เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 6824 เรียนถามเรื่องหนังสือแพทย์เชลยศักดิ์
ธนพร
อสุรผัด
*
ตอบ: 8


 เมื่อ 21 ก.ค. 13, 23:09

เรียนอาจารย์เทาชมพูที่เคารพ
    อยากถามว่าอาจารย์มีตัวหนังสือ แพทยเชลยศักดิ์ ที่ลงภาพในกระทู้หนังสือพิมพ์เก่า เมื่อเดือน สค. 2012 หรือไม่ค่ะ
อยากทราบเนื้อหามาค่ะ
ธนพร
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 22 ก.ค. 13, 06:02

เล่มนี้กระมัง  ยิงฟันยิ้ม

หนังสือพิมพ์ฉบับนี้ใครรู้จักบ้างคะ
แพทย์เชลยศักดิ์ =  แพทย์เอกชน?


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 22 ก.ค. 13, 07:07

มีรายละเอียดเนื้อหาบางส่วนของหนังสือพิมพ์แพทย์เชลยศักดิ์มาแสดง เป็นหนังสือพิมพ์ปีที่ ๑ ฉบับที่ ๒ วันที่ ๒๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๓



คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 22 ก.ค. 13, 07:12

พระคัมภีร์ธาตุวิภังค์ จากพระคัมภีร์โบราณ  ยิงฟันยิ้ม




บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 22 ก.ค. 13, 07:48

นิยายกลหมากรุก  ยิงฟันยิ้ม


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 22 ก.ค. 13, 08:21

โฆษณายา  ขยิบตา


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 22 ก.ค. 13, 08:23

โฆษณาหนังสือ  ยิ้มกว้างๆ


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 22 ก.ค. 13, 08:28

หากคุณธนพรต้องการรายละเอียดเกี่ยวกับหนังสือเล่มนี้มากกกว่านี้ ติดต่อได้ที่ โรงเรียนคำสายทองวิทยา ถนนคำสายทองวิทยา ตำบลมุกดาหาร อำเภอเมืองมุกดาหาร  จังหวัดมุกดาหาร รหัสไปรษณีย์ ๔๙๐๐๐  



บันทึกการเข้า
ธนพร
อสุรผัด
*
ตอบ: 8


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 22 ก.ค. 13, 09:38

ขอบคุณมากค่ะ  ที่รร.นี้เขาทำอะไรเกี่ยวกับหนังสือหรือคะ  เขาเก็บไว้หรือเขา
มีเล่มอื่น  แล้วอาจารย์มีภาพถ่ายของหมอเชลยศักดิ์ไหมคะว่าเขาแต่งตัวกันอย่างไีร
ต่างกับหมอหลวงอย่างไร คือจะจัดนิทรรศการน่ะค่ะ
ธนพร
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 22 ก.ค. 13, 10:36

โรงเรียนมีหนังสือ           เพราะนั่นคือความรู้ไง
หามาแสดงไว้               เด็กผู้ใหญ่ได้อ่านกัน

หมอหลวงกับหมอราษฎร์ต่างกันอย่างไร คุณหนุ่มหามาให้ ดังนี้

    หมอหลวงและหมอเชลยศักดิ์ มีความแตกต่างกันดังนี้           

            หมอหลวง    คือหมอที่เชี่ยวชาญ เป็นพิเศษ รับราชการสังกัด อยู่ในกรม ราชแพทย์  จึงเป็นข้าราชการที่มีศักดินา  ได้รับพระราชทาน เบี้ยหวัด  เงินปี ทำหน้าที่รักษา พระมหากษัตริย์  บุคคลต่างๆ ในราชสำนัก  และรักษาตาม พระบรม ราชโองการ  ของกษัตริย์  การศึกษา ของหมอหลวง  จะเป็นระบบและน่าเชื่อถือ  ให้คุ้นเคย กับการรักษาพยาบาล  แล้วจะได้เลื่อน  ขึ้นเป็นผู้ช่วยแพทย์ ติดตามหมอหลวง ไปทำการรักษา จนมีความชำนาญในการตรวจ  ผสมยา เมื่อโตขึ้น ก็มีความรู้ พร้อมที่เข้า  รับราชการได้  เมื่อมีตำแหน่งว่าง ในกรมหมอหลวง  ก็จะ ได้รับการบรรจุเข้าทำงานทันที  หมอหลวง จะได้รับสิทธิพิเศษ เหนือ  กว่าหมอเชลยศักดิ์ หลายอย่าง เช่น  สามารถเก็บสมุนไพรตาม บ้านราษฎร หรือในที่ใดๆ ก็ได้  โดยมี กระบองแดง  เป็น สัญลักษณ์แสดง  ถ้าสมุนไพร ชนิดใดขาดแคลน  และหมอหลวงไม่สามารถ หาได้ในบริเวณ เมืองหลวง  ก็จะมี สารตราในนาม  เจ้าพระยาจักรี ออกไปยัง หัวเมือง ให้เก็บสมุนไพร ต่างๆ มายัง โรงพระโอสถ  ในด้านรายได้ของหมอหลวง  มักจะได้รับเงินเป็น  จำนวนมาก จากการรักษา  เจ้านาย หรือข้าราชการตาม พระบรมราชโองการ  ถึงแม้ว่า โดยธรรมเนียม ประเพณีแล้ว  หมอ หลวง  ที่พระมหากษัตริย์ พระราชทานไปรักษานั้น  จะไม่คิดค่ารักษาพยาบาล  แต่คนไข้ ก็มักจะ จ่ายให้หมอ เป็นการแสดงความขอบคุณ เสมอ

