NAVARAT.C
|
กัปตันริชลิวหรือพลเรือโทพระยาชลยุทธโยธินทร์อดีตผู้บัญชาการกรมทหารเรือสยามในสมัยรัชกาลที่๕ ท่านมีนามเดิมว่า André du Plésis de Richelieu คนไทยโบราณถนัดลิ้นที่จะเรียกว่า ริชลิว ลางทีจะพบชื่อท่านเขียนต่างๆกันหลากหลายมาก เป็นต้นว่า ริเชอลิเออ ริเชลิว ริชาลิเยร์ ริชลิเออ ริเตธิเชอเลียว ตามที่ใครคิดว่าสะกดถูกต้องก็ว่ากันไป จะว่าแล้วคำนี้แม้สำเนียงฝรั่งเองก็ยังออกเสียงไม่เหมือนกัน และจะเรียกชื่อท่านให้ถูกจริงๆก็จะต้องมีคำว่า“เดอ”(de)นำหน้าด้วย
ท่านผู้นี้ถือตนเป็นคนเดนมาร์กก็จริง แต่ชื่อเป็นฝรั่งเศสตามบรรพบุรุษ ส่วนบทความนี้จะขอเขียนชื่อท่านแบบไทยๆว่าริชลิวตามเสด็จพระราชหัตเลขาของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตั้งแต่แรกที่ท่านเข้ามารับราชการอยู่ในสยาม
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 1 เมื่อ 06 ก.ค. 13, 22:31
|
|
de Richelieu เป็นตระกูลเก่าแก่ของฝรั่งเศส เชษฐบุรุษคนหนึ่งของท่านเป็นพระราชาคณะของศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกในรัชสมัยของพระเจ้าหลุยส์ที่๑๓ มีนามว่า “Armand Jean du Plessis, Cardinal-Duc de Richelieu” หรือ คาดินัลริชลิว ท่านผู้นี้มีอำนาจและบทบาทมากคล้ายๆนายกรัฐมนตรี เพราะเป็นคนกำหนดนโยบายบริหารปกครองประเทศ ทั้งการเมืองการทหารของฝรั่งเศส โดยพระเจ้าแผ่นดินเป็นเสมือนหุ่นเชิด แต่ก็สามารถนำพาฝรั่งเศสให้ก้าวขึ้นมาเป็นประเทศระดับแนวหน้าของยุโรปได้ บทบาทดังกล่าวนี้เองที่ทำให้คาดินัลริชลิว ถูกยกให้เป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกของโลกอย่างไม่เป็นทางการ
ในมุมมองของชาวฝรั่งเศสส่วนใหญ่ก็เห็นว่าคาดินัลริชลิวเป็นรัฐบุรุษบุรุษนะ สถานที่ราชการสำคัญๆหลายแห่งรวมทั้งเรือประจันบานอันทรงอานุภาพในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง ก็ตั้งชื่อตามท่านผู้นี้ เป็นการให้เป็นเกียรติ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 2 เมื่อ 06 ก.ค. 13, 22:35
|
|
กระนั้นก็ดี คนฝรั่งเศสสมัยนั้นก็ไม่น้อยทีเดียวที่เกลียดคนๆนี้ เพราะเห็นว่าเป็นคนมักใหญ่ใฝ่สูงและมีวาระซ่อนเร้นเยอะ ช่วงมีอำนาจคาดินัลริชลิวได้สร้างเครือข่ายสมุนบริวารและจ้างสายลับแทรกซึมอยู่ทั่วทั้งในและนอกประเทศ พระเจ้าหลุยส์ที่๑๓เองทรงเคยหวาดระแวงถึงปลดเขาออกจากตำแหน่งมาแล้ว แต่ก็ด้วยเครือข่ายสมุนบริวาร และนโยบายที่เขาวางหมากไว้ ทำให้พระเจ้าหลุยส์จำพระทัยกลืนเลือดสีน้ำเงิน เรียกเขากลับมารับตำแหน่งอีกครั้ง
