เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 6 7 [8] 9 10 ... 26
  พิมพ์  
อ่าน: 80398 ริชลิว-นักธุรกิจข้ามชาติในมาดนายพลเรือสยาม
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 105  เมื่อ 10 ก.ค. 13, 20:49

ผมฟังนายทหารท่านนี้อธิบายต่อไปว่าปืนแต่ละกระบอกใช้กำลังพล๑๐นาย  เป็นทหารประจำปืน๗นาย ทำหน้าที่บรรจุนัดดินและหัวกระสุน และปรับแต่งปืนให้หันซ้ายขวา หรือกระดกขึ้นลงตามมุมยิง  เสร็จแล้วจึงทำการยิง และยังมีทหารอีก๓นาย วิ่งลำเลียงกระสุนและนัดดินจากคลัง
 
ผมอยู่ในหลุมปืนมองเห็นแต่กำแพงจึงถามว่า แล้วจะเล็งปืนไปยังเป้าได้อย่างไร ไม่เห็นมีศูนย์เล็ง เขาบอกว่าต้องดูสัญญาณธงของนายทหารที่ยืนอยู่ข้างบน ที่จะโบกให้หมุนไปทางทิศไหน หรือให้ยกปากกระบอกขึ้นลงกี่องศา


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 106  เมื่อ 10 ก.ค. 13, 20:51

ผมมองไปที่พวงมาลัยสำหรับหมุนให้ปืนหันไปตามทิศหรือกระดกในมุมที่ต้องการแล้ว คงหนักหนาเอาการที่จะติดตามเป้าหมายที่เคลื่อนที่ได้ทัน จึงถามต่อไปว่า แล้วจะยิงโดนหรือครับ เขาก็ยิ้มแล้วส่ายหน้า


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 107  เมื่อ 10 ก.ค. 13, 21:36

ผมมานั่งคิดๆดู เย็นวันนั้น เมื่อเรือรบฝรั่งเศสตัดสินใจจะฝ่าด่านของเราเข้ามา เขาก็หันหัวเรือจากปากอ่าวแล้วเร่งความเร็ววิ่งเข้าสู่ร่องน้ำอย่างเต็มพิกัด

ตามกฏของประเทศที่ยังมิได้ประกาศสงครามกัน ต้องยิงเตือน ๓ นัดก่อนจะยิงด้วยกระสุนจริงได้ ปืนอาร์มสตรองเสือหมอบมีระยะยิงไกลสุด๘๐๐๐เมตร แต่ยิงไม่ได้เพราะยังถือว่าเขาอยู่นอกแนวล้ำเส้น ต้องปล่อยให้เข้ามาจนถึงระยะ๔๐๐๐เมตร จึงจะเริ่มยิงเตือนได้ ถ้าเรือวิ่งด้วยความเร็ว๑๐น๊อตตามที่เขาว่า ก็จะมีเวลาประมาณ๑๐นาทีเท่านั้น ที่ป้อมปืนจะยิงเรือด้วยกระสุนจริงให้จมได้ก่อนที่เรือจะวิ่งเข้ามุมอับ
 
ด้วยระบบการเล็งอย่างนี้ และการยืดขึ้นหมอบลงของปืนที่ทำให้เสียเวลามากกว่าปืนธรรมดาๆเท่าตัว แถมยังติดขัดเป็นประจำ ต่อให้มีพลประจำปืนที่ชำนาญ โอกาสที่ปืนเสือหมอบในป้อมพระจุลจะจมเรือข้าศึกได้ก็จะมีแต่ลูกฟลุ๊คเท่านั้น


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 29 ก.ค. 13, 21:01 โดย เทาชมพู » บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 108  เมื่อ 10 ก.ค. 13, 21:44

สงสัยจริงๆ ทำไมนายพลริชลิวจึงไม่จัดซื้อปืนที่มีอำนาจการยิงเท่ากัน แต่เร็วกว่า ง่ายกว่า ถูกสตังค์กว่า เหมาะสำหรับความรู้ความชำนาญของคนไทยมากกว่า ปืนที่ล้ำสมัยแต่ใช้การไม่ได้


