เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 14 15 [16] 17 18 ... 26
  พิมพ์  
อ่าน: 79985 ริชลิว-นักธุรกิจข้ามชาติในมาดนายพลเรือสยาม
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 225  เมื่อ 22 ก.ค. 13, 05:00

นักประวัติศาสตร์ชาวเดนมาร์กเชื่อว่า การที่กรมหมื่นมหิศรฯ หลังเสด็จกลับจากการศึกษางานแล้ว ทรงแอบตั้งบุคคลัภย์ขึ้นโดยจดทะเบียนเป็นห้องสมุด แต่ดำเนินกิจการคล้ายธนาคารโดยพระเจ้าอยู่หัวทรงรับรู้นั้น เป็นผลพวงมาจากการเริ่มต้นแผนการตั้งธนาคารสยาม-เดนมาร์กในคราวที่แล้ว อย่าว่าแต่คนเดนมาร์กเลย อังกฤษจอมโวยเจ้าเก่าก็เชื่ออย่างนั้น จึงมีหนังสือทักท้วงจากอัครราชทูตปาเจย์(R.S. Paget)ด้วยถ้อยคำแสบๆคันๆไปยังพระยากัลยาณไมตรี(J.I. Westengard) ที่ปรึกษาเชื้อชาติเดนมาร์ก สัญชาติอเมริกันในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว กล่าวหากรมหมื่นมหิศรฯว่าทรงใช้อำนาจหน้าที่ในฐานะเสนาบดีกระทรวงพระคลัง ถ่ายโอนเงินฝากของรัฐบาลสยามที่เปิดบัญชีไว้ในธนาคารของคนอังกฤษไปยังธนาคารสยามที่แอบแฝงอยู่ภายใต้ชื่อลวงว่าเป็นสโมสรนักอ่าน(Book Club) เพราะมีการเปิดบัญชีให้สมาชิกฝากเงินและยืมเงินได้ ซึ่งผิดสากลปฏิบัติและหมื่นเหม่ต่อการผิดกฏหมาย กรมหมื่นมหิศรฯทรงปฏิเสธ
 
บทความเขียนโดยคนเดนมาร์กกล่าวต่อว่า เมื่อเรื่องเป็นเช่นนี้ พระเจ้าอยู่หัวจึงทรงแนะนำให้พระองค์ลาออกเพื่อลดแรงกดดัน ซึ่งในที่สุดทรงจำใจทำหนังสือกราบบังคมทูลลาออกเมื่อวันที่๒๔พฤษภาคม๑๙๐๖ โดยอ้างว่าทรงประชวร

โดยข้อเท็จจริง พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าไชยันตมงคล กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย ทรงประชวรจริง มิอาจจะทรงรับราชการต่อไปได้ หลังการลาออกก็ต้องประทับรักษาพระองค์ที่วัง และสิ้นพระชนม์ในวันที่๑๕เมษายนพ.ศ.๒๔๕๐ หรือค.ศ.๑๙๐๗ ไม่ถึงปีหลังจากที่ทรงลาออก


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 226  เมื่อ 22 ก.ค. 13, 05:09

เป็นที่ยอมรับว่าก่อนการลาออกของพระองค์ กรมหมื่นมหิศรฯได้ทรงปูทางไว้แล้วให้เกิดธนาคารสยามกัมมาจล(The Siam Commercial Bank Ltd)ขึ้นในปี๑๙๐๖  โดยถูกต้องตามพระราชบัญญัติ และธนาคารนี้ได้รับพระบรมราชานุญาตให้ใช้ตราแผ่นดินเป็นเครื่องหมายของธนาคารด้วย

ตามหลักฐานฝ่ายสยามนั้น ธนาคารตราหุ้นไว้๓,๐๐๐หุ้น ผู้ถือหุ้นรายสำคัญประกอบด้วยธนาคารกสิกรแห่งเดนมาร์ก๒๔๐หุ้น(๘%) ธนาคารดอยชเอเชียติก๓๓๐หุ้น(๑๑%) ส่วนผู้ถือหุ้นฝ่ายสยามประกอบด้วยเอกชนไทยหลายบุคคล รวมกันแล้วเป็นเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ที่จะสามารถกำหนดนโยบายได้

อ้างถึง
ข้อความโดย: เพ็ญชมพู
แผนการของ "ริชลิว" ลงเอย ด้วยการถือหุ้นของธนาคารกสิกรเดนมาร์กเพียง ๒๔ เปอร์เซ็นต์ โดยมีธนาคารเยอรมันถือหุ้นมากกว่า คือ ๓๓ เปอร์เซ็นต์  
 
