เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 10 11 [12] 13 14 ... 26
  พิมพ์  
อ่าน: 80387 ริชลิว-นักธุรกิจข้ามชาติในมาดนายพลเรือสยาม
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 165  เมื่อ 15 ก.ค. 13, 13:47

ก็อตเช่ต่อมาได้รับราชทินนามเป็น ขุนบริพัตรโภคกิจ ด้วยนะเออ และเป็นต้นสกุล คเชศะนันทน์ สืบลูกสืบหลานอยู่ในเมืองไทยจวบจนปัจจุบัน กระทู้ข้างล่างบอกว่าหาตัวตนยาก แต่ผมใช้อินทรเนตรหาชื่อได้หลายคน
 

http://www.reurnthai.com/index.php?topic=2641.30
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 166  เมื่อ 15 ก.ค. 13, 13:53

ก็อตเช่ต่อมาได้รับราชทินนามเป็น ขุนบริพัตรโภคกิจ ด้วยนะเออ และเป็นต้นสกุล คเชศะนันทน์ สืบลูกสืบหลานเยอะแยะอยู่ในเมืองไทยจวบจนปัจจุบัน

เพื่อนคุณเทาชมพูคนหนึ่งก็เป็นลูกหลานของ "คุณก็อตเช่"  ยิงฟันยิ้ม

มีเพื่อนคนหนึ่งเรียนมาด้วยกันตั้งแต่เด็กจนจบจุฬา แต่แยกไปคนละคณะ   นามสกุลคเชศะนันทน์    เธอเคยบอกว่านามสกุลเดิมคือก๊อดเช่    หน้าตาสวยแบบฝรั่งมากทีเดียว   พอเห็นชื่อนี้ก็เลยถึงบางอ้อ    ท่านขุนผู้นี้น่าจะเป็นคุณปู่เธอเอง  
บันทึกการเข้า
samun007
องคต
*****
ตอบ: 446


ความคิดเห็นที่ 167  เมื่อ 15 ก.ค. 13, 21:25



รายละเอียดช่วงเวลารับราชการในกรมทหารเรือของ ท่านขุนฯ ครับ

จากหนังสือ  หนังสือที่ระลึก ๑๒๐ ปี ระลึกวิกฤตการณ์ ร.ศ. ๑๑๒  

http://pantip.com/topic/30701775
บันทึกการเข้า
samun007
องคต
*****
ตอบ: 446


ความคิดเห็นที่ 168  เมื่อ 15 ก.ค. 13, 21:36

ข่าวของท่านขุนฯ เมื่อถึงแก่กรรมครับ









จาก นสพ The Straits Times, 29 August 1932  ( พ.ศ. ๒๔๗๕ ), Page 17 ของสิงคโปร์ครับ
บันทึกการเข้า
samun007
องคต
*****
ตอบ: 446


ความคิดเห็นที่ 169  เมื่อ 15 ก.ค. 13, 21:42

ข่าวการแต่งงานของบุตรีคนโตของท่านขุน และกงศุลเยอรมันประจำสยามครับ





จาก นสพ The Singapore Free Press and Mercantile Advertiser (1884-1942), 29 July 1914 (พ.ศ. ๒๔๕๗)
บันทึกการเข้า
samun007
องคต
*****
ตอบ: 446


ความคิดเห็นที่ 170  เมื่อ 15 ก.ค. 13, 21:48



รูปท่านขุนฯ ครับ



จาก นสพ The Straits Times, 12 April 1933, ( พ.ศ. ๒๔๗๔) Page 18


ถ้าจำไม่ผิด บุตรของท่านขุนรู้สึกจะชื่อว่า วิลเลียม กระมังครับ รู้สึกว่าจะมีชื่อยู่ในข่าวแรกสุดเลย
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 171  เมื่อ 16 ก.ค. 13, 07:05

แม้ว่าผลการรบจะออกมาในรูปที่เราๆท่านๆทราบกันไปแล้ว แต่เดือนเศษหลังเหตุการณ์สงบลง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯได้โปรดเกล้าฯพระราชทานบำเหน็จแก่นายทหารที่ได้เข้าต่อสู้ในการรบกับฝรั่งเศสคราวนั้น นายพลริชลิวได้เลื่อนยศจากพลเรือจัตวาขึ้นเป็นพลเรือโท ในตำแหน่งผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารเรือเหมือนเดิม

ถึงยศถาบรรดาศักดิ์จะสูงขึ้น แต่งานท้าทายในกองทัพเรือก็หมดไป งบประมาณที่จะทุ่มเทมาใช้ทางซื้ออาวุธหมดความจำเป็นเร่งด่วนจึงเหือดหายไปจากเดิมมาก สยามเริ่มปรับนโยบายที่จะสร้างคนไทยขึ้นมาป้องกันประเทศของตนเอง นายทหารเดนมาร์กเริ่มเห็นอนาคตของตนคงจะไม่รุ่งแน่ถ้าอยู่กับที่ หลายคนลาออกจากราชการ ที่ยังอยู่ในสยามต่อไปก็ผันตัวเองเข้าไปทำงานในธุรกิจของนายพลริชลิว
 
ท่านนายพลยังคงอยู่ในตำแหน่งอันทรงเกียรตินี้ต่อ และมีโอกาสได้รับใช้สนองพระมหากรุณาธิคุณในงานสำคัญยิ่งยวด เช่นเมื่อปีพ.ศ.๒๔๔๑ ได้นำเสด็จสมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมงกุฏราชกุมาร ในขณะทรงศึกษาวิชาการทหารอยู่ที่แซนด์เฮริทต์ ประเทศอังกฤษ เยือนราชสำนักรัสเซีย เพื่อเป็นพระราชอาคันตุกะส่วนพระองค์ของพระเจ้าซาร์ นิโคลัสที่๒และพระซารินา(อดีตเจ้าหญิงแดกม่าร์แห่งเดนมาร์ก) เยือนราชสำนักเดนมาร์ก เพื่อเป็นพระราชอาคันตุกะส่วนพระองค์ของพระเจ้าคริตสเตียนที่๙และพระราชินี  เยือนราชสำนักสวีเดน เพื่อเป็นพระราชอาคันตุกะส่วนพระองค์ของพระเจ้าออสก้าที่๒และพระราชินี เป็นต้น

ชีวิตทหารเรือท่านจบในตำแหน่งสูงสุด  นายพลเรือโท พระยาชลยุทธโยธินทร์ ได้ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการกรมทหารเรือ ระหว่างกันยายน๒๔๔๒-๑๕มกราคม๒๔๔๓


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 172  เมื่อ 16 ก.ค. 13, 08:07

หลังจากบ้านเมืองคืนสู่ภาวะปกติ กิจการเดินรถไฟสายปากน้ำก็พอที่จะไปได้ เวลานั้นท่าเรือใหญ่อยู่ที่เมืองปากน้ำ เรือโดยสารจากต่างประเทศจะเข้าเทียบท่าที่นั่นแล้วให้ผู้โดยสารเดินทางต่อโดยรถไฟ เพื่อประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย ธุรกิจสัมปทานจึงเป็นเสือนอนกินด้วยประการฉนี้

ส่วนรถรางที่ริชลิวและลอฟตัสได้สัมปทานมาและขายให้คนอังกฤษไปแล้วเพราะใช้ม้าลากรถไปไม่รอด คนอังกฤษซื้อไปแล้วก็อิมพอร์ตม้าเทศแบบที่ฝรั่งใช้ลากรถหนักๆเข้ามา แต่พอม้าเทศมาเจออากาศเมืองไทยเข้าก็โนเซ่อร์เหมือนกัน คนอังกฤษถึงกับล้มละลายแต่สัมปทานยังขายได้ ริชลิวรวมเงินจาก“มือใหญ่”ชาวเดนมาร์กมาลงหุ้นกันซื้อกลับไป
ในปีนั้น รถรางไฟฟ้าซึ่งได้นำมาใช้ในเมืองเล็กๆแห่งหนึ่งในรัสเซียเป็นแห่งแรกของโลก ได้จุดประกายขึ้น ทำให้เกิดรถรางไฟฟ้าในหลายเมืองของยุโรปและอเมริกาตามมา ในสยาม ไม่มีใครมองธุรกิจนี้ทะลุตลอดเท่าคนเดนมาร์กอีกแล้ว ดังนั้นไม่นานต่อมาบริษัทรถรางสยามก็ใช้ไฟฟ้าเป็นตัวขับเคลื่อน ปัญหาที่เกิดจากการใช้ม้าลากก็หมดไป รถรางก้าวไปสู่ยุคทอง ณ เพลานั้น


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 173  เมื่อ 16 ก.ค. 13, 10:03

^
แล้วโทรเลข วิ่งขนานไปกับทางรถไฟสายปากน้ำด้วยเลยไหม

โทรเลขสายปากน้ำ เป็นโทรเลขสายแรกของสยามประเทศ เชียวนะ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 174  เมื่อ 16 ก.ค. 13, 10:20

ใช่แล้วครับ

ต่อมาขยายผ่านตัวเมืองไปทางบางปิ้ง เพื่อติดต่อกับสถานีสัญญาณไฟ แนวเสาโทรเลขกลายเป็น "ถนนสายลวด" ในปัจจุบัน
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 175  เมื่อ 16 ก.ค. 13, 10:23

