เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6 7
  พิมพ์  
อ่าน: 29360 ตัดถนนราชดำเนิน
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 60  เมื่อ 11 ก.ค. 13, 18:05

ภาพต้นไม้ที่เห็นแค่กิ่งน่าจะเป็นมะฮ๊อกกานี ปี 2515



คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 61  เมื่อ 11 ก.ค. 13, 20:38

ขอแก้วันทำพิธีเปิดอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย
ตามที่ท่านส.พลายน้อยเขียนไว้ในหนังสือ เล่าเรื่องบางกอก
ท่านเขียนว่าเปิดเมื่อ 24 มิย 2483 ไม่ใช่ 2484 ตามรูปที่โพสต์ไว้
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 62  เมื่อ 11 ก.ค. 13, 22:39

อาคารสองฟากถนนราชดำเนินกลาง เกิดหลังจากตัดถนนเกือบ 40 ปี  เริ่มดำเนินการในปี พ.ศ. 2480   รัฐบาลเวนคืนที่ดินทั้งสองฝั่งถนนข้างละ 40 เมตร   เพื่อสร้างอาคารรวม15 หลัง ริมสองข้างทางของถนนราชดำเนินกลาง  โดยเปลี่ยนแปลงรูปแบบของถนนใหม่ ให้เป็นแบบมีเกาะกลางเช่นปัจจุบัน  
ตัวอาคารออกแบบโดยสถาปนิก มล.ปุ่ม มาลากุล และ คุณหมิว อภัยวงศ์ ซึ่งใช้แนวความคิดในการออกแบบอาคารแบบฝรั่งเศส จาก Champ Elysees  

งานก่อสร้างอาคารบนถนนราชดำเนินกลาง ใช้เวลาระหว่างปี พ.ศ. 2480 ถึง 2491  ใช้งบประมาณก่อสร้าง 10 ล้านบาท ผู้รับเหมาก่อสร้างคือบริษัท สง่าวรรณดิศ จำกัด และ บริษัทคริสเตียนีแอนด์นีลเส็น จำกัด    


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 63  เมื่อ 11 ก.ค. 13, 22:56

เรื่องราวเกี่ยวกับถนนราชดำเนิน ท่าน ส พลายน้อย เขียนไว้ค่อนข้างละเอียด

มีอีกท่านหนึ่งที่เขียนบันทึกเรื่องราวของถนนราชดำเนินไว้ (คุณหนุ่มเล่าไว้บ้างแล้ว ตอนต้น กระทู้)
คือ กาญจนาคพันธุ์ หรือ ขุนวิจิตรมาตรา ท่านเกิดเมือ ปี  2440  
เรื่องราวที่ท่านเล่าน่าจะอยู่ในราวประมาณ ช่วงก่อนปี 2450 (ยังไม่ได้สร้างพระที่อนันตสมาคม  2451)

"ขอตั้งต้นที่ถนนราชดำเนินกลางและนอก......
ถนนสองสายนี้ทำเหมือนกัน คือเป็นถนนใหญ่มาก แบ่งเป็นห้าทาง
ทางริมสองข้างเป็นถนนเล็ก ถัดเข้ามาเป็นบาทวิถี  ตรงกลางเป็นถนนใหญ่
ตอนที่เป็นราชดำเนินกลาง ที่เป็นบาทวิถีปลูกต้นมะฮอกกานีตลอด
ถนนราชดำเนินนอกจำไม่ได้ว่าปลูกต้นมะฮอกกานีหรือต้นมะขาม อย่างปัจจุบัน

แต่เป็นถนนที่งามที่สุดในสมัยโน้น
เสียแต่ว่าตอนที่ข้าพเจ้ายังเด็ก
เป็นถนนเปลี่ยว  คือ ไม่ค่อยพบคนหรือรถ(รถเจ๊กรถม้า)

บ้านเรือนริมถนนก็ไม่มี

ที่ถนนราชดำเนินกลางตั้งแต่สะพานผ่านพิภพฯ ทางขวามือ
ริมถนนสุดเป็นรั้วต้นพู่ระหงตลอด  มีซอยเล็กๆทีเป็นสะพานไม้เข้าไป สองหรือสามซอย
บ้านเรือนอยู่ในซอยนั้น แต่มองข้างนอกไม่ค่อยเห็น เพราะต้นไม้บังหมด

ซอยแรกชื่อ ตรอกสาเก พวกผู้หญิงโสเภณีอยู่ในซอยนี้มาก
และว่าเป็นวังหลวงประจักษ์ด้วย  แต่ข้าพเจ้าไม่รู้ไม่เห็นว่าอยู่ตรงไหน
ซอยนี้ทะลุถึงคลองหลอด  ที่มีวัดบูรณศิริอยู่ต้นคลองหลอด

