เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
อ่าน: 13389 คำว่า "นายแม่"
nol
อสุรผัด
*
ตอบ: 39


 เมื่อ 07 ก.ค. 13, 00:27

คำนี้แปลว่าอะไรครับ และใช้กันในกรณีใดบ้าง

เคยรับทราบการใช้มา (ไม่แน่ใจว่าถูกหรือไม่) ว่ามีไว้สำหรับบ่าวที่ใช้เรียกเจ้านายที่เป็นผู้หญิง แต่ที่สงสัยคือ คุณปู่ของผม ท่านก็เรียกแม่ของท่าน (คุณทวด) ว่า นายแม่ เช่นกัน เลยอยากทราบว่าจริงๆ แล้วคำนี้การใช้ที่ถูกต้องคืออะไร
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 07 ก.ค. 13, 00:36

นายแม่ = แม่ ค่ะ   คุณปู่ของคุณเรียกคุณแม่ของท่านว่านายแม่น่ะถูกแล้ว    บ่าวไม่เรียกนายผู้หญิงว่า นายแม่   อาจจะเรียก "นาย" หรือ "คุณนาย"

ผู้หญิงที่เป็น "นายแม่" มักเป็นสตรีมีฐานะดี  แต่ไม่ใช่สตรีบรรดาศักดิ์
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 07 ก.ค. 13, 06:54

หนังสือ "นายแม่" ของ คุณพิมพ์ประไพ พิศาลบุตร อธิบายความหมายไว้ที่หน้าปกว่า

"สกุลโซว เป็นต้นสกุลของหลายๆ ตระกูลที่มีชื่อเสียงในเมืองไทย
อาทิ จาติกวณิช โปษยะจินดา โชติกเสถียร ตัณฑเศรษฐี ปันยารชุน
และศรีวิกรม์ เป็นต้น... ส่วนคำว่านายแม่นั้นเป็นคำเรียกขานกัน
ในบ้านเศรษฐีจีน หมายถึงภรรยาเจ้าสัว..."




บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 07 ก.ค. 13, 07:06

บ่าวไม่เรียกนายผู้หญิงว่า นายแม่   อาจจะเรียก "นาย" หรือ "คุณนาย"

เรียก "แม่นาย" กระมัง 

คิดถึง "เรือนมยุรา" นะ แม่นายนกยูงเจ้าขา



ได้ยินเจ้าส้มฉุนเรียกบ่อย ๆ   ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 07 ก.ค. 13, 09:19

หนังสือ "นายแม่" ของ คุณพิมพ์ประไพ พิศาลบุตร ปกดำพิมพ์ครั้งแรก อธิบายไว้ในเล่มว่า

๑. นายแม่..เป็นคำสามัญที่ครอบครัวเจ้าสัวสองฝั่งน้ำ (แม่น้ำเจ้าพระยา) ใช้เรียกมารดาผู้เป็นประมุขฝ่ายหญิงของบ้าน ซึ่งเรียกตามพี่เลี้ยง และบ่าวไพร่บริวาร เป็นคำพูดที่เลิกใช้ไปนานแล้ว (หน้า ๑๕)

๒. นายแม่..แม้จะเป็นเพียงภาษาพูด แต่ก็ให้ความหมายในเชิงร่วมเป็นเจ้าของกิจการ หรือ ร่วมทำงานกับสามี สร้างฐานะมาด้วยกัน (หน้า ๒๕)
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 07 ก.ค. 13, 09:49

บ่าวไม่เรียกนายผู้หญิงว่า นายแม่   อาจจะเรียก "นาย" หรือ "คุณนาย"

เรียก "แม่นาย" กระมัง  

คิดถึง "เรือนมยุรา" นะ แม่นายนกยูงเจ้าขา
ได้ยินเจ้าส้มฉุนเรียกบ่อย ๆ   ยิงฟันยิ้ม

