เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 17 18 [19] 20 21 ... 26
  พิมพ์  
อ่าน: 80245 ริชลิว-นักธุรกิจข้ามชาติในมาดนายพลเรือสยาม
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 270  เมื่อ 27 ก.ค. 13, 07:51

ครับ ไม่มีใครพ้นไปจากโลกธรรมทั้ง๘ได้
ถึงคราวเสื่อมลาภ เสื่อมยศ ทั้งสังคมมีแต่ติฉินนินทา ท่านนายพลคงอยู่ในกองทุกข์ หลบหน้าหลบตา หายไปจากหน้าบันทึกของนักประวัติศาสตร์เดนมาร์ก

แต่เอกสารไทยระบุว่า ในวันที่ ๒๑ธันวาคม พ.ศ.๒๔๖๘ (ค.ศ.๑๙๒๕)ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้นายพลเรือโท พระยาชลยุทธโยธินทร์ ซึ่งมาเมืองไทยในฐานะแขกในพระองค์ นำบุตรและธิดาเข้าเฝ้า ณ พระที่นั่งบรมพิมาน ในการนี้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯพระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์รัชกาลที่๕ ชั้น๔ ให้แก่บุตรและธิดาทั้งสามคนด้วย
 
ในปี พ.ศ.๒๔๖๘ นั้น วันที่ ๒๕ พฤศจิกายน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯได้เสด็จสวรรคต นายพลริชลิวครั้นได้ข่าว ก็รีบลงเรือโดยสารมากรุงเทพเพื่อถวายบังคมพระบรมศพ ครั้นความทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯจึงโปรดเกล้าฯให้รับครอบครัวริชลิวไว้ในพระกรุณาระหว่างพำนักอยู่เมืองไทย

งานออกพระเมรุและถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯซึ่งมีขึ้นในวันที่ ๒๓-๒๔มีนาคม ๒๔๖๙ นั้น นายพลริชลิวมิได้อยู่ร่วมด้วย หลังถวายบังคมพระบรมศพที่พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทแล้ว ได้พาลูกๆกลับบ้านไปตั้งแต่วันที่ ๒๐มกราคม ศกเดียวกัน

และนั่นก็เป็นครั้งสุดท้ายที่ท่านผู้เฒ่าได้มารำลึกความหลังในสยาม


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 271  เมื่อ 27 ก.ค. 13, 08:07

ภาพตัวอย่าง เหรียญรัตนาภรณ์รัชกาลที่๕ ฝ่ายหน้าและฝ่ายใน ที่โปรดเกล้าฯพระราชทานให้แก่บุตรและธิดาทั้งสามคนของนายพลริชลิวเป็นชั้น๔ ทำด้วยทองคำล้วน ไม่เหมือนในรูปเสียทีเดียว กระทรวงมุรธาธรเป็นผู้รับพระราชบัญชาส่งมอบทีหลัง แต่เนื่องจากกว่าจะได้เหรียญมานายพลริชลิวก็เดินทางกลับไปแล้ว จึงส่งเหรียญทั้งหมดให้สถานทูตไทยในกรุงโคเปนฮาเกน เพื่อที่ท่านทูตจะจัดการมอบให้แก่ผู้ได้รับในโอกาสที่เหมาะสมต่อไป


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 272  เมื่อ 27 ก.ค. 13, 09:20

นายพลโท อองเดร ดู ปริชีส์ เดอ ริชลิว ถึงแก่กรรมด้วยโรคชราในวันที่ ๒๙ มีนาคม ๑๙๓๒ (พ.ศ.๒๔๗๔) รวมอายุได้ ๗๙ ปี ศพของท่านถูกนำไปบรรจุในหีบหินอ่อนที่จัดเตรียมไว้ในโบสถ์แห่งฮอลเมน (Church of Holmen) เมืองโคเปนฮาเกน


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 273  เมื่อ 27 ก.ค. 13, 09:22

