เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 4 5 [6] 7 8 ... 26
  พิมพ์  
อ่าน: 80244 ริชลิว-นักธุรกิจข้ามชาติในมาดนายพลเรือสยาม
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 75  เมื่อ 09 ก.ค. 13, 14:23

ไปเจอข่าวนี้ ที่มีทั้งคอมมิชชั่น คอรัปชั่น และคอนเซสชั่นหรือสัมปทาน  เลยนำมาลงเป็นตัวอย่างว่าในปัจจุบัน  ประเทศอื่นเขามองสามคำนี้อย่างไร

ศาลจีนตัดสินประหารชีวิตอดีตรัฐมนตรีการรถไฟฐานคอร์รัปชั่น และใช้อำนาจในทางมิชอบ
ขณะดำรงตำแหน่ง แต่ให้รอลงอาญาไว้ 2 ปี และอาจได้รับลดโทษเหลือเพียงจำคุกตลอดชีวิต


ศาลจีนในกรุงปักกิ่ง ตัดสินในวันนี้ ให้ประหารชีวิต นายหลิว จื้อ จวิน อดีตรัฐมนตรีการรถไฟในคดีที่ถูกกล่าวหาว่ารับสินบนจำนวน 64 ล้านหยวน หรือราว 320 ล้านบาท ตลอดระยะเวลากว่า 25 ปีที่เขาดำรงตำแหน่ง แต่ศาลกำหนดให้รอลงอาญาไว้ 2 ปี และเมื่อครบกำหนดดังกล่าว ศาลมักพิจารณาลดโทษเป็นจำคุกตลอดชีวิต หากนักโทษมีพฤติกรรมดี

นายหลิวยังถูกยัดทรัพย์สินทั้งหมดในคดีรับสินบน และต้องโทษจำคุกอีก 10 ปีในคดีใช้อำนาจในทางมิชอบ    คดีนี้ ถือเป็นการตัดสินลงโทษบุคคลระดับสูงที่สุดในกรณีคอร์รัปชั่น หลังจากที่ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ก้าวขึ้นสู่อำนาจเมื่อต้นปีนี้ และประกาศนโยบายว่า จะปราบปรามการคอร์รัปชั่น ตั้งแต่ระดับล่างจนกระทั่งระดับสูงของพรรคคอมมิวนิสต์

นายหลิว วัย 60 ปี ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นบิดาแห่งรถไฟความเร็วสูงของจีน ถูกปลดจากตำแหน่งรัฐมนตรีเมื่อปี 2554 และถูกขับไล่ออกจากพรรคคอมมิวนิสต์ เมื่อเดือนพ.ค ปีที่แล้ว โดยถูกกล่าวหาว่ายักยอกเงินและรับสินบนจากบริษัทที่ประมูลโครงการสร้างทางรถไฟความเร็วสูง โดยถูกระบุว่าช่วยให้ 11 คน ได้รับสัมปทานหรือเลื่อนตำแหน่ง เป็นการตอบแทนในการประมูลครั้งนี้

และเมื่อเดือนมี.ค.ที่ผ่านมา รัฐบาลสั่งยุบกระทรวงการรถไฟที่เคยมีอำนาจอย่างมาก เพื่อหวังปรับปรุงประสิทธิภาพ และขจัดคอร์รัปชั่น หลังกระทรวงถูกวิจารณ์อย่างหนักเรื่องอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นกับรถไฟหลายครั้งและการทุจริตคอร์รัปชั่น เช่น อุบัติเหตุรถไฟชนกันอย่างรุนแรงในเมืองเหวินโจว  เมื่อเดือน ก .ค.2554 ทำให้มีผู้เสียชีวิตถึง 40 ราย
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 76  เมื่อ 09 ก.ค. 13, 20:00

ต่อครับต่อ

เวลาเราพูดกันถึงบริษัทEast Asiatic Companyนั้น ความจริงในยุคแรกเกือบยี่สิบปี บริษัทนี้ใช้ชือว่า H.N. Andersen of Andersen & Co., กอบกำไรไปจากสัมปทานไม้สักและกิจการค้าส่งออกนำเข้าอย่างมหาศาลแล้ว ก็คิดจะรวยให้มันหนักไปกว่าด้วยการแต่งตัวเข้าตลาดหลักทรัพย์ในยุโรป เพื่อให้เป็นสากลขึ้นจึงได้เปลี่ยนเป็นชื่อดังกล่าว

