เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 3 [4]
  พิมพ์  
อ่าน: 14711 รบกวนสอบถามเกี่ยวกับผู้นำเชียร์ (ลีด) ของทางฝั่งจุฬาฯ ครับ
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 45  เมื่อ 09 พ.ย. 15, 13:29

ฝั่งท่าพระจันทร์ก็เคยไปอยู่ เพื่อหัดร้องเพลงเชียร์ของธรรมศาสตร์ จำเพลงนี้ได้ "เรานักศึกษาธรรมศาสตร์ประกาศชื่อก้อง โห่ร้องอวยชัย....."

เรื่องที่คุณ "ลานตราชูท่าพระจันทร์" ปุจฉา ขอเชิญคุณ "หาญปิง" ศิษย์เก่าท่าพระจันทร์และศิษย์เก่าท่านอื่นมาวิสัชนา  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
ลานตราชูท่าพระจันทร์
อสุรผัด
*
ตอบ: 3


ความคิดเห็นที่ 46  เมื่อ 09 พ.ย. 15, 16:47

กราบขอบพระคุณอาจารย์เทาชมพู และคุณเพ็ญชมพูที่ให้ความกรุณาตอบสมาชิกใหม่อย่างผมด้วยนะครับ จากคำตอบของอาจารย์เทาชมพูได้ความกระจ่างมาในเบื้องแรกแล้วว่าแต่เดิมชาวท่าพระจันทร์มีผู้อัญเชิญพระธรรมจักร มาช่วงหลังๆมานี้กลับเป็นตัวแทนจากทุกคณะร่วมกันแบกพระธรรมจักรโดยไม่มีผู้อัญเชิญแทน จะมีครั้งพระองค์ภาฯดังที่ได้กล่าวไปแล้ว ในครั้งนั้นก็เป็นความปลาบปลื้มอย่างมากแก่ชาวธรรมศาสตร์เป็นอันมากครับ แต่เรื่องแสตนด์ขออนุญาตนำคำของท่านสมัคร สุนทรเวช อดีตศิษย์เก่า ว่าฝังธรรมศาสตร์นี่ "ปากจัดมาก" ถ้อยคำที่จิกกัดแซวกันบนแสตนด์จากฝั่งท่าพระจันทร์น่าจะเผ็ดร้อนกว่ามาก จนมาครั้งหลัง ๆ ที่จุฬาฯได้ประธานเชียร์ที่แสบสันต์ไม่แพ้กัน ฝั่งจุฬาฯก็แปรอักษรโต้ตอบได้ทันทีควันทั้งยังแสบๆคันๆกว่าเสียอีก โดยส่วนตัวผมชอบนะแซวกันขำๆ หนักนิดเบาหน่อยซึ่งหารูปแบบในการแข่งขันอย่างอื่นในไทยคงมีน้อยครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 47  เมื่อ 09 พ.ย. 15, 17:03

http://www.manager.co.th/Campus/ViewNews.aspx?NewsID=9560000144844

ส่วนจะเป็นหนุ่มสาวนักศึกษาลูกแม่โดมคนไหนนั้น Life On Campus อยากให้ทุกคนมาอ่านประวัติและที่มาของตำแหน่งทูตกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์กันก่อนดีกว่า  ... ในอดีตผู้ที่ทำหน้าที่เป็นผู้นำในขบวนอัญเชิญธรรมจักร ถ้วยพระราชทาน ป้ายนามมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง และดรัมเมเยอร์ ได้มาจากการคัดเลือกเช่นเดียวกับการอัญเชิญพระเกี้ยวของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จนกระทั่งหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาในปี พ.ศ. 2516ประเพณีการคัดเลือกก็ได้งดไป เนื่องจากถูกมองว่าเป็นความฟุ่มเฟือยและเกิดเป็นที่มาของคำขวัญว่า"ธรรมจักรเป็นของชาวธรรมศาสตร์ทุกคน ทุกคนจึงมีสิทธิในการอัญเชิญได้" จึงคงไว้เพียงขบวนอัญเชิญธรรมจักรและรับสมัครทุกคนที่สนใจร่วมแบกเสลี่ยงอัญเชิญโดยไม่มีผู้แทน และปี พ.ศ. 2544สมาคมธรรมศาสตร์ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้ฟื้นฟูผู้นำในขบวนอัญเชิญธรรมจักรและดรัมเมเยอร์และทำหน้าที่ในการบำเพ็ญประโยชน์ ตลอดจนการรณรงค์และส่งเสริมให้นักศึกษาร่วมทำกิจกรรมเพื่อสังคมกันมากขึ้นกลับมา ในชื่อว่า “ทูตกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์”


