เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3 4 5
  พิมพ์  
อ่าน: 39550 ป.อินทรปาลิต
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 27 มิ.ย. 13, 21:26

   เริ่มจากสองเกลอ พล และนิกร   พร้อมกับคนใช้ตัวแสบชื่อเจ้าแห้ว   ป.อินทรปาลิตแนะนำตัวละครที่สามเข้ามาเป็นชุดสามเกลอ คืออาเสี่ยหนุ่มเชื้อจีนชื่อสงวน หรือกิมหงวน   มหาเศรษฐีอันดับหนึ่งของประเทศไทย     ตัวละครประกอบที่ยืนพื้นก็คือพ่อๆของสามคนนี้  มีแม่อยู่คนเดียวคือคุณหญิงวาด แม่ของพล     ส่วนตัวละครเอกตัวที่สี่คือดร.ดิเรก  ตามมาทีหลังเพื่อน  กลายเป็น สี่สหาย ไม่ใช่สาม  แต่นิยายบันเทิงชุดนี้ก็ยังเป็นที่รู้จักกันในนามสามเกลออยู่ดี

   ป.อินทรปาลิตสามารถสร้างสามเกลอให้โลดแล่นแสดงบทต่างๆ ต่อเนื่องกันยาวนานตั้งแต่พ.ศ. 2481 จนถึง 2511  โดยมีคนอ่านต้อนรับอย่างสม่ำเสมอ แม้สังคมไทยเปลี่ยนไปมากแทบไม่เหลือเค้าเดิมแล้วก็ตาม   นับเป็นฝีมือนักประพันธ์ที่ไม่มีใครทำได้ตั้งแต่แรกเริ่มจนปัจจุบันนี้     นักเขียนที่ทำอย่างนี้ได้ต้องวางบุคลิกและนิสัยใจคอของตัวละคร หรือที่เรียกว่า character  ได้ด้วยพื้นฐานที่แน่นมาก     เพราะพฤติกรรมนับหลายร้อยตอนที่วางให้ตัวละครทำไปไม่รู้จบนั้น ถ้าหากว่านิสัยตัวละครไม่มีเสน่ห์ดึงดูดคนอ่านได้ยาวนานพอ   นอกจากเรื่องจะล่มลงแล้ว  คนอ่านจะเบื่อหน่าย ไม่อ่านอีกต่อไป   
   ป.อินทรปาลิตสามารถพาสามเกลอของท่านทวนกระแสกาลเวลาหลายสิบปี สร้างความบันเทิงให้คนอ่านแต่ละรุ่นได้ตลอด    จนปัจจุบันแม้ว่าท่านล่วงลับไปถึง 45 ปีแล้วก็ตาม   คนอ่านที่เกิดไม่ทันนักเขียนก็ยังตามอ่านสามเกลอกันอยู่   เรื่องก็ยังพิมพ์ขายซ้ำแล้วซ้ำอีก   ก็ต้องถือว่าเป็นการพิสูจน์ศิลปะในการสร้างงานได้ชัดเจนกว่ารางวัลหรือคำประกาศเกียรติคุณใดๆ
บันทึกการเข้า
ศานติ
ชมพูพาน
***
ตอบ: 190

อดีตศัลยแพทย์ช่องอกเส้นเลือด (เกษียณ) ปัจจุบันเป็นช่างไม้


ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 28 มิ.ย. 13, 10:36

ผมติดงอมแงมเหมือนกัน สมัยนั้นถ้าเห็นใครอ่านหนังสืออยู่แล้วนั่งหัวเราะอยู่คนเดียว ก็รู้ว่ากำลังอ่านพลนิกรกิมหงวน 
บันทึกการเข้า
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 28 มิ.ย. 13, 17:19