ตามที่คุณเพ็ญได้ปาดไว้ ความหวังของชาวต่างประเทศซึ่งมีเดนมาร์กเป็นแกนนำที่จะถือครองหุ้นของธนาคารสยาม๒ใน๓ จบลงด้วยการมีหุ้นรวมกันแค่๑๙% (ไม่ใช่๒๔+๓๓=๕๗% นะครับคุณเพ็ญ) ส่วนที่ถามทำนองว่าทำไมเดนมาร์กกลายเป็นถือหุ้นนัอย เยอรมันกลับถือหุ้นมากนั้น เอกสารของเดนมาร์กไม่ได้แจ้งไว้ ผมก็มิอาจเดา


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 227  เมื่อ 22 ก.ค. 13, 05:15


อ้างถึง
ข้อความโดย: เพ็ญชมพู
ประวัติแบงก์สยามกัมมาจลเรื่องผู้ถือหุ้นเริ่มแรกเป็นที่เปิดเผยอยู่แล้ว

เหรอครับ งั้นช่วยกรุณานำมาลงหน่อย ผู้ถือหุ้นฝ่ายสยามนอกจากกรมหมื่นมหิศรฯและพระสรรพาการแล้ว ประกอบด้วยผู้ใดอีกบ้าง ถือกันคนละกี่เปอร์เซนต์ ผมอยากทราบเหมือนกัน
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 228  เมื่อ 22 ก.ค. 13, 06:15

๑.
อ้างถึง
ข้อความโดย: เพ็ญชมพู
แผนการของ "ริชลิว" ลงเอย ด้วยการถือหุ้นของธนาคารกสิกรเดนมาร์กเพียง ๒๔ เปอร์เซ็นต์ โดยมีธนาคารเยอรมันถือหุ้นมากกว่า คือ ๓๓ เปอร์เซ็นต์  
 
ตามที่คุณเพ็ญได้ปาดไว้ ความหวังของชาวต่างประเทศซึ่งมีเดนมาร์กเป็นแกนนำที่จะถือครองหุ้นของธนาคารสยาม๒ใน๓ จบลงด้วยการมีหุ้นรวมกันแค่๑๙% (ไม่ใช่๒๔+๓๓=๕๗% นะครับคุณเพ็ญ)

โจทย์คณิตศาสตร์ข้อนี้คำนวณผิด เนื่องจากความเผอเรอ มองหุ้นแบงก์กัมมาจลจาก ๓,๐๐๐ หุ้น เป็น ๑,๐๐๐ หุ้น  ต้องขออภัยเป็นอย่างยิ่ง อายจัง

๒.
อ้างถึง
ข้อความโดย: เพ็ญชมพู
ประวัติแบงก์สยามกัมมาจลเรื่องผู้ถือหุ้นเริ่มแรกเป็นที่เปิดเผยอยู่แล้ว

เหรอครับ งั้นช่วยกรุณานำมาลงหน่อย ผู้ถือหุ้นฝ่ายสยามนอกจากกรมหมื่นมหิศรฯและพระสรรพาการแล้ว ประกอบด้วยผู้ใดอีกบ้าง ถือกันคนละกี่เปอร์เซนต์ ผมอยากทราบเหมือนกัน

ข้อนี้เป็นความผิดพลาดในการสื่อสาร ที่ว่าผู้ถือหุ้นที่เปิดเผยอยู่แล้วหมายถึงผู้ถือหุ้นจากต่างประเทศ มีรายละเอียดอยู่ใน เว็บพิพิธภัณฑ์ธนาคารไทย  ยิงฟันยิ้ม

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 229  เมื่อ 22 ก.ค. 13, 06:20

อย่างไรก็ตามเรื่องรายละเอียดผู้ถือหุ้นฝ่ายไทย คุณหนุ่มได้เฉลยไว้บางส่วนแล้ว

มาต่อคำตอบที่ว่าทำไมพระสรรพการหิรัญกิจ ถึงได้เป็นผู้จัดการแบงค์สยามกัมมาจล ซึ่งได้เคยอธิยายไว้ว่าท่านได้ถือหุ้นเป็นอันดับสอง จึงได้นำทะเบียนผู้ถือหุ้นมาให้ชมกัน