บันทึกการเข้า
samun007
องคต
*****
ตอบ: 446


ความคิดเห็นที่ 109  เมื่อ 10 ก.ค. 13, 23:34

อนึ่ง ผมมิได้ใช้หนังสือฝ่ายไทยฉบับเดียวในการเขียนกระทู้ของผม ผมอ่านเอกสารฝรั่งตาเปียกตาแฉะ ทั้งเอกสารชั้นต้นที่ฝรั่งเศสและเดนมาร์กเขียนรายงานไว้ รวมทั้งที่ฝรั่งชาติเป็นกลางเช่นอังกฤษวิจารณ์การรบ มาเปรียบเทียบเพื่อให้เกิดมุมมองครบทุกด้าน น่าจะเป็นที่เข้าใจได้นะครับว่าเรื่องบางเรื่อง เอกสารฝ่ายไทยมิได้จดบันทึกไว้  ผมพยายามเอาทุกเรื่องที่ผ่านสายตามาปะติดปะต่อ เพื่อให้กระชับสั้น มีสาระ และไม่ซ้ำซาก
 
ดังเช่นที่ผมเขียนสั้นๆว่า ทหารมะรีนไม่มีโอกาสได้ปะทะข้าศึกแต่อย่างใด เพราะประจำการอยู่ในเรือที่มิได้เข้าสมรภูมิ คิดว่าพอ แต่เมื่อคุณสงสัย ผมก็เพิ่มอีกว่า ทหารมะรีนถูกจัดให้ประจำการในเรือพระที่นั่งมหาจักรี และเรือพระที่นั่งลำอื่นๆ(อุบลบุรพทิศ) เตรียมพร้อมรอคำสั่งอยู่ในแม่น้ำหน้าพระบรมมหาราชวังครับ ส่วนสมรภูมิอยู่ที่ปากน้ำโน่น
 
คุณก็ยังไม่เชื่อ

เพื่อให้ผู้อ่านมั่นใจว่า ผมมิได้มักง่ายในการเขียนเรื่องให้สาธารณะอ่าน ไม่ได้ป้ายๆมาจากเน็ทมาแปะไว้โดยไม่มีที่มาที่ไป ประเด็นดังกล่าวฝรั่งเขียนไว้ดังนี้


ผมไม่ได้ว่าข้อมูลไม่ถูกนะครับ

แต่จากการจัดกรมทหารเรือใน ร.ศ. ๑๑๒ นั้น โดยเฉพาะทหารมะรีน แบ่งเป็น ๑ กรมผสม ได้แก่กองพันปืนแกตลิง กองพันทหารปืนใหญ่ และ กองพันทหารราบ

ถ้าดูจากข้อมูลในเว็บของทหารนาวิกโยธิน


http://www.marines.navy.mi.th/htm_56/htm_old55/radnavic55/pawatmarine.html

หรือจากพิพิธภัณฑ์ทหารนาวิกโยธิน

http://www.marinesmuseus.com/index.php?mo=59&action=page&id=817898

หรือจากกรมทหารปืนใหญ่ นาวิกโยธิน

http://www.artillery-marines.mi.th/artillery/index.php?option=com_content&view=article&id=46&Itemid=55

ข้อมูลก็เป็นไปในทางเดียวกันคือ ทหารมะรีนเหล่าปืนใหญ่ ถูกส่งไปประจำตามป้อมปืนต่าง  ๆ ครับ  ซึ่งจะเป็นคนละกองกับ ทหารมะรีนที่ประจำในเรือพระที่นั่งมหาจักรี และเรืออื่น ๆ ตามที่คุณ Nawarat บอกมา

