เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 48 49 [50] 51 52 ... 85
  พิมพ์  
อ่าน: 130733 sLOVEnia Croatia Album
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 735  เมื่อ 22 พ.ย. 13, 09:42

            แซฟแทตฟื้นขึ้นใหม่ในยุคกลางได้ไม่นานก็ตกอยู่ภายใต้อำนาจของสาธารณรัฐแรกูซา
            ชื่อเมืองเป็นภาษาโครเอเชียที่แปลงมาจากภาษาละติน  Civitas Vetus
ซึ่งแปลว่าเมืองเก่า บ่งบอกถึงต้นกำเนิดและสายสัมพันธ์กับดูบรอฟนิค  

             และ บ่ายวันนี้การเดินทางสู่ดูบรอฟนิคจะย้อนรอยอดีตกาลโดยทางเรือตั้งต้น
จากท่าเรือในแซฟแทต        


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 736  เมื่อ 22 พ.ย. 13, 09:54

            ทำเลที่ตั้งของแซฟแทตอยู่บนพื้นที่ลาดของคาบสมุทร Rat และ Sustjepan
พื้นที่ลึกเข้าไปเป็นหุบเขาโคนาวอด - Konavle ที่อุดมสมบูรณ์และเป็นแหล่งน้ำจืดของ
แซฟแทตที่ในสมัยโรมันได้มีการสร้างท่อส่งน้ำ (aqueduct) ไว้เช่นกัน

ภาพจากเน็ท  


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 737  เมื่อ 22 พ.ย. 13, 10:00

            ตลอดช่วงศตวรรษที่แล้ว แซฟแทตคือจุดหมายเพื่อการพักผ่อนตากอากาศของ
เศรษฐีโครเอเชียที่ได้มาสร้างคฤหาสน์ไว้ที่นี่ ทั้งยังเป็นแหล่งศิลป์ที่เหล่าศิลปินเดินทางมา
พำนักและสร้างสรรค์ผลงาน    
              ปัจจุบันแซฟแทตเป็นเขตเทศบาลเล็กๆ อยู่ชายฝั่งทะเลใต้สุดของโครเอเชีย

ภาพจากเน็ท


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 738  เมื่อ 22 พ.ย. 13, 10:05

          ที่ท่าเรือ รอขึ้นเรือ(ลำขวามือ)ที่จะพาล่องขึ้นไปดูบรอฟนิค


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 739  เมื่อ 28 พ.ย. 13, 09:07

เรือแล่นออกจากท่า           


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 740  เมื่อ 28 พ.ย. 13, 09:09

          ผ่านพ้นปลายคาบด้านซ้ายมือ แลเห็นเกาะในทะเลเอดริแอติค


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 741  เมื่อ 28 พ.ย. 13, 09:10

        ทางขวามือคือชายฝั่งเชิงเขา หาดทรายเป็นสิ่งหายาก


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 742  เมื่อ 28 พ.ย. 13, 09:15

           ระหว่างการล่องเรือเข้าฝั่ง ขอเปิดหน้าประวัติศาสตร์ย้อนรอยอดีตกาล
ผ่านการเกิด เจริญรุ่งเรือง เสื่อมลง และสงครามในดูบรอฟนิค

            ตำนานสร้างเมืองเล่าว่า เริ่มจากการเป็นเกาะที่พักพิงสำหรับชาวเมืองใกล้เคียง
ในช่วงศตวรรษที่ 7 แต่จากหลักฐานทางโบราณคดีที่ค้นพบโบราณวัตถุกรีกเป็นจำนวนมาก
ที่ท่าเรือ, โบสถ์เก่าแก่และหลักฐานบางส่วนจากกำแพงเมืองกับถนนสายหลักบ่งชี้ว่า
การก่อร่างสร้างเมืองที่นี่มีมาแต่ศตวรรษที่ 6 หรือก่อนหน้านั้นที่บางข้อมูลอ้างว่ามีมาก่อน
สากลศักราช (Commom Era - CE)
           นักวิชาการบางท่านได้ตั้งทฤษฎีว่า ดูบรอฟนิคถือกำเนิดจากนักเดินเรือชาวกรีก
โดยคำนวณความเร็วของเรือที่แล่นกับระยะทางที่ต้องจอดพักค้างคืนบนที่ๆ มีน้ำจืดให้ใช้
แล้วตกที่ตำแหน่งของดูบรอฟนิคซึ่งอยู่ตรงกลางระหว่างถิ่นฐานที่กรีกมาตั้งรกรากในแถบนี้พอดี