ในนิยายดังเรื่อง “The Three Musketeers” หรือในพากษ์ภาษาไทยชื่อ“ทแกล้วทหารสามเกลอ” มีตัวละครชื่อ คาดินัลริชลิว เป็นตัวร้ายเจ้าเล่ห์เพทุบายกระหายอำนาจท้าทายราชสำนัก คำว่า“ริชลิว”เลยกลายเป็นศัพท์แสลงในภาษาฝรั่งเศสที่มีความหมายประมาณว่า “เล่ห์เหลี่ยมทางการเมืองและความทะเยอทะยานของบุคคลที่อยู่เบื้องหลังราชบัลลังก์” คนประเภทนี้ในเมืองไทยก็คงจะมีเจ้าพระยาวิชเยนทร์ในสมัยสมเด็จพระนารายน์นั่นคนนึงแน่นอน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 3 เมื่อ 06 ก.ค. 13, 22:37
|
|
ส่วนดาราแสดงนำในเรื่องของผมคนนี้ อองเดร ดู ปริชีส์ เดอ ริชลิว(André du Plésis de Richelieu) เกิดเมื่อวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๓๙๕ ที่ตำบลLojt เมืองAabenraa ประเทศเดนมาร์ก สายสกุลของท่านสืบมาจากตระกูล de Richelieu ที่โด่งดังข้างต้น มีหลายตำนานที่เล่าขานว่า คนในตระกูลนี้อพยพมาอยู่ในเดนมาร์กเพราะในอดีตเดนมาร์กและฝรั่งเศสเคยเป็นพันธมิตรสงครามร่วมกันบ้าง หรือฝรั่งเศสส่งทหารและครัวเรือนเข้าไปครอบครองพื้นที่ของเดนมาร์กบ้าง หรือถูกเนรเทศไปเพราะการเมืองบ้าง อย่างไรก็ดี ครอบครัวของท่านได้โยกย้ายจากบ้านเกิดเมืองนอนไปอาศัยอยู่ในเดนมาร์กมาหลายชั่วคนแล้ว
บิดาของอองเดรก็เป็นนักบวชระดับวิคาร์ เมื่ออายุสามสิบเศษได้ออกไปประกาศศาสนาที่เกาะอันเป็นอาณานิคมของเดนมาร์กในเวสต์ อินดีส และนำชีวิตไปทิ้งเสียที่นั่น อองเดรครั้นโตพอก็สมัครลงฝึกงานนายเรือกับเรือสินค้า เดินทางท่องไปกับเรือและมีโอกาสมาเห็นสยามเมืองเอกราชในท่ามกลางอาณานิคมของชาติตะวันตกครั้งหนึ่ง เกิดความบันดาลใจอยากมาอยู่กรุงเทพ เมื่อกลับไปเดนมาร์กแล้วสอบได้ประกาศนียบัตรนายเรือ มียศเป็นนายทหารกองหนุนของกองทัพเรือเดนมาร์กระดับนายเรือโท ขณะนั้นอายุ๒๓ปี อองเดรได้วิ่งเข้าหาผู้ใหญ่หลายครั้งจนมีโอกาสได้เข้าเฝ้าพระเจ้าคริสเตียนที่๙ ที่พระราชวังกรุงโคเปนฮาเกน เพื่อขอพระราชทานหนังสือแนะนำตัวมาถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯเจ้าสยาม หลังจากนั้นในปี๑๘๗๕ตรงกับพ.ศ.๒๔๑๘ อองเดร ดู ปริชีส์ เดอ ริชลิวก็ได้เดินทางไกลแบบไม่มีกำหนดกลับ ผ่านลอนดอนมาสิงคโปรสู่กรุงเทพ ที่นี่ท่านกงสุลโควป์เก้ของเดนมาร์กจะเป็นผู้นำเขาเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 4 เมื่อ 06 ก.ค. 13, 22:40
