เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 3 4 [5]
  พิมพ์  
อ่าน: 39563 ป.อินทรปาลิต
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 60  เมื่อ 05 ส.ค. 13, 14:37

ยังจำได้ว่าเคยได้เห็นมิตร ชัยบัญชา ตัวจริง แต่ไม่ได้เข้าไปชื่นชมท่านใกล้ๆ เพราะตอนนั้นอยู่ในช่วงเวลาเรียน .. ได้ทราบว่า มิตร ชัยบัญชา ก็เป็นศิษย์เก่าโรงเรียนไทยประสาทวิทยา ด้วยเช่นกัน คงมาเยี่ยมเยียนอาจารย์ .. เพราะตัวคุณมิตร ชัยบัญชา อาศัยอยู่ในระแวกวัดแคนางเลิ้ง ที่อยู่ใกล้ๆ กันครับ ...[/b][/color]

เอารูปมิตร ชัยบัญชามารำลึกความหลัง


บันทึกการเข้า
scarlet
ชมพูพาน
***
ตอบ: 155

โกหกเมียตายไปตกนรก แต่พูดความจริงตายทันที เลือกเอา


ความคิดเห็นที่ 61  เมื่อ 02 พ.ย. 13, 00:26

ผมได้อ่านพล นิกร กืมหงวนคงเกือบทุกเล่ม เพราะปิดเทอมไปอยู่บ้านยาย น้าชายซึ่งเรียนหมอ เก็บพล นิกร กิมหงวนในตู้ 3 ชั้น ข้างหน้าเป็นกระจกใส หนังสือวางเรียงหันด้านสันปกออกนอก ที่สันปกมีชื่อตอน น่าจะถึง 100 เล่ม 3 เดือนอ่านจนหมดตู้ แถมยังมีเรื่องวนิดาอีก อ่านด้วยความสนุกเพลิดเพลิน

ป.อินทรปาลิตไม่ได้แต่งแต่เพียงหัสนิยาย ยังเขียนนิยายรัก โศกด้วย สำนวนไม่มีขำหรือทะเล้นเลย แต่กินใจ เรียกความรู้สึกได้
เปรียบป.อินทรปาลิตก็เหมือนกับเอลวิส เพรสลีย์ เพลงที่โด่งดังคือร็อค แต่ถ้าใครฟังเพลงช้าของเอลวิส อย่าง Crying in the Chapel, Blue Hawaii, Are You Lonesome Tonight ร้องเนียนมาก กินอารมณ์ (อย่างไรก็ตาม ก็ยังไม่เท่า แน็ท คิงโคล เพอรี่ โคโม่ พระเอกเรื่อง The Sound ซึ่งร้องได้ลึกกว่า เสียงใหญ่กว่า)
บันทึกการเข้า
scarlet
ชมพูพาน
***
ตอบ: 155

โกหกเมียตายไปตกนรก แต่พูดความจริงตายทันที เลือกเอา


ความคิดเห็นที่ 62  เมื่อ 02 พ.ย. 13, 07:39

เพิ่งนึกออกครับว่า พระเอกเรื่อง The Sound ชื่อ Christopher Plummer ร้องเพลง Eldeweiss เพราะมาก
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 63  เมื่อ 02 พ.ย. 13, 17:26

บันทึกการเข้า
scarlet
ชมพูพาน
***
ตอบ: 155

โกหกเมียตายไปตกนรก แต่พูดความจริงตายทันที เลือกเอา


ความคิดเห็นที่ 64  เมื่อ 02 พ.ย. 13, 18:39

THNKS

 ยิ้ม ยิ้มกว้างๆ ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 65  เมื่อ 23 พ.ค. 19, 10:37

คุณปริญญา อินทรปาลิต หลานปู่ของคุณป. อินทรปาลิต เปิด facebook  พล นิกร กิมหงวน (หนังสือสามเกลอ ป.อินทรปาลิต)
https://www.facebook.com/groups/170320133419633/

แฟนสามเกลอในเรือนไทยเข้าไปคุยได้ค่ะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 66  เมื่อ 23 พ.ค. 19, 17:06

