เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 [3]
  พิมพ์  
อ่าน: 33744 การแ่ต่งกายสมัยสมเด็จพระนารายณ์
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 30  เมื่อ 13 ก.ค. 13, 16:24

ขอให้สังเกต ลอมพอกของออกขุนศรีวิสารวาจา (ขวาสุด) ประดับเสวียนแตกต่างจากลอมพอกของออกพระวิสูตรสุนทรและออกหลวงกัลยาณราชไมตรี (สองท่านทางซ้ายมือ) ยิงฟันยิ้ม



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 13 ก.ค. 13, 20:38 โดย เทาชมพู » บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 31  เมื่อ 13 ก.ค. 13, 17:18

ลายผ้าของโกษาปาน และกระดุมดุนนูนลายจักร


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 13 ก.ค. 13, 20:41 โดย เทาชมพู » บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 32  เมื่อ 13 ก.ค. 13, 19:23

เดอ วีเซ เล่าถึงการแต่งตัวของคณะราชทูตเมื่อเข้าเฝ้าพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ ว่า

ราชทูตชมตึกพลาง คุยพลางดังนี้เป็นครู่ใหญ่ ๆ ก็พอดีรถ มาถึงพระที่นั่งแวร์ซายส์ ราชทูตลงจากรถหลวงแล้วเจ้าพนักงาน ก็พาให้ไปพักคอยอยู่ที่ห้องแห่งหนึ่ง ท่านราชทูตจึงได้จัดแจงแต่งตัวสำหรับราชทูตอย่างเต็มยศ ตามธรรมเนียมของบ้านเมืองไทย คือสวมเสื้อเยียระบับมีกลีบทอง และดอกไม้ทองและสวมเสื้อครุย ซึ่งดูเป็นของแปลกสำหรับนัยน์ตาเราชาวฝรั่งเศส เพราะผิดแบบของราชทูตเมืองอื่นเป็นอันมาก. สิ่งสำคัญซึ่งทำให้ดูราชทูตไทย ผิดกว่าราชทูตเมืองอื่นมากนั้น ก็คือหมวก หมวกไทยนั้นเป็นหมวกมียอดแหลมซึ่งเขาเรียกว่า กะลอมพอก สูงกว่าหมวกเราเป็นไหน ๆ เรียวขึ้นไปเป็นชั้น ๆ สัณฐานคล้ายกับมงกุฎ แต่ละชั้นล้วนประดับด้วยเครื่องเงินทองเพ็ชรพลอยและนิลจินดาเป็นอย่างหนึ่ง ๆ และชั้นต่อ ๆ ไปก็ประดับด้วยวิธีอื่นอีก ดูแปลกเข้าทีมาก. พอราชทูตสวมกะลอมพอกและเครื่องยศเต็มตามตำแหน่งแล้ว ก็พอดีถึงเวลากำหนดที่จะเข้าเฝ้า มีเจ้าพนักงานกรมพระราชพิธี มาอัญเชิญราชทูตว่า :- " ขอเรียนเจ้าคุณได้ทราบว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะเสด็จออกขุนนางในท้องพระโรงใหญ่เวลานี้ ถึงเวลาที่เจ้าคุณจะเจ้าเฝ้าได้แล้ว ขอเชิญเจ้าคุณตามข้าพเจ้ามาเถิด ข้าพเจ้าจะพาไป." ทันใดนั้น ก็ได้ตั้งกระบวนแห่สำหรับจะนำพระราชสาสน์เข้าไปถวาย มีทหารสวิสอาสากองรักษาพระองค์ ๑๒ คนเดิรกำกับพระราชสาสน์อย่างกวดขัน พระราชสาสน์นั้นมีพระกลด คือร่มขาวซึ่งไทยเรียกเศวตฉัตรเป็นเครื่องกั้นอีก ๔ คัน สำหรับแสดงพระเกียรติยศของพระเจ้าแผ่นดินสยาม นอกนั้นที่เชิงบันไดใหญ่ยังได้มีทหารกรมมหรศพอีกเป็นหลายกอง คือทหารตีกลอง ๓๖ คน ทหารแตรเดี่ยว ๒๔ คน เมื่อริ้วกระบวนแห่เดิรเข้ามาถึง ต่างก็เป่าแตรและตีกลองรับ พอขบวนเดิรขึ้นสุดคั่นบันไดแล้ว ก็ถึงพื้นท้องพระโรงที่จะเฝ้าทีเดียว กระบวนแห่ก็หยุด ท่านอัครราชทูตจึงเดิรไปรับเอาพระราชสาสน์จากแท่นที่แห่มานั้น แล้วท่านก็ให้ตรีทูตอัญเชิญด้วยมือของตนเอง จนถึงหน้าพระที่นั่งต่อไป.