เหตุการณ์ที่ผมจะนำลงข้างล่างนี้ ความจริงมันเกิดทีหลังเรื่องที่กำลังดำเนินอยู่สักหน่อย แต่ขอเอามาลงไว้ล่วงหน้ากันลืม และถ้าไม่แสดงต้นฉบับที่คัดมา ไว้เดี๋ยวอาจถูกหาว่าผมนั่งเทียนเอาเอง
 
ฝรั่งเขาเขียนไว้อย่างนี้ครับ
 
King Chulalongkom's first visit to Denmark took place in July 1897, in conjunction with his travelling to Great Britain to participate in Queen Victoria's Sixty Year Jubilee celebrations. This was a few months after the foundation of the East Asiatic Company. The king was accompanied by his brother, Prince Swasti, who was known to dislike Richelieu. During the visit the royal party had informal discussions on a number of subjects, and it is most likely that the possibility of establishing a Danish bank in Siam was also mentioned.

H.N. Andersen and Richelieu were both in Siam during the royal visit to Denmark, but that their influence was already quite strong in Danish royal circles is shown by the following episode. During the visit, both the Siamese king and Prince Swasti were bestowed with the highest Danish order, the Order of the Elephant. On the advice of his Chamberlain, F. V.F. Rosenstand, King Christian IX said to King Chulalongkom that "he personally was deeply interested in the East Asiatic Company and he considered it to be a national enterprise." And to Prince Swasti the King said "You are awarded this high decoration on the same occasion as your brother the King, in order that you may not oppose the Danes or Danish interests in Siam." King Christian IX is even said to have directly recommended that the prince support the East Asiatic Company.

(Kaarsted 1990, 104, 119).


แปลใจความว่า
 
การเสด็จมาเยือนเดนมาร์กครั้งแรกของพระเจ้าอยู่หัวจุฬาลงกรณ์เกิดขึ้นในปีพ.ศ.๒๔๔๐ สืบเนื่องมาจากการเสด็จสหราชอาณาจักรเพื่อร่วมพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ๖๐ปีของสมเด็จพระนางเจ้าวิกทอเรีย ซึ่งอุบัติขึ้นสองสามเดือนให้หลังการการก่อตั้งบริษัทอิสต์เอเซียติก  กรมพระสวัสดิ์พระอนุชาโดยเสด็จพระราชดำเนินด้วย เป็นที่ทราบกันว่าเจ้านายองค์นี้ทรงไม่ชอบริชลิว ระหว่างเสด็จ เจ้านายของทั้งสองชาติได้ทรงมีโอกาสสนทนาอย่างกันเองในเรื่องต่างๆ  ดูเหมือนเรื่องความเป็นไปได้ที่จะตั้งธนาคารของเดนมาร์กขึ้นในสยามก็ได้ถูกหยิบยกขึ้นมาด้วย

แม้ว่าทั้งแอนเดนเซนและริชริวยังคงอยู่ในสยามทั้งคู่ระหว่างการเสด็จพระราชดำเนินนั้น แต่อิทธิพลอันมหาศาลของคนทั้งสองในแวดวงราชสำนักเดนมาร์กนั้นก็สะท้อนได้จากฉากนี้ ระหว่างที่พระเจ้าอยู่หัวและพระอนุชาได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นคชราชอันสูงสุดของเดนมาร์ก ท่านเลขาธิการราชสำนักได้กราบบังคมทูลแนะนำพระเจ้าคริตสเตียนที่๙ให้ตรัสกับพระเจ้าอยู่หัวว่า “พระองค์ทรงมีความสนพระทัยในบริษัทอิสต์เอเซียติกอย่างลึกซึ้ง และทรงกำลังพิจารณาจะให้เป็นรัฐวิสาหกิจ” ส่วนกรมพระสวัสดิ์พระองค์ตรัสเองว่า “ท่านได้รับพระราชทานเครื่องราชย์นี้ในวโรกาสเดียวกับพระบรมเชษฐาของท่าน เพื่อที่ท่านจะได้ไม่ต่อต้านคนเดนมาร์กและผลประโยชน์ของเดนมาร์กในสยาม” ว่ากันว่า พระเจ้าคริตสเตียนที่๙ได้ทรงแนะนำกรมพระสวัสดิ์ตรงๆให้สนับสนุนบริษัทอิสต์เอเซียติก


