เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3
  พิมพ์  
อ่าน: 33798 การแ่ต่งกายสมัยสมเด็จพระนารายณ์
samun007
องคต
*****
ตอบ: 446


ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 09 ก.ค. 13, 06:47



ขอบคุณครับ เป็นข้อมูลที่หาอ่านยากครับ เขียนได้ทุกมุมเลย

สมัยนี้ไม่ยากแล้วครับ มีสำนักพิมพ์ซื้อลิขสิทธิ์มาพิมพ์ขายใหม่แล้ว ลองเดินหาดูตามงานหนังสือได้เลยครับ ทั้งของ ลาลูแบร์ และ เยเรเมียส ฟาน ฟลีท
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 09 ก.ค. 13, 06:56

จดหมายเหตุลาลูแบร์ ฉบับแปลล่าสุด   ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 09 ก.ค. 13, 08:34

คณะทูตสยามยังเคยได้ไปเข้าเฝ้าสมเด็จพระสันตะปาปามาแล้วอีกด้วย โดยคณะทูตสยาม นำโดยออกขุนชำนาญใจจง และหลวงพ่อกีย์ ตาชารด์ ได้เข้าเฝ้าสมเด็จพระสันตะปาปาอินโนเซนต์ที่ 11 ในวันที่ 23 ธันวาคม 1688 เหตุการณ์ดังกล่าวยังได้ถูกบันทึกไว้เป็นรูปภาพโดย คาร์โล มารัตตา จิตรกรที่มีชื่อเสียงในสมัยนั้น



ใครเอ่ย ?

ขุนนางสมัยอยุธยา แต่หน้าตาและทรงผมทันสมัยเชียว


 ยิงฟันยิ้ม




ยังมีขุนนางอยุธยาอีก ๒ ท่านร่วมคณะในภารกิจเดียวกัน

ทรงผมเดียวกัน

ใครเอ่ย ?



ออกขุนชำนาญใจจงในปี ค.ศ. 1689 วาดโดย คาร์โล มารัตตา ครับ  ยิ้มเท่ห์ เคยอ่านประวัติท่านเป็นทูตไปยังฝรั่งเศส แต่เรือเกิดอับปางแถวแหลมกู๊ดโฮป ท่านหมดตัวไม่มีอะไรจะกิน ต้องเอารองเท้าหนังมาปิ้งไฟกิน และได้เห็นคนป่าเปลือยกาย ซึ่งก็คือ ชาวอัฟริกา ครับ

ดังนั้นภาพทูตอีก ๒ ท่านที่คุณเพ็ญชมพูยกมา คงหมายถึง "ออกขุนชำนาญใจจงยังได้เป็นสมาชิกคณะผู้แทนอันประกอบด้วยข้าราชการสามคนที่ถูกส่งไปเข้าเฝ้าพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ ในฝรั่งเศส และสมเด็จพระสันตะปาปาอินโนเซนต์ที่ ๑๑ ในโรม ตรงกับรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชในปี ค.ศ. 1688 ทูตอีกสองคนในคณะประกอบด้วยออกขุนวิเศษภูบาลและออกหมื่นพิพิธราชา"

มีเหรียญที่ระลึกในเหตุการณ์ครั้งนี้ด้วย



คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 09 ก.ค. 13, 08:39

ขุนนางอยุธยา สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช นุ่งผ้าลาย คาดผ้า พกดาบ เสื้อแขนกระบอกคอจีน สวมลอมพอก ผมสั้น ดูทะมัดทะแมงดี

ทำให้นึกถึงสิ่งที่คุณเพ็ญชมพู สงสัยเรื่องทูตไปฝรั่งเศส ๓ ท่าน "ออกขุนชำนาญใจจง" คงเดินทางนานกว่า ๖ เดือนผมจึงยาวมากเช่นนี้




มาต่อกันที่จิตรกรรมลายรดน้ำ สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช บรรกาศบ้านไทย คนหนุ่มไว้ผมหลักแจว ส่วนฝ่ายหญิงก็โกนผมรอบหัวสั้นเหมือนกัน บนคงไว้ทรงดอกกระทุ่ม ส่วนเด็กเล็กๆ เห็นไว้แกละสองข้าง จัดถักเป็นเปีย ส่วนเด็กโตตามหน้าต่างไว้จุกกลางศีรษะเรียบร้อย ปักด้วยปิ่นปักผม และอีกคนเป็นดอกไม้รัดจุกไว้