|
|
ผมเคยสงสัยเป็นล้นพ้นว่า ทำไมคนมีชาติตระกูลดีอย่างริชลิวจึงได้เลือกมาเผชิญชีวิตในดินแดนที่ห่างไกล แทนที่จะมุ่งเอาดีในบ้านเกิดเมืองนอนของตน นี่ทำเหมือนนักแสวงโชคที่หนีความยากลำบากในประเทศของตนแบบไปตายเอาดาบหน้า
นักประวัติศาสตร์ของเดนมาร์กอธิบายไว้ว่า เพราะสงครามยืดเยื้อระหว่างเดนมาร์กกับปรัสเซียที่จบลงด้วยความพ่ายแพ้ได้ส่งผลต่อคนเดนมาร์ก โดยเฉพาะนายทหารหนุ่มๆ หลายคนคิดว่าไม่อาจจะฝากอนาคตไว้ในประเทศของตนได้แล้ว
ผมจะขอพาเข้าซอยซะหน่อย
ในสมัยที่ยังมิได้เกิดการรวมชาติ ชาวเยอรมันแบ่งการปกครองเป็นรัฐใหญ่ ๑๑ รัฐด้วยกัน คือ ปรัสเซีย ออสเตรีย บาวาเรีย แซกโซนี เมคเลนบูร์ก ฮันโอเวอร์ วูทเทมแบร์ก นัสเซา บาเดน ซักซ์ไวมาร์ และเฮสส์ โดยปรัสเซียเป็นรัฐใหญ่และทรงอิทธิพลที่สุด จนในปี ค.ศ. ๑๘๗๑ จึงได้รวมตัวกันจัดตั้งเป็นประเทศสมาพันธรัฐเยอรมนี โดยฝีมืออัครมหาเสนาบดีคนสำคัญของปรัสเซียคู่พระทัยของไกเซ่อร์คือ บิสมาร์ค ผู้ใช้ทั้งกองทัพที่เข้มแข็งและนโยบายต่างประเทศที่ชาญฉลาด ฉกฉวยโอกาสโดยไม่คำนึงถึงหลักเกณฑ์และคุณธรรมใดๆเพื่อดำเนินงานให้บรรลุความสำเร็จตามเป้าหมายดังกล่าว เริ่มต้นด้วยการสร้างความสัมพันธ์อันดีกับรัสเซีย เพื่อป้องกันพรมแดนตะวันออกให้ปลอดจากการถูกโจมตี จากนั้นก็นำปรัสเซียเข้าสู่สงครามถึง ๓ ครั้ง เพื่อทำลายอุปสรรคในการรวมรัฐเยอรมันเข้าด้วยกัน คือ ๑. ผนวกแคว้นซาลสวิก และโฮลชไตน์ จากเดนมาร์ก ด้วยการทำสงครามสองครั้งในระยะสิบปี ๒. ทำสงครามเพื่อกำจัดออสเตรียออกจากสมาพันธรัฐเยอรมันได้สำเร็จ และในสงครามครั้งที่ ๓ เขาได้ใช้สถานการณ์ในสเปนเป็นชนวนจุดสงครามฟรังโก-ปรัสเซีย (Franco-Prussian War) เอาชนะกองทัพของพระเจ้านโปเลียนที่๓ จนคนฝรั่งเศสลุกฮือขึ้นปฏิวัติโค่นล้มราชวงศ์โบนาปาร์ตแล้วเปลี่ยนประเทศเป็นสาธารณะรัฐไปเลย ชัยชนะในสงครามครั้งนี้ทำให้คนเยอรมันเกิดความภูมิใจในเชื้อชาติของตน ยอมรับการที่พระเจ้าไกเซอร์วิลเฮล์มที่ ๑ ทรงประกาศสถาปนาจักรวรรดิเยอรมันขึ้นในพระราชวังแวร์ซายน์ของศัตรูนั่นเอง และบิสมาร์คได้รับการยกย่องให้เป็นรัฐบุรุษคนสำคัญของเยอรมนี
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 5 เมื่อ 06 ก.ค. 13, 22:41
|
|