อันดับ ๑ กรมหมื่นมหิศพระราชหฤทัย จำนวน ๕๐๓ หุ้น เป็นเงิน ๕๐๓,๐๐๐ บาท

อันดับ ๒ พระสรรพการหิรัญกิจ จำนวน ๓๔๐ หุ้น เป็นเงิน ๓๔๐,๐๐๐ บาท

อันดัย ๓ ดอยน์เอเซียทิช จำนวน ๓๓๐ หุ้น เป็นเงิน ๓๓๐,๐๐๐ บาท

อันดับ ๔ กิมเซ่งหลี  จำนวน ๓๑๔ หุ้น เป็นเงิน ๓๑๔,๐๐๐ บาท

อันดับ ๕ พระคลังข้างที่ จำนวน ๓๐๐ หุ้น เป็นเงิน ๓๐๐,๐๐๐ บาท





บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 230  เมื่อ 22 ก.ค. 13, 13:46

^
เยี่ยม
ทั้งคุณหนุ่มสยาม เจ้าของข้อมูลหายาก
และ
คุณเพ็ญชมพู ผู้เชี่ยวชาญการส่องอินทรเนตร


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 231  เมื่อ 22 ก.ค. 13, 14:21

รายนามผู้ถือหุ้นฝ่ายสยามก็ตรงไปตรงมา ไม่มีวี่แววว่าใครจะเป็นโนมีนี่ให้ใคร

ส่วนผู้ถือหุ้นฝ่ายฝรั่ง ซึ่งมีธนาคารกสิกรแห่งเดนมาร์ก๒๔๐หุ้น(๘%) ธนาคารดอยชเอเชียติก๓๓๐หุ้น(๑๑%) และโผล่มาในทะเบียนหุ้นของคุณหนุ่ม ๑ คน คือนายเอฟ.คอกซ์ ถือ ๕๐หุ้น(๑.๖%) ซึ่งน่าจะเป็นคนของเขา รวมกันแล้วฝรั่งถือหุ้นเกินกว่า๒๐%
 
ตรงนี้มีนัยยะสำคัญ

การถือหุ้นนั้น ในตำราบอกว่า ถ้าถือครองหุ้นใหญ่(เกิน๕๐%)ไม่ได้ ก็ควรจะถอยมาถือแค่(๒๐%)
ทำไมหรือครับ เพราะตามกฏหมายเขียนว่า ผู้ถือหุ้นจำนวน๑ใน๕(ซึ่งเท่ากับ๒๐%) สามารถเข้าชื่อกัน ให้บริษัทเปิดการประชุมวิสามัญของผู้ถือหุ้นทั่วไปได้

ดังนั้นถึงฝ่ายผู้ถือหุ้นใหญ่จะกุมอำนาจบริหารก็จริง แต่ต้องเกรงใจผู้ถือหุ้นน้อยที่ถือเกิน๒๐%ด้วย เพราะมีสิทธิ์ป่วนบริษัทได้
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 29 ก.ค. 13, 20:58 โดย เทาชมพู » บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 232  เมื่อ 22 ก.ค. 13, 14:28

อย่างไรก็ดี ฝรั่งคงเห็นว่าเกมที่เปลี่ยนไปมากมายดังกล่าว ไม่น่าสนใจเสียแล้ว ดังที่ผมเขียนไว้ในกระทู้โน้นว่า

บริษัทแบงก์สยามกัมมาจล ทุนจำกัด เปิดดำเนินการในอาคารที่ทำการของ บุคคลัภย์เดิม ที่ตำบลบ้านหม้อ ในปี พ.ศ. ๒๔๔๙ โดยมีพระสรรพการหิรัญกิจ เป็นผู้จัดการฝ่ายในประเทศ และนายเอฟ คิเลียน ตัวแทนผู้ถือหุ้นชาวต่างประเทศ สัญชาติเยอรมัน เป็นผู้จัดการฝ่ายต่างประเทศ ในการเปิดดำเนินกิจการธนาคารขึ้นนี้ คณะผู้จัดตั้งได้ขอพระราชทานตราอาร์มแผ่นดิน มาเป็นตราประจำธนาคารมาตั้งแต่ต้น

การดำเนินธุรกิจนั้น แบงก์สยามกัมมาจล มีการรับฝากเงินตามปกติทั่วไปของธนาคารพาณิชย์ แต่ที่พิเศษ ได้แก่ การเสนอให้ดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ ๒ ต่อปี แก่ลูกค้าที่มีเงินเหลือในบัญชีเดินสะพัด นับว่าลูกค้าจะได้ประโยชน์จากเงินของตน ที่เหลือจากการหักบัญชีด้วยเช็คอย่างเต็มที่ บริการด้านนี้ได้สร้างความนิยมในหมู่ลูกค้าเป็นอย่างสูง นอกจากนั้น ก็เป็นการให้สินเชื่อเกี่ยวกับ การค้าและธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ตลอดจนกิจการโรงสีข้าว ซึ่งเป็นผลิตผลหลักของประเทศ เป็นสำคัญ

