เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3 ... 7
  พิมพ์  
อ่าน: 29378 ตัดถนนราชดำเนิน
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
 เมื่อ 05 ก.ค. 13, 11:50

    ถนนสายกว้างแบบตะวันตก กว้างพอที่รถม้าจะวิ่งได้สบาย ตัดขึ้นเป็นครั้งแรกในรัชกาลที่ 4  คือถนนเจริญกรุง  ตามมาด้วยบำรุงเมือง และเฟื่องนคร    แต่ถึงกระนั้นภูมิประเทศส่วนใหญ่ของกรุงเทพในต้นรัชกาลที่ 5  ก็ยังไม่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมสมัยต้นรัตนโกสินทร์มากนัก       
    ตามหนังสือประวัติของเจ้าพระยาวรพงศ์พิพัฒน์(ม.ร.ว.เย็น อิศรเสนา)  เล่าไว้ว่า กรุงเทพในต้นรัชกาลที่ 5  คือป่าเตี้ยปนละเมาะดีๆนี่เอง  มีทุ่งหญ้าแทรกเป็นบางตอน   มีชาวเมืองปลูกบ้านอยู่กันเป็นหย่อมๆ   ที่ไหนเป็นที่ลุ่มก็เป็นป่าโสนมืดทึบ    หน้าน้ำ น้ำขังแค่บั้นเอว  เช่นแถวบางลำพู  คอกวัว  ไปจนกระทั่งวัดศิริ    ทุ่งพระเมรุ หรือท้องสนามหลวง เป็นป่าหญ้ารก    หน้าน้ำ น้ำเซาะเข้าขังเจิ่ง ชาวบ้านมาจับกบตกปลากินกัน   หน้าแล้งจึงแห้งพอจะตั้งพระเมรุเจ้านายได้    แม้ที่ว่าการกลาโหมและยุติธรรมซึ่งอยู่หน้าพระราชวัง ก็เป็นแค่โรงหลังคาจาก  พื้นทุบเรียบกวาดเตียน
    ถนนในสมัยนั้นคือช่องป่าที่ถากถางใหม่   ฟันต้นไม้ใหญ่ลงพอให้หายเกะกะ    เส้นทางเป็นทางราบเกิดจากคนเดินเหยียบย่ำพอเป็นช่องทาง  กว้างพอตะแคงหลีกกันได้   นอกนั้นก็รุงรังไปด้วยหญ้า พงแขม  ผักโขม  เดินห่างกันไม่ถึงเส้นก็แทบมองไม่เห็นกันแล้ว 


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 05 ก.ค. 13, 20:23

ภาพบริเวณป้อมมหากาฬ ก่อนมีการตัดถนนราชดำเนินกลาง


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 05 ก.ค. 13, 20:23

ตั้งแต่รัชกาลที่ 1 ตัวเมืองอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณพระบรมมหาราชวัง และเรื่อยมาถึงวังหน้าที่ตรงกับพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติในปัจจุบัน   วังเจ้านายใหญ่น้อยก็อยู่รายรอบออกมาอีกที    
เนื้อที่ที่กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของถนนราชดำเนิน  เป็นที่ตั้งของวังเจ้านายหลายองค์ เรียกว่า วังสะพานเสี้ยว  ในกระทู้เก่าของเรือนไทย   คุณเจ้าสัวบ่อนไก่ให้คำอธิบายไว้ตามนี้

กลุ่มวังต่อไปเรียกว่ากลุ่ม วังสะพานเสี้ยว ครับ ก่อนอื่นอยากบอกว่ากลุ่มวังนี้น่าเอน็ดอนาถพอดูเพราะว่าสร้างคร่อมถนนราชดำเนินกลาง ที่สำคัญกลุ่มวังนี้ใหญ่โตไม่ใช่เล่นนะครับ ขออธิบายว่ากลุ่มวังสะพานเสี้ยวน่าจะกินเนื้อที่ระหว่างกรมสรรพากรยาวเรื่อยไปทางถนนจักรพงษ์ผ่านเชิงสะพานผ่านภิภพและเลยไปจนถึงโรงแรมรัตนโกสินทร์จนกระทั่งถึงวัดบุณณสิริ ย่านคลองหลอดแหน่ะครับ พูดง่ายๆ ว่าคร่อมถนนทั้งวังเลยครับ มองเห็นภาพง่ายดีนะผมว่า วังกลุ่มนี้