สงครามระหว่างปรัสเซียกับเดนมาร์กครั้งแรกนั้นกินเวลา๓ปี จบลงโดยเดนมาร์กเป็นฝ่ายชนะ แต่การเมืองภายในอันยุ่งเหยิงจากการที่มีบางกลุ่มเรียกร้องจะเอาประชาธิปไตยตามอย่างฝรั่งเศสได้ทำให้เกิดความแตกแยกในบ้านเมือง เป็นจุดกระตุ้นให้เกิดสงครามขึ้นอีกในครั้งหนึ่งกับศัตรูหน้าเดิม และเป็นครั้งสุดท้ายในปี๑๘๖๔ จบลงด้วยความพ่ายแพ้อย่างหมดรูปของกองทัพเดนมาร์ก ซึ่งนอกจากจะทำให้ต้องเสียดินแดนทางใต้ให้เป็นแคว้นหนึ่งของสมาพันธรัฐเยอรมันอย่างถาวรแล้ว และส่งผลกระทบต่อสังคมเดนมาร์กโดยมวลอย่างแรง จิตใจคนในประเทศตกอยู่ในภาวะซึมเศร้า แถมการเมืองในประเทศก็วุ่นวายไม่จบ แม้ว่าก่อนสงครามนั้น พระเจ้าเฟรเดอริคที่ ๗ กษัตริย์แห่งเดนมาร์กได้ยินยอมลงพระนามในปี ค.ศ. ๑๘๔๙ เพื่อสละพระราชอำนาจในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ให้แก่รัฐสภา แต่รัฐสภาที่พวกมากลากไปนี้เองที่ลงมติให้เดนมาร์กเข้าทำสงครามกับปรัสเซีย-ออสเตรียอีกครั้ง เพื่อหวังสิทธิขาดในการครองแคว้นชเลสวิก การที่ตกเป็นฝ่ายปราชัยแก่บิสมาร์กอย่างย่อยยับ ทำให้ประชาชนเสื่อมความนิยมในระบอบคณาธิปไตย หลังจากนั้น พระเจ้าเฟรเดอริคที่ ๗ก็เสด็จสวรรคตโดยไม่มีรัชทายาท วุ่นวายอีกพักหนึ่งก่อนที่ราชบัลลังก์จะตกไปเป็นของพระเจ้าคริสเตียนที่ ๙ ผู้เป็นพระญาติต่างราชวงศ์ ผู้มีคุณสมบัติเหมาะสมที่ผมจะเล่าต่อไป การขึ้นมาของกษัตริย์พระองค์นี้ก่อให้เกิดการปรับศูนย์อำนาจของการเมืองภายในประเทศ ฝ่ายอนุรักษนิยม ได้เชิดชูสถาบันกษัตริย์ขึ้นมาใหม่ และแก้ไขรัฐธรรมนูญในค.ศ.๑๘๖๖ ถวายคืนพระราชอำนาจบางประการให้กษัตริย์จากเดิมที่เป็นอำนาจตัดสินใจฝ่ายเดียวของรํฐสภา พระเจ้าคริสเตียนที่ ๙ ได้ทรงใช้พระราชสิทธิ์และพระราชอำนาจของพระองค์ตามรัฐธรรมนูญในการแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีจากสมาชิกสภาสูงทั้งหมด โดยสามารถละเลยต่อข้อเรียกร้องของสมาชิกสภาล่าง ซึ่งถือว่าเป็นสภาที่มาจากประชาชน แม้เป็นเช่นนั้น แต่ระบอบการปกครองของเดนมาร์กก็ยังได้ชื่อว่าเป็น “ระบอบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ” อยู่ดี
บรรยากาศยังเต็มไปด้วยความขัดแย้ง หนี้สงครามก้อนโตที่ต้องชำระเป็นค่าปฏิกรรมสงครามแก่ศัตรู อนาคตของชาติมองไม่เห็น ศักดิ์ศรีของกองทัพเสื่อมสูญ ไม่มั่นคงสำหรับการแสวงหาความสำเร็จในสายอาชีพของเหล่าทหารหาญอีกต่อไป นายทหารส่วนใหญ่ยอมเปลี่ยนอาชีพ หลายคนเลือกที่จะอพยพไปแสวงหาอนาคตใหม่ นายเรือและลูกเรือหลายคนตัดสินใจเดินทางอันยาวไกลจากที่นั่นมาเอเซีย ส่วนหนึ่งจบลงที่กรุงเทพฯ และเข้ารายงานตัวต่อกงสุลใหญ่ของรัฐบาลเดนมาร์กที่นี่
