NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 60 เมื่อ 26 มิ.ย. 13, 20:34
|
|
มาให้มุมมองนี้ครับ อ. Navarat.c เข้าข้างบน แล้วลงเรือต่อหรือเปล่าครับ ห้างใต้ดินอยู่คนละฟากถนนกับสวรรค์ชั้นอเวจีลอยน้ำ ดูในรูปที่คุณเอามาลง เห็นเรือลำเล็กๆที่จอดเทียบท่าแล้ว น่าจะใช่อย่างว่า
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 61 เมื่อ 26 มิ.ย. 13, 20:38
|
|
ดิฉันเคยไปกินหอยทอดกับขนมผักกาดตอนเด็กๆ ใกล้ๆกันแถวนั้น เป็นร้านโชห่วยชื่อประภัสสรสโตร์ อากู๋ไพบูลย์ ดำรงชัยธรรม เกิดที่นั่นโตที่นั่น
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 62 เมื่อ 26 มิ.ย. 13, 20:50
|
|
เพิ่งดูออกว่าตรงลูกศรสีเหลืองชี้ คือห้างใต้ดิน ส่วนแหล่งทัศนาจรอื่น ไม่ติดใจสงสัยค่ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 63 เมื่อ 26 มิ.ย. 13, 22:42
|
|
ขอย้อนศรกลับที่เรื่องสามเกลอ ตามที่คุณ samun007 เริ่มต้นเอาไว้ ในสามเกลอ ตอนต้นๆ ชื่อ หวงลูกสาว ป.อินทรปาลิตแนะนำตัวละครสำคัญอีกตัวหนึ่ง ดังนี้
"สุภาพบุรุษสูงอายุคนหนึ่งนุ่งผ้าม่วงสีน้ำเงินสวมเสื้อนอกแพรฝรั่งเศส ลักษณะท่าทางบอกว่าเป็นขุนนางวางน้ำยา สวมแว่นตาคนแก่ ศีรษะหาผมทำยายาก ยืนมองดูชายหนุ่มด้วยสายตาขุ่นๆ
ท่านผู้นี้คือนายพลโทพระยาปัจจนึกพินาศ นายทหารนอกราชการสังกัดกระทรวงกลาโหม เราถือโอกาสนี้แนะนำท่านผู้อ่านทั้งหลาย ให้รู้จักท่านเจ้าคุณผู้แพ้ผมไว้ด้วย
ท่านเจ้าคุณเป็นคหบดีผู้มั่งคั่งในย่านถนนรองเมือง ท่านมีทรัพย์มากมายก่ายกอง อันสืบเนื่องมาแต่ครั้งบรรพบุรุษของท่าน ซึ่งใช้ในชั่วอายุลูกหลานก็ไม่หมด เดี๋ยวนี้เจ้าคุณปัจจนึกฯ ไม่ได้ทำงานอะไรหารายได้เพิ่มเติม เพียงแต่เงินบำนาญของท่านเดือนละ 800 บาท ก็พอใช้แล้ว"
ท่านนวรัตนและคุณหนุ่มสยาม พอจะมีภาพถนนรองเมืองในอดีตมาให้ชมกันบ้างไหมคะ เผื่อจะนึกออกว่าบ้านเจ้าคุณปัจจนึกอยู่ตรงไหน หน้าตาบ้านของคหบดีสมัยก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นยังไง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 64 เมื่อ 26 มิ.ย. 13, 22:44
|
|
"สุภาพบุรุษสูงอายุคนหนึ่งนุ่งผ้าม่วงสีน้ำเงินสวมเสื้อนอกแพรฝรั่งเศส" สงสัยมานานแล้วว่า เสื้อนอกแพรฝรั่งเศส ไม่ได้หมายถึงเสื้อราชปะแตน แต่เป็นเสื้อนอกแบบฝรั่ง นุ่งกับผ้าม่วงโจงกระเบน อย่างภาพพระยาพิพัฒนธนาการ (ฉิม โปษยานนท์)สวมเสื้อนอกกับผ้าม่วง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 65 เมื่อ 26 มิ.ย. 13, 23:19
|
|
ท่านนวรัตนและคุณหนุ่มสยาม พอจะมีภาพถนนรองเมืองในอดีตมาให้ชมกันบ้างไหมคะ เผื่อจะนึกออกว่าบ้านเจ้าคุณปัจจนึกอยู่ตรงไหน หน้าตาบ้านของคหบดีสมัยก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นยังไง มีครับ แต่ไม่ยักมีบ้านเจ้าคุณปัจจนึกแฮะ ไม่ทราบว่าท่านป.อินทปาลิตเอาไปซ่อนไว้ที่ไหน บ้านบรรดาคหบดี น่าจะอยู่ลึกเข้าไปอีกทางหัวลำโพง ภาพนี้ครอบคลุมไม่ถึงครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 66 เมื่อ 27 มิ.ย. 13, 08:00
|
|
ไปหารูปบ้านเก่าๆให้กระทู้ข้างๆเขา เลยเห็นภาพนี้เข้า เป็นภาพบ้าน"นานา"อยู่แถวสุขุมวิทตอนต้น สร้างประมาณ๒๔๗๕ พอจะสร้างภาพพจน์ว่าเป็นบ้านเจ้าคุณปัจนึกสมัยก่อนที่จะย้ายมาอยู่รวมกันที่บ้านพัชราภรณ์ได้ไหมครับ ?