ซึ่งก็สอดคล้องกับ พระราชหัตถเลขาที่ ร.๕ ทรงมีถึงที่ประชุมเสนาบดีสภา ลงวันที่ ๑๒ พฤษภาคม ร.ศ. ๑๑๒ (พ.ศ. ๒๔๓๖) โดยทรงมีพระบรมราชวินิจฉัย ให้ย้ายทหารจากป้อมผีเสื้อสมุทรมาประจำที่ป้อมพระจุลฯ แทน เนื่องจากเป็นทหารเก่า และให้เกณฑ์เลกจากเมืองพนัสนิคม มารักษาป้อมผีเสื้อสมุทรแทนครับ

 ตรงคำว่า ทหารเก่านี้ ก็สอดคล้องกับเรื่องของการจัดกรมทหารมะรีนเหล่าปืนใหญ่ที่ผมได้นำมาเสนอนี่ล่ะครับ

นอกเหนือจากนี้ ทหารมะรีน จำนวน ๑๔ นาย ก็ถูกส่งไปรักษาเกาะกงด้วยเช่นกันครับ  
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 110  เมื่อ 11 ก.ค. 13, 07:42

โอ้ ขอบคุณครับที่เข้ามาช่วยให้หายเหงา นึกว่าจะต้องบรรเลงต่อไปคนเดียวจนจบเสียแล้ว

การอภิปรายไม่ว่าจะเสริมหรือแย้ง เป็นสิ่งที่ผมยินดีที่จะเห็นทุกท่านเข้ามาร่วมแสดง และผมไม่กลัวว่าจะหน้าแตกหากข้อมูลผิดและมีคนมาหักล้าง เพราะผมไม่ใช่นักวิชาการที่หลงคิดว่าตนเองจะต้องพลาดมิได้ หากคิดเช่นนั้นก็คงไม่กล้าเข้ามาเสนอกระทู้ในเน็ท ที่นี่มันเวทีเปิด คุณอาจเจอของจริงถึงกับโดนน๊อคเมื่อไหร่ก็ไม่รู้

แต่เมื่อผมย้อนขึ้นไปอ่านตั้งแต่ต้น เห็นว่าในบริบทเหตุการณ์“การรบที่ปากน้ำเจ้าพระยา ร.ศ. ๑๑๒” ผมกำลังกล่าวถึงทหารมารีนที่เป็นพวกกลาสีบนเรือรบอยู่นะครับ ที่บอกว่าไม่ได้เข้าสมรภูมิเพราะไปประจำการบนเรือพระที่นั่งซึ่งมิได้มีหน้าที่รบ ไม่ได้ให้ความสำคัญกับทหารมารีนที่ส่งไปหัวเมืองชายทะเล เพราะไม่มีบทบาทที่ปากน้ำอยู่แล้ว

แต่เดี๋ยวนะครับ เรื่องทหารปืนใหญ่ที่ป้อมพระจุล ขอเวลากลับไปค้นเอกสารหน่อยแล้วจะเข้ามาต่อ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 111  เมื่อ 11 ก.ค. 13, 11:00

ในหนังสือ The Peoples and Politics of the Far East หน้า ๔๖๒ นอร์แมนวิจารณ์ทหารปืนใหญ่ในความรับผิดชอบของ "ริชลิว" ไว้ดังนี้

The Artillery is no better, with its recently-imported field guns, of which the brass sights were stolen and pawned within a fortnight of their arrival and have never been recovered; while the powder is in one place and the shells in another, and nobody knows where or how to bring them together. As for the Infantry, they come to drill when it suits them, desert by dozens weekly, and carry complaints and start agitations against any officer who attempts discipline. Many of them have never fired the rifles they carry; in fact the spirit of soldiery is as totally lacking in them as in a street mob. The officers — but here words fail. Imagine a Cadets' School, of imposing proportions and appointments, with four or five hampered European instructors, where young Siam is comfortably housed and fed and paid some thirty shillings a month to wear a uniform and play at studies which are never carried out.

The explanation is that Siam has aped the farang method without the farang spirit. There is actually no word for "discipline " in the Siamese language.


