เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 20 21 [22] 23 24 ... 26
  พิมพ์  
อ่าน: 79980 ริชลิว-นักธุรกิจข้ามชาติในมาดนายพลเรือสยาม
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 315  เมื่อ 14 ก.ย. 13, 08:06

  <  ข้อความโดย: V_Mee


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 316  เมื่อ 28 ก.ย. 13, 07:46

ครั้งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินเยือนสงขลาพร้อมด้วยสมเด็จพระบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพในปี พ.ศ.๓๔๓๙ พระยาวิเชียรคีรี(ชม) ผู้สำเร็จราชการเมืองสงขลาเป็นผู้รับเสด็จ นายพลริชลิว(พระยาชลยุทธโยธิน)อยู่ในคณะผู้ตามเสด็จด้วย


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 317  เมื่อ 28 ก.ย. 13, 07:46

เมื่อเสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรทั่วตัวเมือง ทรงหยุดที่เขาตังกวน  ทรงโปรดเกล้าฯให้นายพลริชลิวเป็นผู้ขึ้นไปเลือกสถานที่สร้างประภาคารบนเขา เมื่อกรมทหารเรือทำเครื่องหมายประดับประกอบตัวโคมแล้ว ให้ข้าหลวงนำแบบมาจัดการก่อสร้าง


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 318  เมื่อ 28 ก.ย. 13, 07:56

ประภาคารตามพระราชดำรินี้แล้วเสร็จในปี พ.ศ. ๒๔๔๐
ปัจจุบัน เขาตังกวนกลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญในประวัติศาสตร์ของสงขลาเต็มรูปแบบ


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 319  เมื่อ 13 ต.ค. 13, 09:20

ในปีพ.ศ.๒๔๕๐(ค.ศ.1907)นั้นเอง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯได้เสด็จประพาสยุโรปครั้งที่๒ เพื่อรักษาพระองค์ แต่จุดมุ่งหมายลับๆก็คืองานการเมืองที่ยังค้างคาพระทัยอยู่
ครั้งนั้น นายพลริชลิวซึ่งกราบถวายบังคมลาออกเพื่อกลับบ้านเกิดแล้ว ได้มารอรับเสด็จถึงซานรีโมในอิตาลี่ และร่วมขบวนเสด็จพระราชดำเนินไปด้วยตั้งแต่วันที่๑๒พฤษภาคม๑๙๐๗ จนถึงราชอาณาเดนมาร์ก

ในงานพระราชทานเลี้ยงรับรองที่พระเจ้าเฟรเดอริกที่๘(King Frederik VIII) ซึ่งเสด็จขึ้นครองพระราชบัลลังก์เดนมาร์กหลังการสวรรคตของพระเจ้าคริสเตียน ทรงจัดขึ้นถวายพระเกียรติยศแด่พระมหากษัตริย์ไทยในวันที่๑กรกฏาคมนั้น ทรงมีพระราชโองการแต่งตั้งให้นายพลโทริชลิว เป็นขุนนางในพระราชสำนัก(Chamberlain)
 
และคงจะเป็นในโอกาสเดียวกันนั้นเอง ที่ราชวงศ์สยามและเดนมาร์กได้พระราชทานโอกาสให้พระยาชลยุทธโยธินและครอบครัว เดอ ริชลิว ร่วมถ่ายภาพพร้อมกันในพระราชวังแห่งกรุงโคเปนฮาเกน ผมไปพบภาพนี้เข้าในหนังสือของกลุ่มสแกนดิเนเวีย ไม่เคยพบในเอกสารฝ่ายไทยมาก่อนเลย


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 320  เมื่อ 13 ต.ค. 13, 09:23

หลังจากเดนมาร์ก นายพลริชลิวเป็นไกด์กิตติมศักด์นำเสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรสถานที่หลายแห่งในประเทศแถบสแกนดิเนเวีย แห่งหนึ่งที่เสด็จไปและคนไทยทราบมากที่สุดก็คือที่นอร์เวย์ เพื่อทอดพระเนตรพระอาทิตย์เที่ยงคืนที่แหลมเหนือ

