เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 9 10 [11] 12 13 ... 26
  พิมพ์  
อ่าน: 80298 ริชลิว-นักธุรกิจข้ามชาติในมาดนายพลเรือสยาม
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 150  เมื่อ 13 ก.ค. 13, 07:24

วันนี้คือวันคล้ายวันที่๑๓ กรกฏาคม ของเมื่อ๑๒๐ปีที่แล้ว ยังมีเรื่องสำคัญคาใจอยู่เป็นเรื่องสุดท้ายที่ผมรอจังหวะที่จะแก้ไขให้จบอย่างถูกต้อง
เคยเขียนข้อความนี้ไว้เองในกระทู้ ม.ปาวี เมื่อไปกี่ปีที่ผ่านมาในเรือนไทยนี้แหละ ความว่า

เมื่อม.ปาวี ราชทูตฝรั่งเศสประจำกรุงเทพ ดำเนินการโดยพลการ สั่งให้เรือรบทั้ง๒ลำเดินทางเข้ามาทอดสมออยู่ในปากอ่าว เตรียมพร้อมที่จะตลุยเข้ามาในกรุงเทพนั้น  ในวันที่ ๑๑ กรกฎาคม เสนาบดีว่าการต่างประเทศของไทยได้มีโทรเลขไปยังอัครราชฑูตไทยประจำกรุงปารีส แจ้งเรื่องเรีอรบฝรั่งเศส จะเข้ามาขู่เข็ญไทย ขอให้นำความไปร้องเรียนต่อ ม.เดอ แวลล์ รัฐมนตรีว่าการต่างประเทศฝรั่งเศสโดยด่วน

เดอ แวลล์ตอบว่า รัฐบาลฝรั่งเศสไม่ได้เป็นผู้สั่งการให้เรือรบเข้าไปในกรุงเทพ และรับรองว่าจะถอนคำสั่งเดิมเสีย
ในวันที่ ๑๓ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๓๖ เดอ แวลล์ ได้มีโทรเลขไปยังปาวี ราชฑูตฝรั่งเศสที่กรุงเทพ ฯ มีความว่าสำคัญว่า ให้บอกแก่กองเรือฝรั่งเศสทราบว่า รัฐบาลฝรั่งเศสตกลงยับยั้งไม่ให้เรือลำใดข้ามสันดอนเข้าไปก่อน โทรเลขฉบับนี้มาถึงสถานทูตฝรั่งเศส ได้รับในกรุงเทพเวลาเช้า ๑๐.๓๐น. ของวันเดียวกันนั้น

ปาวีอยู่ในกรุงเทพมานานพอที่จะรู้ระบบการทำงาน "หลับกลางวัน ทำงานกลางคืน" ของสยามดี  เขาจึงถ่วงเวลาที่จะนำโทรเลขนั้น  ไปแจ้งยังผู้บังคับการกองเรือ ที่กำลังรอปฏิบัติตามคำสั่งที่กำหนดไว้ว่า เมื่อน้ำขึ้นในตอนเย็น จะเป็นเวลาที่ลงลงมือปฏิบัติการ

อันที่จริง สำเนาโทรเลขนั้น กรมโทรเลขสยามก็ได้รับพร้อมๆกัน ไม่มีปัญหาอะไรที่เราจะให้เจ้าหน้าที่ไทย ลงเรือด่วนนำโทรเลขนั้น ไปแจ้งให้ผู้บังคับการทหารเรือฝรั่งเศสเสียเอง เพื่อยุติวิกฤต

แต่ทว่า จะหาผู้หลักผู้ใหญ่ฝ่ายไทยที่มีอำนาจสั่งการดังกล่าวสักคน ก็หาได้ไม่ เวลาล่วงเลยจน ๑๘.๐๕ น . เรือรบฝรั่งเศสจึงวิ่งเต็มฝีจักรช้ามสันดอนเข้ามากรุงเทพ