ไม่มีข้อกำหนดตายตัว เพราะเป็นภาษาพูด
ครอบครัวเชื้อสายจีนอย่างข้างบนนี้ เรียกคุณนายของบ้านว่า นายแม่     บางบ้านเรียก "นาย" เฉยๆ  
บางบ้านเรียกลูกสาวคนโตของบ้านซึ่งควบคุมดูแลบ่าวไพร่ว่า "คุณนาย"   ม.ล.ศรีฟ้า ลดาวัลย์  เล่าว่าคุณย่าของท่านเป็นลูกสาวคนโตของเจ้าสัว บริวารเรียกว่า คุณนาย   แม้ต่อมาจะได้เป็นหม่อมของหม่อมเจ้า   บริวารก็ยังเรียกเหมือนเดิม

ในครอบครัวไทย คำว่า "แม่นาย" ใช้เรียกประมุขฝ่ายหญิงของบ้าน ที่ไม่มีบรรดาศักดิ์         บางทีก็เรียกว่า "คุณแม่"  ต่อให้คนเรียกอายุแก่กว่ามากก็ตาม
ใน ขุนช้างขุนแผน   บริวารของนางพิม เรียกนางพิมว่า "คุณแม่" ไม่ได้ถือว่านางพิมอายุน้อยคราวลูก

แม่นกยูงไม่ให้เจ้าส้มฉุนเรียกหล่อนว่า คุณแม่  เดี๋ยวคนดูจะสับสนว่าหล่อนแอบไปมีลูกชายมาตั้งแต่เมื่อไหร่    ก็เลยให้เรียกว่า "แม่นาย"
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 07 ก.ค. 13, 10:20

หนังสืออัตชีวิตของ ส.ศิวลักษณ์ ก็ยังเรียกแม่ว่า "นาย"
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 07 ก.ค. 13, 10:34

เพื่อนรุ่นน้องของดิฉันก็มีคนหนึ่ง ที่เรียกแม่ว่า "นาย"  เหมือนกัน    พี่น้องเธอทุกคนเรียกแม่ว่า"นาย" เหมือนกันหมด  ไม่เรียกว่าแม่
คำว่า นาย ในที่นี้ หมายถึง master or mistress of the household  คือเป็นประมุขชายหรือหญิงของบ้าน
บันทึกการเข้า
CVT
องคต
*****
ตอบ: 452


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 07 ก.ค. 13, 11:46

บ้านผมที่ปัตตานี ตั้งแต่รุ่นพ่อย้อนขึ้นไปเรียกแม่ว่า "นม"
คนในบ้านจะเรียกเจ้านายที่เป็นผู้หญิงว่า "นายแม่"
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 07 ก.ค. 13, 11:50

บ้านผมที่ปัตตานี ตั้งแต่รุ่นพ่อย้อนขึ้นไปเรียกแม่ว่า "นม"
คนในบ้านจะเรียกเจ้านายที่เป็นผู้หญิงว่า "นายแม่"
เป็นความรู้ใหม่ค่ะ   ว่าเรียกแม่ว่า "นม" 
ปกติคำนี้ เคยได้ยินเขาใช้เรียก "แม่นม" ซึ่งมีประจำอยู่ในบ้านสมัยก่อน ที่คุณหนูต้องมีพี่เลี้ยงนางนมช่วยดูแลแทนแม่     เนื่องจากคนสมัยก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 และหลังจากนั้นเล็กน้อย นิยมมีลูกกันมากๆ  จึงต้องมีคนมาแบ่งเบาภาระจากแม่
บันทึกการเข้า
Tarte Tatin
อสุรผัด
*
ตอบ: 2


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 15 ม.ค. 23, 21:04

ขออนุญาตเรียนถามนะคะ

หากเรียกประมุขหญิงของบ้านว่า 'นายแม่' แล้วเรียกประมุขชายว่าอย่างไรคะ

ขอบพระคุณล่วงหน้าสำหรับคำตอบค่ะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 16 ม.ค. 23, 10:18