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 77  เมื่อ 09 ก.ค. 13, 20:35

บทสรุปของการก่อตั้งบริษัท อีสเอเซียติ๊ก จำกัด (มหาชน) คัดจากประวัติ A Tale of Two Kingkom คร่าว ๆ ดังนี้


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 78  เมื่อ 09 ก.ค. 13, 21:32

แม้ธุรกิจส่วนตัวจะยุ่งๆ กัปตันริชลิวยังคงเป็นคนโปรดของพระเจ้าอยู่หัว เพราะงานหลวงก็มิได้บกพร่องขาดหาย ทุกครั้งที่เสด็จพระราชดำเนินโดยชลมารคด้วยเรือเวสาตรี เขาจะเป็นกัปตันทุกครั้ง

เมื่อพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าขจรจรัสวงศ์ ได้เป็นผู้บัญชาการทหารเรือองค์ใหม่แทนพระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์ ที่กราบบังคมทูลลาออกโดยอ้างปัญหาด้านพระสุขภาพ ทรงให้กรมแสงเป็นแม่งานจัดสร้างพลับพลาถวายพระเจ้าอยู่หัวที่ถ้ำพระยานคร ทรงออกแบบขึ้นเอง แล้วสร้างขึ้นในกรุงเทพฯก่อนถอดออกเป็นชิ้นๆ ให้พระยาชลยุทธโยธินเป็นนายงาน นำข้ามทะเลแบกขึ้นเขาลงหุบไปประกอบในถ้ำดังกล่าว เสร็จแล้วจึงเชิญเสด็จพระราชดำเนินไปประพาสเมื่อวันที่ ๒๐ มิถุนายน ๒๔๓๓ เพื่อทรงยกช่อฟ้าด้วยพระองค์เอง
 


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 79  เมื่อ 09 ก.ค. 13, 21:34

ถ้ำพระยานครที่อำเภอสามร้อยยอดนี้ ผมเคยไปครั้งหนึ่งเมื่อสามสี่ปีมาแล้ว อย่าว่าแต่จะต้องแบกอะไรเลยแค่แบกสังขารตัวเองขึ้นไปยังแทบจะไม่รอดแล้ว แต่ไปถึงแล้วก็รู้สึกว่าคุ้มค่าเกินความเหน็ดเหนื่อยจริงๆ 


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 80  เมื่อ 09 ก.ค. 13, 21:54

๒๔๓๔ ริชลิวได้เลื่อนยศเป็นพลเรือจัตวามีบรรดาศักดิ์เป็นคุณพระ  เป็นผู้บังคับการกองเรือรบ ป้อมปืน กรมอู่ทหารเรือ
 
ดวงกำลังขึ้น ในปีนั้นเอง ริชลิวได้ให้บริษัทของนีลส์ติดต่อบริษัท Ramage and Fer-guson ที่เมืองลีซ สกอตแลนด์ เพื่อเสนอแผนแบบเรือพระที่นั่งลำใหม่ที่จะสามารถเดินทางไกลได้ถึงยุโรปโดยไม่เหน็ดเหนื่อยพระวรกาย ทรงโปรดเกล้าฯให้สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพกับพระยาชลยุทธโยธินทร์ เดินทางไปยังบริษัทนี้เพื่อทำสัญญาว่าจ้าง และร่วมโดยเสด็จต่อไปยังฝรั่งเศส เดนมาร์กและรัสเซีย เพื่อปฏิบัติราชการด้านการทูตต่ออีกหลายเดือน จึงได้กลับกรุงเทพ

ช่วงนี่นีลส์ก็ได้เข้าไปทำหน้าที่แทนที่กรมแสงเช่นเคย

เรือพระที่นั่งมหาจักรีใช้เวลาต่อ๑๐เดือนจึงแล้วเสร็จ ออกเดินทางจากเมืองลีซ โดยนีลส์ แอนเดอเซนเองเดินทางไปรับ และร่วมเป็นกัปตันกับฝรั่งเดนมาร์กอีกคนหนึ่ง เดินเรือมาถึงกรุงเทพเมื่อ๖ธันวาคม พ.ศ.๒๔๓๕