เจ้าพระยาอภัยราชาฯ (โรลัง ยัคมินส์) ที่ปรึกษาราชการของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวชาวเบลเยียม กล่าวไว้ในจดหมายที่เขียนถึงลูกชายเกี่ยวกับโทรเลขที่ฝรั่งเศสส่งมาไว้ว่า "ลูกอาจถามพ่อว่า ถ้าเราได้รับโทรเลขฉบับนั้นเวลา ๑๐.๓๐นาฬิกา ในตอนเช้าของวันที่ ๑๓แล้ว เหตุใดเราจึงไม่ติดต่อกับปาวีทันที โชคร้ายจริงที่เหตุผลเป็นเรื่องโง่เขลา ลูกก็ทราบนี่ว่า เสนาบดีสยามหลับตอนกลางวัน และทำงานตลอดจนประชุมกันในเวลากลางคืน เรื่องนี้ส่งผลให้เมื่อโทรเลขฉบับนั้นมาถึง จึงได้แต่รอกันเงียบๆ โดยไม่บอกให้พ่อรู้ด้วยซ้ำ จนกรมหลวงเทวะวงศ์ฯ ทรงตื่นจากบรรทม ซึ่งพระองค์ทรงตื่นขึ้นตอนที่มีคนได้ยินเสียงยิงปืนใหญ่ที่ปากน้ำนั่นแล้วด้วยซ้ำ"
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 151  เมื่อ 13 ก.ค. 13, 07:38

ตามข้อเท็จจริง โรลัง ยัคมินส์ท่านเข้าใจผิดโดยไม่มีโอกาสแก้  คงไม่ทราบว่าจดหมายส่วนตัวที่เขียนไปถึงลูกชายตนเองแท้ๆ วันหนึ่งจะมีคนขุดขึ้นมาพิมพ์ในหนังสือ ขณะเขียนจดหมายฉบับนั้น ท่านคิดว่าโทรเลขติดอยู่ที่ฝ่ายไทย ซึ่งต้องรอพระบัญชาของกรมหลวงเทวะวงศ์ฯก่อนจึงจะส่งไปให้ม.ปาวีได้ ซึ่งไม่จริง แต่ก็ฝากข้อความฉกรรจ์ไว้ติดตาคนรุ่นหลังว่า เพราะ“เสนาบดีสยามหลับตอนกลางวัน และทำงานตลอดจนประชุมกันในเวลากลางคืน” จึงทำให้เสียงาน เสียการ เสียนคร

ส่วนผมเองทั้งๆที่รู้ ว่าในตอนเช้าวันเดียวกันที่ ๑๓ กระทรวงการต่างประเทศของฝรั่งเศสได้ส่งโทรเลขมายังราชทูตของตนในกรุงเทพเช่นกัน ความสำคัญเต็มๆคือ
“โปรดแจ้งให้กองเรือฝรั่งเศสทราบว่า ในเวลานี้รัฐบาลฝรั่งเศสตกลงยับยั้งไม่ให้เรือรบลำใดข้ามสันดอนเข้าไปก่อน ถึงแม้ว่าจะมีเรือรบของประเทศอื่นเกิน๑ลำในแม่น้ำ เราก็จะไม่เปลี่ยนความคิด
อนึ่ง ให้แจ้งนายพลเรือฮูมานน์ว่า ฝ่ายเรายังสงวนสิทธิ์ที่เรามีอยู่ตามข้อ๑๕ แห่งทางสัญญาพระราชไมตรี ค.ศ. ๑๘๕๖ ที่ทำไว้กับสยามอย่างแน่วแน่”


ด้วยได้เคยอ่านว่า ม.ปาวีเป็นคนเจ้าเล่ห์ จึงนำโทรเลขไปให้ผู้บังคับหมู่เรือฝรั่งเศสในนาทีสุดท้าย เพราะต้องการถ่วงเวลา ถ้าฝ่ายสยามเองลงเรือด่วนนำโทรเลขไปแจ้งเองก็คงยุติเหตุร้ายได้ และผมก็คล้อยตามที่เขาโทษระบบการทำงาน "หลับกลางวัน ทำงานกลางคืน" ที่เอามาจากสำนวนของเจ้าคุณโรลังไปเลย ซึ่งผิด
 
หมู่เรือรบฝรั่งเศสไม่ได้ทอดสมออยู่ที่บริเวณปากอ่าวเพื่อรอปฏิบัติการ แต่เขาเดินทางมุ่งหน้ามาจากฐาน ถึงปากอ่าวพร้อมกันในเวลากว่าห้าโมงเย็นแล้ว ถ้าเราไปแต่หัววันก็คงพบแต่น้ำกับฟ้าอยู่ดี


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 152  เมื่อ 13 ก.ค. 13, 08:03