ในด้านของบริการที่ให้แก่การค้าระหว่างประเทศนั้น โดยที่ปริมาณการส่งข้าวออกไปต่างประเทศสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว จากที่เคยส่งออกเฉลี่ยเป็นจำนวน ๓,๘๕๐,๐๐๐ หาบต่อปี ระหว่าง พ.ศ. ๒๔๑๘ – ๒๔๒๒ การส่งออกข้าวได้เพิ่มขึ้นถึงเฉลี่ยปีละ ๑๔,๗๖๐,๐๐๐ หาบต่อปี ใน พ.ศ. ๒๔๕๐ ประกอบกับธนาคารมีตัวแทนในทวีปยุโรป สามารถอำนวยความสะดวกได้เป็นอย่างมาก ทั้งพ่อค้าข้าวทั้งไทยและจีน ซึ่งควบคุมการค้าข้าวของประเทศไทยไว้ได้เกือบทั้งหมด มีความนิยมมาใช้บริการของธนาคารมากกว่าจะไปติดต่อกับธนาคารอื่นๆ ซึ่งไม่สะดวกในการใช้ภาษาในการตกลงเงื่อนไขต่าง ๆ ดังนั้นปริมาณธุรกิจด้านการค้าระหว่างประเทศ จึงเป็นธุรกิจที่สำคัญมากด้านหนึ่งของธนาคารในทันทีที่เปิดดำเนินธุรกิจ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้แบงก์สยามกัมมาจล ตกลงว่าจ้างให้ นาย พี ชวาร์ตเช่ (Mr. P.Schwarze) ชาวเยอรมันที่ธนาคารเยอรมันสาขาเมืองเซี่ยงไฮ้ ส่งเข้ามาแทน นาย เอฟ คิเลียน เป็นผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายต่างประเทศต่อไป

การที่แบงก์สยามกัมมาจล ยังคงเปิดดำเนินการในอาคารเดิมของบุคคลัภย์ ในขณะที่มีปริมาณธุรกิจสูงขึ้น ทั้งมีพนักงานเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก จึงทำให้จำเป็นต้องแสวงหาที่ทำการใหม่ หลังจากซื้อที่ดินย่านตลาดน้อย ติดกับตำบลสำเพ็งย่านธุรกิจที่สำคัญ และสร้างสำนักงานชั่วคราวขึ้น เมื่อได้ย้ายเข้าไปทำงานในสำนักงานชั่วคราวแล้ว จึงลงมือก่อสร้างสำนักงานแห่งใหม่จนแล้วเสร็จ แบงก์สยามกัมมาจล จึงย้ายขึ้นไปทำการในตัวตึกสำนักงานตลาดน้อยในพ.ศ. ๒๔๕๓ และได้เปิดบริการด้านต่าง ๆ เพิ่มขึ้น ได้แก่ เงินฝากสงวนทรัพย์ หรือเงินฝากออมทรัพย์ขึ้นดำเนินการเป็นครั้งแรกในประเทศไทย เพื่อช่วยให้ประชาชนรู้จักออมทรัพย์ ซึ่งมีที่เก็บที่ปลอดภัยและได้รับผลตอบแทนตามสมควรขึ้น

นอกจากนี้ยังได้ริเริ่ม นำบริการเงินฝากประจำ เงินฝากเผื่อเรียก (Deposit at call) และการให้กู้เบิกเกินบัญชีขึ้นอีกเช่นกัน แต่อย่างไรก็ดีในช่วงแห่งการขยายตัว ในด้านการให้บริการเพิ่มขึ้น ณ ที่ทำการชั่วคราวแห่งใหม่นี้ ผู้ถือหุ้นชาวต่างประเทศได้ขอถอนหุ้นทั้งหมด และผู้จัดการฝ่ายต่างประเทศก็ขอลาออก ดังนั้น แบงก์สยามกัมมาจล จึงไม่มีผู้ถือหุ้นสำคัญเป็นชาวต่างประเทศมาตั้งแต่ครั้งนั้น
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 233  เมื่อ 23 ก.ค. 13, 06:51

การบริหารงานธนาคารที่ฝรั่งร่วมกับคนไทย โดยมีกรรมการผู้จัดการฝ่ายละคน ต่างฝ่ายต่างไม่ก้าวก่ายกัน แต่ผลกำไรขาดทุนมารวมอยู่ในบรรทัดสุดท้ายด้วยกัน มันก็เป็นเชื้อให้ทะเลาะอยู่แล้ว เมื่อถึงทางตัน ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งก็ต้องขาย ส่วนใหญ่แล้ว อีกฝ่ายหนึ่งจะซื้อโดยให้กำไรพอสมควร มิฉะนั้นจะทำบริษัทพัง ตายทั้งคู่ได้ง่ายๆเหมือนกัน