เข้ามาร่วมปั่นกระทู้ซะหน่อย

นิยายสามเกลอของนั้น เนื่องจากได้วางตัวละครที่มีทั้งมหาเศรษฐี นักวิทยาศาสตร์เอกที่เป็นหมอด้วย ทำให้ท่านผู้แต่งสามารถแต่งเรื่องไปได้ทุกแนว ไม่มีข้อจำกัด หยิบยกเหตุการณ์สำคัญๆ ที่เป็นที่สนใจในสมัยนั้น เช่นภาพยนต์ต่างประเทศที่เข้าฉาย การแข่งขันกีฬา งานแสดงสินค้า โฆษณาสินค้า หรือแม้แต่คดีฆาตกรรมที่โด่งดัง มาเป็นพล็อตเรื่องได้หมด  จนกลายเป็นเอกสารอย่างดีที่สะท้อนแนวคิด ทัศนคติ ค่านิยมของผู้คนในช่วงนั้นได้  เนื้อเรื่องที่แม้จะอ่านในปัจจุบันก็ยังไม่ล้าสมัย แต่มีกลิ่นอายยุคเก่าไปด้วย ทุกวันนี้เวลากินข้าวผมยังต้องเปิดนิยายสามเกลออ่านไปด้วยอยู่เลย แม้จะอ่านมาหลายหลายรอบแต่ไม่รู้สึกเบื่อ


หลายๆ คนโดยเฉพาะนักวิจารณ์มักบอกว่านิยายสามเกลอช่วงที่สนุกที่สุดเป็นช่วงวัยหนุ่ม ช่วงก่อนและหลังสงครมโลกครั้งที่สอง แต่ผมกลับชอบนิยายนี้ในช่วงหลังปี 2490 ไปจนถึงช่วงที่ท่านผู้แต่งเสียชีวิต ที่คณะพรรคสี่สหายมีสมาชิกครบ 4 และย้ายมารวมกันหมดแล้ว
บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 28 มิ.ย. 13, 17:38

สำหรับท่านที่ชอบนิยายเรื่องนี้ และหาซื้อหลายๆ ตอนไม่ได้ มีเว็บที่มีการพิมพ์นิยายเรื่องนี้ทั้งในรูป e-book และ pdf ให้เราโหลดไปอ่านได้ มีให้เลือกเป็นร้อยๆ ตอน  หลายตอนไม่สามารถหาซื้อในตลาดหนังสือทั้งเก่าหรือใหม่ได้อีกแล้ว  ผมไม่แน่ใจเรื่องของลิขสิทธิ์เหมือนกันแต่ก็โหลดครบทุกเล่ม

http://www.samgler.org/home.shtml   แม้ที่นี่ข้อมูลจะไม่ค่อย update นัก เว็บนิ่งๆ มานานหลายปี แต่ข้อมูลเก่าก็ยังมีให้คนที่ชื่นชอบไปศึกษากันต่อได้ มีหนังสือให้โหลดมากมายหลายตอน
http://www.samgler.net/  อันนี้ของลุงโก๋หลังวัง แม้ลุงแกจะสุขภาพไม่อำนวย ไม่ได้ update ข้อมูลข่าวสารเท่าไหร่ แต่แกก็ยังคอยดูแล link โหลดสามเกลออยู่ ที่นี่มีสามเกลอให้โหลดอีกเยอะมาก ทั้งแบบ pdf และ e-book ครับ  ตอนเก่าๆ ที่หายไปนานแล้ว หรือตอนเก่าๆ ที่เคยเอามาพิมพ์ขายสนามหลวง จตุจักร 3 เล่ม 10 บาทเมื่อสามสิบปีที่แล้วยังมีให้โหลดอยู่หลายตอน

ปัจจุบันนิยายสามเกลอดูเหมือนจะมีผู้ถือลิขสิทธิ์หลายเจ้า ขึ้นอยู่กับว่าท่านผู้เขียนตีพิมพ์ที่ใดหรือขายลิขสิทธิ์ให้สำนักพิมพ์ใด ผมไม่แน่ใจเหมือนกันว่าทายาทของท่านจะยังได้รับผลประโยชน์จากงานเขียนของท่านไหม  ตอนนี้มีสามเกลอพิมพ์โดยสำนักพิมพ์อะไรจำไม่ได้ เคยเห็นขายเล่มบางๆ แต่กระดาษดีหน่อย เล่มละ 60 บาท แต่มีตอนสนุกๆ หลายตอน ผมยังซื้อเก็บไว้ที่บ้านหลายสิบเล่ม แม้จะเห็นว่าออกจะแพงไปหน่อยเพราะมันไม่กี่หน้า ถ้าได้รู้ว่าทายาทท่านผู้เขียนได้ผลประโยชน์ตรงนี้ด้วย ก็จะจูงใจให้ผมอุดหนุนได้มากขึ้น