ทิวเกาะ Bobara ทางด้านซ้าย


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 743  เมื่อ 28 พ.ย. 13, 09:24

ส่วนประวัติของดูบรอฟนิคที่กล่าวถึงโดยทั่วกันนั้นเขียนว่า

         เริ่มก่อร่างสร้างบ้านเมืองราว 1300 ปีก่อนบนเกาะโดยผู้อพยพมาจาก Epidaurus ของกรีซ
(หรือ Epidaurum ซึ่งปัจจุบันคือ Cavtat ดังที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้น) และตั้งชื่อถิ่นฐานบ้านเมือง
ว่า Laus ในภาษาละตินแปลว่า หิน  (Lausa - rock) ที่ต่อมาเปลี่ยนเป็น Ragusa - Rausa
        ในขณะที่บนฝั่งตรงเชิงเขา  Srd Mountain (ออกเสียงว่า surge) พวกสลาฟก็มาตั้งถิ่นฐาน
และเรียกบ้านเมืองว่า Dubrovnik จากภาษาโครเอเชีย Dubrava แปลว่า oak woods ที่ขึ้นอยู่
รอบบริเวณนั้น

          ชื่อละตินว่า Ragusa นี้ใช้เรียกขานบ้านเมืองต่อเนื่องในยุคกลางจนถึงศตวรรษที่ 15 จึงใช้
ชื่อปัจจุบันโดยรับ(ข้ามช่องแคบ)มาจากฝั่งตรงข้ามที่เชิงเขา Srd ทั้งนี้มีบันทึกชื่อดูบรอฟนิคปรากฏ
ครั้งแรกในเอกสารจากบอสเนียเมื่อปี 1189 และใช้ชื่อดูบรอฟนิคอย่างเป็นทางการภายหลังจาก
การล่มสลายของจักรวรรดิ ออสโตร-ฮังการี

ภาพจากเน็ท - Srd Mountain ถ่ายจากเกาะใกล้ดูบรอฟนิค (Lokrum)    


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 744  เมื่อ 28 พ.ย. 13, 09:39

          หลังก่อร่างสร้างเมืองแล้ว และหลังจากการล่มลงของอาณาจักรของพวก Ostrogoth
ที่ครอบครอง Italy แล้วเลยมาถึงดินแดนแถบนี้ช่วงปี 493 ถึง 553 (พวกนี้เป็นหนึ่งในสองสาขา
ของพวก Goths ที่เป็นGermanic people ตะวันออก) จักรวรรดิไบซันทีนก็แผ่อำนาจมาถึง
ดูบรอฟนิคได้เข้าอยู่ใต้อารักขาของจักรวรรดิไบซันทีนที่ได้ออกแรงช่วยเหลือในสงครามกับมุสลิม
Saracens (886- 887), Bulgaro - Macedonians (988) และ Serbs (1184)

         ในศตวรรษที่ 10 และ ปลายศตวรรษ 11 ช่องแคบระหว่างเกาะและแผ่นดินใหญ่ได้ถูกถมลง
รวมเป็นผืนแผ่นดินเดียวกัน(ปัจจุบันคือถนน Placa หรือ Stradun ในเขตเมืองเก่า) จากนั้นในศตวรรษ
ที่ 12 ประชากรสายละตินบนเกาะและโครแอทบนฝั่งก็ได้อาศัยอยู่ร่วมกันอย่างผสมกลมกลืนจนเป็น
โครแอทไปในที่สุดเมื่อศตวรรษที่ 14
         หลังจากที่ชาวเกาะและชาวบกรวมกันในศตวรรษที่ 11 ได้ไม่นานนักชาวเมืองก็ได้สร้างกำแพง
เพื่อปกป้องการรุกรานจากนานาศัตรู ได้แก่ อาหรับ, เวนิส, มาซีโดเนีย, เซิร์บ เป็นต้น จนทั้งเมืองถูก
โอบด้วยกำแพงในศตวรรษที่ 13       


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 745  เมื่อ 28 พ.ย. 13, 09:44

