฮ่องสอน





สามารถเข้าไปติดตามเรื่องราวของปลาพลวงเพิ่มเติมได้ที่ palangkaset.com
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 331  เมื่อ 02 ก.ย. 22, 09:22

ขอบคุณค่ะ 
ไม่รู้ว่าตัวนี้มาเยือนเรือนไทยหรือยัง
เพลี้ยกระโดดลายบ้านเชียง (Hemisphaerius binduseni Constant & Jiaranaisakul, 2020) เป็นเพลี้ยกระโดดขนาดเล็กในวงศ์ Issidae มีขนาดโดยเฉลี่ยเพียง 4 มิลลิเมตรเท่านั้น ลักษณะเด่น ลวดลายบนปีกที่เป็นสีส้ม ขดไปขดมาจนมีรูปร่างคล้ายกับไหลายบ้านเชียง จ.อุดรธานี ตัดกับสีพื้นบนปีกที่เป็นสีฟ้าอมเขียว (turquoise) เป็นที่สะดุดตาแก่ผู้พบเห็น


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 332  เมื่อ 02 ก.ย. 22, 11:35

ขออนุญาตพาน้องกระโดดไปยังกระทู้ สัตว์ประหลาด ๖ ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 333  เมื่อ 13 ก.ย. 22, 11:41

วันที่ 6 กันยายน คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดให้สัตว์ป่าบางชนิด เป็นสัตว์สงวนเพิ่มเติม ซึ่งได้แก่ นกชนหิน (Rhinoplex Vigil) โดยจะได้เป็นสัตว์สงวนลำดับที่ 20 ของไทยตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอขึ้นไป เนื่องจากนกชนหิน เป็นหนึ่งในสัตว์ป่าหายาก ใกล้สูญพันธุ์เนื่องจากประชากรนกลดลง จำเป็นที่จะต้องสงวนและอนุรักษ์ไว้อย่างเข้มงวด
หลายคนอาจไม่คุ้นเคยกับนกเงือกชนิดนี้เท่าไหร่ เนื่องจากหาตัวจับยาก พอๆ กับ นกเงือกชนิดอื่น ๆ ทุกวันนี้พวกมันยังถูกคุกคาม จากการถูกล่าเพื่อคร่าโหนกหัว ด้วยความที่นกชนหินมีโหนกที่ตันและสวยงามเหมือนกับงาช้างและมีสีสันสวยงาม ทำให้โหนกของนกชนหินเป็นที่ต้องการในตลาดมืด หรือตลาดค้าสัตว์ป่า ส่งผลให้นกชนิดนี้ถูกไล่ล่ามากขึ้น จนประชากรลดลงอย่างรวดเร็ว


เนื่องจากประชากรที่ลดลงอย่างรวดเร็วนี้เองทำให้ พวกมันมีความเสี่ยงสูงในการสูญพันธุ์มากที่สุด ถึงแม้จะกำหนดให้เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองลำดับที่ 410 แล้วก็ตาม จึงต้องยกระดับการคุ้มครองให้เป็นสัตว์ป่าสงวน

ถิ่นที่อยู่อาศัยในประเทศไทยจะกระจายเฉพาะตั้งแต่จังหวัดชุมพรจนถึงจังหวัดนราธิวาส พบเป็นกลุ่มขนาดเล็กในป่าดิบชื้นระดับต่ำ โดยมีกลุ่มประชากรหลักอยู่ในอุทยานแห่งชาติบูโด-สุไหงปาดี เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฮาลา-บาลา และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าคลองแสง

องค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (IUCN) ได้จัดให้นกชนหิน (Rhinoplax vigil, Helmeted Hornbill) เป็นสัตว์เสี่ยงสูงใกล้สูญพันธุ์ (Critically Endangered) ทั่วโลกสามารถพบนกชนิดนี้ได้น้อยมาก สามารถพบได้ใน ทางตอนใต้ของเมียนมา มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย และบรูไน เป็นต้น



บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 334  เมื่อ 13 ก.ย. 22, 12:34