เอกสารของเดนมาร์กระบุว่างานนี้นายพลริชลิวฟาดไปเหนาะๆ ๕ เปอร์เซนต์ ในฐานะผู้ชงเรื่อง


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 81  เมื่อ 09 ก.ค. 13, 22:29

เอกสารของเดนมาร์กระบุว่างานนี้นายพลริชลิวฟาดไปเหนาะๆ ๕ เปอร์เซนต์ ในฐานะผู้ชงเรื่อง

Commission  หรือ Corruption   ฮืม
บันทึกการเข้า
samun007
องคต
*****
ตอบ: 446


ความคิดเห็นที่ 82  เมื่อ 09 ก.ค. 13, 22:31


ส่วนการรบครั้งสำคัญเมื่อคราวฝรั่งเศสนำเรือรบเข้ามาในแม่น้ำเจ้าพระยา ทหารมะรีนไม่มีโอกาสได้ปะทะข้าศึกแต่อย่างใด เพราะประจำการอยู่ในเรือที่มิได้เข้าสมรภูมิ


ถ้าประจำอยู่บนเรือน่าจะได้รบนะครับ ยกเว้นว่าเรือลำนั้นไม่ได้เข้าสู่สมรภูมิ



นอกจากเรือรบแล้ว กรมพระราชวังบวรยังทรงเคยกำกับดูแลป้อมปืนที่จัดสร้างไว้ป้องกันพระนครแต่เดิมในแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่างด้วย ครั้นยุบวังหน้าแล้ว โปรดเกล้าฯให้โอนป้อมเหล่านี้มาอยู่ภายใต้การดูแลของกรมแสง ให้กัปตันริชลิวเป็นผู้ปรับปรุงให้ทันสมัย นำมาซึ่งอภิมหาโปรเจคสำหรับป้องกันการรุกล้ำของอริราชศัตรูผ่านแม่น้ำเจ้าพระยา

เนื่องจากต้องใช้เงินงบประมาณมหาศาล โครงการนี้จึงดำเนินการอย่างไปอย่างช้าๆ ค่อยเป็นค่อยไป

ถ้าจะพูดตรง ๆ ก็คือ ตลอด ๙ ปีเต็ม ทางสยาม แทบจะไม่มีใครใส่ใจในเรื่องป้อมพระจุลฯ เท่าไรครับ ยกเว้นในหลวง ร.๕ พระองค์เดียวเท่านั้น การก่อสร้างให้แล้วเสร็จได้ ก็ต้องใช้พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ล้วน ๆ รวมถึงยุทโธปกรณ์ ทั้งปืนอาร์มสตรอง ทุ่นระเบิดเรือ กระสุนปืนใหญ่ ตลอดจนสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ เช่นเครื่องกรองน้ำ ฯลฯ เป็นต้น

แต่จะว่าไม่ใส่ใจ ก็คงจะไม่ถูกนัก เพราะช่วงนั้นรายรับจากภาษีแทบจะไม่พอกับรายจ่ายที่ต้องเอาไปพัฒนาประเทศในด้านอื่น ๆ ครับ


ส่วนตัวผมมองว่า ไม่ว่าเจ้าคุณจะตั้งใจละโมภ หรือเป็นผลพลอยได้ก็ตามที ตรงนั้นเป็นเรื่องปลายน้ำแล้ว  สาเหตุหลัก ๆ จริง ๆ น่าจะมาจากเรื่องของงบประมาณสยามที่ยังเก็บได้ไม่เต็มที่ เนื่องจากเพิ่งเริ่มมีการจัดระเบียบการเก็บภาษีใหม่ หลังจากวิกฤตการณ์วังหน้าผ่านไป และเดินเครื่องเต็มสูบหลังจากหมดสมเด็จเจ้าพระยาฯ ไปแล้ว การปฏิรูปประเทศจึงเริ่มเห็นเป็นรูปร่างขึ้นมาครับ



บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 83  เมื่อ 09 ก.ค. 13, 22:37

อ้างถึง
อ้างถึง
เอกสารของเดนมาร์กระบุว่างานนี้นายพลริชลิวฟาดไปเหนาะๆ ๕ เปอร์เซนต์ ในฐานะผู้ชงเรื่อง



Commission  หรือ Corruption   ฮืม



Commission ครับ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 84  เมื่อ 09 ก.ค. 13, 22:43