วังสะพานเสี้ยว วัง 1 วังที่ประทับของพระองค์เจ้าภุมรินทร ในกรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์ อยู่ไม่นานก้อสิ้นพระชนม์ไป พระองค์เจ้านุช ในกรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพย์เสด็จมาประทับต่อจนสิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 5 ต่อมาว่ากันว่า กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ เมื่อครั้งเป็นในกรมหมื่นบวรฯ เสด็จมาประทับช่วงต่อ วังนี้ถูกแปลงสภาพไปพอตัวและสิ้นสภาพวังไปแล้ว ปัจจุบันคือที่ทำการกรมสรรพากรและกรมธนารักษ์
( ต้นราชสกุล ภุมรินทรฯ และ ต้นราชสกุล อนุชะศักดิ์ฯ ส่วนกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ มีพระทายาทหลายสาขา )

 วังสะพานเสี้ยว วัง 2 อยู่ถนนจักรพงษ์ ไม่ทราบจุดแน่นอน เป็นที่ประทับของ พระองค์เจ้าใย ในกรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์ วังนี้หาที่ไม่ได้ครับทราบแต่ว่าอยู่ถนนจักรพงษ์แน่ ผมไปดูมาตอนนี้ข้างหลังซ้ายขวาเป็นสลัมกับตึกแถว  วังหายไปตั้งแต่บรรพกาลไหนไม่มีใครรู้
( ต้นราชสกุล รังสิเสนาฯ )

วังสะพานเสี้ยว วัง 3 วังนี้ค่อนข้างจะจีรังกว่าวังญาติๆ ในกลุ่มเดียวกัน ซึ่งเป็นวังทีป่ระทับของ กรมหมื่นอมเรศรัศมี ในกรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์ เมื่อเสด็จในกรมอมเรศฯ วายพระชนม์ มีพระทายาทประทับต่อยืนยาวมาจนถึงปลายรัชกาลที่ 5 จึงได้รื้อสร้างถนนรีชดำเนินกลาง วังนี้อยู่เชิงสะพานผ่านพิภพครับ
( ไม่มีพระทายาทสืบราชสกุล   ส่วนพระทายาทที่ระบุหมายถึงเจ้าพี่เจ้าน้องที่เป็นพระญาติวงศ์สนิทแต่ไม่ปรากฎพระนามแน่ชัดว่าเป็นท่านผู้ใด )
วังสะพานเสี้ยว วัง 4 ของพระองค์เจ้าทับทิม พระราชโอรส ร.1 ทรงย้าบมาจากวังหลักเมือง วัง 6 ตอนนี้ท่านย้ายมาอยู่วังนี้ครับ อยู่มาจนสิ้นพระชนม์ล่วงไป พระองค์เจ้าสีสังข์ ในกรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์ ท่านเสด็จมาประทับต่อจนสิ้นพระชนม์ วังนี้อยู่คร่อมถนนราชดำเนินเลยครับ ถูกร้อสร้างถนนในรัชกาลที่ 5
( พระองค์เจ้าสีสังข์ เป็นต้นราชสกุล สีสังข์ฯ )