อีกตอนที่อยากเห็นแต่ไม่เคยได้ยินใครพูดถึงเลย คือตอนที่เจ้าคุณประสิทธิฯ พ่อของพลเสียชีวิต น่าจะมีตีพิมพ์ที่ไหนซักปี แต่เหมือนลึกลับไม่เป็นที่รู้จัก ไม่มีใครเคยเห็นเคยอ่านหรือพูดถึงเลย
บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
sirinawadee
ชมพูพาน
***
ตอบ: 101


ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 01 ก.ค. 13, 10:17

หลงรักมานานแล้วค่ะ ซื้อครั้งแรกที่เป็นเล่มบางๆ ตอนละเล่ม ราคา 10 บาทเท่านั้นเอง กระดาษเหลืองๆ และมีกลิ่นของมันเอง ชอบมากค่ะ

ชอบเหมือนคุณประกอบค่ะ ตอนเป็นสามเกลอก็สนุก แต่ชอบเวลาที่อยู่กันครบทั้งสี่คนมากกว่า ตอนที่เป็นเรื่องสั้นๆ ไม่กี่หน้าจบก็สนุกมากนะคะ อ่านภาษาแขกในเรื่องนี้่แล้วหัวเราะกลิ้งทุกครั้ง ดูหนังผีทีไรก็จะนึกถึงการเอาหมูไปไล่ผีแขก

คุ้นๆว่าเคยทำเป็นละคร แต่น่าจะทำยากเอาการ เพราะคาแรคเตอร์ของแต่ละตัวละครชัดเจนแทบจะลืมตาเห็นได้

แอบตั้งข้อสังเกตว่า คุณหญิงประสิทธินิติศาสตร์ คุณแม่ของพล ชื่อตัวของท่านคือวาด แต่บางตอนชื่อของท่านกลายเป็นช้อย อย่างเช่นตอนที่นิกรไปตามหาน้าชายชื่อชด

อาจารยฺ์เทาชมพูชอบใครที่สุดในเรื่องคะ 
บันทึกการเข้า
Rattananuch
อสุรผัด
*
ตอบ: 37


ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 01 ก.ค. 13, 10:57

เคยอ่านตอนที่เจ้าคุณประสิทธิฯถึงแก่กรรมค่ะ ชื่อตอนว่าไม่มีพ่อ เนื้อเรื่องประมาณว่า เจ้าคุณเป็นมะเร็งลำไส้ แล้ว ดร.ดิเรกทำการผ่าตัด แต่ได้แจ้งไว้ก่อนแล้วว่าเปอร์เซ็นต์รอดแค่ 5%
พอผ่าตัดเสร็จ อาการทรุดลง ก็เลยต้องมีการทำพินัยกรรมกะทันหัน ก็เป็นที่ครื้นเครงตอนแจกแจงว่าใครจะได้อะไรค่ะ ตั้งแต่คุณหญิงวาด ไปจนถึงเจ้าแห้วค่ะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 01 ก.ค. 13, 12:15

อาจารยฺ์เทาชมพูชอบใครที่สุดในเรื่องคะ 

คุณ sirinawadee ก็เป็นแฟนนิยายสามเกลอเหมือนกัน  เห็นจะคุยกันได้นาน  ยิงฟันยิ้ม

ตอนเด็กๆชอบพลค่ะ    ดูเป็นพระเอ๊กพระเอก  ป.อินทรปาลิตให้สมญาว่า "อ้ายเสือรูปหล่อ"  หล่อขนาดมีตอนหนึ่งไปเที่ยวฮอลลีวู้ด    คุณป. บรรยายว่าพลหล่อขนาดข่มไทโรน เพาเวอร์ให้ด้อยลงไปเลย
โปรดดูรูปข้างล่าง  ถ้าพลหล่อกว่าโทโรน แสดงว่าหล่อสูสีกับเจมส์จิ

ตอนต้นๆ สนุกมากที่พลสามารถเล่นหัวเข้าชุดกับเพื่อนได้ไม่มีสะดุดเลย       แต่พอคุณป.เขียนมากๆเข้า   บทของพลกลับน้อยลงทุกที  กลายเป็นบทของกิมหงวนนำเด่นขึ้นมาแทน   