มีข่าวมาตั้งแต่ปีที่แล้ว สมัยที่น้องไบร์ทยังอ่านข่าวคู่กับพี่ไก่อยู่เลย ยิงฟันยิ้ม

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 335  เมื่อ 18 พ.ย. 22, 10:35

เด็กน้อยตีลังกา    สะดุดตาคล้ายชวนชัก
โลมาผู้น่ารัก       ฉลาดนักยึกยักตาม


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 336  เมื่อ 22 มิ.ย. 23, 13:37

เรื่องนี้เคยมาหรือยัง มิตรภาพระหว่างคุณลุงนักดำน้ำญี่ปุ่น ชื่อฮิโรยูกิ อารากาวะ  เขาเป็นคนดูแลวัดศาลเจ้าชินโต  ซึ่งจมอยู่ใต้น้ำ
หน้าที่ของเขาคือดำดิ่งลงไปใต้น้ำบริเวณนี้เป็นประจำ   ตั้งแต่เมื่อ 25 ปีก่อน เขาก็ได้พบกับปลาหัวแกะตัวหนึ่ง เข้ามาป้วนเปี้ยนอยู่ใกล้ๆ จนกลายเป็นมิตรกัน   มิตรภาพต่างสายพันธุ์ก็เริ่มต้นขึ้น หลังจากนั้นเมื่อคุณลุงดำดิ่งลงไปใต้น้ำบริเวณศาลเจ้า เขาก็จะได้พบกับเจ้าปลาเสมอ    อยู่ตรงที่เดิมไม่เคยไปไหนเลย จนในที่สุดเขาก็เลยตั้งชื่อให้มันว่า Yoriko

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 337  เมื่อ 22 มิ.ย. 23, 14:35

เคยมาแล้วหนอที่กระทู้ สัตว์ประหลาด ๖ เมื่อปีที่แล้ว ยิงฟันยิ้ม

คุณปู่ฮิโรยูกิ เอราคาวะ (荒川寛幸) มีหน้าที่ดูแลศาลเจ้าชินโตซึ่งอยู่ใต้น้ำบริเวณอ่าวตาเตยามะ (館山湾) จังหวัดชิบะ (千葉県) ที่ศาลเจ้าแห่งนี้คุณปู่ได้พบกับปลาโคบุได (コブダイ) หรือ ปลาหัวแกะ (Asian sheepshead wrasse - Semicossyphus reticulatus) ตัวหนึ่ง

มิตรภาพระหว่างมนุษย์และมัจฉาเริ่มขึ้น เมื่อคุณปู่ช่วยเหลือปลาตัวนั้นซึ่งดูเหมือนไม่ค่อยมีแรง ไม่สามารถหาอาหารได้เอง โดยนำปูอาหารโปรดของปลาหัวแกะมาให้มันกินทุกวัน  จนวันที่สิบเรี่ยวแรงก็กลับมา จากนั้นทั้งสองก็ไว้เนื้อเชื่อใจกัน เกิดเป็นความผูกพัน เมื่อคุณปู่ลงดำน้ำคราใด เจ้าปลาตัวเดิมก็จะเข้ามาต้อนรับทุกครั้ง  ด้วยความเอ็นดูคุณปู่ตั้งชื่อมันว่า "โยริโกะ" (頼子) และขณะนี้คุณปู่อายุ ๘๔ ปี และเป็นเวลากว่า ๓๐ ปีแล้ว ที่ทั้งคู่ได้พบและเป็นเพื่อนกันใต้ทะเล
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 338  เมื่อ 22 มิ.ย. 23, 18:03

อ้าว   เคยมาแล้ว  เศร้า
ป่านนี้คุณตากับเจ้าปลาเพื่อนรักจะยังอยู่หรือเปล่าก็ไม่รู้นะคะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 339  เมื่อ 03 ก.ค. 23, 11:30