วังสะพานเสี้ยว วัง 5 ครับ วังนี้อยู่ถัดมาจากวังที่ 4 มาทางวัดบูรณศิริ แถวคลองหลอด แต่เดิมเป็นเรือนของพระยาพิชัยบุรินทรา เสนาบดีกรมเมืองวังหน้า  กรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพย์ พระราชทานแก่ พระเจ้าลุกยาเธอ พระองค์เจ้าอินทรวงศ์ แต่พระเคราะห์ร้ายอยู่ไม่นานก้อสิ้นพระชนม์ลง  พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ จึงพระราชทานแก่ พระเจ้าลุกยาเธอ กรมหมื่นพิศาลบวรศักดิ์ จนสิ้นพระชนม์ลงไปอีกพระองค์หนึ่ง พระบาทสมเด็จพระพุทะเจ้าหลวง จึงพระราชทานแก่ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม คาดว่าวังนี้น่าจะเหลือร่องรอยอยู่บ้างเล็กน้อยนะครับ แต่ผมไปมาแล้วไม่พบอารัยเลยนอกจากตึกแถวโกโรโกโส สำหรับวังนี้นับว่าเหลือรอดมาเพียงหนึ่งเดียวจากทั้ง 5 วังญาติๆ ส่วนวังนี้จะเป็นวังสนามชันของกรมหลวงประจักษ์ศิลปาคมหรือไม่ ยังไม่ทราบครับ แต่ผมจะพยายามสืบหาข้อมูลต่อไป เร็วๆ นี้จะนำมาให้พิจารณากันครับ
(  พระองค์อินทวงศ์ ไม่มีพระทายาท ส่วนกรมหมื่นพิศาลฯ เป็นต้นราชสกุล วรรัตน์ฯ และ กรมหลวงประจักษ์ศิลฯ เป็นต้นราชสกุล ทองใหญ่ฯ )
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 05 ก.ค. 13, 20:34

 ถนนราชดำเนินในตอนวางแผนตัดถนนในรัชกาลที่ 5 มิได้มีเส้นทางอย่างที่เห็นในปัจจุบัน   แรกเริ่มเมื่อทำแผนที่สร้างทาง ได้วางกันว่าจะตัดตั้งแต่ถนนพระสุเมรุ  ข้ามคลองบางลำพูที่ตำบลบ้านพานถม   ตรงไปยังป้อมหักกำลังดัสกร  ข้ามคลองผดุงกรุงเกษมไปบรรจบถนนเบญจมาศ

คุณหนุ่มสยามพอจะมีแผนที่แสดงเส้นทางนี้ไหมคะ

แต่เมื่อนำขึ้นถวายให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงทอดพระเนตร   ทรงเห็นว่าถ้าตัดถนนตามเส้นทางไปบ้านพานถม  จะไม่ได้ถนนเป็นแนวตรงตลอดถนนเบญจมาศ      จึงโปรดเกล้าฯให้ตัดถนนใหม่ขึ้นถนนหนึ่งชื่อว่า "ถนนยุรยาตร"  ผ่านไปทางตำบลบ้านพานถม     จากนั้นทรงย้ายตำบลที่จะตัดถนนเสียใหม่  คือกำหนดตัดตั้งแต่ถนนพฤฒิบาศ ผ่านตำบลบ้านหล่อ  ไปตำบลป้อมหักกำลังดัสกร   ข้ามคลองผดุงกรุงเกษมไปบรรจบที่ถนนเบญจมาศ
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 05 ก.ค. 13, 22:10

ข้ามตอนไปหน่อย ภาพนี้ตัดถนนแล้ว
แต่ยังไม่มีสะพานมหาดไทยอุทิศ
แสดงว่า  น่าจะถ่ายก่อนสมัย ร6
(ที่จริงแล้วถ่ายในปี พศ 2441 สมัย ร5)


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 05 ก.ค. 13, 22:40

ขอบคุณมากค่ะคุณ visitna
พยายามจะเทียบว่าอะไรในภาพนี้ตรงกับอะไรในปัจจุบัน    แต่ยังดูไม่ออกอยู่หลายจุด
ใครจะช่วยอธิบายได้บ้างคะ


บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 05 ก.ค. 13, 23:01

รอท่านผู้สันทัดกรณีจริงๆ ผมพอรู้คร่าวๆ
อีกภาพน่าจะถ่ายคราวเดียวกัน



คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
samun007
องคต
*****
ตอบ: 446


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 06 ก.ค. 13, 06:41



ขออนุญาตเดาครับ

๑. ปัจจุบันเป็นหอศิลป ของธนาคารกรุงเทพ

๒. ปัจจุบันยังคงสภาพเป็นตึกแบบนี้อยู่ ภายในชุมชนป้อมมหากาฬ

๓. ปัจจุบันตรงนี้เป็นโรงแรมขนาดเล็กครับ

๔. ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ สถานีตำรวจนางเลิ้ง และอีกส่วนน่าจะอยู่บนถนนราชดำเนินกลาง ครับ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 06 ก.ค. 13, 08:19