ถึงแม้ว่าเจ้านายจะบรรทม แต่ระบบการทำงานของประเทศก็ยังดำเนินต่อไปไม่เกี่ยวกัน นายพลริชลิวได้รับรายงานเรื่องโทรเลขดังกล่าวตามสายงานของท่าน และท่านก็ได้ไปพบม.ปาวีทันที โดยมีหลักฐานเป็นเอกสารของอังกฤษ นาวาเอกแองกัส แมคเคลาด์ ผู้บังคับการเรือรบหลวงพาลลาสรายงานผู้บังคับบัญชาของตนว่า เช้าของวันที่๑๓นั้น ริชลิวได้มีจดหมายแจ้งว่า เรือแองกงสตังค์จะมาถึงวันนี้แน่ และ ม.ปาวีตกลงยินยอมที่จะส่งเรือกลไฟกับนายทหารจากเรือลูแตงลำหนึ่งไปด้วย เพื่อจะบอกกองเรือให้อยู่นอกสันดอน จึงหวังว่าเหตุร้ายแรงจะไม่เกิดในทันทีทันใด

ส่วนในรายงานของผู้บังคับการเรือโคแมตในประเด็นนี้มีว่า เรือทั้งสามลำมาถึงที่หมายประมาณ๑๗.๐๐และลอยลำอยู่โดยไม่ได้ทอดสมอ เพราะใกล้เวลาน้ำขึ้นประมาณ๑๘๐๐จะนำเรือผ่านสันดอน  เรืออรรคราชวรเดชของไทยรออยู่แล้ว และส่งเรือเล็กวิ่งตรงมาหา พร้อมๆกับเรือกลไฟอีกลำหนึ่ง เจ้าหน้าที่กรมท่าของไทยซึ่งเป็นชาวเยอรมันขึ้นมาบนเรือเพื่อบอกห้ามมิให้เรือเข้าไปในสันดอน พร้อมกันนั้นนายทหารเรือฝรั่งเศสจากเรือลูแตง ได้นำถุงเมล์ใบใหญ่ขึ้นมาให้ด้วย มีนายทหารเรืออังกฤษจากเรือรบหลวงพาลลาสอีกคนหนึ่งตามขึ้นมา โดยบอกว่ามาเยี่ยมและแจ้งว่าม.ปาวีราชทูตฝรั่งเศสจะมาบอกเองว่าให้เรือรออยู่นอกสันดอนก่อน แต่นายทหารจากเรือลูแตงไม่ทราบเรื่องและไม่ได้รับคำสั่งด่วนอะไรมาเป็นพิเศษ (อย่าลืมว่าเขาพูดเขาซักกันคนละภาษานะครับ)จึงเกิดความสับสนไขว้เขวขึ้น แต่ขณะนั้นเป็นเวลารีบด่วน น้ำขึ้นไม่คอยใคร ผู้บังคับหมู่เรือจึงตัดสินใจทำตามคำสั่งเดิม นายทหารอังกฤษที่ขึ้นไปบนเรือยังได้เขียนในรายงานต่อไปว่าเมื่อเรือรบฝรั่งเศสตัดสินใจเดินหน้า และตั้งใจจะไปเพียงปากน้ำโดยไม่ฟังคำทัดทาน ทหารบนเรือรบทั้งสองแม้ว่าจะพร้อมอยู่ แต่ก็มิได้ประจำสถานีรบ ต่อเมื่อถูกยิงจากป้อมแล้วจึงได้นำเครื่องกำบังขึ้นแล้วส่งสัญญาณเตรียมรบ

เมื่อความจริงเป็นเช่นนี้ เรื่องห้ามเขาไม่อยู่นี้คงโทษฝ่ายไทยลำบาก เพราะคงไม่มีใครคิดว่า ม.ปาวีจะกระล่อนได้ถึงขนาดนั้น นอกจากไม่ได้ฝากข้อความใดๆไปกับทหารนำสาร สำเนาโทรเลขคำสั่งดังกล่าวเขายังใส่ไว้ในซองเล็กๆธรรมดาที่ไม่ใช่ซองเอกสารพร้อมตีตราสำคัญ เอาปะปนไปกับซองจดหมายอื่นๆนับร้อย เมื่อทราบว่ามีจดหมายนี้เมื่อถึงกรุงเทพ ทหารสื่อสารในเรือยังต้องเทถุงค้นกันนานพอดูกว่าจะเจอ