พลายศักดิ์สุรินทร์ เป็นช้างไทยที่มอบให้ศรีลังกา เมื่อปี 2544 ด้วยความที่มีงายาว 50 ซม. ทั้งสองข้าง ถือเป็นช้างที่มีงายาวที่สุดในศรีลังกา มีอายุประมาณ 30 ปี แต่สภาพร่างกายทรุดโทรมกว่าวัย โดยวัตถุประสงค์การขอช้างเชือกนี้ของศรีลังกามีเอกสารระบุว่า ขอนำไปแห่พระบรมสารีริกธาตุ แต่เมื่อไทยมอบให้กลับส่งพลายศักดิ์สุรินทร์ไปอยู่วัดแห่งหนึ่งไม่ไกลจากเมืองหลวง

พลายศักดิ์สุรินทร์ มีปัญหาด้านสุขภาพ โดยขาหน้าแข็ง งอไม่ได้ ทำให้เดินได้ไม่ถนัด มีอาการมากว่า 10 ปี ซึ่งไม่มีการรักษาอย่างเหมาะสม นอกจากนี้ทางวัดที่ดูแลได้ล่ามโซ่ทั้งขาหน้าและขาหลังอย่างไม่เหมาะสม เนื่องจากโซ่ที่ล่ามมีระยะสั้น ทำให้ช้างขยับตัวลำบาก จึงไม่เหมาะสมกับสวัสดิภาพของช้าง ประกอบกับช่วงเวลานี้ศรีลังกาประสบปัญหาด้านเศรษฐกิจ ทำให้ช้างได้รับอาหารที่ไม่เหมาะสม

ช้างในศรีลังกาส่วนใหญ่จะมีงาสั้น ทำให้หาช้างที่มีลักษณะงาอุ้มบาตร อย่างพลายศักดิ์สุรินทร์ได้ยาก เหตุนี้จึงทำให้ต้องรับงานอย่างหนัก เพราะความงดงามของงา ซึ่งการช่วยเหลือของรัฐบาลไทย
ในการส่งกลับ มีการประสานกับทางวัดที่ดูแล โดยมีการนำออกมาพักรักษาไว้ที่สวนสัตว์ในกรุงโคลัมโบ ก่อนที่จะมีการประสานนำเครื่องบินมารับ กลับสู่อ้อมกอดของแผ่นดินไทย และได้มาพักฟื้นร่างกายหลังถูกใช้งานมาอย่างหนักหน่วงเกือบ 22 ปี

กัญจนา ศิลปอาชา ผู้ประสานงานพาช้างไทยกลับบ้าน ได้เปิดเผยแผนหลังจากนำพลายศักดิ์สุรินทร์ ไปอยู่ที่ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย จ.ลำปาง หลังผ่านการกักโรคไปแล้ว 1 เดือน เปิดให้คนที่ติดตามพลายศักดิ์สุรินทร์ ได้เข้าไปชื่นชม และให้กำลังใจน้องช้าง และจะมีการถ่ายทอดสดของทางศูนย์อนุรักษ์ เพื่อให้ผู้สนใจได้ติดตามการรักษาต่อไป.

https://www.thairath.co.th/scoop/theissue/2706339
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 340  เมื่อ 03 ก.ค. 23, 11:31

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 341  เมื่อ 03 ก.ค. 23, 11:31

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 342  เมื่อ 03 ก.ค. 23, 11:33

อุปถัมภ์ จ.ลำปาง โดยไม่มีอาการหงุดหงิดและไม่มีอาการเหนื่อยล้าหรืออ่อนเพลียจากการเดินทาง พร้อมให้ทีมแพทย์ตรวจสุขภาพก่อนเข้าพื้นที่กักกันโรค
.
วันที่ 2 ก.ค. 66 นายจตุพร บุรษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พร้อมด้วย นายอรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง รักษาราชการแทนอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช ได้เดินทางไปยังสถาบันคชบาลแห่งชาติ ในพระอุปถัมภ์ อ.ห้างฉัตร จ.ลำปาง เพื่อติดตามการเคลื่อนย้ายช้างไทย “พลายศักดิ์สุรินทร์” เข้ากระบวนการกักกันโรคก่อน 30 วัน อยู่ในบริเวณเฝ้าระวังโรคช้าง โดยวินาทีแรกได้ค่อยๆถอยหลังออกจากกรงพร้อมก้าวเท้าขวาหลังเหยียบแผ่นดินไทยเป็นครั้งแรก หลังจากประเทศไทยไปนานกว่า 22 ปี