            หมอเชลยศักดิ์ ( หมอราษฎร์)     คือหมอที่ไม่ได้รับราชการ  ประกอบอาชีพ อิสระ ฝึกฝนเล่าเรียน จาก บรรพบุรุษ ที่เป็นหมอ อยู่ก่อน  หรือศึกษาจากตำราแล้วทดลองฝึก หัดจนมีความชำนาญ  เช่น หมอพื้นเมือง ทั่วไป  ซึ่งส่วนใหญ่ จะเป็นหมอ  ที่มีชื่อเสียง และมีลุกศิษย์ มาก ทั้งฆราวาส และพระสงฆ์  โดยทั่วไป หมอเชลยศักดิ์ มักจะเป็นผู้ชาย  ( ยกเว้นหมอตำแย  ซึ่งมัก  จะเป็นหญิง สูงอายุ )  ทำหน้าที่ทั้งหมอและ เภสัชกร  กล่าวคือ  เมื่อตรวจไข้และ วินิจฉัยโรคแล้ว  หมอคนเดียวกันนี้ จะทำการ ปรุงงยารักษาด้วย  โดยหมอจะมีล่วมยา 1 ใบ  ภายใน บรรจุซองยา สมุนไพร ชนิดต่างๆ  เมื่อตกลงจะรักษาคนไข้รายใด ก็ให้เจ้า  ของไข้ตั้งขวัญข้าว ซึ่งประกอบไปด้วย ข้าวสาร  กล้วย  หมากพลู  และเงินติดเทียน หกสลึง   สิ่งเหล่านี้เรียกว่า  ค่าขวัญข้าว  ใช้  สำหรับเป็นค่าบูชาครู แพทย์ ( ชีวกกุมารภัจจ์)  หมออาจจะให้เจ้าของไข้ เก็บ เครื่องยาสมุนไพร ส่วนเครื่องเทศ หมอเรียกร้องเงิน  ซื้อบ้าง  ถ้าไข้าไม่สำคัญ คนไข้หายเร็ว  เจ้าของไข้ก็ส่ง ขวัญข้าว ทั้งหมด ให้หมอ  และให้ค่ายา อีก 3 บาท  แต่ถ้าหมอรักษาไม่  หาย  หมอจะไม่ได้อะไรเลย  ไม่ว่าจะลงทุนไปแล้วเท่าไรก็ตาม  ในรายที่คนไข้มีฐานะดี  ผู้เป็นเจ้าของไข้เกรงว่า  หมอจะทำการ  ตรวจและรักษาไม่เต็มที่  ก็จะตั้งรางวัลไว้สูง  หากหมอคนใด รักษาหาย ได้ ก็จะ ได้รับรางวัล ที่ตั้งไว้  นอกจากนี้  ในกรณี ที่หมอ  มีชื่อเสียง  บางครั้ง อาจมีการเรียกเก็บเงินก่อน  ทำการรักษาพยาบาล  เรียกว่า  ค่าเปิดล่วมยา  หมอเชลยศักดิ์  มีรายได้จากค่า  ตอบแทนในการรรักษาพยาบาลเท่านั้น  ซึ่งแตกต่างกันไป แล้วแต่ละท้องถิ่น และไม่แน่เสมอไป ว่า จะได้เงิน  ในกฎหมายสมัย  ก่อน บัญญัติให้หมอ สามารถ เรียกสิ่งอื่น เป็นค่ารักษาได้นอกจากเงิน  ในกรณ๊  ที่ คนไข้ไม่มีเงิน  ดังนั้น  รายได้ของหมอเชลย  ศักดิ์  จึงไม่แน่นอน  มักจะประกอบอาชีพอื่นไปด้วย

            หมอเชลยศักดิ์ นี้มีโอกาส เลื่อนเป็นหมอหลวง ได้ ในกรณีที่แสดงความสามารถ เป็นที่พอ พระราชหฤทัย พระมหากษัตริย์  ก็จะโปรดๆ ให้เข้ารับราชการ ในกรมหมอหลวง หรือ มีโอกาศ เข้ารับราชการ เป็นหมอประจำเมือง  ในกรมหมอหลวง  ของเมือง ใหญ่ๆ เช่นเมือง  นครศรีธรรมราช  เป็นต้น  หมอเชลยศักดิ์ มีทั้งที่เป็ฆราวาส และพระสงฆ์

            ส่วนแพทย์ ที่ไม่ได้รับการแยกประเภท อย่างเป็นทางการ  แต่เป็นที่รู้จักแพร่หลาย ในชนบท อีก 2 ประเภท คือ หมอ กลางบ้าน และหมอพระ  โดย หมอกลางบ้าน  เป็นหมอที่มีความรู้  และทางยา พอใช้ได้  สามารถรักษาโรคภัยไข้เจ็บพื้นๆ ได้  อย่างดี  ปัจจุบัน อาจเทียบได้กับหมอประจำตำบล  ส่วนหมอพระ หรือหมอวัด  ซึ่งสังคมปัจจะบัน มองข้ามบทบาท  และความ  สำตัญ  หมอเป็นพระ ที่มีความรู้ทางแพทย์แผนไทยย พอสมควร  มีความเมตตา  และไม่ประสงค์ สินจ้าง ยาที่ใช้มาก  เช่น  ยาเขียว  ยาลม  ยาธาตุ  ๆ  เป็นต้น

เรื่องหมอ ๆ ของไทย หาอ่านเพิ่มเติมได้ที่

http://www.school.net.th/schoolnet/article/read.php?article_id=536

บันทึกการเข้า
ธนพร
อสุรผัด
*
ตอบ: 8


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 22 ก.ค. 13, 12:59

อ้อ เห็นแล้่วค่ะ มีหน้าอื่นด้วย
ธนพร
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.039 วินาที กับ 19 คำสั่ง