จาก หนังสือพระยาโกศาปานไปฝรั่งเศส แปลจาก Voyage des ambassadeurs de Siam en France 1686 ของ Jean Donneau de Visé  โดย เจษฎาจารย์ ฟ.ฮีแลร์



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 13 ก.ค. 13, 20:40 โดย เทาชมพู » บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 33  เมื่อ 13 ก.ค. 13, 20:44

ขออนุญาตลดขนาดรูปประกอบลงนะคะ     มันใหญ่เกินไป  กินเนื้อที่ของเว็บบอร์ดมากค่ะ
บันทึกการเข้า
คริสต์ศตวรรษที่ 17
อสุรผัด
*
ตอบ: 17



ความคิดเห็นที่ 34  เมื่อ 14 ก.ค. 13, 23:29

เดอ วีเซ เล่าถึงการแต่งตัวของคณะราชทูตเมื่อเข้าเฝ้าพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ ว่า

ราชทูตชมตึกพลาง คุยพลางดังนี้เป็นครู่ใหญ่ ๆ ก็พอดีรถ มาถึงพระที่นั่งแวร์ซายส์ ราชทูตลงจากรถหลวงแล้วเจ้าพนักงาน ก็พาให้ไปพักคอยอยู่ที่ห้องแห่งหนึ่ง ท่านราชทูตจึงได้จัดแจงแต่งตัวสำหรับราชทูตอย่างเต็มยศ ตามธรรมเนียมของบ้านเมืองไทย คือสวมเสื้อเยียระบับมีกลีบทอง และดอกไม้ทองและสวมเสื้อครุย ซึ่งดูเป็นของแปลกสำหรับนัยน์ตาเราชาวฝรั่งเศส เพราะผิดแบบของราชทูตเมืองอื่นเป็นอันมาก. สิ่งสำคัญซึ่งทำให้ดูราชทูตไทย ผิดกว่าราชทูตเมืองอื่นมากนั้น ก็คือหมวก หมวกไทยนั้นเป็นหมวกมียอดแหลมซึ่งเขาเรียกว่า กะลอมพอก สูงกว่าหมวกเราเป็นไหน ๆ เรียวขึ้นไปเป็นชั้น ๆ สัณฐานคล้ายกับมงกุฎ แต่ละชั้นล้วนประดับด้วยเครื่องเงินทองเพ็ชรพลอยและนิลจินดาเป็นอย่างหนึ่ง ๆ และชั้นต่อ ๆ ไปก็ประดับด้วยวิธีอื่นอีก ดูแปลกเข้าทีมาก. พอราชทูตสวมกะลอมพอกและเครื่องยศเต็มตามตำแหน่งแล้ว ก็พอดีถึงเวลากำหนดที่จะเข้าเฝ้า มีเจ้าพนักงานกรมพระราชพิธี มาอัญเชิญราชทูตว่า :- " ขอเรียนเจ้าคุณได้ทราบว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะเสด็จออกขุนนางในท้องพระโรงใหญ่เวลานี้ ถึงเวลาที่เจ้าคุณจะเจ้าเฝ้าได้แล้ว ขอเชิญเจ้าคุณตามข้าพเจ้ามาเถิด ข้าพเจ้าจะพาไป." ทันใดนั้น ก็ได้ตั้งกระบวนแห่สำหรับจะนำพระราชสาสน์เข้าไปถวาย มีทหารสวิสอาสากองรักษาพระองค์ ๑๒ คนเดิรกำกับพระราชสาสน์อย่างกวดขัน พระราชสาสน์นั้นมีพระกลด คือร่มขาวซึ่งไทยเรียกเศวตฉัตรเป็นเครื่องกั้นอีก ๔ คัน สำหรับแสดงพระเกียรติยศของพระเจ้าแผ่นดินสยาม นอกนั้นที่เชิงบันไดใหญ่ยังได้มีทหารกรมมหรศพอีกเป็นหลายกอง คือทหารตีกลอง ๓๖ คน ทหารแตรเดี่ยว ๒๔ คน เมื่อริ้วกระบวนแห่เดิรเข้ามาถึง ต่างก็เป่าแตรและตีกลองรับ พอขบวนเดิรขึ้นสุดคั่นบันไดแล้ว ก็ถึงพื้นท้องพระโรงที่จะเฝ้าทีเดียว กระบวนแห่ก็หยุด ท่านอัครราชทูตจึงเดิรไปรับเอาพระราชสาสน์จากแท่นที่แห่มานั้น แล้วท่านก็ให้ตรีทูตอัญเชิญด้วยมือของตนเอง จนถึงหน้าพระที่นั่งต่อไป.