^
ผิดนิดหน่อยครับ

เอ้า..ลองเดาใหม่


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 06 ก.ค. 13, 08:30

ที่ดูไว้เองตอนแรก  ผิดไปคนละถนนเลยค่ะ
เพิ่งดูออกว่านี่ทางไปราชดำเนินนอกนี่นา


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 06 ก.ค. 13, 08:35

วิวล่าสุดที่ผมถ่ายมาเอง เป็นอย่างนี้ครับ


บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 06 ก.ค. 13, 09:04

เบอร์ 2 ตามที่อาจารย์เทาชมพูเขียนไว้คือ ท่าเรือของพระยาญาณประกาศ


ท่านกาญจนาคพันธุ์เล่าว่า
ที่กำแพงเมืองใกล้ๆ กับป้อมมหากาฬ มีประตูช่องกุฏิ(เขียนอย่างนี้หรือ กุด ไม่แน่ใจ)
เข้าประตูช่องกุฏิไปเป็นโรงยี่เกพระยาเพ็ชรปาณี เป็นโรงใหญ่...
ได้ยินว่าเมื่อแรกตั้งโรงยี่เกนั้น ตัวยี่เกเป็นผู้หญิงทั้งสิ้น
และเขาว่าเป็นเมียพระยาเพ็ชรก็มาก

ตามภาพ 2489 อาคารท่าเรือพระยาญาณประกาศ ยังมีอยู่
ประตูช่องกุดและโรงยี่เก   น่าจะอยู่ใกล้กับอาคารท่าเรือนี้




คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 06 ก.ค. 13, 09:17

อีกภาพหนึ่งของถนนราชดำเนินคือ
มุมมองจากถนนพระสุเมรุ มองไปทางถนนมหาไชย
ตอนที่ถ่ายภาพนี้ไม่แน่ใจว่าตัดถนนราชดำเนินแล้วหรือไม่?
เคยมีภาพชัดกว่านี้แต่หายไป เหลือภาพนี้ไม่ค่อยชัด



คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 06 ก.ค. 13, 09:33

ถนนราชดำเนินในตอนวางแผนตัดถนนในรัชกาลที่ 5 มิได้มีเส้นทางอย่างที่เห็นในปัจจุบัน   แรกเริ่มเมื่อทำแผนที่สร้างทาง ได้วางกันว่าจะตัดตั้งแต่ถนนพระสุเมรุ  ข้ามคลองบางลำพูที่ตำบลบ้านพานถม   ตรงไปยังป้อมหักกำลังดัสกร  ข้ามคลองผดุงกรุงเกษมไปบรรจบถนนเบญจมาศ

คุณหนุ่มสยามพอจะมีแผนที่แสดงเส้นทางนี้ไหมคะ

แต่เมื่อนำขึ้นถวายให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงทอดพระเนตร   ทรงเห็นว่าถ้าตัดถนนตามเส้นทางไปบ้านพานถม  จะไม่ได้ถนนเป็นแนวตรงตลอดถนนเบญจมาศ      จึงโปรดเกล้าฯให้ตัดถนนใหม่ขึ้นถนนหนึ่งชื่อว่า "ถนนยุรยาตร"  ผ่านไปทางตำบลบ้านพานถม     จากนั้นทรงย้ายตำบลที่จะตัดถนนเสียใหม่  คือกำหนดตัดตั้งแต่ถนนพฤฒิบาศ ผ่านตำบลบ้านหล่อ  ไปตำบลป้อมหักกำลังดัสกร   ข้ามคลองผดุงกรุงเกษมไปบรรจบที่ถนนเบญจมาศ

ขีดร่างแนวถนนให้ชมครับว่า ถนนราชดำเนินที่จะเริ่มกรุยทาง เวนคืนที่ดินเป็นแนว (ประขาว-ดำ)  ขนานกับวัดนามบัญญัติ (วัดมกุฏกษัตริย์) ภายหลังยกเลิกเส้นทางนี้เนื่องจากทรงเห็นว่าถนนหักมุม ไม่เป็นแนวตรงต่อถนนเบญจมาศนอก


บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 06 ก.ค. 13, 09:45

อีกภาพ แนวกำแพงพระนครยังอยู่ครบสมบุรณ์



คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3 ... 7
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.069 วินาที กับ 19 คำสั่ง