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 67 เมื่อ 27 มิ.ย. 13, 08:15
|
|
^ ได้เลยค่ะ ขอบคุณ นึกภาพออกว่า เศรษฐียุคก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 อย่างเจ้าคุณปัจจนึก ต้องอยู่ตึกฝรั่งโอ่อ่าแบบนี้ ไม่ใช่เรือนหมู่ไทย เห็นรถจอดอยู่หน้าบ้านด้วย น่าจะเป็นมอริสของอังกฤษ บ้านพัชราภรณ์ก็น่าจะเป็นตึกใหญ่มโหฬาร เพราะอยู่กันกว่าสิบคนบนตึก ยังไม่แออัด สี่สหายกับภรรยาก็ ๘ คนเข้าไปแล้ว มีเจ้าคุณอีก ๒ คุณหญิงวาดอีก ๑ ต่อมายังมีลูกๆของสี่สหายอีก รวมแล้ว ๑๕ คน เฉพาะห้องนอนคงจะเป็นสิบห้อง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 68 เมื่อ 27 มิ.ย. 13, 08:26
|
|
ตอนเมื่อเป็นเด็ก อ่านหนังสือแตกก็เพราะพลนิกรกิมหงวนนี่แหละ ติดงอมแงมเหมือนสาวๆสมัยนี้เขาติดนวนิยายของแก้วเก้ากัน
อ่านแล้วก็จินตนาการเรื่อยเปื่อยไปว่าบ้านพัชราภรณ์นี่เป็นอย่างไรหนอ ผมติดใจอยู่หลังหนึ่งครับ อยู่ตรงถนนวิทยุตรงปากซอยร่วมฤดี(เขตอิทธิพลของหัวหน้าแก๊งช้อนปลากัด) ด้านหน้าที่หันออกถนนใหญ่มีเสาหินอ่อนจากอิตาลีต้นหนึ่งค้ำหลังคาอยู่ เจ้าของเป็นมหาเศรษฐีใหญ่ชื่อเจ้าสัววูตุงปัก นั่งรถผ่านไปทีไรก็เห็นว่าสมกับจะเป็นบ้านที่สี่สหายและครอบครัวอยู่กัน แต่วันหนึ่งลงไปเดินด้อมๆมองๆข้างรั้วแล้วก็คิดว่าไม่น่าจะใหญ่พอ บ้านพัชราภรณ์อยู่กันเข้าไปตั้งกี่คู่ละนั่น นายก็๑๕คนเข้าไปแล้วหรือครับ ยังไม่ได้นับเจ้าแห้ว แถมยังต้องมีห้องแลปของดร.ดิเรกอีก วันดีคืนดีแกก็สร้างจรวดขึ้นมานั่งเล่นไปโน่นไปนี่กันทั้งคณะ ฉะนั้น บ้านที่พอจะรองรับสี่สหายได้น่าจะใหญ่โตพอๆกับวัง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 69 เมื่อ 27 มิ.ย. 13, 08:27
|
|
บ้านพัชราภรณ์น่าจะใหญ่ประมาณนี้
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 70 เมื่อ 27 มิ.ย. 13, 08:37
|
|
บ้านเจ้าสัวที่ท่านนวรัตนเอารูปมาลง ดิฉันเห็นตั้งแต่เด็ก เพราะไปโรงเรียน เข้าออกเช้าเย็นก็เห็นประจำ เคยตั้งชื่อให้ว่า "ปราสาทอลาดิน" เพราะมันเหมือนปราสาทในหนังสือภาพสำหรับเด็ก เรื่องอลาดินกับตะเกียงวิเศษไม่มีผิด เจ้าของอยู่ในตระกูลล่ำซำ
คำว่าล่ำซำ หนุ่มๆสาวๆ ยุคนี้ รุ่นคุณหนุ่มสยามและคุณชายประกอบเทพอาจไม่รู้จัก ครั้งหนึ่งเคยเป็นสำนวนไทยเชื้อจีน มีความหมายว่าร่ำรวย อย่างเช่น เจ้าของบ้านนี้เห็นอยู่บ้านเล็กๆยังงี้เถอะ แกล่ำซำไม่แพ้ใคร
ตอนนี้บ้านตะเกียงวิเศษหลังนี้ตกทอดมาถึงทายาท ซึ่งเป็นหลาน น่าชมเชยที่เธอยังรักษาสภาพบ้านไว้ได้อย่างดี บ้านยังปักหลักอยู่ที่เดิม ขณะที่รอบๆกลายเป็นอาคารพาณิชย์และศูนย์การค้าไปหมดแล้ว