ส่วนชายชราด้านล่างมุมภาพ ก็ไม่ตัดสั้น แต่หวีผมเสยไปรวมไว้หลังศีรษะ



บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 09 ก.ค. 13, 09:51

เขาเดินเรือรอนแรมกว่าปี ผมย่อมยาว เป็นลอนได้สบาย ๆ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 09 ก.ค. 13, 14:41

ชุดราชทูตแต่งเต็มยศเข้าเฝ้า อีกรูปหนึ่ง


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 09 ก.ค. 13, 15:33

^
คณะราชทูตนำโดยออกพระวิสูตรสุนทร (โกษาปาน) เข้าเฝ้าเพื่อถวายพระราชสาส์นพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ ที่ห้องกระจก พระราชวังแวร์ซายส์ วันที่ ๑ กันยายน พ.ศ. ๒๒๒๙

ชุดที่โกษาปานแต่งเป็นเครื่องแบบเต็มยศของข้าราชการสมัยอยุธยาค่ะ  ส่วนที่สวมบนศีรษะเรียกว่าลอมพอก
ข้าราชการรัตนโกสินทร์ยังคงรับสืบทอดมา ตรงเสื้อผ้าโปร่งสวมทับ ที่เราเรียกว่าเสื้อครุย  แต่ไม่สวมลอมพอกแล้ว



คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 09 ก.ค. 13, 15:58

ครั้งนี้ก็มีเหรียญที่ระลึกเช่นกัน   ยิงฟันยิ้ม


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 12 ก.ค. 13, 13:44

ขบวนแห่พระราชสาส์นของคณะราชทูตสยาม ฉากหลังคือพระราชวังแวร์ซายส์  ยิงฟันยิ้ม


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 12 ก.ค. 13, 13:54

คณะราชทูตที่โรงละครในปารีส  วาดโดย Jacques Vigouroux Duplessis  ยิ้มกว้างๆ


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 12 ก.ค. 13, 19:22

ในภาพข้างบน ดูหน้าไม่ค่อยเหมือนตัวจริง

ซ้าย - ออกพระวิสูตรสุนทร ราชทูต  กลาง - ออกหลวงกัลยาราชไมตรี อุปทูต  ขวา - ออกขุนศรีวิสารวาจา ตรีทูต



คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 12 ก.ค. 13, 19:45

เสื้อครุยของออกพระวิสูตรสุนทร (โกษาปาน) อาจได้รับอิทธิพลจากเปอร์เซีย   ยิ้มเท่ห์


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 12 ก.ค. 13, 21:00

อีกชุดหนึ่งของโกษาปาน  ยิ้มกว้างๆ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
คริสต์ศตวรรษที่ 17
อสุรผัด
*
ตอบ: 17



ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 13 ก.ค. 13, 14:17

คุณเพ็ญชมพูโพสได้ยอดเยียมเลยครับ ได้ข้อมูลเยอะมาก  ยิ้ม
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 13 ก.ค. 13, 16:16

ขอน้อมรับคำชมด้วยความยินดี   ยิ้มเท่ห์

สิ่งที่เห็นเด่นชัดในเครื่องแต่งกายของขุนนางสยามสมัยสมเด็จพระนารยณ์คือ "ลอมพอก" ได้แบบมาจาจากเปอร์เซียเช่นดียวกับเสื้อครุย

ลาลูแบร์บันทึกไว้ว่า

เครื่องสวมศีรษะสีขาวทรงสูงแลปลายแหลมดังที่เราเคยเห็นเอกอัครราชทูตแห่งพระเจ้ากรุงสยามสวมนั้น เป็นศิราภรณ์สำหรับใช้ในงานพระราชพิธี ซึ่งองค์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและขุนนางของพระองค์ก็ทรงแต่งและแต่งเหมือน ๆ กัน ต่างแต่ว่าพระลอมพอกของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนั้นประดับขอบหรือเสวียนเกล้าด้วยพระมหามงกุฎเพชรรัตน์ ส่วนของพวกขุนนางนั้นประดับเสวียนทองคำ, เงิน หรือกาไหล่ทองมากน้อยตามยศ ลางคนก็ไม่มีเสวียนเลย. พวกขุนนางจะใช้ลอมพอกนี้ชั่วเวลาเข้าเฝ้าพระมหากษัตริย์หรือเพลาประชุมคณะขุนศาลตุลาการหรือในพิธีลางอย่างเท่าน้้น. เขาใช้แถบผูกโยงยึดเข้าไว้ใต้คาง และเมื่อแสดงการเคารพก็มิได้ถอดออก.

จาก จดหมายเหตุลาลูแบร์ แปลโดย คุณสันต์ ท. โกมลบุตร



บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.076 วินาที กับ 20 คำสั่ง