siamese
|
ความคิดเห็นที่ 45 เมื่อ 09 ก.ค. 13, 20:11
|
|
มะฮ๊อกกานีอาจจะปลูกแต่ในแนวถนนราชดำเนินกลาง
ตอนที่เป็นถนนราชดำเนินนอก ปลูกต้นมะขามทั้งหมด รูปนํ้าท่วมในปี 2485 เหมือนต้นมะขาม ไม่ใช่ต้นมะฮ๊อกกานี
รูปสีปี 2502 เป็นต้นมะขามชัด
เรื่องการปลูกต้นไม้ในบริเวณถนนนราชดำเนินนอก ตั้งแต่บริเวณลานพระรูปทรงม้า เรื่อยมาจนถึงสะพานผ่านฟ้า ผมไปหยิบแผนที่สำรวจเมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๘ พบกว่า "ถนนเบญจมาศนอก" ต่อมาพระราชทานชื่อเป็น "ถนนราชดำเนินนอก" ปลูก "ไม้มะขาม" ทั้งสองแถวครับ
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
siamese
|
ความคิดเห็นที่ 46 เมื่อ 09 ก.ค. 13, 20:16
|
|
ส่วนบริเวณหัวมุมถนนราชดำเนินกลาง ตรงสะพานผ่านฟ้า ตรงที่ขีดเส้นใต้ "ต้นมะขาม"
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
siamese
|
ความคิดเห็นที่ 47 เมื่อ 10 ก.ค. 13, 07:36
|
|
หนังสือ ๑๐๐ ปีขุนวิจิตรมาตรา กล่าวเรื่องต้นไม้ที่ถนนราชดำเนินว่า
บริเวณถนนราชดำเนินกลาง ถนนสายกลางปลูกต้นมะฮอกกานี้ไว้อย่างครึ้ม ใบหนาร่มมาก ส่วนข้างทางปลูกต้นพู่ระหง เป็นแนวรั้วตั้งแต่ห้างแบตแมน จนถึงแยกคอกวัว
ส่วนถนนราชดำเนินนอก เห็นจะปลูกต้นมะฮอกกานีหรือต้นมะขามเหมือนอย่างปัจจุบันนี้เห็นจะจำไม่ถนัด
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
siamese
|
ความคิดเห็นที่ 48 เมื่อ 10 ก.ค. 13, 09:08
|
|
ภาพถนนราชดำเนินกลาง ในการพระเมรุเจ้าจอมมารดาเปี่ยม กระบวนแห่พระศพอัญเชิญมาตามถนนราชดำเนินกลาง เห็นต้นมะขามในแนวกลาง และต้นหูกวาง แถวข้าง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 49 เมื่อ 10 ก.ค. 13, 21:27
|
|
ภาพนี้น่าจะถ่ายในยุคก่อน 2500s เพราะยังมีสามล้ออยู่ ต้นไม้ริมถนนราชดำเนินคือต้นมะขามใช่หรือไม่คะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 50 เมื่อ 10 ก.ค. 13, 21:31
|
|
ต้นไม้ไม่ค่อยสูงเลย ยังปลูกไม่นาน?
