เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 7
  พิมพ์  
อ่าน: 29354 ตัดถนนราชดำเนิน
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 30  เมื่อ 08 ก.ค. 13, 16:23

ภาพถ่ายต้นถนนราชดำเนินกลาง เลยสะพานผ่านภิภพลีลา บริเวณกองสลากในปัจจุบัน ในอดีต(ตามภาพ) เห็นเรือนหลังงาม เล็กน่ารัก ไม่ทราบเป็นของท่านใด


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 31  เมื่อ 08 ก.ค. 13, 20:08

^
บ้านขนาดนี้ไม่น่าจะเรียกว่าเล็กนะคะคุณ siamese  ใหญ่เอาการเชียวละ  น่าจะบ้านระดับพระยาพานทอง
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 32  เมื่อ 08 ก.ค. 13, 21:32

   จากภูมิประเทศที่เป็นป่าเป็นสวนมีแต่ต้นไม้ทึบ   ถนนแบบตะวันตกสายกว้างที่สุดเท่าที่เคยมีมาก็เกิดขึ้นอย่างสง่างาม   ถนนราชดำเนินนอก และสะพานมัฆวานรังสรรค์ซึ่งเป็นสะพานแบบตะวันตก  สร้างด้วยศิลาและเครื่องเหล็กกะไหล่ทอง ถือกำเนิดเป็นทางการเมื่อพ.ศ. 2446    พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินผ่านเป็นปฐมฤกษ์ เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2446


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 33  เมื่อ 08 ก.ค. 13, 21:34

สะพานมัฆวานรังสรรค์ ของเดิมสมัยรัชกาลที่ 5 ระบุว่าสร้างด้วยศิลา  (ไม่ใช่คอนกรีต) ส่วนที่เป็นเหล็ก ก็หุ้มด้วยทอง เรียกว่าเหล็กกะไหล่ทอง


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 34  เมื่อ 08 ก.ค. 13, 21:38

 ยิ้มกว้างๆ


บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 35  เมื่อ 09 ก.ค. 13, 07:37

ถ่ายในปี คศ 1920 (พศ 2463)

ถนนตอนนี้ยังมีต้นไม้ปลูกสองแถวอย่างที่ลุงใหญ่เล่าไว้
คือแถวในเป็นมะฮอกกานี แถวนอก เป็นต้นมะขาม  ?



คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 36  เมื่อ 09 ก.ค. 13, 08:18

พศ 2489-2490 ยังไม่มีอาคารกองฉลาก



คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 37  เมื่อ 09 ก.ค. 13, 08:39

อีกภาพที่ต่อจากด้านบน   นักบินถ่ายสองช๊อตติดต่อกัน


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 38  เมื่อ 09 ก.ค. 13, 11:30


ถนนตอนนี้ยังมีต้นไม้ปลูกสองแถวอย่างที่ลุงใหญ่เล่าไว้
คือแถวในเป็นมะฮอกกานี แถวนอก เป็นต้นมะขาม  ?

ขอเล่าถึงต้นมะฮอกกานี  ตำนานอีกเรื่องบนถนนราชดำเนินกลาง
ก่อนพ.ศ. 2483  สองข้างถนนราชดำเนินกลาง ปลูกต้นมะฮอกกานีจากพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงนำพันธุ์มาจากต่างประเทศในคราวเสด็จประพาสยุโรป และนำไปปลูกครั้งแรกเมื่อ รศ.129 ที่ถนนราชดำเนิน    ถนนดำรงรักษ์  ถนนราชดำริ  และถนนบริพัตร  จังหวัดเพชรบุรี 
ถนนราชดำเนิน - ทรงให้ปลูกทั้งสองฝั่ง คือ ฝั่งตะวันตกและฝั่งตะวันออก

บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 39  เมื่อ 09 ก.ค. 13, 12:12


ถนนตอนนี้ยังมีต้นไม้ปลูกสองแถวอย่างที่ลุงใหญ่เล่าไว้
คือแถวในเป็นมะฮอกกานี แถวนอก เป็นต้นมะขาม  ?

ขอเล่าถึงต้นมะฮอกกานี  ตำนานอีกเรื่องบนถนนราชดำเนินกลาง
ก่อนพ.ศ. 2483  สองข้างถนนราชดำเนินกลาง ปลูกต้นมะฮอกกานีจากพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงนำพันธุ์มาจากต่างประเทศในคราวเสด็จประพาสยุโรป และนำไปปลูกครั้งแรกเมื่อ รศ.129 ที่ถนนราชดำเนิน    ถนนดำรงรักษ์  ถนนราชดำริ  และถนนบริพัตร  จังหวัดเพชรบุรี 
ถนนราชดำเนิน - ทรงให้ปลูกทั้งสองฝั่ง คือ ฝั่งตะวันตกและฝั่งตะวันออก