ไม่ว่าวงการใดๆ ย่อมมีมนุษย์สายพันธุ์ริษยาแทรกปนอยู่เสมอ แวดวงนักประพันธ์ก็มิผิดแผก ใครคนหนึ่งในกลุ่มนักเขียนได้กล่าวลับหลัง ป. อินทรปาลิต ว่า แม้คุณป. จะเขียนนิยายได้ทุกแนว แต่เขายังไม่ยอมรับฝีมือ นอกเสียจากคุณป.จะเขียนเรื่องตลกให้คนอ่านหัวเราะได้ เขาจึงจะก้มศีรษะคารวะ

เรื่องนี้รู้ไปถึง ๒ หูของท่าน ป. แต่ไม่ถือโทษโกรธเคือง ท่านตัดสินใจลบคำสบประมาทด้วยการเขียนหัสนิยายขึ้นมาเรื่องหนึ่งชื่อ ‘อายผู้หญิง’ (ปฐมบทสามเกลอ พล นิกร กิมหงวน) เค้าโครงเรื่องเน้นจี้เส้นตลกโปกฮา พลกับนิกรเวลาอยู่ต่อหน้าพ่อแม่ จะทำตัวเรียบร้อย เงียบหงิม ขี้อาย ไม่ประสากับเรื่องใดๆ แต่เบื้องหลังทั้งสองคือ ‘เสือผู้หญิง’ และเป็นดาวสังคมที่ใครๆ รู้จักดีในชื่อของ ‘กำแหง’ กับ ‘ประชา’ จากนั้นก็จู๋จี๋กับสาวๆ แต่เต็มไปด้วยเหตุการณ์สนุกสนาน ขำขัน ฮาขี้แตกขี้แตน

‘อายผู้หญิง’ ขายดีเช่นเรื่องแนวอื่น จึงเขียนตอนต่อ ได้แก่ ‘หวงลูกสาว’, ‘หนุ่มรักสนุก’, ‘สองเกลอจอมแก่น’ ความจริง ป. อินทรปาลิต เจตนาเขียนหัสนิยายนี้เพียง ๕-๖ ตอนแล้วจะเลิก เพื่อพิสูจน์ให้ผู้ที่ปรามาสท่านได้รู้ว่า เรื่องตลก ท่านก็เขียนได้ไม่แพ้เรื่องอื่นๆ

แต่แฟนหนังสือพากันชอบและติดใจสองเกลอ ทำให้ท่านต้องเขียนติดต่อกันเรื่อยมา จนแตกหน่อต่อยอดเป็นสามเกลอและคณะพรรคสี่สหาย ไม่อาจเลิกเขียนได้ตามที่ตั้งใจไว้

บุคคลลึกลับที่ดูแคลนฝีมือ ป. อินทรปาลิต จะยอมรับความสามารถของท่านหรือไม่ ท่านไม่ทราบ แต่ทุกครั้งที่พบปะเจอะเจอบุคคลผู้นี้ เขาจะรีบหลบทันที ไม่กล้าสู้หน้าท่าน ทั้งๆ ที่ก่อนหน้านั้นเคยพูดจาทักทายกันดี ท่านเองก็อยากคุยเขาเหมือนเดิม

สาเหตุคงเป็นเพราะเขาเกรงจะถูกต่อว่า อาจถึงขั้นมีปากเสียงกัน แต่เจ้าของบทประพันธ์สามเกลอต้องการพบเขาเพื่อกล่าวขอบคุณ ที่เขาช่วยชี้ช่องให้ท่านได้ค้นพบความถนัดของตนเอง คือเขียนนิยายแนวตลกเบาสมอง


จาก คุณปริญญา อินทรปาลิต ค่ะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 67  เมื่อ 24 พ.ค. 19, 17:24

ไปเจอข้อเขียนเกี่ยวกับการเสวนาผลงานของป.อินทรปาลิต   จึงนำมาลงไว้ในกระทู้นี้ค่ะ
ตน์ ตระการศิริวานิช’ นักธุรกิจรุ่นใหม่และยังเป็นนักอ่านตัวยงเป็นผู้ดำเนินการสนทนา