ราชดำเนิน   ตอนนี้  เป็นรั้วต้นพู่ระหงไปจนถึงถนนตะนาว ที่เป็นสี่แยกคอกวัว
ข้ามถนนตะนาวไปก็เป็นรั้วต้นพู่ระหงจนจดถนนดินสอที่เป็นสี่แยก(ยังไม่มีอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย)
ราชดำเนินตอนนี้เหมือนตอนแรกคือมีซอยสองสามซอย

ราวกึงกลางไปทางสี่แยกมีโรงเรียนสตรี  ชื่อ โรงเรียนสตรีวิทยา
เป็นโรงเรียนที่มีชื่อเสียงในสมัยโน้น....
โรงเรียนนี้มีอาจารย์ใหญ่ชื่อ ทิม มีครูสาวสวยๆ และนักเรียนสวยๆมาก(ท่านขุนฯจำตอนนี้แม่นมาก...ผมเขียนเอง)
.....
ใกล้กับโรงเรียนสตรีวิทยามีซอยหนึ่งที่เป็นบ้านของพระยาภักดีถูธร(นามสกุลภักดีกุล)
เป็นพระพี่เลียงสมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ
คราวที่เสด็จไปศึกษาที่ประเทศรัสเซีย
กลับมาเป็นเจ้ากรมแผนที่ทหารบก

ข้ามฟากถนนดินสอไป
ริมถนนราชดำเนินเป็นรั้วพู่ระหงอีกต่อไปจนเกือบถึงที่เป็นโรงหนังเฉลิมไทย
เป็นห้องแถวไม้จากถนนราชดำเนินเป็นแนวโค้งไปตามถนนมหาไชย
ดูเหมือนจะยาวไปจดคลองหลอดวัดเทพธิดาราม

ห้องแถวไม้นี้ทำแปลก ที่ด้านหน้าของห้องยกพื้นจากพื้นดินสูงขึ้นไปราวศอกหนึ่ง
เป็นชานโค้งไปตามรูปห้องตลอด(ไม่มีบันได)  กว้างสองศอก
ติดกับชานจึงเป็นห้องแถวไม้ชั้นเดียว
ชานนั้นเป็นเหมือนหน้าห้องยาวไปตลอด
แต่คนเดินถนนที่ไม่ใช่เจ้าของห้องขึ้นไปเดินได้ตลอดห้อง
ตรงโค้งสองหรือสามห้องเป็นร้านโรงพิมพ์ เรียกว่าโรงพิมพ์มหาไชย......

ข้ามถนนมหาไชยก็เป็นสะพานผ่านฟ้าฯ
ซึ่งเชิงสะพานสองข้างเป็นกำแพงเมือง  ทางขวาเป็นป้อมมหากาฬ
..สุดถนนราชดำเนินกลาง



บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 64  เมื่อ 11 ก.ค. 13, 23:40

ต่อ

ส่วนทางซ้ายของถนนราชดำเนินกลาง  ตั้งแต่สะพานผ่านพิภพฯ
ข้างๆเป็นตึกสองชั้น(?ท่านจำผิดไหม?) เดิมจะเป็นอะไรไม่ทราบ
แล้วห้างแบดแมนที่สะพานช้างโรงสีได้ย้ายมาอยู่ที่ตึกสองชั้นนี้
ติดกับตึกสองชั้นเป็นที่วัง(ใครก็ลืม)

จากนี้เป็นรั้วพู่ระหงไปตลอดจนจดถนนตะนาว(สี่แยกคอกวัว)
ข้ามถนนตะนาวไปก็เป็นรั้วพู่ระหงจนจดถนนดินสอ(ที่เป็นสี่แยกอนุสาวรีย์ฯ)
ถนนราชดำเนินตอนนี้มีซอยสองสามซอย   แต่ไม่ค่อยมีบ้านเรือน
ตอนที่ใกล้มาทางถนนดินสอเป็นที่ว่างเวิ้งว้าง     มีบ้านคนสักสองสามหลัง

ข้าพเจ้าเคยเข้าไปบ้านหลังหนึ่งสองสามครั้ง
ดูคล้ายกับปลูกอยู่ในลานขี้เลื่อย  เพราะเห็นเป็นที่ไว้ขี่เลื่อย
และมีกองกุมฝอยเรียราดเต็มไปทั่ว

และที่ว่าตรงนี้ พศ ไหนจำไม่ได้
ได้กลายมาเป็นโรงเรียนสตรีวิทยา  ซึ่งย้ายมาจากฝั่งตรงข้ามเดิมมาที่นี่ อย่างที่เห็นในปัจจุบัน