เรื่องราวคราวนั้น ได้มีที่ลงไว้ในกระทู้นี้แล้ว ในภาพจะเห็นนายพลริชลิวตามเสด็จอย่างใกล้ชิด


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 321  เมื่อ 13 ต.ค. 13, 09:33

ไม่ค่อยจะมีใครทราบกันนัก ที่ทรงบากบั่นให้นายพลริชลิวพาเสด็จไปในที่กันดารทางภาคเหนือของนอร์เวย์ มิใช่เรื่องพระอาทิตย์เที่ยงคืนเท่านั้น แต่ไปทรงงานอย่างหนึ่งซึ่งมีความสนพระทัยมานาน ในผลิตภัณฑ์และขบวนการผลิตที่บริษัทของนอร์เวย์คิดค้นขึ้นมาได้


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 322  เมื่อ 13 ต.ค. 13, 09:41

ในพระราชนิพนธ์ไกลบ้าน ทรงบันทึกว่า “บริษัทนี้...เขาทำการแปลก คือจับธาตุไนตริกจากลมในอากาศด้วยแรงไฟฟ้ามาใช้ประโยชน์ดังจะกล่าวต่อไปข้างหน้า ผู้ที่เป็นไดเร็กเตอร์ของกัมปานีนี้ชื่อ เอส ไอเด...พระยาชลยุทธ มีหุ้นส่วนอยู่ในกัมปานีนี้ด้วย จึงได้บอกข่าวคราวมาถึง เขาจึงอยากให้พ่อได้เห็นงานที่ทำ ซึ่งตั้งแต่พ่อได้ยินก็อยากดูเป็นกำลัง...” 
 
สองปีก่อนเสด็จพระราชดำเนิน กลุ่มทุนธนาคารที่นายพลริชลิวมีโยงใยอยู่ได้ปล่อยสินเชื่อก้อนมหึมาให้กับบริษัท นอรวีเยียน ไฮโดรเอเลกตริก ไนโตรเยน กัมปานี ลิมีติค  ( Norsk hydro-elektrisk Kvælstofaktieselskab) บริษัทที่วิศวกรหนุ่มชื่อ แซม อายเด้(Sam Eyde)จัดตั้งขึ้นเพื่อผลิตปุ๋ยเคมีด้วยขบวนการจับไนโตรเจนจากอากาศโดยปฏิกิริยาจากพลังไฟฟ้า  ซึ่งจำเป็นต้องไปหาสถานที่อันไกลโพ้นเพื่อสร้างเขื่อนผลิตกระแสไฟฟ้าขึ้นใช้เองให้ได้ปริมาณมากเพียงพอสำหรับขบวนการผลิต สุดท้ายได้เลือกที่จะลงทุนในเมืองโนโตดเดน เพื่อสร้างทั้งเขื่อน โรงงาน และเคหะชุมชนขนาดใหญ่ที่จะรองรับพนักงานและคนงานทุกระดับ
 
เมื่อนายพลริชลิวมากรุงเทพครั้งแรก คงได้เข้าเฝ้าและกราบบังคมทูลเรื่องนี้ ทำให้ทรงเกิดความสนพระทัย เนื่องจากสยามเป็นประเทศกสิกรรม ที่การปลูกพืชผลทั้งหมดพึ่งพาอาศัยธรรมชาติล้วนๆ        


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 323  เมื่อ 13 ต.ค. 13, 10:18

ความสามารถในการขายของนายพลริชลิวนับว่าระดับเทพทีเดียว จะเห็นได้จากพระราชนิพนธ์นี้               
“...พ่ออยากจะทดลองเฟอเตอไลเซอในเมืองเราบางทีจะดี จึงให้พระยาชลยุทธคิดอ่านจัดส่งไปลองดูหนึ่งตันก่อน...”             