ทหารปืนใหญ่ก็ไม่ดีกว่านั้น ปืนกระบอกใหม่ที่เพิ่งสั่งเข้ามา ที่เล็งเป้าทองเหลืองถูกขโมยไปจำนำภายในเวลา ๒ อาทิตย์ และตามคืนไม่ได้ ส่วนดินปืนกับปลอกกระสุนก็อยู่กันคนละที่ และไม่มีใครรู้ว่าจะใส่ดินปืนในปลอกกระสุนได้อย่างไร  ทหารมาฝึกกันตามสะดวก แล้วหายหน้าไปสัปดาห์ละหลายโหล มีการร้องเรียนและเริ่มก่อกวนนายทหารที่พยายามสร้างวินัยในกอง  หลายคนไม่เคยยิงปืนไรเฟิลที่ตนถือ พวกเขาขาดจิตวิญญาณของการเป็นทหารเป็นดังม็อบข้างถนน-ไม่ใช่นายทหาร ลองจินตนาการดูสิ โรงเรียนนายทหารที่มีอาคาร และการจัดการอันน่าเกรงขาม มีครูฝึกชาวยุโรปสี่หรือห้านายที่มีอำนาจจำกัด เด็กหนุ่มชาวสยามได้พักอาศัยอย่างสะดวกสบาย ได้รับการเลี้ยงดู และรับเงินเดือน เดือนละ ๓๐ ชิลลิง เพื่อให้สวมเครื่องแบบ และเล่นในโรงเรียนที่ไม่มีการฝึกอบรมใด ๆ

สยามรับวิธีการของฝรั่งมาโดยปราศจากจิตวิญญาณของฝรั่ง

ไม่มีคำว่า "วินัย" ในภาษาสยาม

บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 112  เมื่อ 11 ก.ค. 13, 11:48

จากลิงค์ข้างบนของทหารเรือที่คุณสมุน007ให้ไว้ มีประเด็นน่าสนใจว่า บทบาทของทหารมารีนในยุคต้นของสยาม ก็คือการสนองความจำเป็นของพระราชสำนัก ในการที่จะต้องมีทหารซึ่งมีระเบียบวินัยสำหรับงานบางอย่าง โดยเฉพาะในการรับรองชาวต่างประเทศตามขนบประเพณีของชาวตะวันตก ดังข้อความเหล่านี้

พ.ศ.๒๓๖๗ ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ แห่งราชวงศ์จักรี ได้มีการจัดตั้งหน่วยทหารนาวิกโยธินขึ้น ในครั้งนั้น เรียกชื่อว่า ทหารมะรีน เป็น ทหารถือปืนเล็กทำการรบอย่างทหารราบ และเป็นกำลังทหารที่ใช้เป็นกองทหารเกียรติยศสำหรับรับ-ส่ง เสด็จกับเป็นกองทหาร เกียรติยศไปกับเรือหลวง เพื่อส่งเสด็จ-รับเสด็จ เมื่อพระเจ้าอยู่หัวเสด็จทางเรือ
ในรัชสมัยรัชกาลที่ ๔ ทหารมะรีนได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่เป็นฝีพายเรือพระที่นั่ง และเรือพระประเทียบ กับมีหน้าที่ดูแลรักษาเรือพระที่นั่ง ณ โรงเรือบริเวณท่าราชวรดิษฐ์ ซึ่งอยู่ในบริเวณ เดียวกันกับที่ตั้งหน่วยทหารมะรีน

การที่ผมอ่านทั้งข้อมูลไทยและเทศ จึงเกิดข้อสะดุดใจบางประการในความเห็นที่แตกต่าง เริ่มต้นที่นายเฮนรี นอร์แมน ตามคุณเพ็ญชมพูที่ลอกมาให้อ่านข้างบน

As for the other branch of his Siamese Majesty's service, the Navy, while the pretensions are less, the realities in some respects are better. The Danish officer M. de Eichelieu, of whom I have already spoken, has given many years of labour to this, and in alliance with him, Pra Ong Chora, unique among Siamese officials for energy and integrity, has created a large body of marines who possess at any rate the elements of discipline, however much they may lack technical efficiency. They are supposed to man the forts, supply the fighting crews for the gunboats, and act as an armed force on land whenever one is required, though their whole training for these duties consists of a little elementary drill and the bare knowledge of how to discharge a rifle. The discipline which does characterize them, and which yet distinguishes them brilliantly from other Siamese organizations, is directed to wholly different ends. They are neither more nor less than the body-servants of the royal household…….to drag their jinrikisha, to carry their sedans, to dress up in their processions, and even to catch flies by bucketfuls to facilitate the royal repose.

บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 113  เมื่อ 11 ก.ค. 13, 11:51

ขอบอกก่อนว่าผมไม่ได้แปลเรื่องของเขามาชนิดคำต่อคำนะครับ ใครสงสัยว่าผมจะแปลถูกต้องกับต้นฉบับของผู้เขียนหรือไม่ ตรงนี้ผมไม่ขอรับรอง

ในฐานะอีกหนึ่งสาขาของบรรดาข้าราชการสยาม  ทหารเรือ แม้ข้อเรียกร้องของพวกเขาจะน้อย แต่ในความเป็นจริงแล้วหลายเรื่องกลับดีกว่าที่อื่น(ในย่อหน้าก่อนๆ นอร์แมนได้วิพากษ์ทหารบกไว้อย่างไม่เกรงใจ ดังที่คุณเพ็ญชมพูคัดมาให้อ่านนั่น)  ริชลิว นายทหารเรือเดนมาร์กซึ่งข้าพเจ้าได้กล่าวแล้ว เป็นผู้โดดเด่นในหมู่นายทหารของสยามในเรื่องของพลังในการทำงานและความสุจริต ได้อุทิศตนเป็นปีๆ ร่วมกับพระองค์เจ้าสาย(พลเรือโท พระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์)ปั้นหน่วยทหารมารีนที่มีระเบียบวินัยเยี่ยมขึ้น ซึ่งถึงจะขาดขีดความสามารถทางด้านเทคนิกอยู่มาก แต่พวกนี้น่าจะได้ประจำการในป้อม เป็นกำลังรบเสริมบนเรือปืน หรือเป็นหน่วยปฏิบัติการภาคพื้นดินในจุดที่ต้องการ
 
ถึงแม้ว่าจะได้รับการฝึกฝนมาแค่การหัดแถวขั้นมูลฐาน และมีความรู้ง่ายๆอย่างเช่นจะปลดกระสุนปืนยาวอย่างไร แต่ภาพความมีวินัยที่ทำให้ทหารมารีนโดดเด่นกว่าองค์กรอื่นๆในสยาม กลับนำพาพวกเขาไปสู่จุดมุ่งหมายคนละข้างอย่างสิ้นเชิง  ทหารมารีนถูกเรียกไปใช้ในวัง ในงานที่ต้องแต่งเครื่องแบบกลาสีเรือแต่ทำหน้าที่ของคนใช้แรงงาน…เช่น พนักงานลากรถทรง พนักงานหามพระราชยาน แต่งเต็มยศเพื่อร่วมขบวนเสด็จ และแม้แต่เป็นคนกำจัดแมลงวันทีละเป็นถังๆเพื่อให้ทรงสุขสบาย
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 11 ก.ค. 13, 17:39 โดย เทาชมพู » บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 114  เมื่อ 11 ก.ค. 13, 12:00

ต้องเข้าใจนะครับว่า นายนอร์แมนอยู่ในเหตุการณ์รศ๑๑๒ก็จริง แต่เขามาในฐานะนักเดินทาง ผ่านมาเพื่อจะผ่านไป ไม่ได้มีความรู้เรื่องของสยามลึกซึ้ง ดังนั้นสิ่งที่เขาบันทึกลงในหนังสือ ก็มาจากปากคำของฝรั่งที่บ้านอยู่ในเมืองไทยนี้แหละ ที่ให้ข้อมูล และพวกนี้คงจะเป็นใครไปไม่ได้นอกจากเหล่านายทหารเรือเดนมาร์กที่เข้ารบ จริงหรือไม่จริงเพียงใดมันก็เป็นบทสรุปว่า ภาพที่ฝรั่งฝ่ายเราเห็นและเข้าใจมันเป็นแบบนั้น