ริชลิวก็เป็นหนึ่งในนั้น ก่อนที่จะมีคนอื่นๆตามเข้ามากว่ายี่สิบคน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 6 เมื่อ 06 ก.ค. 13, 22:45
|
|
สยามขณะนั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯเพิ่งบรรลุพระราชนิติภาวะ และผ่านพระราชพิธีพระบรมราชาภิเษกครั้งที่๒ ขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์โดยสมบูรณ์ ไม่จำต้องมีผู้สำเร็จราชการแผ่นดินอีกต่อไป พระราชภารกิจหนักหนาซึ่งรอพระองค์อยู่คือการที่จะต้องรักษาบ้านรักษาเมืองให้พ้นภัยฝรั่งนักล่าอาณานิคม อันมีอังกฤษและฝรั่งเศสเป็นตัวแสบแถวนี้ ทรงมองหาฝรั่งที่จะเข้ามารับราชการทหารเพื่อรับมือฝรั่งด้วยกัน โดยมีพระราชดำริว่า“เรื่องของกระทรวงกลาโหมนั้น เราได้ตั้งใจไว้เสียช้านานแล้วว่า หากว่าจะต้องการใช้ฝรั่ง จะไม่ใช้ชาติที่มีอำนาจใหญ่คืออังกฤษและฝรั่งเศส แต่จะใช้ชาติที่มีอำนาจชั้นที่ ๒ คือพวกเดน(Dane)เท่านั้น”
เหตุผลประกอบก็คือ คุณสมบัติเฉพาะของพระเจ้าคริสเตียนที่ ๙ แห่งเดนมาร์ก (Christian IX of Denmark) ทรงเป็นพระเจ้าแผ่นดินผู้มีพระราชสมัญญานามว่าสุดยอด “พ่อตาแห่งยุโรป” ด้วยเหตุว่าพระราชธิดาสามองค์ เจ้าหญิงอเล็กซานดราอภิเษกสมรสกับพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ ๗ แห่งอังกฤษ เจ้าหญิงดัคมาร์อภิเษกสมรสกับพระเจ้าซาร์ อเลกซานเดอร์ที่๓ แห่งรัสเซีย เจ้าหญิงไธย์ราอภิเษกสมรสกับมงกุฏราชกุมารแห่งฮันโนเวอร์ นครรัฐที่ภายหลังถูกผนวกเข้ากับสหพันธรัฐเยอรมัน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 7 เมื่อ 06 ก.ค. 13, 22:46
|
|
มิเพียงแต่เท่านั้นพระราชโอรสทั้งสามของพระองค์ เจ้าชายเฟรเดอริกได้อภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงโลวิช่าแห่งสวีเดน เมื่อสวีเดนแยกกับนอร์เวย์เป็นอีกประเทศหนึ่ง พระราชโอรสของทั้งสองได้ขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้าฮากอนที่๗ กษัตริย์แห่งนอร์เวย์ เจ้าชายวิลเฮล์มได้ครองราชย์เป็นพระเจ้าจอชจ์ที่๑แห่งกรีก เจ้าชายวาลเดอมาร์อภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงมารี แห่งราชวงศ์บูรบองของฝรั่งเศส