ป. อินทรปาลิต เป็นนามปากกาของ ‘ปรีชา อินทรปาลิต’ รู้จักกันดีในฐานะนักเขียนหัสนิยาย ‘พล นิกร กิมหงวน’ หรือ ‘สามเกลอ’ 

หัสนิยายมิใช่นวนิยายตามขนบที่เรารู้กัน หรือเรื่องสั้นที่มีตอนจบในตัวเอง แต่เป็นเรื่องแต่งที่สะท้อนภาพชีวิตของสังคม ของยุคสมัยอย่างต่อเนื่อง กล่าวได้ว่า สามเกลอคือเรื่องราวที่ลำดับภาพสังคมไทยในช่วง 30 ปี ระหว่าง 2482 – 2511 สะท้อนเหตุการณ์ บรรยากาศ และสิ่งแวดล้อม พูดได้ว่าเกือบทุกด้านของสังคมไทย ซ้ำยังเคยผลิตเป็นภาพยนตร์และละครโทรทัศน์อีกด้วย

ศ.ดร. วิชิตวงศ์ เล่าให้ฟังว่า เคยพบ ป.อินทรปาลิต ตัวจริงเสียงจริง ซึ่งนับเป็นประสบการณ์ที่หาได้ยากยิ่ง

“ปี 2490 ผมไปออกนิตยสารฉบับหนึ่งที่โรงพิมพ์ใกล้ๆ เสาชิงช้า มีหนังสือพิมพ์สองฉบับมาออกพร้อมๆ กัน แบ่งที่ทำงานในโรงพิมพ์เดียวกัน ฉบับหนึ่งชื่อเอกราช รับผิดชอบโดยคุณอิศรา อมันตกุล อีกฉบับชื่อปิยมิตร มี ป. อินทรปาลิต เป็นผู้อำนวยการ ท่านยังเขียนคนเดียวทั้งเล่ม ซ้ำออกทุกวัน เป็นเรื่องอ่านเล่น นานๆ จะมีพล นิกร กิมหงวน แทรกอยู่ ท่านอายุราว 38 ปี

“ป. อินทรปาลิต มาทำงานแต่เช้า โดยขับรถยนต์มา สมัยนั้นคนยังไม่ค่อยมีรถยนต์กันหรอก ท่านนุ่งกางเกงขายาวสีขาว สวมเสื้อเชิ้ตแขนยาวสีขาว พับแขน ดูสะอาดเรียบร้อย ใบหน้ายิ้มแย้มแจ่มใส ตอนนั้นผมยังอายุแค่ 18 ปีเท่านั้น ก็เกิดความชื่นชมในตัวจริงของนักเขียนใหญ่ที่เราชอบ”

นอกจากนี้ ศ.ดร. วิชิตวงศ์ ให้ความเห็นที่น่าสนใจว่า จากงานเขียนทั้งหมดกว่า 1,000 ตอนของสามเกลอนั้น หาได้มีคุณค่าเพียงแค่การสร้างเสียงหัวเราะ ทว่ายังเป็นวรรณกรรมที่ต้องศึกษาและจดจำใน 3 เรื่องด้วยกัน

“หนึ่งคือ เนื่องจากเรื่องราวกินระยะเวลากว่าสามทศวรรษ พูดได้ว่ามีการเขียนขึ้นแทบทุกเดือน ทำให้เราเห็นถึงวิวัฒนาการของสังคมไทย ตั้งแต่ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 หรือที่เรียกกันว่าสมัยบ้านดีเมืองดี จนเกิดสงคราม และหลังสงคราม มีการบันทึกไว้หมด กระทั่งเรื่องนักมวยอย่าง โผน กิ่งเพชร หรือภาพยนตร์ต่างๆ ตรงนี้ไม่มีวรรณกรรมเล่มใดสะท้อนได้ขนาดนี้ แม้เอกสารของทางราชการเองก็ตาม

“สองคือการแทรกหลักคิดทางจริยธรรมต่างๆ ปลูกฝังความรักชาติ ความกล้าหาญ ความเสียสละ สุดท้าย ที่ได้รับคือความสนุกเพลิดเพลิน คลายเครียด เป็นยารักษาโรคต่างๆ แห่งยุคสมัยได้เป็นอย่างดี นี่คือ 1 ใน 100 เล่มที่คนไทยต้องอ่าน”
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 68  เมื่อ 24 พ.ค. 19, 17:25