ภาพรวมพลายศักดิ์สุรินทร์ส่งเสียงร้องตามปกติเพื่อขออาหาร ไม่มีอาการหงุดหงิด เชื่อง ไม่ตื่นตระหนก และไม่มีอาการเหนื่อยล้าหรืออ่อนเพลียจากการเดินทางเกือบ 10 ชั่วโมงเลย ถือว่าเป็นช้างที่มีความแข็งแรงอย่างมากในวัย 30 ปี โดยสิ่งที่โดดเด่นเห็นชัดเจนคืองาช้างที่โค้งยาวสวยงาม หรือเรียกว่า "งาอุ้มบาตร" มีความยาวของงา 50 เซนติเมตรเท่ากันทั้ง 2 ข้าง

จากนั้นควาญช้างและเจ้าหน้าที่ได้พาเดินเล่นเพื่อผ่อนคลายโดยรอบพื้นที่ที่จัดไว้ให้บริเวณคอกยืนที่ทำขึ้นใหม่ เพื่อเตรียมไว้ใช้รักษาอาการบาดเจ็บของพลายศักดิ์สุรินทร์ หลังจากพ้นเวลากักกันโรคและสังเกตุพฤติกรรมการปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมใหม่ได้หรือไม่ พร้อมให้ช้างกินอาหารและตรวจสุขภาพ

สำหรับจุดกักกันโรคช้างเจ้าหน้าที่ได้นำป้ายห้ามเข้าก่อนได้รับอนุญาตมาติดตั้ง 2 จุด ตั้งแต่บริเวณปากทางเข้าอาคารสำนักงานและทางเข้าพื้นที่ดูแลช้างระหว่างกักโรค 30 วัน ตามระเบียบการควบคุมโรคระบาดสัตว์ กรมปศุสัตว์ เพื่อป้องกันโรคติดต่อในช้าง 5 โรค ขณะเดียวกันได้ทำคอกสำหรับรักษาช้าง หลักผูกมัดไว้นอนกลางคืน-กลางวัน และที่อาบน้ำ โดยจะไม่มีโรงเรือนที่มีหลังคาเนื่องจากสภาพพื้นที่ค่อนข้างร่มรื่นมีต้นไม้ขนาดใหญ่ในจุดกักกันโรค ส่วนควาญช้างชาวศรีลังกาจะอยู่กับช้างในระยะเวลาหนึ่งไปก่อน

ทั้งนี้ ยังได้ติดตั้งกล้องวงจรปิด (CCTV) รวม 6 ตัวโดยรอบโรงเรือนเพื่อถ่ายทอดภาพและไลฟ์ผ่านทางแฟนเพจ ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย จ.ลำปาง ด้านบริเวณโรงพยาบาลช้างภายในสถาบันคชบาลฯ ได้ปรับไถพื้นที่เตรียมโรงเรือนและคอกยืนสำหรับรองรับพลายศักดิ์สุรินทร์เมื่อพ้นระยะกักโรค พื้นที่กว้างประมาณ 8.12 เมตร และมีบ่อน้ำสำหรับให้ลงเล่นน้ำ

Live NBT2HD


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 343  เมื่อ 03 ก.ค. 23, 11:34

พ่อพลายดูมีความสุขมาก  หลังจากทนทุกข์ทรมานมาหลายปี
เห็นแล้วดีใจแทนพ่อพลาย    ขอขอบคุณคุณกาญจนาและทุกท่านในกุศลกรรมครั้งนี้ด้วยค่ะ

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 344  เมื่อ 03 ก.ค. 23, 14:35

พักผ่อนเถิดหนา ประชาจะดูแล


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 21 22 [23] 24
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.086 วินาที กับ 20 คำสั่ง