ในยุคดิฉันเข้าเรียน    มหาวิทยาลัยถูกจำกัดสิทธิ์มิให้ยุ่งเกี่ยวหรือแม้แต่ออกความเห็นทางการเมือง    อธิการบดีคือจอมพลประภาส จารุเสถียร เป็นผู้กำหนดนโยบายว่านิสิตนักศึกษามีหน้าที่สนใจศึกษาหาความรู้    ไม่ใช่ไปยุ่งกับการบ้านการเมือง
กิจกรรมต่างๆของมหาวิทยาลัย จึงออกมาในรูปของความบันเทิงบ้าง สาระในการพัฒนาชนบท เช่นออกค่าย บ้าง    กีฬาประเพณีเป็นเรื่องของความบันเทิง    ขบวนแห่ทั้งสองมหาวิทยาลัยมีไว้โชว์ประชาชน  ให้ตื่นเต้นสนุกสนานไปด้วย     ผู้เชิญพระเกี้ยวจึงเป็นสาวงาม  เลือกจากผู้ชนะเลิศการประกวดนางนพมาศ ในงานลอยกระทงก่อนหน้าวันบอลประเพณี
ในปีที่เข้าอักษร จำไม่ได้ว่าใครอัญเชิญพระเกี้ยว  แต่จำได้ว่าปีต่อมา คุณอัมพร กีรติบุตร ผู้ชนะเลิศประกวดนางนพมาศ เป็นผู้อัญเชิญพระเกี้ยวค่ะ
บันทึกการเข้า
ลานตราชูท่าพระจันทร์
อสุรผัด
*
ตอบ: 3


ความคิดเห็นที่ 48  เมื่อ 09 พ.ย. 15, 17:55

อ่านคำตอบของท่านอาจารย์เทาชมพูแล้วเพลินมากเลยครับ ขอบพระคุณอาจารย์มากครับที่กรุณาชี้แนะและหาแหล่งอ้างอิงมาให้ ตามที่อาจารย์อ้างอิงขออนุญาตชี้แจงเพิ่มเติมมา ณ โอกาสนี้ครับ กล่าวคือ ทีบอกว่ามีการรื้อฟื้นผู้อัญเชิญพระธรรมจักรนั้น แท้จริงแล้วคณะผู้บำเพ็ญประโยชน์หาได้เป็นผู้อัญเชิญแต่อย่างใดครับ หากเป็นเพียงแต่เดินร่วมขบวนอยู่ในขบวนอัญเชิญพระธรรมจักรที่ถูกแบกโดยนักศึกษาเหมือนเดิม จนบัดเดี๋ยวนี้ครั้งล่าสุด ครั้งที่ 70 ธรรมจักรก็ยังไม่มีผู้อัญเชิญเลยครับ
ปล. ชอบอีกอย่างเวลาขบวนอัญเชิญพระเกี้ยวเข้าสนามจุฬาจะแปรอักษรภาพพระเกี้ยว. 1:20 ในแต่ละปีตามแต่การตีความหมายให้ลึกซึ้งสวยงามทุกปีครับ ชาวมธ.ลุกขึ้นตบมือตลอดครับ ผิดกับฝั่งมธ. แสนด์เต็มไม่ทันจะได้แปรภาพธรรมจักรสักครั้งเลยครับ (ในสมัยผมเรียนนะ ทศวรรษที่ 2540)
บันทึกการเข้า
Naris
องคต
*****
ตอบ: 421


ความคิดเห็นที่ 49  เมื่อ 10 พ.ย. 15, 13:55

เอิ๊ย แต่สมัยผม (2535-38) ช่วงบ่ายสอง สแตนท์ฝั่งธรรมศาสตร์คนเต็มไป 70-80% แล้ว ฝั่งจุฬา เพึ่ง 40% ต้องเอาโทรโข่งไปตามกันใน MBK บ้าง สยามบ้าง อยู่ทุกปีหนะครับ   
บันทึกการเข้า
Anna
องคต
*****
ตอบ: 552


ความคิดเห็นที่ 50  เมื่อ 10 พ.ย. 15, 17:52

ที่เป็นยังงั้น เพราะรัก(สถาบัน)แท้ แพ้ความร้อนค่ะ  อายจัง
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 51  เมื่อ 17 มิ.ย. 22, 10:35

งานฟุตบอลประเพณี จุฬา-ธรรมศาสตร์ เชื่อมความสัมพันธ์ระหว่าง ๒ สถาบัน ด้วยเพลงเชียร์กีฬา

ฝั่งท่าพระจันทร์ก็เคยไปอยู่ เพื่อหัดร้องเพลงเชียร์ของธรรมศาสตร์ จำเพลงนี้ได้ "เรานักศึกษาธรรมศาสตร์ประกาศชื่อก้อง โห่ร้องอวยชัย....."

ผู้ว่าฯ ชัชชาติ วิ่งเช้านี้ ร้องเพลงธรรมศาสตร์ ทั้งที่จบจุฬาฯ …

ช่วงหนึ่งขณะวิ่งผ่านมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ชัชชาติได้วิ่งไปพร้อมร้องเพลงของมหาวิทยาลัยไปด้วย

"เรานักศึกษาธรรมศาสตร์ประกาศชื่อก้อง..…."



แอดมินถาม ‘ชัชชาติ’ ทำไมร้องเพลงได้ อ.ไม่ได้จบธรรมศาสตร์ไม่ใช่เหรอ  ‘ชัชชาติ’ บอกว่า เมื่อก่อนเขาให้ร้องเพลงเวลาเชียร์กีฬาไง ก็เลยจำมา  

(ผู้ว่าฯ ชัชชาติ จบจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)

สรยุทธ์ สุทัศนะจินดา รายงานข่าว



เพลงเชียร์อาจสร้างความฮึกเหิม แต่หากเติมด้วยความรักความเข้าใจระหว่างกันและกัน อาจสร้างสรรค์ให้สังคมงามสมใจ ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 3 [4]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.059 วินาที กับ 19 คำสั่ง