ทว่าบทสรุปที่นักประวัติศาสตร์เดนมาร์กเขียนก็เป็นประมาณนี้

การค้นหาความจริงทางด้านความสัมพันธ์ระหว่างไทย-เดนมาร์กในอดีต ระหว่างปี๑๘๙๘ถึง๑๙๐๗ พวกเดนได้มีโอกาส๓ครั้งในการเสนอแผนก่อตั้งธนาคารแห่งสยามในกรุงเทพ ซึ่งสุดท้ายได้กลายเป็นธนาคารสยามกัมมาจล

นีลส์ แอนเดอเซน กรรมการผู้จัดการใหญ่ของEAC(หรือบริษัทอิสต์เอเซียติก) ผู้เป็นสมองที่วางกลยุทธในการเดินหมากของเดนมาร์กในสยาม นายพลริชลิวเป็นผู้ปฏิบัติการ โดยใช้ตำแหน่งหน้าที่และอิทธิพลในประเทศนั้น อีแซก กิลลิกแสทดต์(Isac Gliickstadt) กรรมการผู้จัดการธนาคารกสิกรในโคเปนฮาเกนซึ่งใหญ่ที่สุดในกลุ่มประเทศแสกนดิเนเวีย ผู้ใช้ความสัมพันธ์ที่มีในโครงข่ายธนาคารเยอรมัน ดึงเงินจากธนาคารดอยช์เอเชียติกในแฮมเบิร์กมาร่วมด้วย  แอกเซล ไฮเดะ(Axel Heide)กรรมการผู้จัดการของธนาคารไพรเวทแบงค์ ผู้มีสายใยแน่นปึ่กกับนายธนาคารในรัสเซียและฝรั่งเศส สามารถระดมเงินทุนสำรองไว้รองรับธุรกิจได้อย่างไม่บกพร่อง

ทั้งสี่คนนี้รวมตัวกันเป็นดรีมทีมที่ต่างก็มีจุดมุ่งหมายของตนเองแน่ชัด นายธนาคารทั้งสองต้องการโอกาสที่จะขยายกิจการของเดนมาร์กออกสู่โลกทางซีกตะวันออกนี้  บริษัทอิสต์เอเชียติกนั้นต้องการเพิ่มอิทธิพลทางการค้าในสยาม ส่วนริชลิวต้องการทำเงิน ซึ่งสุดท้ายแล้วทุกคนก็ได้ในสิ่งที่ต้องการ แม้จะไม่ใช่อย่างที่คาดฝัน เพราะคนไทยกลายเป็นผู้ถือครองหุ้นส่วนใหญ่ของธนาคารสยามในที่สุด จากภาพรวมเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งหมด จะเห็นคนเดนมาร์กกับคนอังกฤษแย่งชิงผลประโยชน์กันในสยาม แต่จบด้วยทั้งสยาม อังกฤษ และเดนมาร์กต่างก็พบวิถีทางที่เหมาะสมแก่ตนเองที่ทุกฝ่ายก็พอใจ

ทางด้านสยาม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชประสงค์จะให้ประเทศของพระองค์เป็นอิสระจากอิทธิพลของอังกฤษ(กับฝรั่งเศส)ทั้งด้านการเมืองและเศรษฐกิจ ในส่วนที่กรมหมื่นมหิศรฯพระอนุชาทรงรับผิดชอบนั้น สยามจะต้องมีอำนาจในการควบคุมธนาคารของตนเองให้ได้ ทั้งสองพระองค์จึงทรงเลือกเดนมาร์กเพื่อให้ความพยายามดังกล่าวบรรลุผล ซึ่งทรงทำได้สำเร็จ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 234  เมื่อ 23 ก.ค. 13, 08:17

ข้อความโดย: เพ็ญชมพู
อ้างถึง
ประวัติแบงก์สยามกัมมาจลเรื่องผู้ถือหุ้นเริ่มแรกเป็นที่เปิดเผยอยู่แล้ว

แต่เบื้องหลังนั้นเป็นเช่นใด เหตุไฉนเหตุการณ์จึงกลับแปรผันให้ทางฝ่ายเดนมาร์กเป็นรองเยอรมัน อยากทราบนัก เรื่องนี้สิน่าตื่นเต้น รออ่านคุณนวรัตนมาเฉลย