บทความที่คนเดนมาร์กเขียนๆไว้ หาอ่านได้ในเวปมักจะจบลงทำนองประชดประชันว่านายพลริชลิวร่ำรวยมหาศาลจากธุรกิจ แต่ไม่ได้สร้างสรรค์อะไรไว้เป็นสาธารณะประโยชน์เลย เปรียบเทียบกับนักธุรกิจร่วมสมัยอย่างนายคาลสเบริกส์ เจ้าของเบียร์กระป๋องสีเขียวเข้มของเดนมาร์กที่รวยแล้วอุทิศเงินสร้างอะไรต่ออะไรให้กับสังคมมากมาย และนั่นจึงทำให้ท่านไม่ประทับอยู่ในความทรงจำของคนเดนมาร์ก เป็นเสมือนแกะดำในท่ามกลางฝูงแกะด้วยซ้ำ
ไม่มีใครจะนึกถึงว่า ช่วงที่ธนาคารกสิกรเดนมาร์กล้มครืนลงไปนั้น ฐานะความเป็นมหาเศรษฐีของท่านประธานกรรมการได้วูบลงไปด้วยในช่วงนั้นหรือไม่ เพียงใด

ไม่ได้มีเอกสารอะไรระบุลงไปชัดๆหรอกครับ มันเป็นข้อสันนิฐานของผมเอง แต่ไม่ได้เป็นแบบชนิดที่เดาว่า เคยได้ยินมาว่า หรือคาดว่า แต่เอาข้อความทั้งในภาษาเดนมาร์ก อังกฤษและไทยมาปะติดปะต่อ ขอให้ท่านช่วยพิจารณาดู ดังต่อไปนี้
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 274  เมื่อ 27 ก.ค. 13, 11:04

นายพลริชลิวไม่ได้นำเงินทั้งหมดไปฝากธนาคาร ก็คงไม่มีใครที่จะทำอย่างนั้นแน่ๆ ในคฤหาสน์ของท่านต้องมีเงินทองของมีค่าเก็บอยู่จำนวนไม่น้อย ไม่นับใบหุ้นที่กลายเป็นเศษกระดาษไป ก็น่าจะยังมีโฉนดที่ดินซึ่งไม่มีใครต้องการซื้อในยามข้าวยากหมากแพง เงินในธนาคารน่ะสูญ หรือด้อยค่าลงใกล้ศูนย์แน่  แต่อย่างไรก็ตามความลับนี้ ทายาทตระกูลริชลิวมิได้คลายออกมาให้คนอื่นรู้
เงินที่นายพลริชลิวยังเหลืออยู่  คงต้องใช้ในระหว่างต่อสู้คดี และดิ้นรนขวนขวายที่จะดำรงสถานะของตนไว้ดังเดิม ซึ่งก็คงหมดไปอีกหลายอยู่ และจบลงอย่างน่าผิดหวัง

เอกสารของเดนมาร์กบางฉบับกล่าวถึงตัวเลขว่า ศาลสั่งปรับนายพลริชลิวในความผิดที่กระทำเป็นเงินสูงถึง ๔๐๐๐ โครน ค่าของเงินในช่วงนั้น (1 krone = 1⁄2480 of a kilogram of pure gold.) ถ้าจ่ายเป็นทองคำ ก็เท่ากับน้ำหนัก๑๐๖บาท(๑.๖๑ ก.ก.)
ถ้าพิจารณาตรงนี้จริงๆตามฐานะเดิมของท่าน เงินทองจำนวนนี้ก็ไม่น่าจะเท่าไหร่ แต่ในช่วงตกอับ ก็คงถือว่าสูง เงินบำนาญที่พระเจ้าอยู่หัวของสยามพระราชทานให้ท่านถึงปีละ๑๕,๐๐๐บาท จึงน่าจะเป็นรายได้หลักในยามยาก และท่านจึงต้องขวนขวายเดินทางมาเฝ้าเพื่อแสดงสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ

หลังมรณกรรมของท่าน การที่คุณหญิงดักม่าร์ขายปราสาทคอคเคเดล์ คฤหาสน์ที่ครอบครัวอยู่อาศัย ก็บ่งบอกอะไรบางอย่างเกี่ยวกับสถานภาพทางการเงินของตระกูลริชลิว
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 275  เมื่อ 27 ก.ค. 13, 11:48

ปกติ เมื่อผู้ที่ได้รับบรรดาศักดิ์และเครื่องราชอิสริยาภรณ์ถึงแก่กรรม ทางราชการจะเรียกคืนของพระราชทานที่ให้ไว้ประดับเกียรติทั้งหมดคืนเข้าหลวง ถ้าทายาทประสงค์จะเก็บไว้เป็นที่ระลึกถึงผู้วายชนม์ ก็อาจกระทำได้โดยชดเชยเป็นเงินตามมูลค่าของของที่ต้องสร้างขึ้นมาทดแทนนั้น

เมื่อนายพลริชลิวหาไม่แล้ว เครื่องยศของพระยาชลยุทธโยธินทร์ก็ถูกทางกรมพระคลังสยามเรียกคืนจากทายาทดังรายการต่อไปนี้

หีบทองคำ๑หีบ พานรองหีบทองคำ๑พาน พานทองคำย่อเหลี่ยม๑พาน มังสี(พานรองรับสังข์)ทองคำ๑มังสี ผอบทองคำ๒ผอบ ซองทองคำใหญ่๑ซอง ซองทองคำเล็ก๑ซอง ตลับภู่ทองคำ๑ตลับ ตลับมีดด้ามหุ้มทองคำ๑เล่ม คนโททองคำ๑คนโท กระโถนทองคำ๑กระโถน

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ประถมาภรณ์ช้างเผือก
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ประถมาภรณ์มงกุฏสยาม
เหรียญจักรพรรดิมาลา
เหรียญดุษฎีมาลา

คุณหญิงชลยุทธโยธินทร์ ทำหนังสือตอบกรมพระคลังมาว่า สิ่งของพระราชทานเหล่านี้ควรตกแก่ผู้รับมรดก ไม่ควรที่ทางราชการจะเรียกคืน ในที่สุดทางราชการพิจารณาเห็นว่าบรรดาเครื่องยศเหล่านั้น เวลาที่พระเจ้าอยู่หัวพระราชทาน ไม่ทราบว่าทรงตรัสบอกพระยาชลยุทธไว้ว่าอย่างไร จึงตกลงมอบให้เป็นสมบัติสืบทอดแด่ทายาท ส่วนเครื่องราชอิสริยาภรณ์นั้น ทายาทไม่มีสิทธิ์ประดับ จึงยืนยันที่จะขอคืน


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 276  เมื่อ 27 ก.ค. 13, 12:15

มาเสริมอีกนิดหน่อย
พระยาชลยุทธริชลิว ได้เครื่อ่งราชย์จากหลายประเทศด้วยกัน  คือ
จากเดนมาร์ก
    Chamberlain and Knight Grand Cross of the Danish Order of the Dannebrog
จากสยาม ก็อย่างที่ท่านนวรัตนนำมาเล่าแล้ว
 จากประเทศอื่นๆนอกเหนือจากนี้

    Legion of Honour (ฝรั่งเศส)
    Order of the Redeemer (กรีซ)
    Order of the Crown of Italy
    Order of the Crown (ปรัสเซีย)
    Order of Saint Stanislaus (รัสเซีย)
    Order of the Sword (สวีเดน)
    Order of the Medjidieh (จักรวรรดิออตโตมัน)
    Order of Franz Joseph (ออสเตรีย-ฮังการี)

   แสดงว่าในยามเฟื่องฟู   ท่านเป็นวีไอพีระดับอินเตอร์ในยุโรป    เข้างานไหนก็มีแต่คนโค้งคำนับ   ดูเหรียญตราบนเสื้อในรูปข้างล่างนี้  ท่านผู้หญิงดักมาร์คงต้องจัดเนื้อที่บนเสื้ออย่างพิถีพิถันมาก ถึงจะติดได้ถูกต้องครบถ้วน