อ้างถึง
อ้างถึง
ส่วนการรบครั้งสำคัญเมื่อคราวฝรั่งเศสนำเรือรบเข้ามาในแม่น้ำเจ้าพระยา ทหารมะรีนไม่มีโอกาสได้ปะทะข้าศึกแต่อย่างใด เพราะประจำการอยู่ในเรือที่มิได้เข้าสมรภูมิ



ถ้าประจำอยู่บนเรือน่าจะได้รบนะครับ ยกเว้นว่าเรือลำนั้นไม่ได้เข้าสู่สมรภูมิ

ผมเขียนว่า ทหารมะรีนไม่มีโอกาสได้ปะทะข้าศึกแต่อย่างใด เพราะประจำการอยู่ในเรือที่มิได้เข้าสมรภูมิ ยังชัดไม่พออีกหรือครับ
เอ้า งั้นแถมอีก  ทหารมะรีนถูกจัดให้ประจำการในเรือพระที่นั่งมหาจักรี และเรือพระที่นั่งลำอื่นๆ เตรียมพร้อมรอคำสั่งอยู่ในแม่น้ำหน้าพระบรมมหาราชวังครับ ส่วนสมรภูมิอยู่ที่ปากน้ำโน่น

จวนจะถึงคิวบู๊แล้วครับ จวนแล้ว
บันทึกการเข้า
samun007
องคต
*****
ตอบ: 446


ความคิดเห็นที่ 85  เมื่อ 09 ก.ค. 13, 22:54

อ้างถึง
อ้างถึง
ส่วนการรบครั้งสำคัญเมื่อคราวฝรั่งเศสนำเรือรบเข้ามาในแม่น้ำเจ้าพระยา ทหารมะรีนไม่มีโอกาสได้ปะทะข้าศึกแต่อย่างใด เพราะประจำการอยู่ในเรือที่มิได้เข้าสมรภูมิ



ถ้าประจำอยู่บนเรือน่าจะได้รบนะครับ ยกเว้นว่าเรือลำนั้นไม่ได้เข้าสู่สมรภูมิ

ผมเขียนว่า ทหารมะรีนไม่มีโอกาสได้ปะทะข้าศึกแต่อย่างใด เพราะประจำการอยู่ในเรือที่มิได้เข้าสมรภูมิ ยังชัดไม่พออีกหรือครับ
เอ้า งั้นแถมอีก  ทหารมะรีนถูกจัดให้ประจำการในเรือพระที่นั่งมหาจักรี และเรือพระที่นั่งลำอื่นๆ เตรียมพร้อมรอคำสั่งอยู่ในแม่น้ำหน้าพระบรมมหาราชวังครับ ส่วนสมรภูมิอยู่ที่ปากน้ำโน่น

จวนจะถึงคิวบู๊แล้วครับ จวนแล้ว

เท่าที่อ่านจากหนังสือของ พลเรือตรีแชน และ นาวาเอกสวัสดิ์  ทหารมะรีนเหล่าปืนใหญ่ประจำอยู่ตามป้อมปืนนะครับ ส่วนเหล่าราบประจำตามสถานีชายทะเลครับ

ในรายชื่อของผู้พลีชีพ หลายรายเป็นเหล่า อาสาจามบ้าง แผนที่บ้าง ปากน้ำบ้าง ไม่แน่ใจเหมือนกันนะครับว่าจะรวมอยู่ในเหล่ามารีนหรือไม่นะครับ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 86  เมื่อ 09 ก.ค. 13, 23:13

หนังสือที่คุณว่าอยู่หน้าคอมของผมนี่แหละครับ

เดี๋ยวถึงคิวบู๊แล้วผมจะบรรยายต่อ เอาอย่างแน่ใจ(ว่ามีเอกสารเขียนไว้จริง) ไม่แน่ใจไม่เอา


บันทึกการเข้า
samun007
องคต
*****
ตอบ: 446


ความคิดเห็นที่ 87  เมื่อ 09 ก.ค. 13, 23:48

หนังสือที่คุณว่าอยู่หน้าคอมของผมนี่แหละครับ

เดี๋ยวถึงคิวบู๊แล้วผมจะบรรยายต่อ เอาอย่างแน่ใจ(ว่ามีเอกสารเขียนไว้จริง) ไม่แน่ใจไม่เอา