การผลิตพืชผลของสยามขึ้นอยู่กับสภาพดินเดิม และปุ๋ยคอกปุ๋ยหมักตามธรรมชาติที่หาได้น้อย ถ้าปุ๋ยเคมีทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นโดยมีต้นทุนที่ต่ำ ก็น่าจะเป็นทางเลือกหนึ่งซึ่งไม่ควรมองข้าม ดังนั้นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าจึงสนพระทัยที่จะเสด็จไปทอดพระเนตร ถึงแม้ว่าตำบลโนโตดเดน ที่ตั้งโรงงานของบริษัทจะอยู่ห่างไกลทุรกันดาร ก็มิได้ทรงย่อท้อ

ในคราวนั้นเสด็จพระราชดำเนินลงเรือชื่ออัลเบียน จากท่าเรือเมืองเบอร์เกนเมืองท่าใหญ่ด้านทิศตะวันตกของประเทศนอรเวย์ไปยังเมืองเบรวิก และเสด็จฯโดยรถไฟไปยังเมืองสกีน จากเมืองสกีนเสด็จฯลงเรือกลไฟชื่อวิกตอเรีย เดินเรือผ่านทะเลสาบขึ้นไปในระดับความสูง ๓ ระดับด้วยกัน เมื่อจะเปลี่ยนระดับน้ำเรือต้องเข้าไปในช่องระหว่างประตูน้ำ ๒ ด้าน แล้วปล่อยน้ำจากด้านสูงลงไป เมื่อได้ระดับจึงเปิดประตูให้เรือแล่นออกมา ลองนึกภาพดูว่ากว่าจะถึงตำบลโนโตดเดนซึ่งอยู่ด้านเหนือสุดของทะเลสาบนอร์ดเซอ ต้องใช้เวลาเสด็จฯระหกระเหินถึง ๖ วัน

วันสุดท้ายต้องเสด็จฯโดยรถ ซึ่งทรงเล่าว่า “...หนทางเป็นโคลนเฉอะแฉะไปหมดทั้งนั้น น่ากลัวรถจะลื่น พ่อออกคร้ามๆ ดูมันน่ากลัวจะเลยลงไปในช่องเขา...ถ้าขึ้นสูงทีไรต้องใช้ถึงเกียร์ ๑ และเปิดเต็มแรงจนลั่นตูมๆ ออกจะน่ากลัวอันตราย ควันขึ้นกลุ้มๆแต่กระนั้นแห่งหนึ่งที่สูงชัน คนขับเผลอไปไม่ได้ลดเกียร์ ๑ ...ตกลงต้องลงเข็นส่งขึ้นไปถึงยอด มีติดจริงๆ อยู่แห่งเดียวเท่านั้น นอกจากนั้นก็มาได้แต่เขย่าขย่อนเหลือกำลัง ฟัดโงกเงกกันมาจนตลอดทาง...”


วันรุ่งขึ้น นายแซม อายเด้  วิศวกรใหญ่และเจ้าของบริษัทได้ขับรถเมอซิเดส เบนซ์มารับเสด็จเองถึงที่ประทับเพื่อนำเสด็จไปยังที่ทำการของบริษัทและเยี่ยมชมโรงงาน ในที่ประทับตอนท้ายนั้น นอกจากพระองค์เจ้าอุรุพงศ์และหม่อมเจ้าทองต่อ ทองแถมแล้ว ยังมีนายพลริชลิวนั่งติดตามไปด้วย     


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 324  เมื่อ 13 ต.ค. 13, 10:23

เสด็จผ่านตำบลโนโตดเดน ซึ่งเป็นชุมชนเมืองขึ้นมาได้จากการสถาปนาของบริษัท


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 325  เมื่อ 13 ต.ค. 13, 10:28

เคหะสงเคราะห์ของพนักงานและคนงาน
ข้างล่างเป็นภาพเขื่อนที่บริษัทลงทุนสร้างขึ้น

มิต้องสงสัยว่าทำไมนายพลริชลิวจึงยิ่งใหญ่ที่นี่ เพราะท่านเป็นผู้จัดเงินกู้มหาศาลให้กับบริษัทนี้นั่นเอง