ต่อมา ชอบเจ้าคุณปัจจนึกค่ะ   เป็นคนแก่ที่น่ารักมาก     ขี้โมโห ขี้เล่น   เจ้าชู้กรุ้มกริ่ม กระฉับกระเฉง มีชีวิตชีวา   สามารถเล่นบทได้ทุกแบบ ผสมผสานไปกับลูกหลานโดยไม่ขัดตาเลย   ป.อินทรปาลิตเก่งมากที่นำเสนอท่านได้เนียนมาก     โดยไม่รู้สึกเลยว่าบทตลกของท่านแย้งกับวัยและสังขารตรงไหน
นอกจากนี้ศีรษะลูกมะอึกก็ดังมาก    จำได้ว่า นักเขียนอีกหลายคนทีเดียวนำไปเป็นโวหารเปรียบเทียบในนิยายของตน   เวลาบรรยายถึงทุ่งโล่ง  หรือที่ดินกว้างๆแห้งแล้งไม่มีต้นไม้ขึ้น    ดิฉันเพิ่งได้ยินชื่อลูกมะอึกก็จากนิยายสามเกลอนี่แหละค่ะ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 01 ก.ค. 13, 13:38

เคยอ่านตอนที่เจ้าคุณประสิทธิฯถึงแก่กรรมค่ะ ชื่อตอนว่าไม่มีพ่อ เนื้อเรื่องประมาณว่า เจ้าคุณเป็นมะเร็งลำไส้ แล้ว ดร.ดิเรกทำการผ่าตัด แต่ได้แจ้งไว้ก่อนแล้วว่าเปอร์เซ็นต์รอดแค่ 5%
พอผ่าตัดเสร็จ อาการทรุดลง ก็เลยต้องมีการทำพินัยกรรมกะทันหัน ก็เป็นที่ครื้นเครงตอนแจกแจงว่าใครจะได้อะไรค่ะ ตั้งแต่คุณหญิงวาด ไปจนถึงเจ้าแห้วค่ะ
เคยอ่านพบว่า ผู้อ่านประท้วงกันมายกใหญ่ที่ป.อินทรปาลิตกำจัดตัวละครรองๆบางตัวลงจากเวที      เพราะคนอ่านยังรักเจ้าคุณประสิทธิ์ฯ เจ้าสัวกิมเบ๊  เจ้าสัวกิมไซ  เจ้าคุณนพรัตน์ฯ พ่อของนิกร     คุณป. เองก็มาเสียดายทีหลัง เมื่อรู้ว่าคนอ่านเสียดาย  แต่ทำไงได้ เขียนให้ตายไปแล้ว  จึงต้องเขียนตอนสามเกลอลงไปเที่ยวนรก  พระยายมเล่าให้ฟังถึงพวกนี้ว่าเป็นยังไงกันบ้าง
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 01 ก.ค. 13, 21:34

ป.อินทรปาลิตเขียนหนังสือได้หลายแนว  รวมแล้วกี่ร้อยกี่พันเล่มก็ยังนับไม่ได้
    ตัวอย่างประเภทและผลงาน
     
    นวนิยายรักโศก
    นักเรียนนายร้อย / แสนสงสาร / เรียมจ๋า / สาวกำพร้า ฯลฯ
     
    หัสนิยายชุด พล นิกร กิมหงวน
    อายผู้หญิง / สามเกลอผจญโจร / เยี่ยมปิยะมิตร / โลกล้านปี ฯลฯ
     
    อาชญนิยาย
    เสือใบ /เสือดำ/  ดาวโจร / เลือดทหารหนุ่ม ฯลฯ
     
    นวนิยายยุวชน
    เลือดทหารม้า / ขวัญใจนักรบ / ซูเปอร์แมนแกละ ฯลฯ
     
    นวนิยายอิงประวัติศาสตร์
    ดาบทหารเสือ / ท้าวศรีสุดาจันทร์ / พระเจ้าเสือ ฯลฯ
     
    เรื่องสั้น
    กระทิงเขาหัก / หล่อนเป็นสาวสมัยพลาสติก / มนต์รักเมื่อจันทร์ลับฟ้า / ชาย 10 โบสถ์ ฯลฯ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 01 ก.ค. 13, 21:43