ในขณะที่เอกสารไทยบันทึกว่า ในต้นรัชกาลที่ ๕ ทางราชการได้จัดหาปืนกลแคตลิ่ง ซึ่งเป็นอาวุธทันสมัยมาใช้ราชการในหน่วยทหารมะรีน จึงมีการเพิ่มกำลังและจัดหน่วยทหารมะรีนใหม่เป็น ๔ กองปืนกลแคตลิ่ง ๔ กองทหารราบ ๑ กองทหารปืนใหญ่ มี น.อ.พระชลยุทธโยธิน หรือ กัปตันริชลิว ชาวเดนมาร์ก เป็นผู้บังคับบัญชา

ในพ.ศ.เดียวกัน สิ่งที่นายทหารฝั่งบ่นดังๆ ทำให้ผมคิดไปว่า ทหารมารีนที่มีระเบียบวินัย ผ่านการฝึกฝนมาระดับหนึ่ง ไม่น่าจะเป็นทหารมะรีนหน่วยเดียวกับที่ทร.บันทึก ทหารเกณฑ์จากอาสาชาติต่างๆที่บรรจุเข้ามาในกรมนี้เพื่อเอาไปรบกับฝรั่งเศสกระมัง

ส่วนทหารมะรีนอาชีพที่ผมหมายถึง ซึ่งมีจำนวนไม่มากนัก เก็บไว้ประจำการบนเรือพระที่นั่งไง
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 115  เมื่อ 11 ก.ค. 13, 13:27

อ้างถึง
ในหนังสือ The Peoples and Politics of the Far East หน้า ๔๖๒ นอร์แมนวิจารณ์ทหารปืนใหญ่ในความรับผิดชอบของ "ริชลิว" ไว้ดังนี้
คุณเพ็ญชมพูครับ ขอโทษเพิ่งเห็นบรรทัดแรก ทหารปืนใหญ่ในท่อนดังกล่าว นายนอร์แมนนินทาทหารบก ไม่ใช่ทหารเรือของริชลิว

เอ้า...มีพยานอีกหนึ่งปาก

จาก Five Years in Siam (1898) เขียนโดย H. Warington Smyth นักเดินทางชาวอังกฤษที่ผ่านเข้ามาในเมืองไทยในช่วงนั้นเหมือนกัน และเรียกได้ว่าอยู่ในเหตุการณ์เพราะค้างแรมอยู่ในเมืองปากน้ำได้ยินเสียงปืนที่ยิงกันชัดเจน

ผมเสียเวลามากมายจากเช้าถึงบ่ายนี้ เพื่อจะคัดเอาตอนที่จะตอบข้อทักท้วงคุณสมุน007 ที่ตัดไปเยอะ เพราะถ้าเอามามากกว่านี้ทุกคนคงเบลอ เอามาแล้วยังต้องมาแปลอีก ไม่ได้จบอักษรศาสตร์มาซะด้วย

The Navy, on the other hand, though it has had to fight against the lack of spirit I have referred to, and against the role of a picnicing institution generally aligned to it, has, mainly owing to the energy and strength of character of another Dane, Commodore de Richelieu, acquired a smartness and efficiency far beyond anything else in Siam. It has been very uphill work, and the jealousy of the many influential Siamese towards any successful foreigner has made it harder. But in spite of old ant- eaten hulls, worn-out machinery, and bad material, the Commodore and his Danish officers have created a really creditable force, the efficiency of which is considerable and is yearly extending. A battalion of marines on the march can keep their distances, and step it with an accuracy which has called forth no little praise from British naval officers who have seen them, and which would not disgrace any force in the world, with such a short training as they get.
The men for this service are taken mostly from the Mons or Peguana, a strong, handsome race, very tike the Siamese, remnants of the old wars, who live mostly up-river and to the north-west of Bangkok, in separate communities. They preserve their own customs, and in their monasteries the boys learn to read and write the Mon language, and many hardly know anything of Siamese. There are five Wen*, or reliefs, each serving for three months in turn with twelve months at home. Boys who are LvJc mva, or sons of soldiers, are got very young, and are kept till eighteen or twenty, and often turn out very smart.
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 116  เมื่อ 11 ก.ค. 13, 13:35