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 277  เมื่อ 27 ก.ค. 13, 12:29


Dagmar "Jing" Marie Louise du Plesis de Richelieu แต่งงานกับ Ove Sehestedt Juul af Ravnholt til Ravnholt เมื่อวันที่ ๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๖๐ และหย่าใน พ.ศ. ๒๔๘๑   ฮืม
คนนี้เป็นลูกสาวของเจ้าคุณริชลิวค่ะ ชื่อเดียวกับแม่   สมรสครั้งแรกกับ  Ove Sehestedt Juul til Lykkesholt  ต่อมาหย่ากัน แล้วสมรสใหม่กับ Carl Maximilian Thorvald ซึ่งมียศเป็น  Baron Haxthausen
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 278  เมื่อ 27 ก.ค. 13, 12:43

nick name ที่ชื่อ Jing คงมาจาก "หญิง" เพราะลูกสาวคนนี้เกิดในเมืองไทย

ประเด็นข้อสงสัยสุดท้าย เกิดจากข่าวBangkok Postเมื่อหลายปีก่อน เมื่อหลานตาของท่านนายพลริชลิว Allan Aage Hastrup ซึ่งเป็นบุตรชายคนเดียวของ Agnes Ingeborg du Plessis de Richelieu (Abi) ลูกสาวคนสุดท้อง ได้มาเมืองไทยเพื่อเปิดประมูลเสื้อครุยพระราชทานสำหรับบรรดาศักดิ์พระยาพานทองของคุณตา อันเป็นมรดกตกทอดผ่านมารดามาถึงตน
ข่าวไม่แจ้งว่าใครประมูลได้ และคุณหลานเอาเงินใส่กระเป๋ากลับบ้านไปเท่าไหร่

ถ้ามรดกคุณตามากอย่างที่เคยมีมาก่อน หลานก็คงรวยพอ ไม่จำเป็นต้องเอาสมบัติอันมีค่ายิ่งทางใจมาเปลี่ยนเป็นเงิน หรือหากไม่อยากเก็บไว้อีก ก็ควรจะอุทิศให้กับองค์กรใดองค์กรหนึ่งในประเทศไทย ผู้ซึ่งเป็นแผ่นดินที่เคยสร้างชื่อเสียงเกียรติยศและความร่ำรวยให้แก่บรรพบุรุษของตนอย่างถึงขนาด


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 279  เมื่อ 27 ก.ค. 13, 12:46

มีเหมือนกัน ที่ในปีนี้ ทายาทผู้มิได้ถูกระบุนาม อุทิศศาสตราวุธที่เห็นในภาพแก่กองทัพเรือผ่านกระทรวงการต่างเทศ ผมก็อนุโมทนาด้วย แม้จะเห็นว่ารายการที่มอบให้ มีธงประจำตำแหน่งนายพลเรือโทเท่านั้นที่น่าสนใจ ที่เหลือเป็นเพียงอาวุธโบราณที่ฝรั่งชอบสะสมเป็นของเล่นๆ หาได้ตามร้านขายของเก่าไม่มีราคาค่างวดเท่าไหร่ หาใช่สิ่งของล้ำค่าที่ได้รับพระราชทานไปจากพระเจ้าแผ่นดินสยามไม่



บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 280  เมื่อ 27 ก.ค. 13, 21:18



เครื่องยศอันล้ำค่าเหล่านี้ ยังอยู่ดีในตระกูลของเจ้าคุณ หรือว่ากลายเป็นคอลเลคชั่นใครประมูลได้ไปเสียแล้วคะ?
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 281  เมื่อ 27 ก.ค. 13, 21:43

ผมต้องขออภัยเป็นอย่างสูงครับ

รูปข้างบนที่ผมเอามาจากเวป มาทราบทีหลังว่าเป็นเครื่องราชอิสริยยศของเจ้านายชั้นเจ้าฟ้า ทำด้วยทองคำลงยาราชาวดี หาใช่เครื่องยศระดับข้าราชการชั้นพระยาไม่
พระยาชลยุทธโยธินทร์ เป็นพระยาพานทอง ระดับทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ เครื่องยศพระราชทานเป็นเครื่องทองคำธรรมดา ประมาณรูปที่ผมนำมาลงข้างล่าง