    ป.อินทรปาลิตจัดลำดับชั้นของนักเขียน เป็น อะ อา อิ อี  โดยให้คำจำกัดความว่า ชั้น "อะ" คือผู้เขียนหนังสือเป็นงานอดิเรก "อา" คือพวกที่ถืองานเขียนเป็นอาชีพ "อิ" คือนักเขียนอิสระ "อี" คือนักเขียนชนิดที่ใช้ชีวิตอย่างอีลุ่ยฉุยแฉก
    ส่วนตัวท่าน เรียกตัวเองว่านักเขียนชั้น  "อึ"  แต่ไม่ให้คำอธิบายว่าหมายถึงอะไร
    
    บางครั้งคุณป.อินทรปาลิตก็เอาตัวเองเข้าไปเป็นตัวละครรับเชิญตัวหนึ่งในเรื่องสามเกลอ   เป็นนักประพันธ์ไส้แห้งชื่อ "นายปิ๋ว" มีบทบาทบ้างเล็กน้อยในนิยายสามเกลอบางตอน    ท่านเป็นนักเขียนที่ถ่อมตัวอย่างยิ่ง เรียกตัวเองว่าเป็นนักเขียนตลาด เป็นนักเขียน "สำนวน ๑๐ สตางค์"    
    
    "อาชีพอย่างปู่แกอย่าสนใจหรือดำเนินรอยตาม" ป.อินทรปาลิต บอกกับหลานปู่ ปริญญา อินทรปาลิต เมื่อผู้เป็นหลานปรารถอยากเป็นนักเขียนบ้าง "ขอให้ตั้งใจเรียนมากๆ เรียนให้สูงเข้าไว้ ภายภายหน้าจะได้มีโอกาสทำงานสบาย ได้งานดีไม่น้อยหน้าคนอื่น จริงอยู่.. การเขียนหนังสือไม่ใช่ของยาก ใครๆ ก็เขียนได้ หากได้รับการศึกษาพอสมควร แต่การเขียนให้ดีนั้นเป็นเรื่องยาก ทำยังไงผู้อ่านถึงจะยอมรับ ปู่เองไม่ได้วิเศษวิโสมาจากไหน เรื่องของปู่จึงถูกเรียกว่านิยายประโลมโลกย์ หรือนิยายสิบสตางค์ ซึ่งหมายถึงระดับตลาดนั่นเอง อาศัยว่าเขียนมากจนผู้อ่านยอมรับและให้การสนับสนุน จึงมีชื่อเสียงมาจนทุกวันนี้ แต่ปู่ก็คิดเสมอว่า วันใดที่ผลงานของ ป.อินทรปาลิตไม่ได้รับความนิยมแล้ว ปู่จะเปลี่ยนไปทำอาชีพอะไรดี... "

    ดิฉันก็ยังสงสัยมาจนบัดนี้  เพราะเมื่อนับจำนวนผลงาน  รายได้ของป.อินทรปาลิต น่าจะสูงกว่าอีกหลายอาชีพทีเดียว    รวมทั้งอาชีพข้าราชการหรือคนกินเงินเดือนบริษัทด้วย    แม้ว่าท่านขายลิขสิทธิ์ครั้งเดียว คือขายขาดไปกับสนพ.  แต่ป.อินทรปาลิตผลิตงานได้จำนวนมหาศาล ยาวนานติดต่อกันตั้งแต่ก่อนสงครามโลกครั้งที่สองมาจนพ.ศ. 2511   แค่ตัวเลขเงินรายได้ก็น่าจะไม่น้อย มีทั้งชื่อเสียง มีแฟนคลับมหาศาล   จะถือว่าไม่ใช่ "งานดี" ได้อย่างไร
บันทึกการเข้า
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 01 ก.ค. 13, 22:23

เป็นเพราะยุคสมัยนั้น อาชีพนักเขียน โดยเฉพาะนักเขียนนิยายแนวตลาดยังไม่ได้รับการยอมรับจากสังคมที่การแบ่งชั้นยังมากกว่าในปัจจุบันรึเปล่าครับ คุณ ป ที่เขียนนิยายแนวตลาด ไม่ใช่งานวรรณกรรมแบบที่เรียกว่าชั้นสูงเลยไม่ได้รับการยอมรับเท่าไหร่ เหมือนกับที่ดาราในสมัยนั้นยังถูกถือว่าเต้นกินรำกิน ไม่ได้เป็นเซเลบแบบในปัจจุบัน  นอกจากนี้เรื่องลิขสิทธิ์ก็ไม่ได้เป็นค่านิยมของสมัยนั้น เขียนหนังสือเล่มนึงได้ไม่กี่ตังค์ ถ้ามีการพิมพ์ซ้ำคนเขียนก็ไม่ได้ผลประโยชน์แล้ว  ยิ่งการมาซื้อไปทำหนังหรือละครก็ไม่มี  ถ้ามีก็ซื้อในราคาถูกๆ ทำให้คุณ ป ต้องโหมเขียนงานเยอะมาก  งานทุกชิ้นเหมือนขายขาด คือจะได้เงินจากผลงานครั้งเดียวจบ ไม่เหมือนปัจจุบัน