ผมขอสารภาพความผิดและขอขมาต่อบรรพบุรุษไทยพระองค์นี้ต่อกรณีย์ดังกล่าวด้วย


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 153  เมื่อ 13 ก.ค. 13, 08:36

ประการสุดท้ายที่อยากให้คนไทยตระหนัก ถ้านายพลริชลิวประสพความสำเร็จในการจมเรือรบฝรั่งเศสในวันนี้ได้ อะไรจะเกิดขึ้น
 
วาริงตัน สมิธเขียนไว้ดังนี้
ข้าพเจ้าสงสัยว่าความรับผิดชอบในผลของปฏิบัติการทางทหารครั้งนี้จะมีใครเคยคิดพิจารณากันหรือไม่ ถ้าสยามประสพความสำเร็จในการจมเรือรบฝรั่งเศสได้ ประชาชนฝรั่งเศสทั้งชาติจะลุกฮือขึ้นร้องตะโกน และการแก้แค้นจะไม่สามารถหยุดได้ในระยะสั้นจนกว่าจะได้เข้ายึดครองทั้งประเทศ

ฝรั่งเศสเคยเล่นบทโหดมาแล้วในจีนและในญวน พลาดไปฆ่าคนฝรั่งเศสเข้าก่อน เขาจ้องจะหาเรื่องอยู่แล้วจึงเอาคืนเบิกบาน ขนเรือปืนไปยิงถล่มเละเทะเป็นเมืองๆไป ญวนนี่ถึงกับตกเป็นเมืองขึ้นทั้งประเทศ กองเรือเดียวกันนี้ถูกเรียกระดมพลไปเตรียมพร้อมอยู่ในไซ่ง่อนในร.ศ.๑๑๒ เดินทางวันสองวันก็ถึงเมืองหลวงของสยาม


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 154  เมื่อ 13 ก.ค. 13, 09:41

เห็นนักรบไซเบอร์สมัยนี้กระเหี้ยนกระหือรือกันนักว่า แค่เรือรบเล็กๆทำด้วยไม้๓ลำจอดนิ่งๆอยู่แถวบางรัก  ทำไมไม่จัดการเสียให้สิ้นทราก
 
ผมได้หารูปมาให้ดู หลังเหตุการณ์รบที่ปากน้ำ ฝรั่งเศสประกาศปิดปากอ่าวจนกว่าสยามจะยอมรับเงื่อนไข เรือรบที่ได้รับคำสั่งให้มาร่วมรวมทั้งหมด๑๒ลำ แต่ไม่ใช่ทั้งหมดที่ระดมไว้ครั้งนี้ เรือรบใหญ่ๆหลายลำยังทอดสมออยู่ในไซ่ง่อน
 
ส่วนที่มาลอยลำอยู่ในอ่าวไทยมีรายชื่อดังนี้

๑ เรือลาดตระเวนหุ้มเกราะ ตริอองฟังต์(Triomphante)


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 155  เมื่อ 13 ก.ค. 13, 09:42

๒ เรือลาดตระเวนฟอร์แฟต์ (Forfait)


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 156  เมื่อ 13 ก.ค. 13, 09:44

เรือปืนลิอง (Lion)


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 157  เมื่อ 13 ก.ค. 13, 09:46

เรือปืนวิแปร์ (Vipere)


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 158  เมื่อ 13 ก.ค. 13, 10:04

๕ เรือสรุปปาแปง (Papin)
๖ เรืออาลูแอตต์ (Alouette)
๗ เรือตอร์ปิโดหมายเลข ๔๓
๘ เรือตอร์ปิโดหมายเลข ๕๐

รายการข้างบนนี้หารูปไม่ได้ครับ

๙ เรือสรุปแองกงสตังต์ (Inconstant)


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 159  เมื่อ 13 ก.ค. 13, 10:08

๑๐ เรือปืนลูแตง (Lutin)


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 160  เมื่อ 13 ก.ค. 13, 10:09

๑๑ เรือปืนโคแมต (Comete)


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 03 ส.ค. 13, 15:15 โดย เทาชมพู » บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 161  เมื่อ 13 ก.ค. 13, 10:18

๑๒ เรือปืน อาสปิค (Aspic)

