เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 17742 ว่าด้วยเรื่อง หางเสียง
ไพลินภัทร
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


 เมื่อ 03 ก.ค. 13, 23:19

สงสัยค่ะว่าหางเสียงคำว่า จ๊ะ จ๋า และ คะ ขา เริ่มพบว่าใช้กันมาตั้งแต่สมัยไหน
แล้วก็คำไหนเก่าแก่กว่ากันคะ
อย่างตระกูล จ ก็เห็นเด็กๆ สมัยก่อนชอบใช้กัน
ส่วนตระกูล ค ก็ลดรูปมาจาก เจ้าคะ
สุดท้ายก็เลยงงว่าคำไหนมาก่อนกันค่ะ?
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 04 ก.ค. 13, 06:19

อ้างถึง
แล้วก็คำไหนเก่าแก่กว่ากันคะ
.
.
สุดท้ายก็เลยงงว่าคำไหนมาก่อนกันค่ะ?
อาจารย์เพ็ญต้องสอนภาษาไทยให้น้องคนนี้หน่อยแล้ว
บันทึกการเข้า
ไพลินภัทร
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 04 ก.ค. 13, 06:56

ยืนรอคำตอบ และเตรียมพร้อมถูกทำโทษค่ะ  อายจัง
อย่าตีหนูด้วยไม้เรียวเลยนะคะ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 04 ก.ค. 13, 08:48

^
โถ โถ


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 04 ก.ค. 13, 09:02

ผมสงสัยจริงๆว่าผู้หญิงไทยสมัยนี้ออกเสียง คะ กับ ค่ะ ต่างหรือเหมือนกันอย่างไร
ลองเข้าไปในเวปนี้ แล้วเลือกภาษาไทย พิมพ์คำว่า คะ และ ค่ะ ฟังเสียงแล้วบอกมาหน่อยนะครับ ว่าคุณออกเสียงเหมือนกับในเวปไหม

http://www.oddcast.com/home/demos/tts/tts_example.php?sitepal
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 04 ก.ค. 13, 09:13

คิดว่าคุณไพลินพลั้งเผลอไปมากกว่า

เรื่องการใช้ ค่ะ-คะ นี่มีพูดกันหลายเวที  อย่างเวที พันทิป มีข้อสรุปดี ๆ ให้ลองไปใช้กัน



บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 04 ก.ค. 13, 09:58

อ้างถึง
สุดท้ายก็เลยงงว่าคำไหนมาก่อนกันค่ะ?

ความจริงประโยคนี้ถ้าไม่มีเครื่องหมายคำถาม(ซึ่งภาษาไทยไม่มี แต่ผมเองก็นำมาใช้บ่อยๆ ยิงฟันยิ้ม เพื่อแสดงอารมณ์) ก็สมบูรณ์ในตัวของมันเองอยู่

ตัว? ที่ใส่ไว้ เลยทำให้งง

ปกติ เยาวชนที่สนใจภาษาไทยขนาดตั้งกระทู้ระดับนี้ขึ้น คงต้องมีพื้นฐานดีอยู่แล้ว น่าจะพลั้งเผลอไปจริงๆ

ว่าแต่ว่า ใครจะตอบกระทู้ของน้องได้บ้าง ผมก็อยากรู้เหมือนกัน
คนโบราณอย่างคุณหนุ่มสยามจะเคยผ่านหูผ่านตาบ้างไหม ?
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 04 ก.ค. 13, 10:11

ประมวลจากกระทู้เก่าๆของคุณไพลินภัทร   อดสงสัยไม่ได้ว่าน้องคนนี้ กำลังเขียนนิยายย้อนยุคอยู่หรือเปล่า  น่าจะถอยหลังไปสมัยอยุธยา  ไม่ใช่รัตนโกสินทร์    และอยากจะได้ข้อมูลที่ถูกต้องในการเขียนชีวิตประจำวัน

