บางความเห็นจากสำนวน "ไม่ฟังอีร้าค่าอีรม"
ในสมัยหนึ่งของไทย ศัพท์ที่มีคำว่า "อี" นำหน้า ไม่ว่าจะด้วยความหมายดั้งเดิมใดๆก็ตาม ถูกตัดสินว่าหยาบคาย ไม่เหมาะสม ต้องเปลี่ยนเป็น"นาง "
หอยอีรม จึงกลายเป็นหอยนางรม อีเลิ้ง (เป็นชื่อตุ่มชนิดหนึ่ง) กลายเป็นนางเลิ้ง ด้วยประการฉะนี้
เป็นที่น่าสังเกตคนไทยดูจะนิยมเรียกชื่อสัตว์, สิ่งของเครื่องใช้, การละเล่น, โรคภัยไข้เจ็บ เป็นเพศหญิง นอกจาก นกอีร้า และ หอยอีรม ก็มีอีกหลายชื่อ
นก - อีแอ่น, อีกา, อีก๋อย, อีโก้ง, อีแร้ง, อีลุ้ม
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม - อีเก้ง, อีเห็น
สิ่งของเครื่องใช้- อีจู้, อีโต้, อีแปะ, อีโปง, อีเลิ้ง
การละเล่น - อีตัก, อีคว่ำอีหงาย
โรคภัยไข้เจ็บ - อีสุกอีใส, อีดำอีแดง
คำเหล่านี้ถูกตัดสินว่าไม่สุภาพเพราะมีคำว่า "อี" นำหน้า การปรับปรุงคำมีอยู่ ๒ วิธีคือไม่เอาคำว่า "อี" ออก ก็เปลี่ยน "อี" เป็น "นาง" แต่อย่างไรก็ตามหลายคำก็ยังใช้ "อี" นำหน้าอยู่ และเริ่มมีคำใหม่ ๆ ที่ใช้ "อี" เช่น อีแต๋น
ปัจจุบันมีการนำเข้า "E" จากเมืองนอกเข้ามา คำไทยหลายคำจึงเริ่มมี "อี" นำเข้า นับตั้งแต่ "อีหรอบ" จนถึง "อีมู และ "อีเมล"
สองคำหลังถ้าเปลี่ยนเป็น "นางมู" และ "นางเมล" คงฟังตลกดี
แหะ แหะ
คู่กับ "อี" คือ "ไอ้"
ในขณะที่เราใช้ "อี" นำหน้าชื่อจริงของสัตว์ สำหรับ "ไอ้" มักใช้นำหน้าชื่อเรียกเล่น ๆ ของสัตว์ เช่น ไอ้จ๋อ, ไอ้ตูบ, ไอ้เข้, ไอ้ทุย