สัมปทานที่ทำเงินได้มากที่สุดอันเป็นผลพลอยได้ต่อยอดการผลิตไฟฟ้าป้อนระบบรถราง คือสิทธิในการผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าให้แก่ชาวกรุงเทพ ซึ่งมีอยู่ในราวสี่แสนครัวเรือนในยุคนั้น เป็นเวลา๕๐ปีแต่ผู้เดียว อันนี้ได้มาในนามของบริษัทการไฟฟ้าสยามในปีพ.ศ. ๒๔๔๓ ซึ่งเกิดจากการกิจการร่วมค้าของเดนมาร์กหลายราย โดยนาย G. M. Glueckstadt นายใหญ่แห่งธนาคาร Landmandsbanken(ธนาคารกสิกร)ในโคเปนฮาเกน นั่งเป็นประธานกรรมการเอง (จำธนาคารที่พระเจ้าคริตสเตียนทูลพระเจ้าอยู่หัวว่าจะเข้ามาตั้งในสยามได้ไหมครับ นี่แหละ…) ให้นายพลริชลิว เป็นกรรมการผู้จัดการ และนายอ๊อก เวสเตนโฮลต์ (อดีตผู้ประดิษฐ์และอำนวยการจุดระเบิดตอร์ปิโด)เป็นผู้จัดการโรงไฟฟ้า

การทำธุรกิจนี้ที่ผ่านมาในระยะแรกมีการผลัดมือหลายบริษัท ผมขี้เกียจเขียนสาธยายให้คนอ่านงงโดยไม่จำเป็น ก็มันยากลำบากแสนเข็ญ การวางเสาพาดสายไปยังพื้นที่ต่างๆของกรุงเทพเป็นเรื่องที่ต้องเกี่ยวข้องกับระบบราชการแบบไทยๆและผู้มีอิทธิพลทุกระดับ แต่ด้วยความมุ่งมั่นและทุ่มเทตนเองอันเป็นคุณสมบัติเด่นเฉพาะตัวชายผู้นี้ แถมมีเส้นแข็งบึ่ก ในที่สุดงานทั้งการผลิตและจ่ายกระแสไฟฟ้าก็ลุล่วงไปได้ด้วยความสำเร็จอย่างยิ่งยวด
สิบสี่สิบห้าปีต่อมา หุ้นล๊อตใหญ่ที่คนเดนมาร์กถือไว้ก็ถูกปล่อยออกทำกำไร โดยมีกลุ่มบริษัทของเบลเยี่ยมซื้อไป ไม่มีใครทราบแน่ว่านายพลริชลิวถืออยู่จำนวนเท่าไหร่และฟันเงินจากธุรกิจข้ามชาติเอาเข้ากระเป๋าไปมากเพียงใด

ราคาซื้อขายหุ้นและกำไรของบริษัทเป็นตัวเลขปกปิด คนเดนมาร์กที่เคยสืบเสาะตำนานธุรกิจนี้เขียนว่า เป็นไปไม่ได้ที่จะหาตัวเลขแท้จริงมาแสดง นอกจากจะได้ร่องรอยจากหนังสือพิมพ์เดนมาร์กสมัยโน้นฉบับนึง ข้อความในพื้นที่โฆษณาของบริษัทการไฟฟ้าสยาม ประกาศหาผู้สมัครไปทำงานในกรุงเทพ ตำแหน่งTraffic manager ในข้อความจูงใจระบุว่า กิจการรถรางและการผลิตจำหน่ายไฟฟ้าของบริษัทมีกำไรรวมกันในปีนั้น1,200,000 Danish Crowns ผมไม่ทราบจริงๆว่ามูลค่าเทียบเป็นเงินบาทสมัยโน้นหรือสมัยนี้มหาศาลแค่ไหน แต่คนเดนมาร์กบอกว่านี่มันเหมืองทองคำชัดๆนี่เอง


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 176  เมื่อ 17 ก.ค. 13, 07:31

ในสยามนายพลริชลิวมิได้อวดความร่ำรวยให้ปรากฏ เงินทั้งหมดที่ได้จากการปริวรรษธุรกิจนอนสงบอยู่ในธนาคารที่ประเทศเดนมาร์ก ที่นี่ก็เพียงแต่รับเงินเดือนแล้วทำงานแบบหลวงไม่พลาด-ราษฎร์ไม่เสีย รอจังหวะที่จะได้กลับบ้านเกิดเมืองนอนเพื่อใช้เงินนั้นต่อไป