จาก หนังสือพระยาโกศาปานไปฝรั่งเศส แปลจาก Voyage des ambassadeurs de Siam en France 1686 ของ Jean Donneau de Visé  โดย เจษฎาจารย์ ฟ.ฮีแลร์



เยี่ยมมากเลยครับ งานหนังสือปีนี้จะลองหาดูสักเล่มเผื่อมี
บันทึกการเข้า
คริสต์ศตวรรษที่ 17
อสุรผัด
*
ตอบ: 17



ความคิดเห็นที่ 35  เมื่อ 15 ก.ค. 13, 17:17


สยามในภาพนี้ใส่ถุงเท้ายาวคล้ายฝรั่ง



ภาพฝรั่งเข้าเฝ้าสมเด็ดพระนารายณ์ฉบับขยายครับ
บันทึกการเข้า
คริสต์ศตวรรษที่ 17
อสุรผัด
*
ตอบ: 17



ความคิดเห็นที่ 36  เมื่อ 15 ก.ค. 13, 17:23



ภาพเข้าเฝ้าพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 อีกภาพครับ
บันทึกการเข้า
คริสต์ศตวรรษที่ 17
อสุรผัด
*
ตอบ: 17



ความคิดเห็นที่ 37  เมื่อ 15 ก.ค. 13, 17:27

ส่งลิงค์มาแล้วรูปใหญ่เกินไปครับ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 38  เมื่อ 15 ก.ค. 13, 17:49


สยามในภาพนี้ใส่ถุงเท้ายาวคล้ายฝรั่ง

เป็นภาพของ เชอวาเลีย เดอ ฟอร์บัง ในเครื่องแต่งกายแบบขุนนางสยาม ที่ตำแหน่ง "ออกพระศักดิ์สงคราม"



บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 39  เมื่อ 15 ก.ค. 13, 21:43

เดอ ฟอร์บัง ได้บรรยายเหตุการณ์เมื่อ เชอวาเลีย เดอ โชมองต์ ราชทูตของพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ เข้าเฝ้าสมเด็จพระนารายณ์มหาราชเพื่อถวายพระราชสาส์น ไว้ในบันทึก ดังนี้

เมื่อได้ผ่านพระลานไปอีกหลายพระลานแล้ว เราได้มาถึงพระที่นั่งที่เสด็จออกขุนนาง เป็นรูปยาวรีสี่เหลี่ยม มีอัฒจันทร์ขึ้นไปเจ็ดหรือแปดขั้น ท่านราชทูตนั่งบนเก้าอี้ ถือพานพระราชสาส์น ท่านเจ้าวัดเดอะชัวสีนั่งอยู่ข้างขวาบนตั่งต่ำกว่าเก้าอี้ เจ้าคณะเดอะเมเตลโลโปลิสนั่งอยู่ข้างซ้ายบนพรมผืนเล็กที่ปูทัพรมที่ลาดพื้นพระที่นั่ง พรมผืนเล็กนั้น จัดไว้เฉพาะเจ้าคณะเดอะเมเตลโลโปลิส และสะอาดกว่าพรมผืนใหญ่ ขุนนางฝรั่งเศสที่มาในคณะทูตนั่งขัดสมาธิบนพื้น เจ้าพนักงานได้แนะนำเราว่าให้ระวังอย่าให้เท้ายื่นออกมา ถ้าเหยียดเท้าออกมาแล้วนับว่า เป็นการหยาบช้ามาก ท่านราชทูต ท่านเจ้าวัดเดอะชัวสีและเจ้าคณะเดอะเมเตลโลโปลิสนั่งแถวเดียวกัน หันหน้าไปทางพระราชบัลลังก์ พวกเราชาวฝรั่งเศสนั่งอยู่ข้างหลังเรียงกันเป็นแถวเหมือนกัน ทางซ้ายขุนนางผู้ใหญ่นั่งเรียงตามลำดับยศฐานันดรศักดิ์ ตลอดไปจนจดพระทวารพระที่นั่ง เมื่อทุกคนเข้านั่งดังนี้แล้ว เราได้ยินเสียงกลองใหญ่ดังขึ้นหนึ่งที บรรดาขุนนางไทยซึ่งมีเครื่องแต่งกาย คือ นุ่งผ้าพื้นคลุมตั้งแต่สะเอวลงไปครึ่งน่อง ใส่เสื้อมัสลินแขนสั้น และสวมลอมพอกขาว ได้ยินอาณัติสัญญาณนั้นแล้ว หมอบลงราบหัวเข่าและข้อศอกยันกับพื้น ที่ขุนนางไทยหมอบลงเป็นแถว เสียงกลองที่ดังขึ้นทีหนึ่งนั้นได้ดังขึ้นอีกหลายที เว้นเป็นระยะ ๆ ไป