ปัจจุบันดูเหมือนเป็นนักประพันธ์จะมีโอกาสที่ดีขึ้น พอจะหาเลี้ยงชีพได้ ยิ่งถ้าเป็นฝรั่งยิ่งดี โดยเฉพาะเทียบกับ 50-60 ปีก่อน แต่รู้สึกว่านักเขียนหน้าใหม่ที่ยังไส้แห้งก็มีไม่น้อย ผมเคยเขียนบทความลองส่งต่วยตูนยังเงียบหายเลย
บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 01 ก.ค. 13, 22:36

เคยผ่านสายตาว่า คุณป. เคยเป็นเจ้าของค่ายมวย  แต่ยังหาไม่เจอว่าอ่านพบในเว็บไหน   อีกครั้งหนึ่งเป็นผู้อำนวยการหนังสือพิมพ์หรือนิตยสารด้วย   ก็น่าจะมีรายได้ดีเอาการ
นักเขียนหญิงอย่างคุณก.สุรางคณางค์ซึ่งอยู่ในยุคเดียวกัน  เขียนนิยายจำนวนน้อยกว่าคุณป.มาก   ท่านเล่าไว้ในนิยายเชิงอัตชีวประวัติเรื่อง กุหลาบแดง  ว่าแค่เรื่อง หญิงคนชั่ว เรื่องเดียว ท่านก็มีรายได้พอจะเลี้ยงครอบครัวได้ ทำให้ฐานะที่ฝืดเคืองค่อยดีขึ้นกว่าเดิม อยู่ได้สบายตามอัตภาพ

ขอตัดไปอีกเรื่อง
ใครเป็นแฟนสามเกลอคงจำตัวละครชูรส  คนรับใช้ที่ชื่อเจ้าแห้ว โหระพากุล ได้    เจ้าแห้วมีคำขึ้นต้นประโยคติดปากว่า "รับประทาน.." คำนี้เจ้าแห้วไม่ได้ใช้พร่ำเพรื่อ    ถ้ากับเพื่อนคนใช้ด้วยกันหรือชาวบ้านร้านถิ่นที่เจอ  เจ้าแห้วไม่ใช้เลย  จะใช้กับนาย หรือแขกเหรื่อที่มาเยี่ยมบ้านพัชราภรณ์
รับประทานในที่นี้ไม่ได้แปลว่า กิน   แต่ย่อมาจาก "ขอรับประทานโทษ"  ที่เดี๋ยวนี้ย่อลงมาอีกเป็น "ขอโทษครับ" เหมือนอย่างที่พนักงานใช้เวลาจะออกปากพูดเกริ่นอะไรกับลูกค้า  ไม่ได้หมายความถึงการขอโทษขอโพยเพราะทำอะไรผิด
บันทึกการเข้า
samun007
องคต
*****
ตอบ: 446


ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 01 ก.ค. 13, 23:40

เคยผ่านสายตาว่า คุณป. เคยเป็นเจ้าของค่ายมวย  แต่ยังหาไม่เจอว่าอ่านพบในเว็บไหน   อีกครั้งหนึ่งเป็นผู้อำนวยการหนังสือพิมพ์หรือนิตยสารด้วย   ก็น่าจะมีรายได้ดีเอาการ
นักเขียนหญิงอย่างคุณก.สุรางคณางค์ซึ่งอยู่ในยุคเดียวกัน  เขียนนิยายจำนวนน้อยกว่าคุณป.มาก   ท่านเล่าไว้ในนิยายเชิงอัตชีวประวัติเรื่อง กุหลาบแดง  ว่าแค่เรื่อง หญิงคนชั่ว เรื่องเดียว ท่านก็มีรายได้พอจะเลี้ยงครอบครัวได้ ทำให้ฐานะที่ฝืดเคืองค่อยดีขึ้นกว่าเดิม อยู่ได้สบายตามอัตภาพ