หางเสียง หรือเรียกว่าคำลงท้าย   เท่าที่ดูจากหลักฐาน  ไม่พบในสมัยสุโขทัย   ในศิลาจารึกไม่มีใครสลักคำจ๊ะจ๋าคะขาหรือครับลงไปบนแผ่นหิน    ถึงพ่อขุนรามคำแหงกับนางเสืองอาจจะพูดจ๊ะจ๋ากันตามประสาแม่ๆลูกๆ   เราก็ไม่รู้อยู่ดีละค่ะ  เพราะฉะนั้นยกประโยชน์ให้ว่า อาจจะไม่มีใช้กัน
ต่อมาในสมัยอยุธยา    หลักฐานทางวรรณคดี  ล้วนแต่เป็นเรื่องพิธีรีตอง เป็นงานเป็นการ เช่นโองการแช่งน้ำสมัยพระเจ้าอู่ทอง หรือฉันท์เฉลิมพระเกียรติสมัยพระเจ้าปราสาททอง   ก็ไม่มีคำพวกนี้แทรกเข้าไปได้

ต้องไปหาหลักฐานจากบันทึกของฝรั่ง สมัยสมเด็จพระนารายณ์ว่า บันทึกการออกเสียงของชาวสยามเอาไว้  มีคำนี้หรือเปล่า   ข้อนี้ ซายาSiamese อาจจะนึกออก  ส่วนซายาเพ็ญ ระหว่างนับวันรอแพคเกจตัวสามพูร้อยล้านปี อาจจะหาคำตอบมาให้ได้ค่ะ  ยิงฟันยิ้ม


ดิฉันเข้าใจว่าอยุธยาตอนปลายน่าจะมีคำว่า คะ ขา แล้วนะคะ  ย่อมาจากคำว่า "เจ้าข้า" หรือ "เจ้าค่ะ"  พูดกันทั้งหญิงชาย     คำคะขา มีร่องรอยติดอยู่ตรงท้ายราชาศัพท์ พระพุทธเจ้าข้า  ส่วนจ๊ะจ๋ายังนึกไม่ออกถึงที่มา ค่ะ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 04 ก.ค. 13, 10:42


คนโบราณอย่างคุณหนุ่มสยามจะเคยผ่านหูผ่านตาบ้างไหม ?


ไส่ใคล้ยิ่งนัก เราจักเป็นคนโบราณหาไม่... ขยิบตา

อ้างถึงบทความหนังสือวชิรญาณวิเศษ ร.ศ. ๑๑๑ ก่อนเหตุการณ์ ร.ศ. ๑๑๒ หนึ่งปี มีการใช้ "ค่ะ" "จ๊ะ" ในบทความ จึงขอคัดลอกมาให้อ่านกัน มีการใส่วรรณยุกต์เพื่อเพิ่มน้ำเสียง เช่น จริง จริ๊ง

๑   "คุณข๊ะ คืนวันนี้ อิฉันไปเที่ยว
ภูเขาทองด้วยคนหน๋ะ ค่ะ     '  ดึก  ๆ คนบาง  ๆ เถอะ
ถึงค่อยไป  '      ดึกละก็อีฉันหาวนอนนี่ไปหัวค่ำเดี๋ยวนี้เถอะค่ะ
'  เฮ่ย !  คนแน่น เช้าเถอะ จะพาไปแต่เช้าทีเดียว  '
โท่ ! คุณละก็         เดี๋ยวนี้เถอะค่ะ       เอ็นดูอิฉันเถอะข๊ะ
ไปเดี๋ยวนี้แหละค่ะ ก็บอกแล้วว่าไปไม่ได้  ๆ    ยังขืน
ร่ำไรไม่รู้จักจบ รำคานจริงจริ๊ง " กิริยาที่พูด
อ้อนวอนซ้ำ  ๆ  บ่อย  ๆ  เช่นนี้ หรือหยอกเย้าจู้จี้
จนผู้อื่นรำคานหรือโกรธ     คือเซ้าซี้แท้ทีเดียว


๑๘ กริ๋ง-กริ๋ง-กริ๋ง  ๆ     กริ๋ง-กริ๋ง-กริ๋ง  ๆ
ที่ไหนจ๊ะ ?    ออฟฟิศรำคานจ้ะ วานช่วยต่อสาย
ไปยังกระทรวงโกรธ โปรดช่วยถามพ่อจุกจิก   น้อง
พ่อจู้จี้   ว่าเซ้าซี้  คืออะไรจ๊ะ    อ้าว !  คือ   สาย
โทรศัพท์สำหรับแล่นถึงออฟฟิศรำคาน   ที่วานให้ช่วย
ต่อสายมายังกระทรวงโกรธ   นี่ยังไรเล่า อ้อ!
ทราบแล้ว กริ๋ง-กริ๋ง-กริ๋ง   เลิกกัน
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 04 ก.ค. 13, 13:08