ถ้าจะดูลักษณะของถนนราชดำเนินที่ถ่ายภาพไว้เยอะ ๆ ก็เห็นจะเป็นในคราวตั้งแต่ซุ้มรับเสด็จพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว คราวเสด็จนิวัติพระนคร กลับจากยุโรป ครั้งที่ ๒

ในคราวนั้นมีการตั้งแต่ซุ้มรับเสด็จตลอดถนนราชดำเนินนอก กลาง และใน อย่างอลังการ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 40  เมื่อ 09 ก.ค. 13, 12:44

มะฮอกกานีในอดีต


บันทึกการเข้า
นางมารน้อย
พาลี
****
ตอบ: 306


ทำงานแล้วค่ะ


ความคิดเห็นที่ 41  เมื่อ 09 ก.ค. 13, 16:35

สะพานมัฆวานรังสรรค์ไม่รู้ปัจจุบันเปลี่ยนแปลงจากของเดิมไปมากน้อยแค่ไหนนะคะ ถ้ารักษาดีๆเป็นสถานที่ให้ถ่ายรูปสวยๆได้เหมือนสะพานอเล็กซานเดอร์ที่ปารีสเลย

เรื่องแม่ค้าขายอ้อยควั่น นึกถึงเรื่องขมิ้นกับปูน ตอนแม่ปริก จำปา ปีบ จะเปิดร้านอาหารท่านเจ้าคุณบิดาค่อนขอดว่า "เห็นพวกแกขายของแล้วพาลให้นึกถึงนังพวกแม่ค้าขายอ้อยควั่น" ทีแรกคิดว่าคล้ายแม่ค้าส้มตำยกหาบที่หัวลำโพง......ไม่รู้เหมือนกันไหมคะ

ต้นมะฮอกกานีปัจจุบันยังอยู่ไหมคะ??
บันทึกการเข้า

สวัสดีทุกๆท่านค่ะ
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 42  เมื่อ 09 ก.ค. 13, 16:56

คุณนางมารน้อยเคยเห็นอ้อยควั่นไหมคะ
หารูปสวยกว่านี้ไม่ได้  จริงๆแล้วในสมัยก่อน อ้อยควั่นถูกเกลามากกว่านี้ ให้กลมรี แล้วเสียบไม้เป็นพวงเหมือนลางสาด


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 43  เมื่อ 09 ก.ค. 13, 17:08

เรื่องแม่ค้าขายอ้อยควั่น นึกถึงเรื่องขมิ้นกับปูน ตอนแม่ปริก จำปา ปีบ จะเปิดร้านอาหารท่านเจ้าคุณบิดาค่อนขอดว่า "เห็นพวกแกขายของแล้วพาลให้นึกถึงนังพวกแม่ค้าขายอ้อยควั่น" ทีแรกคิดว่าคล้ายแม่ค้าส้มตำยกหาบที่หัวลำโพง......ไม่รู้เหมือนกันไหมคะ
ไม่เหมือนค่ะ    แม่ค้าขายอ้อยควั่นเขาก็ขายอ้อยควั่นจริงๆ   ตรงไปตรงมา       คนขายมักเป็นสาวๆหน้าตาจิ้มลิ้มในตลาดต่างจังหวัด  เป็นเหตุให้หนุ่มๆไปรุมล้อมซื้ออ้อยควั่นกันมาก   
มีตำนานว่า หนุ่มๆที่ออกต่างจังหวัดในสมัยสัก 50-60 ปีก่อน มีพวกข้าราชหนุ่มๆทั้งพลเรือนและทหาร     กำลังเป็นหนุ่มแต่ไม่มีโอกาสเจอสาวเมืองหลวง เพราะต้องถูกส่งไปหัวเมืองเสียก่อน     แม่ค้าอ้อยควั่นหน้าตาดีๆจึงกลายเป็นคุณนายกันหลายราย
เมื่อสามีย้ายกลับเมืองหลวง คุณนายก็กลับมาอยู่ในวงไฮโซ     เป็นเหตุให้เจ้าคุณในขมิ้นกับปูนค่อนเอาได้ เมื่อลูกสาวจะริอ่านค้าขาย ซึ่งถือเป็นอาชีพด้อยกว่าขุนน้ำขุนนาง
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 44  เมื่อ 09 ก.ค. 13, 18:37

มะฮ๊อกกานีอาจจะปลูกแต่ในแนวถนนราชดำเนินกลาง

ตอนที่เป็นถนนราชดำเนินนอก ปลูกต้นมะขามทั้งหมด
รูปนํ้าท่วมในปี 2485 เหมือนต้นมะขาม ไม่ใช่ต้นมะฮ๊อกกานี

รูปสีปี  2502 เป็นต้นมะขามชัด



คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 7
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.067 วินาที กับ 20 คำสั่ง