ข้อความโดย: NAVARAT.C
อ้างถึง
ส่วนที่ถามทำนองว่าทำไมเดนมาร์กกลายเป็นถือหุ้นนัอย เยอรมันกลับถือหุ้นมากนั้น เอกสารของเดนมาร์กไม่ได้แจ้งไว้ ผมก็มิอาจเดา

วันนี้ขณะกำลังเรียบเรียงต้นฉบับเพื่อต่อเรื่อง ผมเข้าเน็ทไปเจอข้อความเล็กๆนี้โดยบังเอิญ

The Danish Farmers' Bank, founded in 1871 by Danish and German capital. With the cautious Isaac Gluckstadt as leader until 1910 and an expanded branch network grew the bank soon to become the country, later the largest Nordic bank.

เป็นอันว่าคำถามของคุณเพ็ญมีคำเฉลยแล้ว ธนาคารกสิกรเดนมาร์กแต่เงินทุนมาจากเยอรมัน สูตรเดียวกับที่พยายามนำมาเล่นต่อในสยามเลย
พวกนายแบงก์ของยุโรปแทบจะทั้งหมด ไม่ว่าประเทศไหนๆ ล้วนแต่เป็นคนยิว พวกนี้กากี่นั้งยิ่งกว่าคนจีน ที่ว่าธนาคารเยอรมันน่ะ เอาเข้าจริงๆแล้วยิวต่างหากที่ควบคุมเงินทองประเทศ ฮิตเลอร์จึงเขม่นนักเขม่นหนา

น่าอัศจรรย์ใจยิ่งกว่าเรื่องใครเป็นหมู่เป็นจ่าในธนาคารนี้ เพราะในปีที่ตั้งสยามกัมมาจลได้นั้นเอง นายพลริชลิวก็ก้าวจากกรรมการธรรมดาๆคนหนึ่ง ขึ้นไปเป็นประธานกรรมการของธนาคารกสิกรเดนมาร์ก และดำรงตำแหน่งดังกล่าวอยู่ยาวนานจนถึงปี ๑๙๒๒
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 235  เมื่อ 23 ก.ค. 13, 11:51

ลงจากเรือนไทยไปหลายวัน   กลับมากระทู้วิ่งเร็วเกือบเท่าแสง  ทำให้ต้องวิ่งหน้าตั้งไล่ตามอ่านให้ทัน    เลยไม่รู้จะมีอะไรหลงหูหลงตาอ่านข้ามไปหรือเปล่า
มีเกร็ดเล็กๆตอนหนึ่งที่สะดุดใจ 
นายพลริชลิวมารอรับเสด็จถึงซานรีโมในอิตาลี่ และร่วมขบวนเสด็จพระราชดำเนินไปด้วยตั้งแต่วันที่๑๒พฤษภาคม๑๙๐๗ ในงานพระราชทานเลี้ยงรับรองที่พระเจ้าเฟรเดอริกที่๘(King Frederik VIII) ซึ่งเสด็จขึ้นครองพระราชบัลลังก์เดนมาร์กหลังการสวรรคตของพระเจ้าคริสเตียน ทรงจัดขึ้นถวายพระเกียรติยศแด่พระมหากษัตริย์ไทยในวันที่๑กรกฏาคมนั้น ทรงมีพระราชโองการแต่งตั้งให้นายพลโทริชลิว เป็นขุนนางในพระราชสำนัก(Chamberlain)เช่นเดียวกับที่ท่านได้เป็นพระยาพานทองของสยาม ต่อไปนี้คนเดนมาร์กจะต้องเรียกท่านว่า Chamberlain Richelieu จะไปเอ่ยนามเฉยๆไม่ได้เชียวนะเออ ส่วนนายแอนเดอเซน งานนี้ได้เครื่องราชย์ชั้นสายสะพายไปประดับเสื้อนอกหนึ่งเส้น