ต้องไปหาหลักฐานจากบันทึกของฝรั่ง สมัยสมเด็จพระนารายณ์ว่า บันทึกการออกเสียงของชาวสยามเอาไว้  มีคำนี้หรือเปล่า   ข้อนี้ ซายาSiamese อาจจะนึกออก  ส่วนซายาเพ็ญ ระหว่างนับวันรอแพคเกจตัวสามพูร้อยล้านปี อาจจะหาคำตอบมาให้ได้ค่ะ  ยิงฟันยิ้ม


ดิฉันเข้าใจว่าอยุธยาตอนปลายน่าจะมีคำว่า คะ ขา แล้วนะคะ  ย่อมาจากคำว่า "เจ้าข้า" หรือ "เจ้าค่ะ"  พูดกันทั้งหญิงชาย     คำคะขา มีร่องรอยติดอยู่ตรงท้ายราชาศัพท์ พระพุทธเจ้าข้า  ส่วนจ๊ะจ๋ายังนึกไม่ออกถึงที่มา ค่ะ

ในบันทึกของลาลูแบร์มีคำว่า "พระพุทธิเจ้าข้า" (prà pouti tchàou-ca) และ "เจ้าข้า" (tchàou-ca)

เรื่อง "เจ้าข้า" กลายมาเป็นคำลงท้าย ค่ะ คะ ขา นี้ จิตร ภูมิศักดิ์ให้ความเห็นไว้เหมือนกัน    ยิ้มเท่ห์

จาก หนังสือ "ความเป็นมาของคำสยาม, ไทย, ลาว และขอม และลักษณะทางสังคมของชื่อชนชาติ"


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 05 ก.ค. 13, 11:36

สงสัยค่ะว่าหางเสียงคำว่า จ๊ะ จ๋า และ คะ ขา เริ่มพบว่าใช้กันมาตั้งแต่สมัยไหน
แล้วก็คำไหนเก่าแก่กว่ากันคะ
อย่างตระกูล จ ก็เห็นเด็กๆ สมัยก่อนชอบใช้กัน
ส่วนตระกูล ค ก็ลดรูปมาจาก เจ้าคะ
สุดท้ายก็เลยงงว่าคำไหนมาก่อนกันค่ะ?

ตระกูล ค - ค่ะ คะ ขา ลดรูปมาจาก เจ้าข้า จึงควรจะมีใช้ก่อนและใช้ทั้งผู้ชายและผู้หญิงอย่างที่คุณเทาชมพูว่า ก่อนจะเปลี่ยนเป็นใช้เฉพาะผู้หญิง ส่วนผู้ชายไปใช้ "ครับ" ซึ่งมาจาก "ขอรับ"

จากนั้น ตระกูล ค ก็เปลี่ยนรูปเป็นอีกหลายตระกูลในพวกอักษรต่ำด้วยกัน บางตระกูลใช้เฉพาะผู้หญิง บางตระกูลใช้ได้ทุกเพศ (รวมทั้งเพศที่ ๓ ด้วย) เช่น ตระกูล ย - ย่ะ ยะ  ตระกูล ว - ว่ะ วะ  ตระกูล ฮ - ฮ่ะ ฮะ  นอกจากเปลี่ยนรูปเป็นพวกอักษรต่ำแล้ว ก็ยังมีตระกูลในพวกอักษรกลางที่เรากำลังพูดกันด้วยคือ ตระกูล จ - จ้ะ จ๊ะ จ๋า ซึ่งน่าจะใช้ได้สำหรับทุกเพศเช่นกัน

ตระกูล ค จึงมาก่อน ตระกูล จ ด้วยประการฉะนี้แล



บันทึกการเข้า
spyrogira
อสุรผัด
*
ตอบ: 36


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 05 ก.ค. 13, 16:08

สงสัยค่ะว่าหางเสียงคำว่า จ๊ะ จ๋า และ คะ ขา เริ่มพบว่าใช้กันมาตั้งแต่สมัยไหน
แล้วก็คำไหนเก่าแก่กว่ากันคะ
อย่างตระกูล จ ก็เห็นเด็กๆ สมัยก่อนชอบใช้กัน
ส่วนตระกูล ค ก็ลดรูปมาจาก เจ้าคะ
สุดท้ายก็เลยงงว่าคำไหนมาก่อนกันค่ะ?