หารูปไม่เจอเหมือนกัน แต่ปืนเรือของฝรั่งเศสทั้งหมดก็ประมาณนี้


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 162  เมื่อ 13 ก.ค. 13, 10:40

ขอแถมอะไรแสบๆหน่อยก่อนจะผ่านเรื่องราวในร.ศ.๑๑๒ไป ใครติดใจอยู่ก็ไปเปิดกระทู้ขึ้นมาใหม่นะครับ เดี๋ยวจะกระทู้นี้ออกทะเลกู่ไม่กลับ

หลังจากเสร็จภารกิจ ฝรั่งเศสได้ปลดระวางเรือโคแมตและเรือลูแตง เพราะใช้มาหลายงานโทรมเต็มที แต่แทนที่จะขายเชียงกงอย่างที่เคยปฏิบัติ ฝรั่งเศสรู้ว่าเขมรเกลียดสยามเอามากๆ จึงมอบเรือทั้งสองลำให้เป็นเรือพระที่นั่งของสมเด็จนโรดมสีสุวัต ไว้จอดทอดสมอหน้าวังเขมรินทร์กรุงพนมเปญสำหรับดูเล่นๆเป็นของขวัญปลอบใจ ฐานที่พระองค์ทรงพยายามทุกวิถีทาง แม้กระทั่งเสด็จไปปารีสในช่วงพระเจ้าอยู่หัวเสด็จไปเจรจาความขั้นสุดท้ายให้ฝรั่งเศสคืนจันทบุรีและตราดให้เรา โดยพระองค์ทรงเรียกร้องให้ฝรั่งเศสผนวกดินแดนสยามลึกเข้ามาถึงโคราช โดยอ้างว่าคนท้องถิ่นเป็นเขมร ซึ่งฝรั่งเศสตบหลังเบาๆว่ามากไปพะยะค่ะพระเจ้าน้อง มากไป


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 163  เมื่อ 15 ก.ค. 13, 08:32

สืบเนื่องจากเรื่องนี้ครับ ความสำคัญอยู่ในสองท่อนข้างล่าง


นายสมิธได้นั่งเรือไปที่ป้อมนี้วันที่เกิดเหตุ ขณะนั้นเรือรบฝรั่งเศสทั้งสองลำมาถึงปากอ่าวแล้วรอเวลาน้ำขึ้นเต็มที่อยู่ ผู้บังคับการชาวเดนมาร์กของป้อม เรือเอกเกิตส์เช ยังไม่ได้รู้เรื่องรู้ราวที่เกิดขึ้นนอกป้อมของตนเลย เมื่อนายสมิธทักว่าทหารของยูดูดีนะ เขาก็ตอบว่าไม่เลวละ แต่ไม่เคยยิงปืนใหญ่ซักกะนัดเดียว ไอได้แต่หวังว่าคงไม่จำเป็นต้องจะยิงมันจนกว่าทหารของไอจะได้รับการฝึกมากกว่านี้
.
.

เรือรบฝรั่งเศสทั้งสองลำแล่นผ่านป้อมไปในท่ามกลางความมืด  ผู้บังคับการป้อมมองเห็นไฟตะเกียงเดินเรือเคลื่อนที่มา แต่ระบุไม่ได้ว่าเป็นเรือของใคร อาจเป็นเรือสยามก็ได้จึงไม่กล้ายิง พอเรือแองกงสตังค์ผ่านไปแล้ว ผบ.เรือโคแมตเห็นเสาธงของป้อมก็จำได้เพราะเคยเข้ามาเมืองไทยก่อนหน้านี้ เลยระดมยิงมาที่ป้อมหลายตับ ทหารในป้อมบาดเจ็บเล็กน้อย๑๒คน ทหารไทยยิงปืนเล็กโต้ตอบไปบ้างซึ่งก็ไม่ทราบว่าได้ผลอย่างไร