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
visitna
|
ความคิดเห็นที่ 51 เมื่อ 11 ก.ค. 13, 10:55
|
|
ต้นไม้รุ่นเก่าถูกตัดตอนสร้างตึกปี 2483 ต้องมาเริ่มปลูกกันใหม่ ไม่รู้ว่าเป็นต้นอะไร
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
POJA
|
ความคิดเห็นที่ 52 เมื่อ 11 ก.ค. 13, 11:07
|
|
รูปที่ 51 นี้ กลับด้านหรือไม่คะ ดูจากตำแหน่งอาคารรถเบนซ์ และทิศทางการเดินรถ
ต้นไม่ริมถนนราชดำเนินกลาง คือ ต้นมะฮอกกานี ยังอยู่จนถึงทุกวันนี้ค่ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
visitna
|
ความคิดเห็นที่ 53 เมื่อ 11 ก.ค. 13, 12:01
|
|
ดูจากการเดินรถ กลับด้านแน่
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 54 เมื่อ 11 ก.ค. 13, 12:39
|
|
รัชกาลที่ ๕ ทรงเรียกต้นมะฮอกกานี ว่า "มหอกคินี" การปลูกตามพระราชดำริเมื่อสร้างถนนราชดำเนินกลางเป็นการปลูกชั่วคราว เพราะทรงเห็นว่า ยังอีกนานกว่าจะสร้างตึกริมถนนราชดำเนินกลาง ถ้าปลูกต้นมหอกคินีข้างละแถวอย่างปลูกต้นหูกวางที่ถนนราชดำเนินนอกเสียก่อน เพราะถ้าปลูกตึกเมื่อใด ก็ได้ตัดต้นมหอกคินี เอาไม้ไปใช้ประโยชน์ด้านอื่นได้ ไม่ทิ้งเนื้อที่ไว้เปล่าๆ
ในสมัยจอมพลป. มีการปลูกตึกขึ้นสองข้างทางถนนราชดำเนินกลาง เข้าใจว่ามะฮอกกานีก็เลยสิ้นชีพไปหมดในคราวนั้น กลายเป็นมะขามแทน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 55 เมื่อ 11 ก.ค. 13, 12:49
|
|
ราชดำเนินนอก เมื่อน้ำท่วมใหญ่ พ.ศ. 2485
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
นางมารน้อย
พาลี
   
ตอบ: 306
ทำงานแล้วค่ะ
|
ความคิดเห็นที่ 56 เมื่อ 11 ก.ค. 13, 13:55
|
|
ไม่เหมือนค่ะ แม่ค้าขายอ้อยควั่นเขาก็ขายอ้อยควั่นจริงๆ ตรงไปตรงมา คนขายมักเป็นสาวๆหน้าตาจิ้มลิ้มในตลาดต่างจังหวัด เป็นเหตุให้หนุ่มๆไปรุมล้อมซื้ออ้อยควั่นกันมาก มีตำนานว่า หนุ่มๆที่ออกต่างจังหวัดในสมัยสัก 50-60 ปีก่อน มีพวกข้าราชหนุ่มๆทั้งพลเรือนและทหาร กำลังเป็นหนุ่มแต่ไม่มีโอกาสเจอสาวเมืองหลวง เพราะต้องถูกส่งไปหัวเมืองเสียก่อน แม่ค้าอ้อยควั่นหน้าตาดีๆจึงกลายเป็นคุณนายกันหลายราย เมื่อสามีย้ายกลับเมืองหลวง คุณนายก็กลับมาอยู่ในวงไฮโซ เป็นเหตุให้เจ้าคุณในขมิ้นกับปูนค่อนเอาได้ เมื่อลูกสาวจะริอ่านค้าขาย ซึ่งถือเป็นอาชีพด้อยกว่าขุนน้ำขุนนาง
เพิ่งรู้เดี๋ยวนี้เองว่าแม่ค้าอ้อยควั่นมีประวัติที่มาที่ไปอย่างนี้ ขอบคุณอาจารย์เทาชมพูค่ะ อ้อยควั่นแบบในภาพเคยเห็นเหมือนกันค่ะ ทำเป็นพวงน่ารักเชียว
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
สวัสดีทุกๆท่านค่ะ
|
|
|
siamese
|
ความคิดเห็นที่ 57 เมื่อ 11 ก.ค. 13, 14:23
|
|
ประกาศขายที่ดินริมถนนราชดำเนินกลาง โดยระบุว่า ต้นทุนที่รัฐดำเนินการคือ วาละ ๔๕ บาท และขอทำกำไร ๕ บาท เป็นราคาขายวาลา ๕๐ บาท ครับ
ที่มา ราชกิจจาฯ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 58 เมื่อ 11 ก.ค. 13, 14:34
|
|
ห้างแบดแมนริมถนนราชดำเนิน ต่อมารื้อลงกลายเป็นกรมประชาสัมพันธ์ แล้วก็ถูกเผา จึงไม่เหลือตึกในบริเวณนี้อีก
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
visitna
|
ความคิดเห็นที่ 59 เมื่อ 11 ก.ค. 13, 17:59
|
|
ราคาที่ดินริมถนนราชดำเนินไร่ละ 20000 บาท
แต่เคยอ่าน ดร วิชิตวงศ์ ณป้อมเพชร เขียนไว้ว่าคุณตาซื้อที่แถวบางกระบือไร่ละสี่สิบบาท
ภาพพิธีเปิดอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย 24 มิย 2484 มีการเดินสวนสนามอย่างที่ครูใหญ่ นภายนเล่าไว้
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|