คำแปล

ในทางกลับกัน ทหารเรือ แม้จะต้องต่อสู้กับการขาดสำนึกที่ข้าพเจ้ากล่าวไปแล้ว และกับบทบาทเช้าชามเย็นชามขององค์กรต้นสังกัด แต่ด้วยพลังกายและบุคลิกภาพที่เข้มแข็งของคนเดนมาร์กอีกคนหนึ่ง นายพลริชลิว ทำให้ทหารเรือสง่าผ่าเผยและมีประสิทธิภาพห่างไกลเหนือสิ่งอื่นใดในสยาม มันเป็นงานเข็นครกขึ้นภูเขาอยู่แล้ว แต่ความริษยาของผู้ทรงอิทธิพลคนไทยหลายคนที่มีต่อความสำเร็จของชาวต่างชาติ ยิ่งทำให้งานยากยิ่งขึ้นไปใหญ่ ถึงแม้ว่าตัวเรือปลวกจะแทะ เครื่องจักรหมดสภาพ และข้าวของเลวๆ นายพลริชลิวก็ได้สร้างหน่วยทหารอันเป็นที่ยอมรับ และมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นๆทุกปี กองพันทหารมะรีนขณะสวนสนาม สามารถรักษาระยะห่าง และตบเท้าพร้อมกันโดยไม่พลาด  นายทหารเรืออังกฤษที่มาเห็นเข้ายังต้องออกปากชม ถึงแม้ระยะเวลาการฝึกจะสั้น แต่ก็ทำได้ดีไม่แพ้ทหารชาติใดในโลก

ชายฉกรรจ์ในหน่วยนี้ถูกเกณฑ์มาจากพวกมอญ หรือชาวพะโค เผ่าพันธุ์ที่แข็งแรงและหน้าตาดีเหมือนคนไทยมาก พวกนี้รอดชีวิตจากสงครามในครั้งก่อนๆมาตั้งรกราก เป็นชุมชนกระจัดกระจายอยู่ทางเหนือน้ำไปทางตะวันตกเฉียงเหนือ พวกเขารักษาขนบประเพณีของตนเอง เด็กๆจะไปเล่าเรียนเขียนอ่านภาษามอญ ที่วัด หลายคนจึงไม่รู้หนังสือไทยเลย มีเวร(Wen)ห้าครั้ง แต่ละครั้งใช้เวลาสามเดือน แล้วกลับมาอยู่บ้านหนึ่งปี เด็กชายที่เป็น (LvJc mva?)หรือแปลว่าลูกของทหาร จะถูกเกณฑ์ไปตั้งแต่ยังเล็ก และเอาตัวไว้จนอายุสิบแปดหรือยี่สิบ กลับออกมาแล้วดูดีมาก

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 11 ก.ค. 13, 17:40 โดย เทาชมพู » บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 117  เมื่อ 11 ก.ค. 13, 13:38

ข้ามไปเยอะ กว่าจะมาถึงตรงนี้

It must be confessed that Commodore de Richelieu, who had charge of this defense, was given very little chance.
His proposition to close the channel finally, by sinking another ship across it, was outvoted at the Council. Not-withstanding his representations, his whole force was made up of a fresh Wen of men who had had no training. His requests for proper material for mining and other things had been met by constant delay.
.
(ข้าม)
.
The fort was not nearly finished at the time, and, of the three officers there besides himself, only one spoke Siamese; the others were two Danes from the Survey Department who had only just arrived in the country, and who volunteered, not knowing a word of Thai language. During the action these officers were running breathlessly to their guns in turn up and down half-finished steps and gun-platforms, avoiding pitfalls as best they might, and communicating their orders in languages which none of the astonished gunners understand.
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 118  เมื่อ 11 ก.ค. 13, 13:54