จึงไม่ต้องสงสัยว่า แม้เดนมาร์กจะเป็นประเทศเล็ก แต่พระเจ้าคริสเตียนที่ ๙ ก็ทรงมีอิทธิพลยิ่งใหญ่เพียงไรในราชสำนักยุโรป และทรงนำเดนมาร์กกลับมาเป็นปึกแผ่นมั่นคงในเวลาไม่ช้าจนเกินแก้
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 8 เมื่อ 06 ก.ค. 13, 22:50
|
|
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯคงจะทรงทราบความตามนัยยะนี้ ดังนั้นเมื่อวันหนึ่งกงสุลใหญ่เดนมาร์กประจำสยามมาเข้าเฝ้าและเบิกตัวกัปตันริชลิว อัญเชิญพระราชสาส์นของพระเจ้าคริสเตียนที่ ๙ มาถวาย ฝากฝังนายทหารเรือหนุ่มผู้นี้เป็นการส่วนพระองค์ โดยมีเอกสารรับรองการเป็นนายทหารและกัปตันเรือของราชอาณาจักรเดนมาร์กมายืนยันความรู้ความสามารถด้วย
เมื่อพระเจ้ากรุงเดนมาร์กมีพระราชหัตถเลขามาเองเช่นนี้ ก็น่าจะเป็นที่เข้าใจได้ว่าทำไมพระเจ้าอยู่หัวจะทรงยินดีเป็นที่ยิ่ง ดังนั้น ตั้งแต่เดือนเมษายนของปีพ.ศ.๒๔๑๘ กัปตันริชลิวจึงได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้รับราชการเป็นทหารเรือวังหลวงยศนายนาวาโท เป็นกัปตันเรือสยามมกุฏชัยวิชิต
แต่ที่พระเจ้าอยู่หัวคงจะไม่ทรงทราบ ณ เพลานั้นก็คือ ในราชสำนักของพระเจ้ากรุงเดนมาร์กเอง เจ้าหญิงมารีแห่งฝรั่งเศส (Princess Marie d'Orleans) ผู้เป็นพระชายาของเจ้าชายวาลเดอมาร์ (Prince Waldemar)พระราชโอรสองค์เล็กสุดของพระเจ้าคริสเตียนที่ ๙ ได้กระทำพระองค์ประหนึ่งจารสตรีฝรั่งเศสแอบแฝงอยู่ เจ้าหญิงมารีนี้ทรงได้ชื่อว่าหัวรุนแรง จัดเป็นฝ่ายซ้ายจัดในบรรดาพระราชวงศ์ของยุโรปทั้งหลาย นักประวัติศาสตร์ตั้งข้อสังเกตุว่าข่าวกรองด้านการเมืองการต่างประเทศที่ทราบกันเฉพาะวงในราชสำนักเดนมาร์ก มักจะรั่วไหลออกจากวังไปให้รัฐบาลสาธารณะรัฐของฝรั่งเศสได้ล่วงรู้อยู่เสมอ โดยมีเจ้าหญิงมารีเป็นผู้อยู่เบื้องหลัง บางครั้งก็กลับกัน อย่างเช่นเมื่อคราวเกิดข้อพิพาทระหว่างสยามกับฝรั่งเศสดังจะได้กล่าวต่อไป ข่าวว่ามีคำสั่งจากโคเปนฮาเก้นมาที่กรุงเทพ ให้นายทหารเดนมาร์กที่ตามกัปตันริชลิวเข้ามาทำงานในสยามต่อมาไม่น้อยกว่า๒๕คนวางตนเป็นกลาง มิให้เข้าร่วมรบกับฝรั่งเศสซะอย่างงั้น
แต่ผลจะเป็นประการใด ก็ขอให้ท่านติดตามอ่านมาช่วยวิเคราะห์กัน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ประกอบ
|
ความคิดเห็นที่ 9 เมื่อ 06 ก.ค. 13, 23:46
|
|
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 10 เมื่อ 07 ก.ค. 13, 00:39
|
|