ส่วน พลเอกบัญชรเล่าว่า ตนเป็นแฟนตัวจริงของท่าน ป. อินทรปาลิต โดยมีหนังสือเกือบทุกเล่มอยู่ในห้องหนังสือที่บ้าน

“โดยเฉพาะ พล นิกร กิมหงวน ถามว่าผมได้อะไรจากการอ่านเรื่องนี้ อารมณ์ขันนั่นได้แน่ๆ แต่คิดว่าอีกสิ่งคือ การคิดนอกกรอบเหมือนตัวละครทั้งหมด ที่คิดอ่านสิ่งใดไม่เหมือนคนธรรมดา ผมจึงกลายเป็นคนที่ไม่ค่อยยึดติดอยู่กับกรอบ อย่างการสอบเข้าเตรียมทหารนี่ ก็ทำไปโดยไม่ได้บอกพ่อเลย หรือการเขียนหนังสือ ผมก็ทำเลย มีอะไรอีกหลายอย่างที่ผมอยากทำ ก็ได้ทำ นั่นคืออิทธิพลจากหนังสือของ ป. อินทรปาลิต คือได้ทำในสิ่งที่ตนเองมีความสุข”

สุดท้ายในมุมมองของนักอ่านรุ่นใหม่ ศุภเจตน์บอกว่า รู้สึกทึ่งในความสามารถของผู้เขียน คนหนึ่งคนมีเรี่ยวแรงประพันธ์ได้นับพันชิ้น ที่สำคัญคือ ยังอ่านสนุกด้วย

“หากใครได้อ่านจะเห็นภาพเลยว่า คนไทยสมัยก่อนกินอยู่กันอย่างไร มีเรื่องไหนอินเทรนด์ในยุคนั้นๆ ส่วนอีกมุมหนึ่งนอกจากเชิงประวัติศาสตร์ ผมค้นพบว่า เราสามารถนำกลวิธีการเขียนของท่าน มาปรับใช้กับสื่อโซเชียลมีเดียได้ คือ ป. อินทรปาลิต มีการสื่อสารที่รอบด้านมากๆ ถ้าเปรียบเป็นเพจบนเฟซบุ๊ค นี่คือเพจที่มีเรื่องราวครบเครื่อง
มาก


https://pubat.or.th/%E0%B8%AD%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A1%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2-%E0%B8%9C%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%99-%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%81/
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 69  เมื่อ 26 พ.ค. 19, 08:37

ด้านชีวิตส่วนตัว  ป. อินทรปาลิตสมรสกับนางสาวไข่มุกด์ ระวีวัฒน์ คุณข้าหลวงของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประดิษฐาสารี เมื่อ พ.ศ. 2472 มีบุตร-ธิดาด้วยกัน 2 คน คือ
นายฤทัย อินทรปาลิต
นางฤดี (อินทรปาลิต) เคนนี่ สมรสกับนายแพทย์เดวิด เคนนี่

นางไข่มุกด์ ภรรยา นอกจากจะปฏิบัติหน้าที่แม่บ้านและเป็นแม่ของลูก ๆ แล้ว เธอยังเป็นนักอ่านนวนิยายอย่างแท้จริงคนหนึ่ง เป็นผู้มีความรอบรู้เรื่องต่าง ๆ เป็นอย่างดี ฉะนั้น จึงมีส่วนช่วยเหลือและเป็นกำลังใจให้แก่ ป. อินทรปาลิตตลอดมา จนกระทั่งเธอได้ถึงแก่กรรมด้วยโรคหัวใจและความดันโลหิตสูง เมื่อ พ.ศ. 2491

ต่อมา ป. อินทรปาลิต สมรสกับนางปราณี อินทรปาลิต ไม่มีบุตรด้วยกัน
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 70  เมื่อ 26 พ.ค. 19, 08:38