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 326  เมื่อ 13 ต.ค. 13, 10:32

โรงงานของบริษัทในอดีต และโรงงานเดียวกันในปัจจุบัน

เมื่อได้ทอดพระเนตรโรงงานผลิตไนเตรด จากไฟฟ้ากำลังน้ำแล้ว ทรงบันทึกต่อไปว่า... “นั่งสนทนากันถึงเรื่องไฟฟ้าในเวลากินข้าว ใช้ได้เป็นอัศจรรย์มากขึ้นทุกที…..
...คิดจะใช้ยิงปืนใหญ่ไม่ให้ต้องบรรจุดินปืน...
...อีกอย่างหนึ่งนั้นจะทำให้ฝนตกได้...
...ความคิดที่จับไนเตรดและทำปุ๋ยนี้เป็นความคิดของมิสเตอร์ไอเด เขาขอเปเตนท์ทั่วทุกประเทศ
...จะใช้โทรเลขไม่มีสาย...ผิดกับที่ทำกันอยู่แล้วเดี๋ยวนี้ด้วยอาศัยแรงน้ำ
...ทำนายกันได้ว่า นานไปจะมีเครื่องเตเลโฟน สักเท่านาฬิกาพก พกไปไหนๆได้...เพียงในเวลาในอายุพ่อเท่านี้

แต่ก่อนไฟฟ้าดูเป็นแต่ของทดลองเล่น เดี๋ยวนี้เป็นของที่จำเป็นใช้ได้ประโยชน์จริง กว้างขวางนักหนาแล้ว ยิ่งรู้มาก ความคิดก็ยิ่งแตกมากออกไป ความวิเศษขึ้นในการงานของมนุษย์จะหาที่สุดมิได้ ผู้ใดมีชีวิตอยู่ช้าไป ฤาที่เกิดมาใหม่ๆคงจะได้เห็นแต่สิ่งซึ่งวิเศษดีขึ้นร่ำไปไม่มีที่สุด”


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 327  เมื่อ 13 ต.ค. 13, 10:57

...ทำนายกันได้ว่า นานไปจะมีเครื่องเตเลโฟน สักเท่านาฬิกาพก พกไปไหนๆได้...

ทำนายกันได้ว่า นานไปจะมีเครื่องเตเลโฟน สักเท่านาฬิกาพก พกไฟไหน ๆ ได้ เมื่อจะพูดกับใครพูดลงไปที่นาฬิกาพก แล้วเอาหูฟังที่นาฬิกาพกจะรู้กันได้ เว้นไว้แต่ยังไม่แลเห็นว่าจะใช้ได้ทางไกล ถ้าเพียงที่นี่ไปคริสเตียเนีย ทางสักสี่ชั่วโมงโดยรถไฟเห็นจะพูดกันได้

ในเวลานั้นที่กรุงเทพฯมีโทรศัพท์ใช้กันอยู่ไม่ถึง ๕๐๐ เครื่อง แต่ละเครื่องนั้นใหญ่โตมโหฬารและต้องใช้ประกอบกับหม้อแบตเตอรี่เครื่องละ ๔ หม้อ

ทรงทำนายได้ตรงเผงเรื่องขนาดของโทรศัพท์และวิธีใช้ ยกเว้นเรื่องระยะทางการใช้งาน

มหัศจรรย์แท้

บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 328  เมื่อ 13 ต.ค. 13, 10:57

ใช่แล้วครับ สิ่งที่ทรงบรรยายในพระราชนิพนธ์ ปรากฏเป็นจริงตามนั้นทั้งหมดแม้เวลาจะคลาดเคลื่อนไปบ้าง
 