ต้องสารภาพว่านายพลริชลิว ผู้รับผิดชอบการปฏิบัติการครั้งนี้ ได้รับโอกาส(ให้ชนะ)น้อยมาก
ข้อเสนอของเขาที่จะปิดช่องแคบโดยสิ้นเชิงโดยการจมเรืออีกลำหนึ่งขวางไว้ แพ้มติในที่ประชุมที่ปรึกษา โดยไม่คำนึงถึงหน้าที่รับผิดชอบที่เขาแบกรับ กองกำลังของเขาทั้งหมดประกอบด้วยเวรใหม่(ทหารเกณฑ์)ที่ไม่เคยผ่านการฝึกมาเลย คำร้องขอของเขาสำหรับวัตถุดิบที่จะเอามาทำทุ่นระเบิดและสิ่งอื่นๆก็ประสพกับปัญหาความล่าช้าอมตะนิรันดร์กาล

ป้อม(พระจุล)ยังสร้างไม่เสร็จดีในตอนนั้น และ มีหนึ่งในสามคนที่นั่น และตัวเขา(ริชลิว)ที่พูดไทยได้ อีกสองคนเดนมาร์กจากกรมแผนที่ก็เพิ่งมาประเทศนี้เหมือนกัน แต่อาสามารบทั้งๆที่ไม่รู้ภาษาไทยสักคำ ระหว่างการรบนายทหารเหล่านี้วิ่งพล่านแบบไม่หายใจไปยังปืนกระบอกต่างๆ ขึ้นลงบันไดที่เสร็จครึ่งๆกลางๆไปยังหลุมปืน โดยระมัดระวังที่สุดไม่ให้พลาดตกลงไป และพยายามจะสั่งการด้วยสารพัดภาษาซึ่งพลปืนที่กำลังตื่นตระหนกไม่เข้าใจสักคนเดียว
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 11 ก.ค. 13, 17:43 โดย เทาชมพู » บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 119  เมื่อ 11 ก.ค. 13, 14:41

ดังนั้นผมอยากจะสรุปตรงนี้เสียทีหนึ่งว่า ทหารมะรีนประจำการที่ผ่านการฝึกอย่างดี(ในความหมายของผม) ได้ถูกโอนไปอยู่เรือพระที่นั่ง ส่วนพลทหาร ที่ศัพท์เดิมเรียกอาสามอญฯลฯนั้น กรมทหารมะรีน(ตามความหมายของคุณสมุน007)เป็นผู้เกณฑ์มา ยังไม่ทันฝึกให้ใช้การได้ดีตามมาตรฐานของทหารมะรีน แต่เป็นหน่วยที่เข้ารบในสมรภูมิ

นี่ว่ากันตามเอกสารฝรั่งนะครับ ส่วนเอกสารไทยก็อย่างที่คุณสมุน007ว่า ก็อ่านเอาไว้ทั้งสองด้านก็แล้วกัน

บังเอิญผมเหนื่อยแล้ว  ขี้เกียจค้นเอกสารที่ไม่เป็นทางการของไทย จำได้เคยอ่านผ่านๆว่า นายทหารฝรั่งที่ป้อมพระจุล เวลาสั่งการผ่านจ่า จะต้องมีล่ามภาษาไทยคอยแปล ส่วนจ่า เวลาสั่งไอ้เณร จะต้องใช้ล่ามภาษามอญอีกคนหนึ่ง ยังฟุตฟิตโฟไฟไอก็งงงงอยู่ เรือฝรั่งเศสดันโผล่มาซะแล้ว..น า ย
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 6 7 [8] 9 10 ... 26
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.064 วินาที กับ 19 คำสั่ง