คืนต่อมาแซมเบอลินริชลิวได้จัดงานเลี้ยงถวายพระกระยาหารค่ำแด่พระเจ้าอยู่หัวที่คฤหาสน์ของตน และไม่ลืมจัดที่ประทับถวายกรมหมื่นมหิศรให้ร่วมโต๊ะเสวยด้วยความชำนาญเกม
ดิฉันไม่รู้ว่า Chamberlain ของเดนมาร์กมีขอบเขตหน้าที่แค่ไหน    เคยรู้แต่ว่า Lord Chamberlain ของอังกฤษ คือสมุหราชมณเฑียร หรืออธิบดีกรมวัง    เรียกว่าเป็นบิ๊กเบิ้มของราชสำนัก   ใครได้ตำแหน่งนี้ก็ได้อยู่ใกล้ชิดพระเจ้าแผ่นดินอังกฤษ  เป็นที่ไว้วางพระทัยมาก   
ไม่รู้ว่าท่านริชลิวเป็น Lord Chamberlain  หรือว่าเป็น Chamberlain เฉยๆ หมายถึงว่าเป็นข้าราชสำนักสังกัดกรมวัง    ถ้าเป็นลอร์ดเองก็แสดงว่ากำลังภายในของท่านล้ำลึกมหาศาล   มากกว่าที่เราจะพึงรู้ได้   ไปเปิดเว็บค้นหาตำแหน่งนี้  เจออธิบายไว้ตามนี้ค่ะ
http://kongehuset.dk/english/Organisation-and-Contact/Employees/offices-and-employees

The Lord Chamberlain’s office is the secretariat for The Queen. The office is in charge of all the arrangements for official functions, such as state visits at home and abroad, dinners and luncheons, and court ceremonies, including presentation of credentials by ambassadors as well as their farewell audiences.
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 236  เมื่อ 23 ก.ค. 13, 15:35

นายพลริชลิวไม่ได้เป็น Lord Chamberlain ครับ เป็น Chamberlain เฉยๆ

ผมเองก็หาไม่เจอว่าตำแหน่งนี้ตรงกับอะไรในราชสำนักไทย จึงใส่ไปว่าขุนนางในพระราชสำนัก แบบครอบจักรวาลไว้ก่อน

Lord Chamberlain หรือสมุหราชมณเฑียร เป็นตำแหน่งข้าราชสำนักประจำ ปฏิบัติราชการ๒๔ชั่งโมง แต่นายพลริชลิวทำธุรกิจเป็นงานหลัก ตำแหน่งที่ว่าอาจจะเป็นกิตติมศักดิ์ ตั้งเพื่อเป็นเกียรติเท่านั้นก็ได้
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 237  เมื่อ 23 ก.ค. 13, 19:55

ตำแหน่ง chamberlain ในภาษาเดนมาร์กคือ okammerherre มีคำอธิบายดังนี้

Titlen kammerherre anvendes ved hoffet. En kammerherre har oprindeligt været en fremtrædende embedsmand – ofte en adelig – med adgang til kongens kammer (deraf titlen). I dag anvendes den som ærestitel. Der udnævnes fortsat kammerherrer. Det er dronningen, der afgør, hvem titlen skal gives til. Oftest bliver den givet til afgåede højere embedsmænd eller til besiddere af større godser. Desuden er cheferne for Den Kongelige Livgarde og Gardehusarregimentet kammerherrer.

อากู๋บริการแปลเป็นไทยให้ว่า

ชื่อแชมเบอร์เลนที่ใช้ในศาล มหาดเล็กเดิมเป็นที่โดดเด่นอย่างเป็นทางการ - มักจะมีเกียรติ - ที่มีการเข้าถึงในห้องของพระราชา (เพราะฉะนั้นชื่อ) วันนี้มันจะถูกใช้เป็นกิตติมศักดิ์ มีวังอย่างต่อเนื่องได้รับการแต่งตั้ง มันเป็นราชินีที่ตัดสินใจที่ชื่อเพื่อส่งให้แก่ ส่วนใหญ่มักจะถูกมอบให้กับอดีตเจ้าหน้าที่อาวุโสหรือผู้ถือที่ดินขนาดใหญ่ นอกจากนี้หัวของรอยัลชีวิตทหารราบและวัง

แต่คุณกูเกิ้นแปลภาษาอังกฤษได้เข้าท่ากว่า

A chamberlain was originally a prominent official - often a noble - with access to the king's chamber (hence the title). Today it is used as honorary. There appointed continued Chamberlains. It is the queen who decides who the title to be given to. Most often it will be given to former senior officials or holders of large estates. Moreover, the heads of the Royal Life Guards Regiment and chamberlains.

