เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 4 5 [6] 7
  พิมพ์  
อ่าน: 29281 ตัดถนนราชดำเนิน
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 75  เมื่อ 13 ก.ค. 13, 08:25

ป้อมหักกำลังดัสกรอยู่ที่ไหน?

ตามข้างล่าง หาภาพยากมาก



ป้อมหักกำลังดัสกร ตั้งอยู่ระหว่างวัดมกุฏกษัตริย์ กับ วัดโสมนัสวิหาร ลักษณะเหมือนป้อมทำลายแรงปรปักษ์ ซึ่งทำเป็นวงเดือนไม่เต็มวง หันหน้ามุมป้อมออกหาคลอง


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 76  เมื่อ 13 ก.ค. 13, 08:35

ภาพความงามของถนนราชดำเนินกลาง ต้นไม้ใหญ่ให้ร่มเงา ไม่ทำให้บ้านเมืองร้อนเพราะแดดเผา


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 77  เมื่อ 13 ก.ค. 13, 09:03

แผนที่ที่คุณหนุ่มเอามาให้ดู
คล้ายแผนที่  ที่เคยเห็นในหนังสือประวัติศาสตร์ไทยด้านสังคม
ของอาจารย์ชัย เรืองศิลป์  ท่านว่าได้มาจากหนังสือ วารสารผังเมือง
เขาแจกกับหนังสือ เดือนกรกฏาคม 2509 (สมบัติเดิมของ มล ปิ่นมาลากุล)

ในหนังสืออาจารย์ชัย  มีให้ดูแต่เล็กมาก   ดูไม่ชัด  อ่านไม่ออก
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 78  เมื่อ 13 ก.ค. 13, 11:19

แผนที่ที่คุณหนุ่มเอามาให้ดู
คล้ายแผนที่  ที่เคยเห็นในหนังสือประวัติศาสตร์ไทยด้านสังคม
ของอาจารย์ชัย เรืองศิลป์  ท่านว่าได้มาจากหนังสือ วารสารผังเมือง
เขาแจกกับหนังสือ เดือนกรกฏาคม 2509 (สมบัติเดิมของ มล ปิ่นมาลากุล)

ในหนังสืออาจารย์ชัย  มีให้ดูแต่เล็กมาก   ดูไม่ชัด  อ่านไม่ออก

แผนที่นี้เรียกว่า แผนที่นายวอน นายสอน  เป็นแผนที่เขียนปรับปรุงจากแผนที่ พ.ศ. ๒๔๓๐ ซึ่งเป็นการเขียนแผนที่โดยน้องพระวิภาคภูวดลจัดสำรวจกรุงสยามและทำแผนที่กรุงเทพขึ้นเป็นครั้งแรก และเวลาผ่านมากว่า ๙ ปี ตรงกับ พ.ศ. ๒๔๓๙ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ โปรดให้สำรวจสถานที่และถนนในกรุงเทพใหม่ โดยอ้างอิงแผนที่กรุงเทพเดิมมาดัดแปลง โดยผู้เขียนแผนที่คือ นายวอน และนายสอน ครับ

แผนที่นี้มีผู้ไปใช้นำไปทำภาพประกอบ ภาพกราฟฟิคและอธิบายมากมายครับ


บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 79  เมื่อ 13 ก.ค. 13, 11:26

ของอาจารย์ชัยก็พิมพ์ปี 2439  แต่ไม่มีตราเจ้าของ
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 80  เมื่อ 13 ก.ค. 13, 12:14

แผ่นนี้


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 81  เมื่อ 13 ก.ค. 13, 12:19

แผนที่นี้เรียกว่า แผนที่นายวอน นายสอน  เป็นแผนที่เขียนปรับปรุงจากแผนที่ พ.ศ. ๒๔๓๐ ซึ่งเป็นการเขียนแผนที่โดยน้องพระวิภาคภูวดลจัดสำรวจกรุงสยามและทำแผนที่กรุงเทพขึ้นเป็นครั้งแรก และเวลาผ่านมากว่า ๙ ปี ตรงกับ พ.ศ. ๒๔๓๙ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ โปรดให้สำรวจสถานที่และถนนในกรุงเทพใหม่ โดยอ้างอิงแผนที่กรุงเทพเดิมมาดัดแปลง โดยผู้เขียนแผนที่คือ นายวอน และนายสอน ครับ

ขยายความ

แผนที่กรุงเทพฯ พ.ศ. ๒๔๓๙ (ร.ศ. ๑๑๕) เป็นหนึ่งในแผนที่พระราชอาณาเขตและแผนที่เมืองที่กรมแผนที่จัดพิมพ์ขึ้น เพื่อแสดงข้อมูลทางกายภาพของสยามประเทศ ตามมาตราฐานการทำแผนที่อย่างตะวันตก ในช่วงต้นรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

สำหรับแผนที่พระนครนั้น ปรากฏหลักฐานว่า ทำขึ้นในมาตราส่วนขนาดใหญ่ มีรายละเอียดถนน หนทาง บ้านเรือนต่าง ๆ อย่างชัดเจน และตีพิมพ์ครั้งแรกที่ประเทศอังกฤษ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๐ ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้กรมแผนที่ปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัย แก้ไขเพิ่มเติม ตึกถนน บ้านเรือน ตามที่เปลี่ยนแปลงใหม่ในทุกวันนี้ รวบรวมเข้าทั้งฝั่งลำน้ำเจ้าพระยาลงบนแผ่นเดียวกัน โดยให้ช่างเขียนแผนที่สองท่าน คือนายวอนและสอน คัดลอกเส้นแผนที่ขึ้นใหม่ จนแผนที่แล้วเสร็จและพิมพ์เผยแพร่ เมื่อวันที่ ๑๘ ธันวาคม ร.ศ. ๑๑๕ (พ.ศ. ๒๔๓๙)



บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 82  เมื่อ 13 ก.ค. 13, 16:50

แผ่นนี้

ระวางเดียวกันครับ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 83  เมื่อ 13 ก.ค. 13, 16:57

ภาพขยายป้อมกำลังหักดัษกร มาให้เห็นลักษณะโครงสร้างของป้อม (แผนที่ พ.ศ. ๒๔๓๐ หรือ จศ. ๑๒๔๙)

ลักษณะป้อมนี้จะเป็นแบบชั้นเดียว คือ เชิงเทินใบบัง ไม่มีโครงสร้างของห้องล้อมแบบป้อมพระสุเมรุ ถนนพระอาทิตย์


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 84  เมื่อ 13 ก.ค. 13, 17:06

นี่ครับคุณ Visitna แผนที่กรุงเทพ พ.ศ. ๒๔๓๐ (จ.ศ. ๑๒๔๙) ต้นฉบับก่อนที่จะดัดแปลงเป็น นายวอนนายสอน


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 85  เมื่อ 13 ก.ค. 13, 19:09

ภาพขยายป้อมกำลังหักดัษกร มาให้เห็นลักษณะโครงสร้างของป้อม (แผนที่ พ.ศ. ๒๔๓๐ หรือ จศ. ๑๒๔๙)

ลักษณะป้อมนี้จะเป็นแบบชั้นเดียว คือ เชิงเทินใบบัง ไม่มีโครงสร้างของห้องล้อมแบบป้อมพระสุเมรุ ถนนพระอาทิตย์
คุณ siamese มีภาพถ่ายป้อมลักษณะนี้มาให้ดูกันบ้างไหมคะ
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 86  เมื่อ 13 ก.ค. 13, 19:17

ขอบคุณคุณหนุ่ม และคุณเพ็ญชมพู สำหรับการไขความกระจ่างเรื่องแผนที่
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 87  เมื่อ 13 ก.ค. 13, 21:14

ขอตัดไปสู่ถนนราชดำเนินในบ้างค่ะ

ถนนราชดำเนินในเริ่มตั้งแต่ถนนสนามชัยมาถึงสะพานผ่านพิภพลีลา    ก่อนถนนราชดำเนินถือกำเนิดขึ้น  บริเวณที่ต่อมาก่อสร้างเป็นกระทรวงยุติธรรม เดิมเป็นคอกวัวมาก่อน      ผู้เลี้ยงเป็นแขกรีดนมวัวขาย  และส่งเข้าพระบรมมหาราชวังด้วย   นิวาสถานของพวกนี้อยู่แถวหัวป้อมเผด็จดัสกร

สมเด็จกรมพระยาดำรงฯ ทรงเล่าไว้ใน สาส์นสมเด็จตอนหนึ่งว่า พระเจ้าอยู่หัวตั้งแต่รัชกาลที่ 3 เป็นต้นมา โปรดเสวยนมวัว    หลักฐานมีอยู่ในบทละครเรื่องระเด่นลันไดของพระมหามนตรี(ทรัพย์)    เรื่องนี้พระมหามนตรีสร้างตัวละครชื่อท้าวประดู่ เป็นแขกเลี้ยงวัว   ตั้งคอกอยู่แถวป้อมเผด็จดัสกร    ท่านก็คงจะเห็นตัวอย่างมาจากเรื่องจริง ว่าแขกเลี้ยงวัวตั้งบ้านเรือนอยู่แถวนั้น     วัวที่ว่าเป็นวัวหลวง   แขกรีดนมแล้วส่งเข้าถวายเจ้านายในวัง     พระองค์ท่านเองทรงจำได้ว่าเช้าๆ มีเจ้าพนักงานเป็นแขกโกนศีรษะ ใส่หมวกอย่างพระจุฬาฯ แต่นุ่งผ้าใส่เสื้ออย่างไทย  ถือขวดนมวัวไปส่งที่ประตูสนามราชกิจทุกวัน
น้ำนมที่ว่านี้ไม่ได้ถวายเฉพาะเจ้านาย   แต่พระสงฆ์ที่เข้าไปรับบิณฑบาตเวร  ก็มีน้ำนมวัวโถหนึ่งตั้งไว้ให้พระราชาคณะได้ฉัน

ถึงรัชกาลที่ 4  ฝรั่งต่างประเทศเข้ามาในสยามมากขึ้น   ความต้องการน้ำนมวัวก็ทวีขึ้น  ฝรั่งมารับนมสดจากแขกในไทยไปดื่มเป็นประจำ    แต่น่าเสียดายว่า ไม่รู้ว่าคอกวัวนอกกำแพงวังหายไปตั้งแต่เมื่อไหร่   คงจะเป็นในรัชกาลที่ 5  เมื่อมีการตัดถนนรอบพระบรมมหาราชวัง และถนนราชดำเนินใน


บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 88  เมื่อ 14 ก.ค. 13, 07:22

ป้อมเผด็จดัสกร พศ 2428 แขกเลี้ยงวัว คงจะย้ายไปที่อื่นแล้ว

เคยอ่านเรื่องการซื้อที่ดินแถว สีลม สาทร แขกเลี้ยงวัวไปเป็นเจ้าของที่ดินแถวนั้น
ไม่ว่าจะเป็นซอยปั้น ซอยแขก เดิมพวกแขกเลี้ยงวัวเป็นผู้ถือครองที่ดิน



คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 89  เมื่อ 14 ก.ค. 13, 16:16

ยังไม่สรุป อ่านเป็นแนวทางกว้างๆก่อน


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 4 5 [6] 7
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.053 วินาที กับ 20 คำสั่ง