เรื่องเจ้าของนิตยสารนี้ ต้องอ่านในสามเกลอตอนไปเที่ยวพระพุทธบาทครับ  คุณ ป. ใส่รายละเอียดลงไปด้วยว่าลงทุนไปประมาณ ๒ หมื่นบาทครับ
บันทึกการเข้า
samun007
องคต
*****
ตอบ: 446


ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 01 ก.ค. 13, 23:42

เคยอ่านตอนที่เจ้าคุณประสิทธิฯถึงแก่กรรมค่ะ ชื่อตอนว่าไม่มีพ่อ เนื้อเรื่องประมาณว่า เจ้าคุณเป็นมะเร็งลำไส้ แล้ว ดร.ดิเรกทำการผ่าตัด แต่ได้แจ้งไว้ก่อนแล้วว่าเปอร์เซ็นต์รอดแค่ 5%
พอผ่าตัดเสร็จ อาการทรุดลง ก็เลยต้องมีการทำพินัยกรรมกะทันหัน ก็เป็นที่ครื้นเครงตอนแจกแจงว่าใครจะได้อะไรค่ะ ตั้งแต่คุณหญิงวาด ไปจนถึงเจ้าแห้วค่ะ

ไม่ใช่เจ้าคุณประสิทธินะครับ แต่เป็นเจ้าคุณวิจิตรฯ บิดาของ นิกร และ นันทา ครับ

หมอดิเรก ไม่ได้แจ้งไว้แต่แรก เพราะต้องการรักษากำลังใจของท่านเจ้าคุณวิจิตร แต่มาแจ้งให้ ท่านเจ้าคุณปัจจานึก ท่านเจ้าคุณประสิทธิ และคุณหญิงวาด ตลอดจนเพื่อน ๆ ทราบอีกที ส่วนบรรดาสี่นางได้รู้ตอนหลังสุดครับ งานนี้มีการโทรเลขไปตาม ลุงเชย กับ เจ้าสัวกิมไช มาอยู่กันพร้อมหน้า ซึ่งแต่ละท่านก็ได้รับมรดกของเจ้าคุณวิจิตรกันไปไม่น้อยครับ เจ้าแห้วก็ได้เงินด้วยเหมือนกัน
บันทึกการเข้า
samun007
องคต
*****
ตอบ: 446


ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 01 ก.ค. 13, 23:46

   
    ดิฉันก็ยังสงสัยมาจนบัดนี้  เพราะเมื่อนับจำนวนผลงาน  รายได้ของป.อินทรปาลิต น่าจะสูงกว่าอีกหลายอาชีพทีเดียว    รวมทั้งอาชีพข้าราชการหรือคนกินเงินเดือนบริษัทด้วย    แม้ว่าท่านขายลิขสิทธิ์ครั้งเดียว คือขายขาดไปกับสนพ.  แต่ป.อินทรปาลิตผลิตงานได้จำนวนมหาศาล ยาวนานติดต่อกันตั้งแต่ก่อนสงครามโลกครั้งที่สองมาจนพ.ศ. 2511   แค่ตัวเลขเงินรายได้ก็น่าจะไม่น้อย มีทั้งชื่อเสียง มีแฟนคลับมหาศาล   จะถือว่าไม่ใช่ "งานดี" ได้อย่างไร

ถ้าอ่านในประวัติส่วนตัวที่คุณ ป. ท่านเขียนไว้ ก็พอน่าจะเข้าใจไม่ยากครับ เนื่องจากท่านมีลูกและภรรยาไม่น้อย ไหนเลยท่านเป็นคนชอบสังสรรตัวยงคนหนึ่งแล้ว (ท่านอ้างว่า เพื่อให้ได้ข้อมูลรายละเอียดในการเขียนสามเกลอ เช่น ถ้าอยากรู้เรื่องไปอาบอบนวด ท่านก็ต้องไปทดลองด้วยตัวเองแบบนี้เป็นต้น) คงจะหมดไปกับค่าสังสรรไม่น้อย นิสัยกินเหล้าเหมือนกินน้ำของกิมหงวนนี่ ก็คงได้มาจากตัวคุณ ป. นี่ล่ะครับ

บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3 4 5
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.083 วินาที กับ 20 คำสั่ง