          จากศตวรรษที่ 12 ดูบรอฟนิคได้ก้าวขึ้นเป็นหนึ่งในเมืองสำคัญทรงอำนาจในย่าน
เมดิเตอเรเนียน
           ต่อมาในช่วงหลังสงครามครูเสดครั้งที่สี่ระหว่างปี 1205 - 1358 นักรบที่กลับจาก
สงครามได้ใช้หนี้ค่าเดินทางให้กับเวนิสโดยการบุกยึดครองแดลเมเชียรวมทั้งดูบรอฟนิคด้วย
           ดูบรอฟนิคตกเป็นของเวนิสนานถึง 150 ปี ในช่วงปี  1205 จนถึง 1358 (ระหว่างนี้
ในปี 1296 ได้เกิดอัคคีภัยเผาไหม้เมืองเกือบทั้งหมดจนต้องสร้างบ้านแปลงเมืองขึ้นใหม่)
ดูบรอฟนิคจึงหลุดพ้นจากเวนิส เป็นสาธารณรัฐอิสระที่เป็นคู่แข่งทางการค้าทางทะเลกับเวนิส
มีกองเรือค้าขายไปไกลถึง Egypt, Syria, Sicily, Spain, France และ Turkey    

          หลังสนธิสัญญาสันติภาพที่ซาดาร์ในปี 1358 ดูบรอฟนิคก็ผลัดร่มเงาเข้าสู่ใต้อำนาจ
ของราชอาณาจักร ฮังการี-โครเอเชีย โดยได้รับสิทธิในการปกครองตนเองแต่ต้องส่งบรรณาการ
ถวายแด่กษัตริย์และส่งกองทัพช่วยรบ  
          ศตวรรษต่อมาดูบรอฟนิคได้ปกครองตนเองเป็น Independent Republic of Ragusa

ภาพ Medieval Dubrovnik


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 746  เมื่อ 28 พ.ย. 13, 09:51

         ดูบรอฟนิคได้เป็นพันธมิตรกับ Ancona (เมืองท่าชายฝั่งเอดริแอติคอยู่ตอนกลาง
ของอิตาลี) ซึ่งเป็นคู่แข่งกับเวนิสอยู่นานหลายศตวรรษ ทั้งสองร่วมกันดำเนินการค้าผ่าน
เส้นทางเลือกสายต่างจากของเวนิส
          ช่วงเวลาศตวรรษที่ 15 และ 16 นี้เองที่ดูบรอฟนิคเจริญรุ่งเรืองถึงจุดสูงสุดในฐานะ
ซึ่งเป็น Dubrovnik Republic อย่างสมบูรณ์ในศตวรรษที่ 16 ดูบรอฟนิคมีเจ้าเมืองที่
เลือกตั้งกันเอง, มีการตรากฎหมาย, แต่งตั้งกงสุลต่างแดน ตลอดจนมีระบบเงินตราและธงเมือง
          ภายใต้แรงกดดันจากการแผ่ขยายอำนาจของเตอร์คในปี 1526 รัฐเล็กๆ ที่ไม่มีกองทัพ
อย่างดูบรอฟนิคต้องอาศัยกโลบายเพื่อรักษาตัวรอด โดยจำยอมอยู่ใต้ความคุ้มครองและส่ง
บรรณาการถวายสุลต่านเตอร์คซึ่งมีผลตอบแทนกลับคืนเป็นสิทธิในการค้าขายเสรีในจักรวรรดิ
ของเตอร์คโดยต้องเสียภาษีสินค้าในอัตราเพียง 2 %
         ช่วงยุคทองสองศตวรรษที่ 15 และ 16 ดูบรอฟนิคเป็นฐานการกระจายแร่เงินและตะกั่ว
จากเหมืองในบอสเนียและเซอร์เบียสู่ยุโรป โดยดูบรอฟนิคใช้สินค้าสำคัญของเมืองคือเกลือ
(ที่ได้ผ่านตาไปแล้วระหว่างทางที่สตอน) สำหรับซื้อขายแลกเปลี่ยนกับแร่ทั้งสองนี้           


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 747  เมื่อ 28 พ.ย. 13, 09:57

         ตอนกลางศตวรรษที่ 16 ดูบรอฟนิคมีเรือสินค้าขนาดใหญ่ 180 ลำล่องไปไกล
ใน Mediterranean, Black Sea, England North sea จนถึง India และ America
มีกงสุลใน 80 เมือง ในช่วงเวลาที่รุ่งเรืองถึงขีดสุดกองเรืออันเกรียงไกรของดูบรอฟนิคนั้น
ขึ้นชั้นเทียบได้กับเวนิส
 