รอคุณหมอ CVT มาตอบนะคะ    ดิฉันไม่รู้ศัพท์ของปัตตานี
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 16 ม.ค. 23, 11:35

ส่วนคำว่านายแม่นั้นเป็นคำเรียกขานกัน
ในบ้านเศรษฐีจีน หมายถึงภรรยาเจ้าสัว

ในกรณีนี้ เรียกประมุขฝ่ายชายของบ้านว่า เจ๊สัว/เจ้าสัว
บันทึกการเข้า
ภศุสรร อมร
อสุรผัด
*
ตอบ: 0


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 12 ก.พ. 23, 10:58

กระผมต้องขอกราบสวัสดีท่านอาจารย์เทาชมพู และสมาชิกทุกท่านด้วยครับ เนื่องในปีนั้น กระผมถูกการงานหลายสิ่งถาโถมเข้ามารัดตัว จึงมีเหตุให้ต้องห่างเหินจากเว็บนี้ไปเป็นเวลาอันนานยิ่ง หวังว่าท่านอาจารย์จะยังคงจำกระผมได้นะครับ

ในเรื่องของการใช้คำว่านายแม่เรียกขานประมุขหญิงในครอบครัวเชื้อสายจีนนั้น กระผมมีคำถามอยู่ว่า เหตุใดครอบครัวเหล่านี้ จึงไม่ใช้ ศัพท์จีน ภาษาจีน เช่น เถ้าแก่เนี๊ยะ ฮูยิน เจ๊ ต่างต่าง เรียกขานกันไปเลย สำหรับครอบครัวชาวจีนนั้น ดูเสมือนว่าจะเป็นธรรมชาติกว่ามาก กว่าการเปลี่ยนภาษาไวยากรณ์เป็นไทยเช่นนี้ ไม่ทราบว่าเป็นเพราะเกรงกลัวบ่าวไพร่ไทยในเรือนเหย้าจะออกเสียงไม่ชัดรึกระมัง ครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 13 ก.พ. 23, 08:40

คำตอบนี้ มาจากเดาอย่างเดียว
คุณคงสังเกตได้ว่า "นายแม่" เป็นคำไทย  ไม่มีจีนปน    เพราะฉะนั้นคนที่พูดคำนี้ก็คือคนพูดภาษาไทยในบ้านของเศรษฐีจีน   ซึ่งมีทั้งๆลูกๆหลานๆและบริวาร 
ถามว่าทำไมไม่เรียกว่าเถ้าแก่เนี๊ยะ ฮูยิน เจ๊  คำตอบแบบกำปั้นทุบดินก็คือพวกเขาไม่ได้พูดภาษาจีนกับประมุขฝ่ายหญิงของบ้าน   เขาพูดไทยกัน   เขาก็เลยเรียกเป็นคำไทย
แต่ถ้าเป็นคนที่พูดจีนอยู่ตลอด  ก็คงจะเรียกนายแม่เป็นภาษาจีน  จะเป็นเถ้าแก่เนี้ย หรือฮูหยินหรืออะไรแล้วแต่เขาจะเลือกใช้
คำว่า นายแม่ ไม่ได้ใช้เฉพาะบ้านเศรษฐีจีน  บ้านเศรษฐีไทยก็ใช้กัน  เรียกประมุขฝายหญิงของบ้านที่สามีไม่ได้มีบรรดาศักดิ์     จึงสันนิษฐานได้ว่าเป็นวัฒนธรรมไทยที่คนไทยเชื้อสายจีนในไทยรับไปใช้
คำว่านายแม่ที่ใช้ในบ้านไทย บางครั้งก็กร่อนลงเหลือ "นาย" เฉยๆ    ดิฉันมีเพื่อนที่เรียกแม่ว่า "นาย" เท่าที่จำได้อย่างน้อยก็ 2 บ้านค่ะ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.092 วินาที กับ 19 คำสั่ง