ตระกูล ค - ค่ะ คะ ขา ลดรูปมาจาก เจ้าข้า จึงควรจะมีใช้ก่อนและใช้ทั้งผู้ชายและผู้หญิงอย่างที่คุณเทาชมพูว่า ก่อนจะเปลี่ยนเป็นใช้เฉพาะผู้หญิง ส่วนผู้ชายไปใช้ "ครับ" ซึ่งมาจาก "ขอรับ"

จากนั้น ตระกูล ค ก็เปลี่ยนรูปเป็นอีกหลายตระกูลในพวกอักษรต่ำด้วยกัน บางตระกูลใช้เฉพาะผู้หญิง บางตระกูลใช้ได้ทุกเพศ (รวมทั้งเพศที่ ๓ ด้วย) เช่น ตระกูล ย - ย่ะ ยะ  ตระกูล ว - ว่ะ วะ  ตระกูล ฮ - ฮ่ะ ฮะ  นอกจากเปลี่ยนรูปเป็นพวกอักษรต่ำแล้ว ก็ยังมีตระกูลในพวกอักษรกลางที่เรากำลังพูดกันด้วยคือ ตระกูล จ - จ้ะ จ๊ะ จ๋า ซึ่งน่าจะใช้ได้สำหรับทุกเพศเช่นกัน

ตระกูล ค จึงมาก่อน ตระกูล จ ด้วยประการฉะนี้แล





.. ไม่ไหวละครับ อาจารย์ จะให้ จ๊ะ จ๋า ด้วยเนี่ย  ..
ยกเว้นพูดกับลูกเล็กๆ .. 555+  ..

.. .. ออกสาธารณะเนี่ย เขิลลลแย่เรย ..  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 05 ก.ค. 13, 16:21

อย่างน้อยตั้งแต่วันที่ ๒๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๕ คนไทยทุกเพศก็ต้องใช้คำว่า "จ้ะ" เป็นคำขานรับ ตามคำสั่งของคุณแปลก   ยิ้มเท่ห์

คุณแปลกแสดงความปรารถนาดีด้วยเห็นว่าคำแทนชื่อ คำรับและปฎิเสธที่คนไทยใช้กันอยู่เดิมมีมากมายเกินไปทำให้ยุ่งยากในการเลือกใช้ จึงได้จัดระเบียบเสียใหม่ ตาม ประกาสสำนักนายกรัถมนตรี เรื่อง วางระเบียบ คำแทนชื่อ และคำรับ คำปติเสธ ลงวันที่ ๒๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๕

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 05 ก.ค. 13, 16:25

จนถึงวันที่ ๒๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๖ จึงสามารถพูด "ครับ" "ค่ะ" ได้เหมือนเดิม   ยิงฟันยิ้ม

ต่อมาคุณแปลกเห็นว่า คนไมนิยมใช้คำตอบรับว่า "จ้ะ" และคำปฏิเสธว่า "ไม่" จึงได้เปลี่ยนแปลงเสียใหม่  ตาม ประกาสสำนักนายกรัถมนตรี เรื่อง เปลี่ยนแปลงคำรับ คำปติเสธ และไห้ไช้ระเบียบคำแทนชื่อ คำรับ คำปติเสธโดยเคร่งครัด    

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 05 ก.ค. 13, 16:31


.. ไม่ไหวละครับ อาจารย์ จะให้ จ๊ะ จ๋า ด้วยเนี่ย  ..
ยกเว้นพูดกับลูกเล็กๆ .. 555+  ..

.. .. ออกสาธารณะเนี่ย เขิลลลแย่เรย ..  ยิงฟันยิ้ม

จนถึงวันที่ ๒๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๖ จึงสามารถพูด "ครับ" "ค่ะ" ได้เหมือนเดิม   ยิงฟันยิ้ม

จนวันที่ ๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๖  ผ่านมา ๗๐ ปีแล้ว  ใครบางคน ก็ยังไม่พูดทั้ง จ๋า จ้ะ ครับและค่ะ จนแล้วจนรอด  
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.046 วินาที กับ 20 คำสั่ง