ข้ามฟากถนนดินสอไปก็เป็นรัวพู่ระหงอีกจนจดถนนมหาไชย สะพานผ่านฟ้าฯ

ถนนราชดำเนินกลางนี้ในสมัยข้าพเจ้าเป็นเด็ก
ถ้ายืนที่สะพานผ่านพิภพ ลีลา มองตรงไปถึงสะพานผ่านฟ้าฯ
จะเห็นแต่ต้นมะฮอกกานีเป็นแถว และ ริมถนนเป็นรั้วพู่ระหงไปตลอด
หลังรั้วพู่ระหงเห็นแต่ต้นไม้ไม่เห็นบ้านเรือนผู้คนเลย   
ออกเป็นถนนที่เปลี่ยวอยู่มากๆ บางวันนานๆจะเห็นเห็นรถเจ๊กเดินอยู่ทางริมถนนสักคัน
หรือรถม้าที่เดินอยู่กลางถนนสักคัน
แต่บางวันจะเห็นม้า(ผู้เขียนหมายถึงม้านั่ง)ที่อยู่โคนต้นมะฮอกกานีเดินมาหาพวกเดียวกันบ่อย


หลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 ถนนราชดำเนินกลางเปลี่ยนรูปโฉมหมด
สองฟากกลายเป็นอาคารใหญ่โต...
ที่เป็นห้าทางของเดิมเปลี่ยนเป็นถนนใหญ่ถนนเดียว
ต้นมะฮอกกานีตัดทิ้งหมด
กลางถนนใหญ่ทำเป็นที่เรียกว่าเกาะกลาง ปูกระเบื้องลายสี
รู้สึกว่าคนตื่นเต้นไปดูกันมาก คือ คิดว่าปูเต็มถนน

ทำเสร็จแล้วให้เป็นตึกเช่า  อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยก็สร้างไล่เลี่ยกับอาคารเหล่านี้
..... ค่าเช่าเดือนละ 50 บาท .....

สาระสำคัญมีแค่นี้

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 65  เมื่อ 12 ก.ค. 13, 12:05

อ้างถึง
ซอยแรกชื่อ ตรอกสาเก พวกผู้หญิงโสเภณีอยู่ในซอยนี้มาก
และว่าเป็นวังหลวงประจักษ์ด้วย  แต่ข้าพเจ้าไม่รู้ไม่เห็นว่าอยู่ตรงไหน
ซอยนี้ทะลุถึงคลองหลอด  ที่มีวัดบูรณศิริอยู่ต้นคลองหลอด

วิกี้ ให้คำตอบมาค่ะ
วังตรอกสาเก เป็นวังของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทองกองก้อนใหญ่ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ตั้งอยู่ที่บริเวณตรอกสาเกหรือหลังโรงแรมรัตนโกสินทร์ ปัจจุบัน มีคุณน้อยและทายาทเป็นผู้ดูแล

ในปัจจุบันสิ่งก่อสร้างในอดีตที่เหลืออยู่ คือ

    ตำหนักใหญ่ สร้างด้วยไม้สภาพทรุดโทรมตามอายุการใช้งาน
    ตำหนักเล็กของหม่อมเจ้าไศลทอง ทองใหญ่
(ภาพด้านล่าง)



บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 66  เมื่อ 12 ก.ค. 13, 12:06

อ้างถึง
หลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 ถนนราชดำเนินกลางเปลี่ยนรูปโฉมหมด
สองฟากกลายเป็นอาคารใหญ่โต...
ที่เป็นห้าทางของเดิมเปลี่ยนเป็นถนนใหญ่ถนนเดียว
ต้นมะฮอกกานีตัดทิ้งหมด
กลางถนนใหญ่ทำเป็นที่เรียกว่าเกาะกลาง ปูกระเบื้องลายสี
รู้สึกว่าคนตื่นเต้นไปดูกันมาก คือ คิดว่าปูเต็มถนน

ทำเสร็จแล้วให้เป็นตึกเช่า  อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยก็สร้างไล่เลี่ยกับอาคารเหล่านี้
..... ค่าเช่าเดือนละ 50 บาท ....
.


บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 67  เมื่อ 12 ก.ค. 13, 12:20

อาจารย์ครับขอโทษครับ พิมพ์ต่อไม่ไหวเพราะยาวมาก
ท่านกาญจนาคพันธุ์เล่าต่อไปอีกเรื่องการค้าขาย
การเช่าห้องในอาคารเหล่านี้ ราคาห้องละ 50 บาทต่อเดือน
ผมจบแบบง่ายไปหน่อย

ภาพกรมหลวงประจักษ์ฯกับหลวงสาทรราชายุกต์ ผู้ขุดคลองสาทร


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 68  เมื่อ 12 ก.ค. 13, 12:25

ย่อเอาก็ได้ค่ะ คุณ visitna
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 69  เมื่อ 12 ก.ค. 13, 12:36

ภาพ ปี 2406 แสดงคลองโอ่งอ่าง บางลำพู มหานาค
เห็นป้อมมหากาฬ ป้อมมหาปราบ และ ประตูพฤฒิบาศ

ทำไมไม่ถ่ายเข้าในเมืองบ้าง


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 70  เมื่อ 12 ก.ค. 13, 20:21

ป้อมหักกำลังดัสกรอยู่ที่ไหน?