มัวไปจัดกาแฟ เลยถูกปาดหน้าไปเรียบร้อยแล้ว
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 11 เมื่อ 07 ก.ค. 13, 08:50
|
|
ขอบคุณครับ
มาเห็นเอาตอนเช้า ^ น่าจะมี Danish pastry มาให้เบรคฟาดซะหน่อย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 12 เมื่อ 07 ก.ค. 13, 09:34
|
|
กว่าจะเห็นออเดอร์ก็สายแล้ว ขออำภัย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 13 เมื่อ 07 ก.ค. 13, 10:07
|
|
ได้เครื่องเซ่นแล้วค่อยยังชั่ว ขอย้อนกลับที่ตำแหน่งเดิมก่อนแยกซอยเพื่อเริ่มกันต่อนะครับ
เมื่อกัปตันริชลิวได้รับคำสั่งให้นำเรือสยามมกุฏชัยวิชิตออกไปประจำการที่ภูเก็ต งานหลักก็เพื่อทำแผนที่ชายฝั่งทะเลสยามด้านตะวันตกซึ่งสยามมีเขตแดนติดต่อกับเมืองขึ้นของอังกฤษ เพราะงานนี้จะใช้คนอังกฤษที่ราชการจ้างมาอยู่แล้วหลายคนก็ใช่ที่
ภารกิจแรกของกัปตันริชริวถือว่ามีผลงานเกินเป้า พระยามนตรีสุริยวงศ(ชุ่ม บุนนาค ) ขณะเป็นที่เจ้าหมื่นเสมอใจราช ข้าหลวงเมืองภูเก็ต ได้เขียนรายงานเรื่องจีนกุลีทำเหมืองก่อการกำเริบไว้ มีข้อความบางตอนกล่าวถึงกัปตันริชริว ว่ามีหน้าที่ไปรับเงินภาษีที่เก็บจากหัวเมืองเข้ามาส่งที่กรุงเทพ เผอิญมีเหตุวุ่นวายคนจีนจะตีกัน เรือรบที่ไปลอยลำอยู่นั่นและทหารหลายสิบนายยกพลขึ้นฝั่งพร้อมอาวุธครบมือ จึงมีส่วนร่วมกำหลาบคนจีนเหล่านั้นให้อยู่ในความสงบได้
ถือว่ามีความดีความชอบเป็นของแถม
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 13 ก.ค. 13, 12:15 โดย เทาชมพู »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 14 เมื่อ 07 ก.ค. 13, 10:12
|
|
สำหรับงานหลัก กัปตันริชลิวขณะกำลังสำรวจเพื่อทำแผนที่ในอาณาบริเวณปริมณฑลของภูเก็ตในปีพ.ศ.๒๔๑๙ ได้พบหินโสโครกอันโด่งดังของทะเลระนองซึ่งเป็นกองหินปริ่มน้ำ แบบEmerged Rock ยามน้ำขึ้นจะมองไม่เห็น ต่อเมื่อน้ำลงหินจึงจะโผล่ยอดขึ้นมา
แม้มันจะอยู่ของมันเช่นนี้มาแต่ไหนแต่ไร เรือใครต่อใครวิ่งไปชนอับปางคนตายมานักต่อนักแล้ว แต่ด้วยความรู้ความฉลาดของท่านผู้นี้ พอพบแล้ว ท่านก็กำหนดจุดลงแผนที่ ทำรายงานส่งไปยุโรปว่าข้าพเจ้านี่แหละเป็นผู้ค้นพบเป็นคนแรกของโลก และตั้งชื่อกองหินนี้ว่า Richelieu Rock ซะเลย
ผลงานแผนที่ภูเก็ตของท่านมีหลักฐานแทรกอยู่ในแผนที่อังกฤษ หมายเลข ๘๔๒ ซึ่งพิมพ์ เมื่อ พ.ศ.๒๔๒๒
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|