ส่วนคำถามที่ว่า สิ่งของมีค่าดังกล่าวขณะนี้อยู่ที่ใคร เจ้าของขายไปแล้วหรือฉันใด ผมจนปัญญาที่จะค้นคว้าหามาได้ครับ


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 282  เมื่อ 28 ก.ค. 13, 06:24

เมื่อกล่าวถึงเรื่องพานทองเครื่องยศที่คุณหญิงดักมาร์ไม่ยอมส่งคืนหลวงแล้ว ก็ต้องเล่าถึงตัวเธอต่อ มิฉะนั้นคงจะจบเรื่องของนายพลริชลิวได้ไม่สมบูรณ์

นายพลเรือจัตวาริชลิว(ยศตอนนั้น) ในปลายปี๑๘๙๑ มีภารกิจพิเศษในการนำเสด็จกรมหมื่นดำรงราชานุภาพไปยุโรปเพื่อทำสัญญาต่อเรือพระที่นั่งมหาจักรีที่อังกฤษ แล้วเลยไปเดนมาร์กเพื่อเข้าเฝ้าพระเจ้าคริสเตียนที่๙ในกรุงโคเปนฮาเกน  หลังจากนั้นถือโอกาสลาพักราชการเพื่อเยี่ยมบ้านตามสัญญา มีเวลาแค่เดือนเศษ ก็เกิดปิ๊งกับแม่สาวสวยคนนี้ ถึงขนาดขอแต่งงานด้วยแล้วพากลับมาสยาม

ทำไม๋ฝรั่งชอบบ่นว่าคนไทยชื่อยาว ฝรั่งเอง อย่างแม่สาวดักมาร์คนนี้ชื่อเต็มๆของเธอคือ Dagmar Therese Louise Lerche เกิดปี๑๘๗๑ อายุต่างกับสามีถึง ๑๙ ปี ตอนแต่งงานกับญาติห่างๆกันคนนี้ เธอเพิ่งอายุ ๒๑ ปี มิต้องสงสัยเลยที่เธอจะเป็นดาราดวงเด่นของสังคมฝรั่งในกรุงเทพเมื่อเธอเดินทางมาถึง


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 283  เมื่อ 28 ก.ค. 13, 06:34

บ้านหลวงที่สามีได้รับพระราชทานให้พักอาศัยอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ใกล้กับป้อมปืนหนึ่งของกำแพงพระบรมมาราชวัง ดังที่คุณหนุ่มสยามเอาแผนที่สมัยโน้นมาลงไว้ตอนต้นๆของกระทู้นั่นแหละ อย่าว่าแต่ฝรั่ง สาวชาววังก็กร๊ดกร๊าดแหม่มสาวน่ารักคนนี้กันมากมาย สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีก็ทรงโปรดเธอมาก เพราะความฉลาด สวยสง่าและร้องเพลงเพราะ ทรงเมตตาสนิทสนมมาตั้งแต่กัปตันริชลิวขอพระบรมราชานุญาตพาภรรยาติดเรือพระที่นั่งมหาจักรีที่ตนทำหน้าที่กัปตันไปด้วย คราวที่พระเจ้าอยู่หัวได้ทดลองใช้เสด็จประพาสชวาเป็นครั้งที่๒ ก่อนเสด็จยุโรป


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 284  เมื่อ 28 ก.ค. 13, 07:55