พูดแล้วคิดถึงหัวหน้าแก๊งค์ปลากัดแอนด์เดอะแก๊งค์ หายไปช้อนปลากัดที่ไหนกันหมดแล้วก็ไม่รู้นะคะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 71 เมื่อ 27 มิ.ย. 13, 08:44
|
|
บ้านพัชราภรณ์หลังที่เสี่ยกิมหงวนปลูกให้ทุกคนมาอยู่รวมกัน แถวซอยพร้อมพงศ์ คงจะโอ่อ่าไม่แพ้บ้านเศรษฐีสยามคุณพระสรรพการหิรัญกิจ ในนิยายบรรยายว่าเนื้อที่บ้านกว้างถึง ๑๕ ไร่
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 72 เมื่อ 27 มิ.ย. 13, 09:38
|
|
ได้ข้อสังเกตว่า ถนนสายหลักใหญ่ๆที่ป.อินทรปาลิตใช้เป็นที่อยู่ของตัวละครเอกในเรื่อง อย่างถนนรองเมือง ถนนเพชรบุรีและบางกะปิ(สุขุมวิท) ล้วนเป็นชานเมืองของกรุงเทพในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ ๒ เมื่อกรุงเทพขยายตัวจากตะวันตกไปทางตะวันออก ในสมัยรัชกาลที่ ๕ และรัชกาลที่ ๖ ที่อยู่ของขุนนางคหบดีรวมกันอยู่ในตัวเมืองเก่า คือใกล้ๆกับแม่น้ำเจ้าพระยา เช่นแถวสามเสน บางลำพู ถนนพระอาทิตย์ หลังเปลี่ยนแปลงการปกครองมาจนถึงก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งเป็นยุคของสามเกลอวัยหนุ่ม เมืองขยายออกไปมากแล้ว ที่ดินในตัวเมืองเก่าเริ่มแออัด ส่วนที่ดินชานเมืองยังมีให้ไปซื้อได้กว้างขวางมากกว่า บ้านของคหบดีในยุคนี้จึงไปปลูกใหม่กันทางด้านนี้ คนรวยเริ่มออกไปอยู่แถวสาทร สีลม ปทุมวัน เพชรบุรี และเรื่อยไปถึงสุขุมวิทตอนต้น
ตัวละครของป.อินทรปาลิต ซึ่งเป็นคนรวยในยุคนี้ ก็ไปอยู่อย่างสมฐานะทางด้านเขตใหม่ของกรุงเทพ ไม่มีใครอยู่ในเขตเมืองเก่าใกล้แม่น้ำเจ้าพระยาอีก
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 73 เมื่อ 27 มิ.ย. 13, 11:08
|
|
ไม่เกี่ยวกับเรื่องสามเกลอเท่าไหร่
เพียงแต่อยากจะเล่าให้ฟังว่า เคยฟังอาจารย์ท่านหนึ่งแสดงความเห็นว่า เมืองส่วนใหญ่ในโลกนี้ขยายตัวไปทางทิศตะวันออก ไม่รู้ว่าจะด้วยอิทธิพลธรรมชาติอะไรหรือเปล่า แต่กรุงเทพนี่ชัดมาก จนกระทั่งผังเมืองต้องออกแนว green belt แถบร่มเกล้ามีนบุรี ห้ามสร้างนั่นโน่นนี่กันการขยายตัวเอาไว้
อย่าเพิ่งเชื่อนะครับ แค่ฟังหูไว้หูก็แล้วกัน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 74 เมื่อ 27 มิ.ย. 13, 11:24
|
|
ตอบอย่างกำปั้นทุบดินว่า เมืองใหญ่มักอยู่ริมแม่น้ำทั้งสองฟากฝั่ง ถ้าแม่น้ำไหลจากเหนือลงใต้ ก็มี 50/50 ที่การขยายเมืองจะขยายไปทางตะวันออก อีก 50 ขยายไปทางตะวันตก ทุบแล้วชักเจ็บมือ หยุดแค่นี้ละค่ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|