พอถึงทีที่หก พระนารายณ์มหาราชทรงเผยพระบัญชรเสด็จออกให้เราเฝ้า พระมหากษัตริย์พระองค์นี้ทรงพระมาลายอดแหลม คล้ายกันกับหมวกยอดที่เราเคยใช้กันมาในประเทศฝรั่งเศสในกาลก่อน แต่ริมไม่กว้างกว่าหนึ่งนิ้ว พระมาลานั้นมีสายรัดทำด้วยไหมทาบใต้พระหนุ ทรงฉลองพระองค์เยียรบับสีเพลิงสลับทอง สอดพระแสงกริชไว้ที่รัด พิตรอันวิจิตรงดงาม และทรงพระธำมรงค์อันมีค่าทุกนิ้วพระหัตถ์ พระเจ้าแผ่นดินไทยพระองค์นี้ทรงมีพระชนมายุราวห้าสิบพรรษา ซูบพระองค์มาก พระสรีระรูปแบบบาง ไม่ทรงไว้พระทาฐิกะ ที่เบื้องซ้ายพระหนุมีพระคินถิเม็ดใหญ่ ซึ่งมีพระโลมาสองเส้นห้อยลงมายาว เมื่อท่านราชทูตก้มศีรษะลงถวายอภิวาทแล้ว ก็กล่าวคำกราบบังคมทูลพระกรุณา เจ้าพระยาวิชเยนทร์มีหน้าที่เป็นล่าม เสร็จแล้วท่านราชทูตเดินเข้าไปจนใกล้สีหบัญชรและยื่นพระราชสาส์นขึ้นไปเพื่อทรงรับพระราชสาส์น พระนารายณ์มหาราชต้องทรงเอื้อมพระหัตถ์ ก้มพระองค์ออกมานอกสีหบัญชรเกือบครึ่งพระองค์ ที่ท่านราชทูตถวายพระราชสาส์นต่อพระหัตถ์เช่นนั้น คงแกล้งทำด้วยความตั้งไจ หรือเห็นว่าคันทองที่จะทูนพานพระราชสาส์นขึ้นไปนั้นยาวไม่พอ พระนารายณ์มหาราชได้ทรงมีพระราชปฏิสันถารกับท่านราชทูตพอเป็นสังเขป ตรัสถามว่าพระเจ้าอยู่หัวของเราทรงพระราชสำราญดีอยู่หรือ พระราชวงศ์ทรงมีความสุขสบายดีหรือ และประเทศฝรั่งเศสมีความวัฒนาถาวรเพียงไร ในที่สุดเสียงกลองใหญ่ดังขึ้นอีกทีหนึ่ง พระนารายณ์มหาราชเสด็จขึ้นข้างไน และขุนนางไทยลุกขึ้นนั่ง

จาก จดหมายเหตุฟอร์บัง แปลโดย หม่อมเจ้าดำรัสดำรง เทวกุล (โดยแก้ไขการสะกดคำให้เป็นปัจจุบัน)



บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 40  เมื่อ 16 ก.ค. 13, 12:56

เสร็จแล้วท่านราชทูตเดินเข้าไปจนใกล้สีหบัญชรและยื่นพระราชสาส์นขึ้นไปเพื่อทรงรับพระราชสาส์น พระนารายณ์มหาราชต้องทรงเอื้อมพระหัตถ์ ก้มพระองค์ออกมานอกสีหบัญชรเกือบครึ่งพระองค์ ที่ท่านราชทูตถวายพระราชสาส์นต่อพระหัตถ์เช่นนั้น คงแกล้งทำด้วยความตั้งไจ หรือเห็นว่าคันทองที่จะทูนพานพระราชสาส์นขึ้นไปนั้นยาวไม่พอ

เรื่องความไม่ตรงไปตรงมาของเดอ โชมองต์ที่เหมือนตั้งใจให้สมเด็จพระนารายณ์ต้องทรงก้มพระองค์มารับพระราชสาส์นนี้ นอกจากเดอ ฟอร์บังจะสังเกตและวิจารณ์แล้ว บาทหลวงตาชารด์ ก็สังเกตเห็นและวิจารณ์ว่า

พระเจ้าแผ่นดินสยามประทับ ณ สีหบัญชรที่สูงมาก การจะยื่นพระราชสาสน์ถวายให้ถึงพระองค์ท่านนั้น จำเป็นต้องจับคันพานที่ปลายด้าม และชูแขนขึ้นสูงมาก ซึ่งเมื่อพิจารณาเห็นว่าการถวายพระราชสาสน์ในระยะห่างมากนั้น เป็นการไม่สมเกียรติ โดยควรที่จะถวายให้ใกล้พระองค์มากที่สุด ราชทูตจึงจับพานที่ตอนบน และยื่นขึ้นไปเพียงครึ่งแขนแค่นั้น พระเจ้าแผ่นดินสยามทรงทราบความประสงค์ ว่าเหตุใดราชทูตจึงกระทำเช่นนั้น จึงทรงลุกขึ้นยืนพร้อมกับแย้มพระสรวล และทรงก้มพระองค์ออกมานอกสีหบัญชร เพื่อรับพระราชสาสน์ตรงกึ่งกลางทาง แล้วทรงนำพระราชสาสน์นั้นจบเหนือเศียรเกล้า อันเป็นการถวายพระเกียรติให้เป็นพิเศษ

จาก จดหมายเหตุการเดินทางสู่ประเทศสยามของบาทหลวงตาชาร์ด แปลโดย คุณสันต์ ท. โกมลบุตร

โปรดสังเกตเพิ่มเติมว่า เจ้าพระยาวิชเยนทร์ที่หมอบอยู่ทางซ้ายของภาพ ทำมือเหมือนบอกเดอ โชมองต์ว่า "ยกสูง ๆ หน่อย"





บันทึกการเข้า
คริสต์ศตวรรษที่ 17
อสุรผัด
*
ตอบ: 17



ความคิดเห็นที่ 41  เมื่อ 16 ก.ค. 13, 17:07

ยอดเยี่ยมเลยครับ  ยิ้ม ได้ความรู้เยอะเลย
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 42  เมื่อ 16 ก.ค. 13, 21:19