ต่อมา คุณสมุน007ได้ทักท้วง
อ้างถึง
ความคิดเห็นที่ 148  เมื่อ 13 ก.ค. 13, 00:14   
________________________________________
อ้างจาก: NAVARAT.C ที่  12 ก.ค. 13, 23:26
ยิงปืนเล็ก กับยิงปืนใหญ่มันผิดกัน ป้อมผีเสื้อสมุทรไม่ได้ยิงปืนใหญ่สักโป้ง แต่ยิงปืนเล็กไปเปาะๆแปะๆ จะยากอะไร จิ๊กโก๋ก็ยิงได้ นายป้อมเองยังบอกว่าคงไม่ได้ผล เพราะยิงเข้าไปในความมืด

samun007
เอ ...ผมว่าป้อมผีเสื้อสมุทรก็ยิงปืนอาร์มสตรองตอบกลับไปนะครับ ในรายงานของผู้การเกิตเช่ก็เขียนไว้ว่าสั่งให้ยิงตอบกลับไป ไม่ได้บอกว่ายิงปืนอะไร

ผมพักสมองเสียสองสามวัน แล้วกลับไปค้นอ่านเอกสารจำพวกบันทึกของฝรั่งอีกครั้ง จึงหาเหตุของ “สัญญา”อันแปลว่าความจำได้หมายมั่นของผม เจอว่ามีที่มาจากความตามนี้

.....ยังเหลือป้อมที่เกาะเล็กอยู่อีกป้อมหนึ่ง ซึ่งเรือโคแมตเคยรู้จัก เพราะเคยมาจอดอยู่ใกล้ๆเป็นเวลาสามวันเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา และยังได้เห็นพระเจ้าแผ่นดินสยามเสด็จมาตรวจป้อมนี้ เราได้เพ่งสายตาหาป้อมในความมืด ขณะเดียวกันก็ได้บรรจุกระสุนปืนของเราด้วยด้วยกระสุนเมลิไนท์จำนวนสี่นัด เตรียมคอยไว้ เวลา๑๙๑๐ได้มาถึงป้อมนี้ซึ่งสงบเงียบอยู่ และเรือแองกงสตังต์ได้แล่นผ่านไปโดยมิได้สังเกตเห็น แต่เรายังมองเห็นเสาธงเหล็กของป้อมอยู่จึงใช้เป็นที่เล็งเป้า เราได้ทำการยิงเข้าไปและปืน๒๑เซนติเมตรของป้อมก็ได้ยิงตอบออกมาโดยไม่ถูกเรือเราแต่อย่างได้ เสียงปืนเล็กดังสนั่นอยู่ริมฝั่งก่อนจะเงียบเสียงไป เราแล่นเลยเมืองปากน้ำไปโดยข้าศึกไม่กล้าติดตามมาเลย เราเร่งเครื่องจักรเต็มที่มุ่งสู่กรุงเทพ เรือแองกงสตังต์จุดตะเกียงหลังให้เห็น เราจึงได้แล่นตามเรื่อยไป.

ข้อมูลอะไรต่อมิอะไรในขณะค้นคว้ามาเขียนเรื่องมันเยอะจนปิดกั้นความฉลาดของผมเสีย ปืน๒๑เซนติเมตรมันไม่มีในสารบบของไทย นึกว่ามันคงเป็นปืนเล็กชนิดหนึ่ง เพราะผมไปยึดติดกับคำว่าปืนเล็กดังสนั่นอยู่ริมฝั่ง
ประกอบกับที่นายสมิธเขียนว่าทหารของเรือเอกเกิตส์เช ไม่เคยยิงปืนใหญ่ซักกะนัดเดียว ผมก็เขียนคคห.ของผมไปอย่างที่เห็นกัน

เมื่อสมองกลับมาสดดังเดิมแล้ว จึงถึงบางอ้อว่า ๒๑เซนติเมตร=๘นิ้ว ก็คือกระสุนขนาด๘นิ้วที่ปืนอาร์มสตรองใช้

ดังนั้น ในหัวค่ำของวันที่ทำการรบที่ปากน้ำ ป้อมผีเสื้อสมุทรได้มีโอกาสยิงปืนเสือหมอบซึ่งมีประจำการรวม๓กระบอกออกไปตามหลักฐานเอกสารของฝรั่งเศส แต่จะกระบอกใดกระบอกหนึ่งหรือทั้งสามกระบอก ผมไม่พบปรากฏในเอกสารทางการของไทย หรือของฝรั่งชาติใดอีก