อย่างที่ทราบๆกันอยู่กัปตันริชลิวเป็นคนบ้างาน กลางวันทำงานในกรมทหารเรือ กลางคืนถูกเรียกเข้าเฝ้าเป็นเนืองนิตย์ เวลาที่จะดื่มน้ำผึ้งพระจันทร์กับภรรยาไม่ค่อยจะมี เพื่อนบ้านที่สนิทสนมกัน คือกัปตันลอฟตัส และกงสุลเลคคีย์จึงได้วนเวียนกันมาเป็นเพื่อนแก้เหงา  กงสุลเดนมาร์กคนนี้สนิทสนมกับทั้งสามีภรรยามาก ลูกชายคนหัวปีจึงได้ชื่อเล่นเป็นชื่อเดียวกันกับสหายคนนี้ คือชื่อลี(Lee) ชื่อจริงคือ Helge du Plessis de Richelieu

นอกจากนั้น ยังมีฝรั่งหนุ่มๆไปเสนอหน้าอีกหลายคน เสียดายหนุ่มไทยไม่ได้ส่งเข้าประกวดกับเขาเพราะตกสัมภาษณ์ พูดภาษาอังกฤษสำนวนโมแรนติกไม่เอาอ่าว ดักม่าร์เป็นสาวมีการศึกษา ที่โรงเรียนครูคงสอนให้บันทึกประจำวันลงสมุดไดอารี่ ไอ้ไดอารี่นี่ฝรั่งทุกชาติสมัยโน้นชอบจดกันซะจริง คนไทยไปเรียนนอกก็ติดนิสัยนี้มา อดีตนักเรียนนอกสมัยโน้นจดไดอารี่ทุกวัน วันนี้รักใครโกรธใครใครดีใครเลวอย่างไรจดไปหมด ไม่รู้เหมือนกันว่าจดทำไม ตัวเองก็คงไม่ได้ย้อนกลับไปอ่าน พอตายแล้วลูกเมียไปพบเข้า เอามาอ่านแล้วก็เซ็งเป็ดไปตามๆกัน ดักม่าร์ก็อย่างนั้น ใครมาจีบอย่างไรก็จดลงไป ไดอารีเป็นเรื่องส่วนตัวถือเป็นมารยาทที่ไม่ควรไปแอบอ่านของคนอื่นแม้กระทั่งเมีย กัปตันริชลิวคงไม่ได้อ่าน ถ้าอ่านแล้วจะรู้สึกอย่างไรถ้าภรรยาเขียนไดอารีทำนองว่า “ไดอารีจ๋า วันนี้พี่บรรมารับเราไปนั่งรถเล่นอีกแล้วละ คราวนี้ไปซะไกลเชียวนา แล้วพี่บรรก็เล่าเรื่องของพี่เค้าให้เราฟังด้วยละ…ฯลฯ”
พี่บรรในที่นี้ไม่ได้มาจากสุพรรณบุรี แต่คือ M.W.E. de Bunsen ทูตอังกฤษประจำกรุงเทพ ที่คอยหาโอกาสช่วงที่กัปตันริชลิวไม่อยู่บ้าน มาร้องหง่าวๆอยู่หน้าประตู คนที่อ่านบันทึกของเธอแล้วเอามาเขียนเล่าสู่กันฟังบอกว่า ดูเหมือนเธอจะร้องเหมียวๆรับเขาเหมือนกัน เพราะไปนั่งรถเล่นกันบ่อย และเธอก็เป็นคู่สนทนาที่ดีขนาดที่นายบรรเส้นเอาเรื่องอะไรต่อมิอะไรในสยามที่ตนทำรายงานไปลอนดอนมาเล่าให้ฟังบ่อยๆ ไม่แน่ เขาอาจกำลังหลอกล่อแม่สาวน้อยให้เปิดเผยความลับในวังที่สามีนำมาเล่าต่อให้ภรรยาฟังก็ได้

แต่ก็ช่างเถอะ บังเอิญที่พี่บรรของเธอถูกย้ายไปที่อื่นเสียก่อนที่สัมพันธภาพจะเลยเถิด นายกรีวิลล์(G. Greville's )ทูตคนใหม่ที่มาแทนเกิดไม่ชอบน้ำหน้ากัปตันริชลิวอย่างแรง แล้วเลยเถิดพาลไม่ชอบภรรยาไปด้วย


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 17 18 [19] 20 21 ... 26
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.046 วินาที กับ 19 คำสั่ง