เดอ โชมองต์เองได้เขียนบันทึกถึงเหตุการณ์ตอนนี้ไว้ว่า

บรรดาขุนนางได้เข้าไปในท้องพระโรงอยู่ตามตำแหน่งก่อน พระเจ้าแผ่นดินสยามเสด็จออกบนพระที่นั่งโธรน แลเมื่อข้าพเจ้าได้เข้าไปนั้น เจ้าพระยาวิชาเยนทราธิบดีพระคลังเสนาบดีได้เข้าไปกับข้าพเจ้า แลบาดหลวงเแอปเบเดอชวยซีนั้นเชิญพระราชสาส์น ข้าพเจ้ามีความแปลกใจที่ได้เห็นพระเจ้าแผ่นดินสยามประทับอยู่บนพระที่นั่งยกชั้นสูง ด้วยเจ้าพระยาวิชาเยนทราธิบดีได้สัญญายอมไว้กับข้าพเจ้า ว่าพระเจ้าแผ่นดินสยามจะเสด็จออกบนพระที่นั่งที่ยกชั้นมิให้สูงกว่าชั่วสูงของคน แลพระราชสาส์นนั้นควรจะได้ถวายต่อพระหัตถ์ เหตุดังนี้ข้าพเจ้าจึงได้ว่ากับบาดหลวงแอปเบเดอชวยซีว่าคำที่สัญญาให้ข้าพเจ้า นั้นได้ลืมเสียแล้ว แต่ข้าพเจ้าคงจะตั้งใจโดยแท้ที่จะถวายพระราชสาส์นกับด้วยมือของข้าพเจ้าเอง พานทองซึ่งใส่พระราชสาส์นนั้น มีที่จับใหญ่ยาวกว่า ๓ ฟิต ด้วยเขาคิดว่าข้าพเจ้าจะจับปลายที่มือจับยกพานชูขึ้นไปให้สูงถึงพระที่นั่ง แต่ข้าพเจ้าได้ตั้งใจในทันทีนั้นจะถวายพระราชสาส์นต่อพระหัตถ์เอง จึงได้ถือพานทองนั้นในมือข้าพเจ้า ครั้นได้มาถึงพระทวาร ข้าพเจ้าก้มศีศะถวายคำนับที ๑ แล้วเดินไปได้ครึ่งทางที่ในท้องพระโรง จึงได้ถวายคำนับอิกครั้งหนึ่ง แล้วเดินไปที่ใกล้ ที่ข้าพเจ้าจะนั่งนั้น ข้าพเจ้าได้พูดแอดเดรศถวายสองสามคำแล้ว ข้าพเจ้า ใส่หมวกแล้วจึงนั่งลงเฝ้าแลคอยฟังทรงปราไส แลทูลตอบในคำสปิชนั้น.....

คำสปิชนี้ เจ้าพระยาวิชาเยนทราธิบดีแปลถวายแล้ว ข้าพเจ้าได้ทูลพระเจ้าแผ่นดินสยามว่า พระเจ้าแผ่นดินซึ่งเปนเจ้าของข้าพเจ้าได้โปรดให้บาดหลวง แอปเบเดอ ชวยซี. มาด้วยกับข้าพเจ้ากับผู้ดีด้วย ๑๒ นาย แล้วข้าพเจ้าทูลถวายตัวเขาทั้งนั้น ข้าพเจ้าได้เชิญพระราชสาส์นจากมือบาดหลวงแอปเบเดอ ชวยซี คิดจะถวายดังเช่นข้าพเจ้าได้พูดตกลงไว้ เจ้าพระยาวิชาเยนทราธิบดีซึ่งไปเฝ้าด้วยข้าพเจ้าคลานเข้าไปด้วยมือกับเข่า เรียกข้าพเจ้าแล้วบุ้ยชี้ให้ข้าพเจ้ายกแขนเชิญพระราชสาส์นขึ้นให้ถึงพระเจ้าแผ่นดิน แต่ข้าพเจ้าทำเปนไม่ได้ยินนิ่งเสีย อยู่ทีหลังพระเจ้าแผ่นดินทรงพระสรวล แลทรงลุกขึ้นก้มพระองค์ลงมารับพระราชสาส์นที่อยู่บนพานทอง แล้วก็ทรงประทับอิงให้เห็นทั่วทั้งพระองค์ เมื่อทรงหยิบพระราชสาส์นแล้ว ข้าพเจ้าก้มศีศะลงถวายคำนับอย่างต่ำ แล้วกลับมายังที่นั่ง


จาก จดหมายเหตุทูตฝรั่งเศสและโปรตุเกตเข้ามาเมืองไทยในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช  แปลโดยเจ้าพระยาภาสกรวงษ์ (พร บุนนาค) จากฉบับภาษาอังกฤษซึ่งพระยาสยามมานุกูลกิจ สยามมิตรมหายศ (เซอร์จอห์น เบาว์ริง) แปลจากฉบับภาษาฝรั่งเศส  Relation de l'ambassade de Mr. le Chevalier de Chaumont a la cour du roy de Siam ของเชอวาเลีย เดอ โชมองต์

เหตุการณ์นี้มีบันทึกเป็นส่วนหนึ่งของภาพเมื่อท่านโกษาปานเข้าเฝ้าพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ ของคุณคริสต์ด้วย






บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.055 วินาที กับ 19 คำสั่ง