ตามประวัติ โรงงานปุ๋ยของบริษัท นอรวีเยียน ไฮโดรเอเลกตริก ไนโตรเยน กัมปานี ลิมีติค มิได้ดำเนินไปอย่างราบรื่นอย่างที่ผู้กีอตั้งหวังไว้ แม้จะมีผลงานแตกแขนงธุรกิจออกไปมากมาย สุดท้ายนายแซม อายเด้  วิศวกรใหญ่ถูกกลุ่มทุนบังคับให้วางมือ และส่งผู้บริหารใหม่เข้าคุมกิจการ ตอนนั้นหุ้นของนายพลริชลิวน่าจะด้อยค่าไปหมดแล้วจากการเพิ่มทุนหลายต่อหลายคราว

ในระหว่างสงครามโลกทั้งสองครั้ง โรงงานนี้ตกเป็นเป้าหมายการโจมตีของอังกฤษตลอด เพราะเยอรมันเข้ายึดครองเพื่อหวังผลิตผลพลอยได้อย่างหนึ่งที่เรียกว่า Heavy Water ซึ่งสามารถนำไปต่อยอดในการผลิตระเบิดมหาประลัยได้

อย่างไรก็ดี ทุกวันนี้บริษัทยังคงผลิตปุ๋ยเม็ดกลมๆสีฟ้าที่เกษตรกรไทยรู้จักดีในนามว่าปุ๋ยไข่มุกจากนอร์เวย์ แม้เครื่องหมายการค้าตราเรือใบไวกิ้งจะถูกผู้ผลิตรายอื่นที่ไม่ใช่เจ้าของตัวจริงนำไปใช้จนไม่รู้ว่าอะไรแท้อะไรเทียมก็ตาม


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 329  เมื่อ 13 ต.ค. 13, 11:19

ใช่แล้วครับ สิ่งที่ทรงบรรยายในพระราชนิพนธ์ ปรากฏเป็นจริงตามนั้นทั้งหมดแม้เวลาจะคลาดเคลื่อนไปบ้าง

แท้จริงแล้วเรื่องเครื่องเตเลโฟนขนาดเท่านาฬิกาพก ไม่ได้ทรงทำนายว่าจะมี "เพียงในเวลาในอายุพ่อเท่านี้"

...ทำนายกันได้ว่า นานไปจะมีเครื่องเตเลโฟน สักเท่านาฬิกาพก พกไปไหนๆได้...เพียงในเวลาในอายุพ่อเท่านี้

แต่ก่อนไฟฟ้าดูเป็นแต่ของทดลองเล่น เดี๋ยวนี้เป็นของที่จำเป็นใช้ได้ประโยชน์จริง กว้างขวางนักหนาแล้ว ยิ่งรู้มาก ความคิดก็ยิ่งแตกมากออกไป ความวิเศษขึ้นในการงานของมนุษย์จะหาที่สุดมิได้ ผู้ใดมีชีวิตอยู่ช้าไป ฤาที่เกิดมาใหม่ๆคงจะได้เห็นแต่สิ่งซึ่งวิเศษดีขึ้นร่ำไปไม่มีที่สุด”


จากบทความเรื่อง รำลึก ๑๐๐ ปี พระราชนิพนธ์ "ไกลบ้าน" ของ ดร. ปฐมพงศ์ ศุภเลิศ มีดังนี้

...ทำนายกันได้ว่า นานไปจะมีเครื่องเตเลโฟน สักเท่านาฬิกาพก พกไปไหนๆได้...            

...เพียงในเวลาในอายุพ่อเท่านี้ แต่ก่อนไฟฟ้าดูเป็นแต่ของทดลองเล่น เดี๋ยวนี้เป็นของที่จำเป็นใช้ได้ประโยชน์จริง กว้างขวางนักหนาแล้ว ยิ่งรู้มาก ความคิดก็ยิ่งแตกมากออกไป ความวิเศษขึ้นในการงานของมนุษย์จะหาที่สุดมิได้ ผู้ใดมีชีวิตอยู่ช้าไป ฤๅที่เกิดมาใหม่ๆคงจะได้เห็นแต่สิ่งซึ่งวิเศษดีขึ้นร่ำไปไม่มีที่สุด
 

   
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 20 21 [22] 23 24 ... 26
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.051 วินาที กับ 20 คำสั่ง