มีแน่นอนครับ อยู่ในบทที่วิเคราะห์เรื่องการรบนะครับ
บันทึกการเข้า
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 88  เมื่อ 10 ก.ค. 13, 01:31

เข้ามานอนรอฉากบู๊ครับ  เจ๋ง  เจ๋ง  เจ๋ง
บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 89  เมื่อ 10 ก.ค. 13, 07:23

007
อ้างถึง
เท่าที่อ่านจากหนังสือของ พลเรือตรีแชน และ นาวาเอกสวัสดิ์  ทหารมะรีนเหล่าปืนใหญ่ประจำอยู่ตามป้อมปืนนะครับ ส่วนเหล่าราบประจำตามสถานีชายทะเลครับ

ในรายชื่อของผู้พลีชีพ หลายรายเป็นเหล่า อาสาจามบ้าง แผนที่บ้าง ปากน้ำบ้าง ไม่แน่ใจเหมือนกันนะครับว่าจะรวมอยู่ในเหล่ามารีนหรือไม่นะครับ

เมื่อคืนผมง่วงจัด เลยขี้เกียจตอบยาว เช้านี้จึงจะขอสัมมนากับคุณสมุนเจมส์ บอนด์ต่อสักหน่อย

ขอโปรดย้อนไปอ่านที่ผมได้เรียบเรียงไว้แต่แรกแล้วว่า การทหารของสยามสมัยต้นรัชกาลที่๕เราใช้ทหารเกณฑ์จากชุมชนชาติต่างๆที่มาพึ่งพระบรมโพธิสัมภาร เรียกว่าอาสาจาม อาสาญวน ฯลฯ พวกนี้ไม่มีวิชาความรู้อะไร เอาเข้ามาเป็นทหารเลว ซึ่งก็ไม่มีใครอยากตาย พอทำการรบก็หาทางหลบเอาตัวรอดก่อน พระเจ้าอยู่หัวท่านทรงประจักษ์ความจริงดังนี้จึงทรงปฏิรูปกองทัพขึ้น เริ่มต้นแบบค่อยเป็นค่อยไป โดยในส่วนทหารเรือนั้นทรงให้ริชลิวฝึกทหารอาชีพขึ้น คัดเลือกคนมาจากกองอาสามอญของวังหน้าแต่เดิม ให้ฝึกแถวเรียนรู้ระเบียบวินัย และการใช้อาวุธ เพื่อให้ทำการรบได้ทั้งบนบกและในเรือรบ เรียกว่าทหารมะรีน มาจากคำว่าmarineของฝรั่ง เดี๋ยวนี้พัฒนาขึ้นเป็นเหล่านาวิกโยธิน

แต่ในรศ.๑๑๒ ดังที่ผมจะเรียบเรียงต่อไปในกระทู้นี้ ทหารไทยยังใช้อาสาจาม อาสาญวนอยู่เป็นหลัก เพราะทหารมะรีนมีจำนวนน้อย ต้องเอาไปใช้ในงานที่สำคัญที่สุดจริงๆ เน้นที่การรักษาพระองค์ ดังนั้นที่คุณไม่แน่ใจว่า เหล่า อาสาจามบ้าง แผนที่บ้าง ปากน้ำบ้าง จะรวมอยู่ในเหล่ามารีนหรือไม่นั้น ผมตอบได้อย่างแน่ใจว่า ไม่ ไม่เกี่ยวกันโดยสิ้นเชิง

การที่คุณอ้างหนังสือฉบับครู ของ พลเรือตรีแชน (ปัจจุสานนท์) และ นาวาเอกสวัสดิ์ (จันทนี)ว่า ทหารมะรีนเหล่าปืนใหญ่ประจำอยู่ตามป้อมปืนนะครับ ส่วนเหล่าราบประจำตามสถานีชายทะเลครับ
ผมก็อุตส่าห์โชว์หลักฐานแล้วว่าผมน่ะมีหนังสือที่ว่าอยู่ในมือ นึกว่าคุณคงเข้าใจว่าผมไม่ได้มั่วมา แต่คุณก็กลับย้ำอีกว่า มีแน่นอนครับ อยู่ในบทที่วิเคราะห์เรื่องการรบนะครับ

เฮ้อออ….มีน่ะมีละครับ แต่ไม่ได้มีอย่างที่คุณว่า
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 4 5 [6] 7 8 ... 26
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.076 วินาที กับ 20 คำสั่ง