เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 12146 สอบถามท่านผู้รู้เกี่ยวกับความหมายคำว่า ยักษี ยักษา และ ยักษิณี
นางมารน้อย
พาลี
****
ตอบ: 306


ทำงานแล้วค่ะ


 เมื่อ 20 มิ.ย. 13, 09:54

เมื่อก่อนเคยเข้าใจว่าคำว่ายักษ์เพศหญิง ใช้คำว่า ยักษี และยักษ์เพศชายใช้คำว่า ยักษี เหมือน ทาสา ทาสี ทาสชายทาสหญิง แต่เคยได้ยินมีผู้แย้งว่า คำว่า ยักษา ยักษี ล้วนแต่แปลว่ายักษ์เพศชาย ส่วนยักษ์เพศหญิงใช้ ยักษิณี

เท่าที่ดูในวรรณคดีต่างๆ คำว่ายักษี ใช้กับพระยายักษ์พิเภกก็มี ใช้กับนางยักษ์อดุล นางอากาศตะไลเสื้อเมืองลงกาก็มี เลยสับสนว่าจริงๆแล้วยักษีหมายถึงยักษ์ทั่วๆไปใช่ไหมคะ ไม่ได้แบ่งแยกเพศยักษ์


ขอบคุณค่ะ
บันทึกการเข้า

สวัสดีทุกๆท่านค่ะ
spyrogira
อสุรผัด
*
ตอบ: 36


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 20 มิ.ย. 13, 10:39

บัดนั้น พระยาภิเภกยักษี
เห็นพระองค์ทรงโศกโสกี
อสุรีกราบลงกับบาทา
.. ทูลว่าพระลักษณ์สุริยวงศ์
ยังไม่ปลงชีวังสังขา ..
 ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 20 มิ.ย. 13, 10:39

ภาษาในวรรณคดีเป็นคำยกเว้นค่ะ  เพราะต้องใช้ในคำประพันธ์ที่บังคับด้วยสัมผัส  หรือครุลหุ ทำให้ต้องเปลี่ยนรูปเปลี่ยนความหมายไปในการใช้
ยักษี ในวรรณคดี  แปลว่ายักษ์ เฉยๆ    รอยอินท่านให้คำแปลว่า

"ยักษี   (กลอน) น. ยักษ์. (ส.)."

ความจริงข้อนี้  เป็นทางของซายาเพ็ญชมพู  รอท่านมาตอบดีกว่าค่ะ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 20 มิ.ย. 13, 11:23

เรื่องนี้เกี่ยวกับไวยากรณ์บาลี/สันสกฤต เรื่อง ลิงค์  

ลิงค์คืออะไร ท่านรอยอินให้ความหมายไว้ดังนี้

ลิงค์ น. เครื่องหมายเพศ; ประเภทคําในไวยากรณ์ที่บอกให้รู้ว่าคํานั้นเป็นเพศอะไร เช่น ปุงลิงค์ คือ เพศชาย อิตถีลิงค์ คือ เพศหญิง; ลึงค์ ก็ว่า. (ป., ส.).

(ดังนั้นหากจะทับศัพท์คำว่า link แล้วไซร้ ใช้ "ลิงก์" จะปลอดภัยกว่า "ลิงค์"  ยิงฟันยิ้ม)

ความจริง ลิงค์ ไม่มีใช่มีแค่สอง ตามหลักไวยากรณ์ ลิงค์ที่สามเรียกว่า นปุํสกลิงค์   คือ ไม่ใช่เพศชาย ไม่ใช่เพศหญิง

ยักษ์ บาลีว่า ยกฺข สันสกฤตว่า ยกฺษ เป็น ปุงลิงค์    ในภาคของอิตถีลิงค์ บาลีใช้ว่า ยกฺขินี สันสกฤตใช้ว่า ยกฺษิณี

ส่วน ยักษา และ ยักษี เป็นคำที่กวีใช้ในคำประพันธ์เพื่อการคล้องจอง อย่างที่คุณเทาชมพูว่า




บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 20 มิ.ย. 13, 11:52

ยักษิณี นางกากะนาสูร


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 20 มิ.ย. 13, 11:54

ผีเสื้อสมุทร


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 20 มิ.ย. 13, 12:01

ยักษิณีผีเสื้อก็เหลืออด                      ช่างตอหลดตอแหลพวกแกนี่
เดี๋ยวทางโน้นวนเวียนเปลี่ยนทางนี้         มาแกล้งชี้ไปทั่วไม่กลัวกู
แล้วนางยักษ์หักคอและฉีกแขน            ไม่หายแค้นเคี้ยวกินสิ้นทั้งคู่
แล้วกลับตามข้ามทางท้องสินธู             ออกว่ายวู่แหวกน้ำด้วยกำลัง



บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 20 มิ.ย. 13, 12:24

ตรงนี้ก็คงหมายถึงยักษิณี เช่นเดียวกัน "นางขิณีผีตุ๊ยตุ่ย"


บันทึกการเข้า
นางมารน้อย
พาลี
****
ตอบ: 306


ทำงานแล้วค่ะ


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 20 มิ.ย. 13, 16:31

ขอบคุณสำหรับคำตอบของอาจารณ์ทุกท่านค่ะ
บันทึกการเข้า

สวัสดีทุกๆท่านค่ะ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.076 วินาที กับ 19 คำสั่ง