อาการเจ็บป่วย และมรณกรรม
ป. อินทรปาลิต ได้ล้มป่วยด้วยโรคเบาหวาน เมื่อ พ.ศ. 2498 ได้รับการดูแลรักษาพยาบาลจาก นายแพทย์เดวิด เคนนี่ ผู้เป็นบุตรเขย อาการของโรคในระยะปีแรก ๆ ก็ไม่ร้ายแรงอะไรนัก

ต่อมา ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2510 อาการป่วยของ ป. อินทรปาลิต กำเริบขึ้น ถึงกับต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ การป่วยครั้งนี้มีอาการทางหัวใจและโรคปอดเข้าแทรก คณะแพทย์ได้ทำการรักษาพยาบาลอย่างดีที่สุด ได้พักรักษาตัวอยู่ประมาณหนึ่งเดือน แพทย์ก็อนุญาตให้กลับบ้านได้ ต่อมาเมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2511 อาการของโรคเดิมได้กำเริบขึ้น จึงได้กลับเข้ารักษาตัว ณ ที่เดิมอีก คราวนี้รักษาตัวนานถึงสองเดือนเศษ และเมื่อทุเลาก็ได้รับอนุญาตให้กลับบ้านได้อีกครั้งหนึ่ง เมื่อกลับมาอยู่บ้าน มีอาการกำเริบบ้างเป็นครั้งคราว แล้วก็หายไป เป็นเช่นนี้เสมอมา และเนื่อจากชีวิตในบั้นปลายของ ป. อินทรปาลิต ต้องอยู่บ้านตามลำพัง เพราะบุตรชายหญิงทั้งคู่ต้องทำงานประกอบอาชีพ และแยกไปมีครอบครัวกันแล้วทั้งสิ้น ทั้งปราณีผู้เป็นภรรยา ก็ทำงานอยู่ ณ ร้านจำหน่ายหนังสือ ไม่สามารถจะลาหยุดบ่อย ๆ ได้ อาการป่วยเรื้อรังเช่นนี้ ควรจะได้มีผู้ดูแลประจำอยู่ พอดีกับน้องสาวและน้องเขย (นายชูชัย พระขรรค์ชัย) ของภรรยา ได้แสดงความมืน้ำใจเอื้อเฟื้อ ขอรับ ป. อินทรปาลิต ไปพักอยู่ด้วยกันที่บ้านของตนที่ซอยโชคชัย เพื่อจะได้มีโอกาสช่วยดูแลพยาบาล เป็นการตอบแทนบุญคุณที่ ป. อินทรปาลิต ได้มีต่อครอบครัวของตนอย่างดียิ่งมาช้านาน ซึ่งน้องสาวของภรรยาให้ความคารวะพี่เขยเสมอด้วยบิดาตน

โดยปกติแล้ว ป. อินทรปาลิต เป็นผู้ไม่ยอมรับความช่วยเหลือจากใครง่าย ๆ หากด้วยความเอ็นดูน้องภรรยาที่ ป. อินทรปาลิต เคยอุปถัมภ์มาตั้งแต่เยาว์วัย จึงยอมรับการแสดงออกซึ่งความกตัญญูกตเวทิตานั้น โดยได้ย้ายไปอยู่ ณ บ้านหลังดังกล่าว เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2511
อย่างไรก็ดี ป. อินทรปาลิต เป็นผู้มีทิษฐิในการยืนอยู่เป็นตัวของตัวเองอย่างยิ่ง แม้จะเจ็บป่วยสักเพียงไรก็ยังสามารถหารายได้จากการเขียนหนังสือเลี้ยงครอบครัว อาจจะกล่าวได้ว่าตราบจนลมหายใจครั้งสุดท้าย โดยปราณีผู้เป็นภรรยาได้รับเงินค่าเรื่องจากหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ในตอนเช้าของวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2511 และเมื่อเวลา 18.15 น. ของวันเดียวกัน ป. อินทรปาลิต ก็ได้ถึงแก่กรรมโดยสงบด้วยอาการหัวใจวาย จะมีใครทราบล่วงหน้าก็หาไม่ รวมสิริอายุได้ 58 ปี

ป. อินทรปาลิต ได้รับการฌาปนกิจศพ ณ เมรุวัดมกุฏกษัตริยาราม กรุงเทพมหานคร เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2512