          แต่ในศตวรรษถัดมาเมื่อเกิดเหตุแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ในปี 1667 ส่งผลให้อาคารบ้านเรือน
พังทลายลงราบแทบทั้งเมือง ประกอบกับวิกฤตทางเดินเรือในแถบเมดิเตอเรเนียน จากการเปิด
เส้นทางการค้าสายใหม่ไปแถบตะวันออกและการค้นพบทวีปอเมริกา ดูบรอฟนิคที่รุ่งเรืองสูงสุด
ก็ต้องพบกับความตกต่ำในที่สุด 
         ฝ่ายบริหารปกครองได้พยายามอย่างเต็มความสามารถที่จะฟื้นฟูบ้านเมืองแต่ก็ไม่อาจหวน
คืนอดีตอันรุ่งโรจน์

         จากวิกฤตการเดินเรือในทะเลเมดิเตอเรเนียนและแผ่นดินไหวครั้งร้ายแรงในปี 1667
(ที่จะถูกกล่าวถึงต่อๆ ไปอีกหลายๆ ครั้ง) ดูบรอฟนิคก็เริ่มเข้าสู่ยุคเสื่อม ในปี 1699 ดูบรอฟนิคขาย
ดินแดนบางส่วนให้กับออตโตมาน(ที่ปัจจุบันนี้คือ เนม ของบอสเนียซึ่งได้ผ่านตาไปแล้ว) เพื่อเป็นกันชน
การคุกคามของเวนิส

Dubrovnik Earthquake 1667


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 748  เมื่อ 28 พ.ย. 13, 10:10

         ถึงปี 1806 นโปเลียนบุกอิตาลีแล้วเลยมาถึงที่นี่ ดูบรอฟนิคยอมเปิดเมืองให้ทัพ
ของนโปเลียนเข้าเมืองเพื่อจะได้ช่วยเหลือให้หลุดพ้นจากการถูกปิดล้อมด้วยกองทัพเรือ
ของรัสเซีย-มอนเตเนโกรมานานแรมเดือน จากนี้ดูบรอฟนิคก็กลายเป็นดินแดนในการปกครอง
ของอาณาจักรอิตาลีแห่งนโปเลียน
           ต่อมาในปี 1814 - 1815 ก็ถึงคราวตกมาอยู่ใต้จักรวรรดิแฮบสบวร์ก ซึ่งเข้ามาจัดการ
ปฏิรูประบบบริหารและการเมือง ในขณะเดียวกันก็ได้เกิดการเคลื่อนไหวในเรื่องเชื้อชาตินิยมขึ้นในเมือง
           แต่ความพยายามในการฟื้นคืนระบบสาธารณรัฐล้มเหลว จักรวรรดิออสเตรียใช้วิธีปกครอง
โดยการแบ่งแยก และให้มีการเลือกตั้งนายกเทศมนตรี Mayor

Dubrovnik 1870


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 749  เมื่อ 28 พ.ย. 13, 10:13

             ถึงปี 1918 หลังจากจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีล่มสลาย ดูบรอฟนิคก็กลายเป็น
ส่วนหนึ่งของอาณาจักรยูโกสลาเวียซึ่งมี Serbs, Croats และ Slovenes
            ในปี 1929 อาณาจักรยูโกสลาเวียแบ่งออกเป็น 8 เขตโดยมีดูบรอฟนิคเป็นหนึ่ง
ในแปดเขตนั้น     
              ช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ดูบรอฟนิคกลายเป็นส่วนหนึ่งของโครเอเชียซึ่งเป็นรัฐหุ่นเชิด
ของนาซีที่เริ่มจากกองทัพอิตาลีช่วงปี 1941 - 1943 แล้วตามมาด้วยเยอรมันในปี 1943 
            เมื่อกองกำลังกู้ชาติของนายพลตีโต้มาถึง และได้ทำการปลดปล่อยดูบรอฟนิคจากเยอรมัน
ในเดือนตุลาคม 1944 ดูบรอฟนิคก็เป็นส่วนหนึ่งของคอมมิวนิสต์ยูโกสลาเวีย Federative People's
Republic of Yugoslavia ที่ได้เปลี่ยนเป็น Socialist Federal Republic of Yugoslavia ใน
ปี 1963 ประกอบด้วย 6 สาธารณรัฐซึ่งต่อมาแต่ละสาธารณรัฐได้แยกตัวเป็นอิสระโดยดูบรอฟนิค
อยู่กับ Republic of Croatia 
           ประชาชนคนชั้นนำชาวโครแอทหลายคนถูกประหารในช่วงที่คอมมิวนสต์ครองเมือง 

Dubrovnik 1940


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 48 49 [50] 51 52 ... 85
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.04 วินาที กับ 19 คำสั่ง