ตำแหน่งขุนนางสยามที่น่าจะตรงที่สุดกับ Chamberlain คือตำแหน่งมหาเสวก (อ่านว่ามหา เส-วก) นายพลริชลิวน่าจะประมาณมหาเสวกตรี หรือมหาเสวกโทเป็นอย่างสูง ไม่น่าจะถึงมหาเสวกเอก


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 238  เมื่อ 23 ก.ค. 13, 20:16

ผลงานของพระยาริชลิวแห่งเดนมาร์ก ก็คงจะเด่นเข้าตาพระเจ้าแผ่นดินเดนมาร์กอยู่ไม่น้อยกว่าสยาม  คุณสมบัติที่ว่า Most often it will be given to former senior officials or holders of large estates   พระยาริชลิวมีครบเป๊ะ   
นี่ถ้าตั้งแบงค์เดนมาร์กกัมมาจล สาขาสยามได้สำเร็จตามแผนที่วางไว้     บุญหล่นทับ  วาสนาอาจได้เป็นมหาเสวกเอกแห่งราชสำนักเดนมาร์กก็เป็นได้   
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 239  เมื่อ 23 ก.ค. 13, 20:37

ข้อความโดย: NAVARAT.C
อ้างถึง
ความคิดเห็นที่ 202  
ค่ำนี้ อินทรเนตรนำผมไปพบย่อหน้าเล็กๆในหนังสือเรื่อง Scandinavia and the Scandinavians ที่ไขข้อความถึงธุรกิจของ United Steamship Company มีข้อความดังนั้

In 1902 RicheHeu returned to Denmark, where he was decorated with the Grand Cross of the Dannebrog, and made a director of the Danish East Asiatic Company, the United Steamship Company, the shipbuilding house of Burmeister and Wain, and the Landmandsbank.

ในปี๑๙๐๒ ริชลิวกลับไปเดนมาร์ก ซึ่งเขาได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้น Grand Cross of the Dannebrog และได้เป็นกรรมการบริษัทอิสเอเซียติกของเดนมาร์ก บริษัทยูไนเต็ดสตีมชิป ซึ่งเป็นบริษัทผู้ต่อเรือในเครือบริษัท Burmeister and Wain และธนาคารกสิกร the Landmandsbank

Burmeister & Wainมีสำนักงานใหญ่อยู่ในกรุงโคเปนฮาเกน เป็นบริษัทที่มีอิสเอเซียติกเกี่ยวข้องด้วย ประกอบกิจการหลักการด้านอู่เรือใหญ่โครตๆของเดนมาร์ก  และเป็นผู้ผลิตเครื่องยนต์ดีเซลที่มีชื่อเสียงระดับโลก
ถ้าบอกว่า เครื่องยนต์ดีเซลดังกล่าวยี่ห้อ MAN B&W วิศวกรเครื่องกลของไทยก็คงร้องอ๋อ ทุกวันนี้บริษัทนี้ยังยืนยงคงกระพันอยู่

ผมจะบอกก่อนล่วงหน้า ในปี๑๙๐๙ ประธานกรรมการของบริษัทนี้ชื่อพลเรือโทริชลิวครับ

การที่นายพลริชลิวได้ตำแหน่งokammerherreมานำหน้ายศ เป็นกรรมการบริษัทอิสต์เอเซียติก เป็นประธานกรรมการบริษัทต่อเรือ United Steamship Companyซึ่งเป็นบริษัทลูก แล้วก้าวกระโดดมาเป็นประธานกรรมการของบริษัทBurmeister & Wain ซึ่งเป็นบริษัทแม่ด้วยหลังจากที่ได้ตำแหน่งประธานกรรมการธนาคารกสิกรเดนมาร์ก คงจะเป็นเพราะเทพยดาดลบรรดาลเป็นแม่นมั่น หากไม่ใช่เทพบนสรวงสวรรค์ก็ต้องเป็นสมมุติเทพ

ความสัมพันธ์ระหว่างบริษัทเหล่านั้นคือ ธนาคารกสิกรเดนมาร์กเป็นผู้หาเงินกู้ให้EACขยายกิจการ ซึ่งEACนำไปต่อเรือสินค้าขนาดใหญ่ออกมาหลายสิบลำ และกลายเป็นสายการเดินเรือพาณิชย์ใหญ่ติดอันดับโลก ผู้ที่ต่อเรือให้EACในระยะหลังๆนี้ เปลี่ยนจากอู่ในอังกฤษมาเป็นBurmeister & Wainของเดนมาร์กเอง เจ้าของตัวจริงที่ไม่ประสงค์จะเปิดเผยของบริษัททั้งหลายเหล่านี้คงต้องการคนที่ไว้ใจได้ เข้าไปดูแลให้ผู้บริหารของทุกบริษัทเล่นบทให้ถูกต้องสอดประสานกัน

ด้วยความสามารถในด้านการเจรจาให้ผลประโยชน์ของทุกฝ่ายลงตัวและดำเนินไปอย่างราบรื่น ใครเล่าจะเหมาะสมเท่านายพลริชลิวจอมเก๋า


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 14 15 [16] 17 18 ... 26
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.765 วินาที กับ 20 คำสั่ง