จากวิกิพีเดีย
บันทึกการเข้า
ปริญญา อินทรปาลิต
อสุรผัด
*
ตอบ: 0


ความคิดเห็นที่ 71  เมื่อ 26 พ.ค. 19, 10:46

ขออนุญาตเรียนชี้แจงเพิ่มเติมเกี่ยวกับความเจ็บป่วยของ ป.อินทรปาลิต คุณปู่ผม จนกระทั่งท่านถึงแก่กรรม 

ความจริงได้ปรากฏภายหลังว่า ท่านเสียชีวิตด้วย โ ร ค ม ะ เ ร็ ง ซึ่งหมอได้แจ้งต่อญาติๆ เมื่อวาระสุดท้ายมาถึงแล้ว

แต่รายละเอียดที่มาของโรคนี้ผมไม่ทราบเนื่องจากตอนนั้นยังเด็ก จึงรู้กันเฉพาะในหมู่ญาติสนิทคือพี่น้องคุณปู่กับคุณพ่อผมและคุณอาผม รวมทั้งคุณชูชัย ฤทธิฦาชัยและภรรยา ซึ่งมีความสัมพันธ์ในฐานะญาติสนิทของผู้วายชนม์ ซึ่งทุกคน
เห็นพ้องต้องกันว่าจะไม่บอกกล่าวให้สังคมรับรู้ เพราะเกรงคุณปู่จะเสียชื่อ (จริงๆ แล้วการเป็นโรคมะเร็งนั้นมีสิทธิ์เป็นกันได้ทุกคน ไม่เกี่ยวกับว่าเป็นแล้วจะเสียชื่อหรือได้รับเหรียญทองโอลิมปิก)

ถ้าจะให้ผมมโนก็คงเป็นเพราะคุณปู่สูบบุหรี่ (ทางตรงของมะเร็ง) แต่ตลอดเวลาที่ผมอยู่กับท่านจนทำหน้าที่ช่วยพิมพ์บทประพันธ์ตามคำบอก บุหรี่ที่คุณปู่จุดสูบ...ส่วนใหญ่จะลามไหม้หมดไปเอง เรียกว่ามวนหนึ่งท่านสูบได้แค่ ๒-๓ ครั้ง
แต่ละครั้งก็ไม่ได้ซี้ดให้ควันเข้าปอดจนศีรษะสั่นศีรษะคลอนเช่นคอยาทั่วไป และเหตุที่ท่านมัวใส่ใจกับการบอกบทประพันธ์ให้ผมพิมพ์ ไม่ได้หยิบบุหรี่มาสูบเลย บุหรี่จึงประท้วงด้วยการเผาไหม้ตัวเองจนดับไป

เมื่อมรณามาเยือนปู่ด้วยโรคมะเร็ง แต่ไม่มีญาติคนใดยอมเปิดเผยความจริงแก่สาธารณะ โรคปอดอักเสบอันเกิดจากการที่คุณปู่ลุกมาอาบน้ำกลางดึกในคืนหนึ่ง จึงกลายเป็นจำเลยที่ ๑ ในความรู้สึกของผู้ใกล้ชิดท่านตลอดจนแฟนหนังสือ
แล้วโรคปอดอักเสบยินยอมให้เบาหวานซึ่งเป็นโรคประจำตัวอยู่แล้วแทรกซ้อนเข้ามาเป็นจำเลยที่ ๒ โดยที่มะเร็งหลบมุมยิ้มแสยะด้วยความสะใจ เพราะไม่มีใครรู้ว่าเป็นจำเลยตัวจริง

เล่าสู่กันฟังครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 72  เมื่อ 26 พ.ค. 19, 11:08

มาต้อนรับค่ะ
เป็นความรู้ใหม่ ว่าเมื่อ 50 ปีก่อน  มะเร็งเป็นโรคเสียหายในสายตาญาติของผู้ป่วย
ไม่เข้าใจเหตุผลเหมือนกันค่ะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 73  เมื่อ 19 มิ.ย. 19, 08:01