แต่ทว่ามีตำนานเรื่องเล่าของชาวปากน้ำ เกี่ยวกับสะพานเล็กๆแห่งหนึ่งว่า "คุณก็อตเช่" มีชื่ออยู่บนป้อมผีเสื้อสมุทร ในช่วงที่เกิดเหตุ ร.ศ. ๑๑๒ (พ.ศ.๒๔๓๖) เป็นคนที่ออกคำสั่งไม่ให้ปืนเสือหมอบยิงตอบโต้กองเรือฝรั่งเศส โดยอ้างว่ามืดมากเดี๋ยวจะยิงกันเอง แล้วมีข่าวว่าถูกทหารไทยรุมทำร้าย เพราะหาว่าเข้าข้างพวกฝรั่งด้วยกัน ท่านเป็นนายทหารในปี ๒๔๓๖ ดังนั้น ปี ๒๔๒๕ จึงไม่น่าจะเป็นปีที่เกิด

เออนะ ก็สอดคล้องกับที่นายสมิธเขียนไว้อีกในเรื่องความกระด้างกระเดื่องของทหารไทยว่า “คืนนั้นเรือเอกเกิตส์เชก็ถูกยิง”
samun007
อ้างถึง
ท่านพลเรือตรีแชน บอกไว้ว่า รายงานของฝรั่งโดยเฉพาะฝรั่งเศสอย่าไปเชื่อให้มากนัก
.
.
.
   
คราวนี้จะทำอย่างไรดีละครับ


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 164  เมื่อ 15 ก.ค. 13, 13:05

แต่ทว่ามีตำนานเรื่องเล่าของชาวปากน้ำ เกี่ยวกับสะพานเล็กๆแห่งหนึ่งว่า "คุณก็อตเช่" มีชื่ออยู่บนป้อมผีเสื้อสมุทร ในช่วงที่เกิดเหตุ ร.ศ. ๑๑๒ (พ.ศ.๒๔๓๖) เป็นคนที่ออกคำสั่งไม่ให้ปืนเสือหมอบยิงตอบโต้กองเรือฝรั่งเศส โดยอ้างว่ามืดมากเดี๋ยวจะยิงกันเอง แล้วมีข่าวว่าถูกทหารไทยรุมทำร้าย เพราะหาว่าเข้าข้างพวกฝรั่งด้วยกัน ท่านเป็นนายทหารในปี ๒๔๓๖ ดังนั้น ปี ๒๔๒๕ จึงไม่น่าจะเป็นปีที่เกิด

วันที่ ๑๔ สิงหาคม ค.ศ. ๑๘๘๒ หรือ พ.ศ. ๒๔๒๕ คือวันที่ "คุณก็อตเช่" เข้ามารับราชการในเมืองไทย ส่วน วันที่ ๑ เมษายน ค.ศ. ๑๙๓๑ หรือ พ.ศ. ๒๔๗๔ (หรือ ๒๔๗๕ ถ้านับวันที่ ๑ เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่) เป็นวันเกษียณจากการเป็นพนักงานบริษัทรถไฟปากน้ำ

Captain T.A. Gottsche   เป็นนายทหารชาวเดนมาร์ค ที่ได้รับการชักชวนจากพระยาชลยุทธโยธิน (ชาวเดนมาร์ค ชาติเดียวกัน) ให้เข้ามาช่วยในกิจการทหารเรือตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๒๕ ชื่อของ Captain T.A. Gottsche  ปรากฏครั้งแรกในหน้าประวัติศาสตร์ไทย ตามข้อมูลของกองทัพเรือ

http://www.navy.mi.th/navalmuseum/002_history/html/his_b23_war-chaophya_thai.htm
Captain T.A. Gottsche
  
ท่านเป็นผู้บังคับการป้อมผีเสื้อสมุทร เมื่อครั้งมีการยิงต่อสู้กับเรือรบฝรั่งเศส ในช่วงการรบที่ปากน้ำ ร.ศ. ๑๑๒ มีทหารบาดเจ็บ ๖ นาย ท่านยังเป็นผู้ควบคุมหัวจักรรถไฟสายปากน้ำ จูงขบวนเสด็จ ในพิธีเปิดทางรถไฟสายปากน้ำ ก่อนที่จะลาออกจากกองทัพเรือ เพื่อมาเป็นพนักงานบริษัทรถไฟสายปากน้ำเต็มตัว ในปี ๒๔๔๒ จนเกษียณจากบริษัทในปี ๒๔๗๕

บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 9 10 [11] 12 13 ... 26
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.076 วินาที กับ 20 คำสั่ง