ตามข้างล่าง หาภาพยากมาก



บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 71  เมื่อ 12 ก.ค. 13, 20:22

ถนนเบญจมาศ



บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 72  เมื่อ 12 ก.ค. 13, 20:26

ไปค้นเรื่องป้อมหักกำลังดัษกรมาให้คุณ Visitna ค่ะ    พบใน ทำเนียบนามภาค ๑ พระนิพนธ์ในสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เมือ พ.ศ. ๒๔๕๗
ระบุว่า
ป้อม "หักกำลังดัษกร" อยู่ปากคลองผดุงกรุงเกษม ข้างเหนือ
รื้อถอนหลายปีก่อน พ.ศ. 2457
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 73  เมื่อ 12 ก.ค. 13, 20:36

ครั้นถึงรัชกาลที่ ๔ ขยายพระนครออกไปอีกพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ โปรดเกล้าฯ ให้ขุดคลองผดุงกรุงเกษมโอบล้อมกรุงซึ่งลักษณะเป็นเกาะ เป็นคลองรอบกรุงชั้นนอก คลองรอบกรุงในสมัยรัชกาลที่ ๑ จึงเป็นคลองรอบกรุงชั้นใน แผ่นดินนี้ ขุดคลองแต่ไม่ได้สร้างกำแพงเมืองเลียบคลอง โปรดฯ ให้สร้างแค่ป้อม ๗ ป้อม เรียงรายตามริมคลอง ที่จริงป้อมสร้างเวลานั้นมี ๘ ป้อม แต่อีกป้อมหนึ่ง ข้ามไปอยู่ฟากธนบุรี ตรงปากคลองสาน ซึ่งบัดนี้ยังคงอยู่อีกป้อมเดียวใน ๘ ป้อม คือ ป้อมป้องปัจจามิตร ส่วนอีก ๗ ป้อม ทางฟากตะวันออก รื้อหมดแล้ว

ชื่อป้อมทั้ง ๘ คล้องจองกันน่าจำ คือ ป้องปัจจามิตร ปิดปัจจานึก ฮึกเหี้ยมหาญ ผลาญไพรีราบ ปราบศัตรูพ่าย ทำลายแรงปรปักษ์ หักกำลังดัสกร มหานครรักษา

สำหรับป้อมปราบศัตรูพ่ายนั้นเหลือแต่ชื่อ ซึ่งกร่อนลงเหลือแต่ ‘ป้อมปราบ’

ส่วนป้อมหักกำลังดัสกรอยู่แถว ๆ สะพานมัฆวานรังสรรค์


จากบทความเรื่อง เปรียบกรุงเทพฯ ว่าเป็นเวนิซตะวันออกโดย  จุลลดา ภักดีภูมินทร์ นิตยสารสกุลไทย

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 74  เมื่อ 12 ก.ค. 13, 20:51

จากหนังสือ ทำเนียบนามภาค ๑ พระนิพนธ์ในสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๗

รายชื่อป้อมชั้นนอกรอบคลองผดุงกรุงเกษมแลฝั่งตวันตก

๑. ป้อม "ป้องปัจจามิตร" อยู่ฝั่งตะวันตกริมปากคลองสาน
๒. ป้อม "ปิดปัจจนึก" อยู่ฝั่งตวันออก ริมปากคลองผดุงกรุงเกษมข้างใต้
๓. ป้อม "ผลาญศัตรูราบ" อยู่ใต้วัดเทพศิรินทราวาส หรือริมวัดพลับพลาไชย
๔. ป้อม "ปราบศัตรูพ่าย" อยู่ใต้ตลาดนางเลิ้ง ตรงหมู่บ้านญวนข้าม แต่บัดนี้ได้รื้อเสียแล้ว
๕. ป้อม "ทำลายแรงปรปักษ์" อยู่เหนือวัดโสมนัสวิหาร แต่บัดนี้ได้รื้อเสียแล้ว
๖. ป้อม "หักกำลังดัษกร" อยู่ปากคลองผดุงกรุงเกษม ข้างเหนือ รื้อแล้ว
๗. ป้อม "วิไชยประสิทธิ์" อยู่ฝั่งตวันตก ปากคลองบางกอกใหญ่ (คลองบางหลวง)

หน้าตาคงคล้ายๆแบบนี้  ?


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6 7
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.049 วินาที กับ 20 คำสั่ง