หลังเหตุการณ์ร.ศ.๑๑๒ร่วมสิบปี สยามจึงพอจะเจียดงบประมาณมาทำนุบำรุงทัพเรือได้บ้าง นายพลเรือโท พระยาชลยุทธโยธินทร์ ได้จัดจ้างอู่ Hongkong & Whampoa ในฮ่องกงของอังกฤษ ต่อเรือรบเหล็กขนาดเล็กขึ้น พระราชทานนามว่า เรือมูรธาวสิตสวัสดิ์ แทนลำแรกที่สร้างวีรกรรมเด่นไว้ในสมรภูมิ และได้รับมอบเรื่อรุ่นนี้จากผู้สร้างหลังดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการกรมทหารเรือแล้วอีก๒ลำ พระราชทานนามว่าเรือพาลีรั้งทวีป และเรือสุครีพครองเมือง ตามลำดับ ข่าวไม่แจ้งในเรื่องค่าคอมว่าใครฟันไปเท่าไหร่
เรือในชั้นมูรธาวสิตสวัสดิ์(ลำที่ ๒)นี้ เป็นเรือเหล็กมีทวนใต้น้ำหัวเรือ ๒หอรบบนเสากระโดง ติดตั้งปืนใหญ่อังกฤษแบบ 120/40 QF Mk I ๑กระบอก 57/40 Hotchkiss ๕กระบอก และ 37/23 Hotchkiss ๔กระบอก


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 177  เมื่อ 17 ก.ค. 13, 07:42

นอกจากเรื่องการทหาร นายพลริชลิวได้สนองพระมหากรุณาธิคุณในงานอื่นๆที่น้อยคนนักจะโชคดีได้รับพระราชทานโอกาส เช่น เมื่อทรงสร้างวัดเบญจมพิตรในปีพ.ศ. ๒๔๔๔ ได้โปรดเกล้าฯให้เป็นนายงาน จัดให้ทหารเรืออัญเชิญพระพุทธชินราชซึ่งจำลองขึ้นเท่าองค์จริง ลงมาจากพิษณุโลกโดยทางน้ำ ด้วยการชะลอลงแพแล้วล่องแม่น้ำเจ้าพระยามาชักลากขึ้นฝั่งที่กรุงเทพ นำไปประดิษฐานเป็นองค์พระประธานในวิหาร และเมื่อเสด็จพระราชดำเนินมาปิดทอง นายพลริชลิวก็ทำเครื่องประดับองค์พระถวายเรียบร้อยเป็นที่พอพระราชหฤทัย นอกจากของมีค่าที่พระราชทานเป็นที่ระลึกตอบแทน นามของพระยาชลยุทธโยธินทร์จึงเป็นอีกหนึ่งของผู้ได้รับพระบรมราชานุญาตให้จารึกไว้ที่ฐานพระใต้พระปรมาภิไธยด้วย


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 178  เมื่อ 17 ก.ค. 13, 07:57

อีกงานหนึ่งที่ลูกหลานนายพลริชลิวกล่าวว่าเจ้าตัวภูมิใจมาก
 
คราวเสด็จประพาสยุโรปครั้งแรก นายพลริชลิวมิได้ตามเสด็จ แต่ได้โปรดเกล้าฯให้อยู่ในคณะที่ปรึกษาของสมเด็จพระศรีพัชรินทรา พระบรมราชินีนาถ องค์ผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 179  เมื่อ 17 ก.ค. 13, 09:56

นายพลริชลิวสมรสกับญาติห่างๆของตน ดัคม่า หลุยส์ ลีอาเช่ (Dagmar Lousie Lerche) ในปีพ.ศ.๒๔๓๕ หรือปีหนึ่งก่อนเหตุการณ์ร.ศ.๑๑๒ ทั้งสองมีบุตรธิดาด้วยกัน๕คน  ๓คนเกิดในกรุงเทพ เป็นชาย๒คือLouise และ Helge ส่วนคนเล็กเป็นหญิงชื่อ Sehestede ที่เหลือเกิดในเดนมาร์กไม่ทราบนาม

ดัคม่าพอแต่งงานปุ๊บก็ได้เป็นคุณหญิงทันที นับว่าวาสนาดีแท้ แถมยังเป็นที่โปรดปรานของเจ้านายฝ่ายในเพราะเธอวางตัวดี

ปีเดียวกับที่ได้เป็นผู้บัญชาการกรมทหารเรือ นายพลริชลิวล้มป่วยด้วยโรคมาเลเรีย และมีข่าวว่าอาการหนัก เมื่อบรรเทาแล้วจึงตัดสินใจ ได้จังหวะที่จะกราบบังคมทูลลาออกจากราชการแล้ว จึงส่งคุณหญิงชลยุทธโยธินทร์และลูกทั้งสามเดินทางกลับไปเดนมาร์กล่วงหน้าก่อน


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 10 11 [12] 13 14 ... 26
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.071 วินาที กับ 19 คำสั่ง