หัสนิยายมิใช่นวนิยายตามขนบที่เรารู้กัน หรือเรื่องสั้นที่มีตอนจบในตัวเอง แต่เป็นเรื่องแต่งที่สะท้อนภาพชีวิตของสังคม ของยุคสมัยอย่างต่อเนื่อง กล่าวได้ว่า สามเกลอคือเรื่องราวที่ลำดับภาพสังคมไทยในช่วง 30 ปี ระหว่าง 2482 – 2511 สะท้อนเหตุการณ์ บรรยากาศ และสิ่งแวดล้อม พูดได้ว่าเกือบทุกด้านของสังคมไทย ซ้ำยังเคยผลิตเป็นภาพยนตร์และละครโทรทัศน์อีกด้วย

ศ.ดร. วิชิตวงศ์ เล่าให้ฟังว่า เคยพบ ป.อินทรปาลิต ตัวจริงเสียงจริง ซึ่งนับเป็นประสบการณ์ที่หาได้ยากยิ่ง

“ปี 2490 ผมไปออกนิตยสารฉบับหนึ่งที่โรงพิมพ์ใกล้ๆ เสาชิงช้า มีหนังสือพิมพ์สองฉบับมาออกพร้อมๆ กัน แบ่งที่ทำงานในโรงพิมพ์เดียวกัน ฉบับหนึ่งชื่อเอกราช รับผิดชอบโดยคุณอิศรา อมันตกุล อีกฉบับชื่อปิยมิตร มี ป. อินทรปาลิต เป็นผู้อำนวยการ ท่านยังเขียนคนเดียวทั้งเล่ม ซ้ำออกทุกวัน เป็นเรื่องอ่านเล่น นานๆ จะมีพล นิกร กิมหงวน แทรกอยู่ ท่านอายุราว 38 ปี

“ป. อินทรปาลิต มาทำงานแต่เช้า โดยขับรถยนต์มา สมัยนั้นคนยังไม่ค่อยมีรถยนต์กันหรอก ท่านนุ่งกางเกงขายาวสีขาว สวมเสื้อเชิ้ตแขนยาวสีขาว พับแขน ดูสะอาดเรียบร้อย ใบหน้ายิ้มแย้มแจ่มใส ตอนนั้นผมยังอายุแค่ 18 ปีเท่านั้น ก็เกิดความชื่นชมในตัวจริงของนักเขียนใหญ่ที่เราชอบ”

นอกจากนี้ ศ.ดร. วิชิตวงศ์ ให้ความเห็นที่น่าสนใจว่า จากงานเขียนทั้งหมดกว่า 1,000 ตอนของสามเกลอนั้น หาได้มีคุณค่าเพียงแค่การสร้างเสียงหัวเราะ ทว่ายังเป็นวรรณกรรมที่ต้องศึกษาและจดจำใน 3 เรื่องด้วยกัน

“หนึ่งคือ เนื่องจากเรื่องราวกินระยะเวลากว่าสามทศวรรษ พูดได้ว่ามีการเขียนขึ้นแทบทุกเดือน ทำให้เราเห็นถึงวิวัฒนาการของสังคมไทย ตั้งแต่ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 หรือที่เรียกกันว่าสมัยบ้านดีเมืองดี จนเกิดสงคราม และหลังสงคราม มีการบันทึกไว้หมด กระทั่งเรื่องนักมวยอย่าง โผน กิ่งเพชร หรือภาพยนตร์ต่างๆ ตรงนี้ไม่มีวรรณกรรมเล่มใดสะท้อนได้ขนาดนี้ แม้เอกสารของทางราชการเองก็ตาม

“สองคือการแทรกหลักคิดทางจริยธรรมต่างๆ ปลูกฝังความรักชาติ ความกล้าหาญ ความเสียสละ สุดท้าย ที่ได้รับคือความสนุกเพลิดเพลิน คลายเครียด เป็นยารักษาโรคต่างๆ แห่งยุคสมัยได้เป็นอย่างดี นี่คือ 1 ใน 100 เล่มที่คนไทยต้องอ่าน”

https://pubat.or.th/%E0%B8%AD%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A1%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2-%E0%B8%9C%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%99-%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%81/
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 3 4 [5]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.047 วินาที กับ 20 คำสั่ง